สตาร์ตอัป ด้านการศึกษา ใหญ่สุดในโลก คือใคร? /โดย ลงทุนแมน
เทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทในทุกด้านของชีวิต ซึ่งรวมถึงเรื่องการศึกษา
ที่ได้รวมกันกลายมาเป็น “EdTech” หรือธุรกิจแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์
เพื่อทำให้การเรียนรู้ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในห้องเรียน
และในปัจจุบัน บริษัทสตาร์ตอัปด้าน EdTech ที่มูลค่ามากที่สุดในโลก มีมูลค่ากว่า 4.8 แสนล้านบาท
แล้วบริษัทนี้ มีความเป็นมาอย่างไร และมีอะไรเป็นจุดเด่น ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์
หลายคนคงคุ้นเคยกับ Coursera, edX และ Udemy จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นแหล่งรวมคอร์สออนไลน์ จากหลากหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำ และหลากหลายแขนงวิชาให้เลือกเรียน เมื่อเรียนจบก็จะได้ใบ Certificate ที่นำไปใช้ประกอบการสมัครงานได้อีกด้วย
อีกรูปแบบที่ได้รับความนิยม ก็คือแพลตฟอร์มสอนภาษา
อย่างเช่น Duolingo ที่จะเน้นการเรียนภาษาในรูปแบบที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนในห้องเรียน
จะเห็นได้ว่าจุดเด่นร่วมของแพลตฟอร์มเหล่านี้
ก็คือ การเรียนรู้เพื่อยกระดับทักษะเดิมให้เก่งขึ้น
รวมถึงเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ และใช้ต่อยอดในการทำงาน
แต่รู้หรือไม่ว่า..
สตาร์ตอัปด้าน EdTech ที่มูลค่ามากที่สุดในโลก 3 อันดับแรกนั้น
ไม่ได้มีจุดเด่นในด้านที่ว่านี้ แต่เป็นแพลตฟอร์ม “กวดวิชา” ออนไลน์
ที่ถูกก่อตั้งขึ้นจากชาวเอเชียทั้งหมด
ปัจจุบัน สตาร์ตอัป EdTech ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก
มีชื่อว่า “Yuanfudao” อ่านว่า หยวนฝู่เต่า ที่แปลว่าติวเตอร์
Yuanfudao เริ่มก่อตั้ง ในปี 2012 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
โดยคุณ Yong Li, Xin Li และ Shuai Ke
โดย Yuanfudao เป็นแพลตฟอร์มสำหรับเรียนกวดวิชาทางออนไลน์
ทั้งแบบสอนสด รวมถึงแบบที่ดูย้อนหลังได้
ซึ่งหลักสูตรก็ครอบคลุมกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมัธยม
โดยมีติวเตอร์ที่ร่วมสอนกว่า 30,000 คน
และสำหรับผู้ปกครอง ก็สามารถเช็กการเรียนของลูกผ่านแอปพลิเคชันได้อีกด้วย
ที่สำคัญก็คือ Yuanfudao ได้ทำฐานข้อมูลที่รวบรวมข้อสอบเก่าไว้มากมาย
และยังมีบริการช่วยตรวจการบ้าน ตรวจโจทย์ที่ฝึกทำ
รวมไปถึงบริการถามตอบแบบออนไลน์
และสิ่งที่ Yuanfudao ให้ความสำคัญที่สุด ก็คือการพัฒนา AI
จึงได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยด้าน AI และการทดลองด้านเทคโนโลยี ในปี 2014
ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อย่างเช่น Tsinghua University, Peking University และ Chinese Academy of Sciences
โดยมีเป้าหมายเพื่อนำ AI มาใช้ศึกษาว่าเหล่านักเรียนยังมีจุดอ่อนในด้านใดบ้าง
แล้วนำข้อมูลที่ได้ ไปพัฒนาหลักสูตร รวมถึงผลิตภัณฑ์ในด้านอื่น ๆ
เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
จนในปัจจุบัน Yuanfudao มีผู้ใช้งานกว่า 400 ล้านคนทั่วประเทศจีน
หรือคิดเป็นกว่า 28% เมื่อเทียบกับประชากรจีน 1,440 ล้านคน
ซึ่งที่ผ่านมา Yuanfudao ได้ระดมทุนไปแล้วกว่า 128,000 ล้านบาท
โดยมี Tencent เป็นผู้ลงทุนหลัก และมีมูลค่าบริษัทในปัจจุบันที่ 480,000 ล้านบาท
ในขณะเดียวกัน คู่แข่งในจีนที่สำคัญของ Yuanfudao ก็คือ Zuoyebang
ซึ่งก็เป็น EdTech ที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 3 ของโลก และมี Baidu เป็นผู้ลงทุนหลัก
แล้วถ้าถามว่าอันดับที่ 2 คือใคร ?
สตาร์ตอัปแห่งนั้นก็คือ Byju’s ซึ่งเป็น EdTech กวดวิชาออนไลน์ที่ใหญ่สุดในประเทศอินเดีย และเคยมีมูลค่ามากที่สุดในโลกมาโดยตลอด ก่อนที่จะโดน Yuanfudao แซงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา
จากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ EdTech ในประเทศจีน
ก็ได้ทำให้ทั้ง Yuanfudao และ Zuoyebang กลายมาเป็นคู่แข่ง
คนสำคัญของสถาบันกวดวิชาที่ใหญ่ที่สุดในจีนอย่าง TAL Education
ที่แต่เดิมสอนผ่านทางออฟไลน์และได้เพิ่มช่องออนไลน์ขึ้นในภายหลัง
แต่ยังคงมีรายได้หลักมาจากการสอนที่สถาบันกวดวิชา
และผลกระทบจากโควิด 19 ก็กลายเป็นปัจจัยเร่งให้ธุรกิจเรียนออนไลน์เติบโตได้เร็วขึ้น
โดยสัดส่วนการเรียนออนไลน์ในจีน เมื่อเทียบกับการเรียนจากทุกช่องทาง
ปรับเพิ่มขึ้นจาก 15% ในปี 2019 มาเป็น 35% ในปี 2020
และคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนถึง 55% ในปี 2022
หากมองถึงโอกาสในอนาคต ธุรกิจกวดวิชาในจีนคงยังเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง
เพราะด้วยระบบการศึกษาในแถบเอเชีย โดยเฉพาะในจีน
ที่ยังคงให้ความสำคัญกับการสอบและคะแนนสอบ
ซึ่งนอกจากนักเรียน ที่ต้องยอมสมัครเรียนเพื่อแข่งขันกันเองแล้ว
ผู้ปกครองก็ยังคงเต็มใจสนับสนุน แม้ราคาค่าเรียนจะสูงแค่ไหนก็ตาม
และด้วยโอกาสการเติบโตที่น่าสนใจนี้ จึงดึงดูดให้เม็ดเงินลงทุนจาก Venture Capital
ที่ลงทุนใน EdTech มีสัดส่วนเงินลงทุนในจีนมากที่สุดในโลกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015
โดยในปี 2020 เงินลงทุนจาก Venture Capital ใน EdTech
คิดเป็นสัดส่วนในประเทศจีนกว่า 63%
ตามมาด้วยสหรัฐอเมริกาที่ 15% และอินเดีย 14%
แต่เมื่อไม่นานมานี้ ทั้ง Yuanfudao และ Zuoyebang
ต่างก็หนีไม่พ้นกับการถูกรัฐบาลจีนปรับ บริษัทละ 12 ล้านบาท
ด้วยเหตุผลในเรื่องการโฆษณาเกินจริงและชี้นำในทางที่ผิด
และรัฐบาลยังต้องการคุมเข้มมากขึ้น กับธุรกิจการเรียนการสอนนอกโรงเรียน
แต่อย่างไรก็ตาม เงินค่าปรับนี้ คิดเป็นเพียง 0.04% ของมูลค่าแต่ละบริษัท เท่านั้น
ถึงตรงนี้ การเติบโตของสตาร์ตอัปกวดวิชา
ในประเทศจีนก็ถือว่าเป็นไอเดียที่น่าสนใจที่เป็นตัวอย่างให้ประเทศไทย
เพราะจริง ๆ แล้ว ระบบการศึกษาในประเทศไทย
ก็แทบไม่ต่างจากประเทศจีนที่เน้นการกวดวิชา
หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเรียนเพื่อไปทำข้อสอบ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.holoniq.com/edtech-unicorns/
-https://techcrunch.com/2018/12/26/yuanfudao-raises-300-million/
-https://techcrunch.com/2020/10/22/chinese-live-tutoring-app-yuanfudao-is-now-worth-15-5-billion/
-https://technode.com/2020/04/02/yuanfudao-is-now-one-of-chinas-most-valuable-ed-tech-startups/
-https://www.scmp.com/tech/big-tech/article/3132937/beijing-slaps-edtech-unicorns-zuoyebang-yuanfudao-steep-fine-over
-https://www.linkedin.com/pulse/2020-china-edtech-industry-what-happened-expect-joey-niantao-jiao/
-https://www.crunchbase.com/organization/yuanfudao
「university of chinese academy of sciences」的推薦目錄:
- 關於university of chinese academy of sciences 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於university of chinese academy of sciences 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
- 關於university of chinese academy of sciences 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於university of chinese academy of sciences 在 University of Chinese Academy of Sciences - 首頁| Facebook 的評價
- 關於university of chinese academy of sciences 在 中国科学院大学(国科大) - YouTube 的評價
- 關於university of chinese academy of sciences 在 Qingming Huang's Homepage - Professor at University of CAS 的評價
- 關於university of chinese academy of sciences 在 University Chinese Academy of Science under construction in ... 的評價
university of chinese academy of sciences 在 อ้ายจง Facebook 的最讚貼文
เรียนสายไอทีที่จีนทำไม?
สถาบัน-มหาวิทยาลัยจีนรั้งอันดับ 1 ของโลก ในคุณภาพการวิจัยทั้งภาพรวม และสายคอมพิวเตอร์ หลักฐานบ่งชี้ "จีนมุ่งเน้นพัฒนาวิจัยและเทคโนโลยี"
-----
สมัยได้ทุนไปเรียน Computer Software and Theory ซึ่งอยู่ในสาย Computer Science ที่ Beihang University กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อปี 2011 หรือราว 10 ปีที่แล้ว มีคนจำนวนไม่น้อย ถามผมว่า ไปเรียนสายไอทีที่จีนเนี่ยนะ ไปทำไมกัน จีนล้าหลังเน้อ ไปเรียนแล้วจะได้อะไร เขาดูด้อยกว่าไทยนะ
.
เอาจริงๆภาพจำเหล่านี้ถือเป็นสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะในอดีตจีนเคยเป็นแต่ประเทศผู้ใช้นวัตกรรม เสมือนเป็นแรงงานผลิตตามสั่ง และมีสินค้าก็อปปี้จำนวนมาก
.
จีนเองก็รู้ถึงปัญหาของตนเองว่าด้อยอะไร ต้องปรับปรุง พัฒนาเพิ่มเติมอะไร จึงจะไปถึงเป้า "ผู้นำโลก"
.
จีนจึงมุ่งไปที่การศึกษา การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม อย่างที่อ้ายจงเคยเล่าอยู่บ่อยครั้งเหมือนกันว่า จีนเปรียบดัง "โรงงานวิจัย" ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างปั่นเปเปอร์ ทำงานวิจัย สร้างนวัตกรรมออกมา เพราะเขาเชื่อมันคือกลไกนำไปสู่มหาอำนาจโลก
.
ปีนี้ 2021 ความพยายามของจีน ทำให้ การจัดอันดับองค์กร-สถาบัน-มหาวิทยาลัย จากทาง Scimago ที่มุ่งเน้นวัดคุณภาพทางการวิจัย เราได้เห็นอันดับ 1 ของโลกทั้งแบบ Overall และสาขา Computer Science ตกอยู่ในมือ Chinese Academy of Sciences (สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน) และกระทรวงศึกษาธิการจีนเข้ามารั้งอันดับที่ 3
.
ถ้านับแค่ มหาวิทยาลัย Scimago จะตัด Chinese Academy of Sciences และกระทรวงศึกษาธิการจีนออกไป ทำให้ Harvard University ของอเมริกามาเป็นอันดับที่ 1 แบบ Overall และ Tsinghua University มาเป็นที่ 3
.
ในสาย Computer Science ม.Tsinghua ขึ้นมาครองเบอร์ 1ของโลกแบบจัดอันดับเฉพาะมหาวิทยาลัย โดย Harvard ไม่ติด Top10 สายนี้
.
และที่น่าสนใจคือ มหาวิทยาลัยจีนเข้ามาอยู่ใน Top 10 สาขา Computer Science ระดับโลก ถึง 5 มหาวิทยาลัย อเมริกา 4 แห่ง และสิงคโปร์ 1 แห่ง
.
สำหรับ Beihang University มหาวิทยาลัยที่อ้ายจงไปเรียนปริญญาโท ขึ้นมาอยู่อันดับที่ 21 ของโลก และอันดับ 7 ของจีน ในสาย Computer Science ในการจัดอันดับทางการวิจัยของสถาบันต่างๆทั่วโลก ที่เน้นผลงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลอันเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติ โดยการจัดอันดับนี้ จัดโดย Scimago
.
ถ้านับเฉพาะสถาบันที่เป็นมหาวิทยาลัย (ไม่เอาพวกสถาบันวิจัยภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐอื่น ๆเช่น กระทรวงการศึกษา ที่ทาง Scimago เอามาจัดอันดับด้วย เพราะมีการทำวิจัยออกมาเช่นกัน)
.
ในสาย Computer Science "Beihang University" จะอยู่ในอันดับ 8 ของโลก และ 5 ของจีน
.
Factors ปัจจัยที่ทาง scimago เอามาจัดอันดับ เน้นที่ Research เป็นหลัก สัดส่วน 50% รองลงมาคือ นวัตกรรม 30% และทางสังคม 20% โดยทางสังคม หมายถึงพวกการจัดทำเนื้อหาเว็บไซต์ มีการอ้างอิงบนออนไลน์
.
จริงๆแล้ว การจัดอันดับสถาบัน หรือมหาวิทยาลัย ไม่สามารถบ่งบอกคุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพของนักศึกษา-ผู้เกี่ยวข้องกับที่นั่นได้ทั้งหมด แต่ก็พอจะทำให้เห็นถึงผลงานการวิจัย ผลงานนวัตกรรม และการให้ความสำคัญต่อการวิจัยการพัฒนานวัตกรรมและการศึกษาทั้งในภาพรวมและสายเฉพาะต่างๆว่าแต่ละแห่งเป็นอย่างไร
.
การจัดอันดับ Scimago ครั้งนี้จึงพอจะเป็นหลักฐานได้บ้างถึงนโยบายจีนที่เน้นเรื่องการวิจัย การศึกษา โดยเฉพาะทางด้านพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์ได้
.
สำหรับทางสายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่จีนให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) , Big Data, Blockchain Technology, IoTs (Internet of Things), 5G - 6G ,Cloud computing, ความปลอดภัยทางด้านเครือข่าย
.
ตามความเห็นของอ้ายจง จากประสบการณ์ที่เคยเรียนและใช้ชีวิตในจีน ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้จีนพัฒนาทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีได้ไว เป็นเพราะคนจีนเป็นหนึ่งในชนชาติที่เก่งคณิตศาสตร์ โดยปลูกฝังมาตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสำคัญทำให้การคิดเป็นระบบ และต่อยอดทางสายคอมพิวเตอร์และพัฒนานวัตกรรมได้ไม่ยาก
.
ดูข้อมูลอันดับสถาบันและมหาวิทยาลัยทั้งหมดบน Scimago ที่ https://www.scimagoir.com/rankings.php
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน
university of chinese academy of sciences 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก Robin Zeng คนที่รวยสุดในฮ่องกง เจ้าพ่อแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า /โดย ลงทุนแมน
Robin Zeng หรือ Céng Yùqún ปัจจุบันอายุ 52 ปี และเป็นบุคคลที่ร่ำรวยสุดในฮ่องกง
ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 36,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1,101,000 ล้านบาท
ในขณะที่ Li Ka-shing ซึ่งเคยเป็นคนที่รวยสุดในฮ่องกงมาก่อน
ปัจจุบันรวยเป็นอันดับที่ 2 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 31,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 954,000 ล้านบาท
ซึ่งความมั่งคั่งของ Li Ka-shing มาจากหลากหลายธุรกิจ เช่น อสังหาริมทรัพย์, ท่าเรือ, โทรคมนาคม, พลังงาน, ค้าปลีก
แล้ว Robin Zeng ทำธุรกิจอะไร ถึงได้กลายเป็นคนรวยสุดในฮ่องกง?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Robin Zeng เป็นผู้ก่อตั้ง และประธานของบริษัท Contemporary Amperex Technology (CATL)
ผู้พัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ซึ่งบริษัทครองส่วนแบ่งตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า เป็นอันดับต้นๆ ของโลก
โดยเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2020
CATL ครองส่วนแบ่งตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก อยู่ 23.8%
ทั้งนี้ Robin Zeng จบการศึกษา ป.ตรี วิศวกรรมต่อเรือ ที่ Shanghai Jiao Tong University
ป.โท วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศ ที่ South China University of Technology
ป.เอก ฟิสิกส์ของสสารควบแน่น (Condensed Matter Physics) ที่ Chinese Academy of Sciences
ซึ่งเขาเป็นคนที่เติบโต และทำธุรกิจในเมืองหนิงเต๋อ มณฑลฝูเจี้ยน ประเทศจีน
แต่ตัวเขาเอง ถือสัญชาติฮ่องกง
ย้อนหลังไปเมื่อ 10 ปีก่อน
Robin Zeng มีวิสัยทัศน์ที่ว่า ต่อไปในอนาคต รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ
บวกกับรัฐบาลจีน เริ่มส่งสัญญาณที่จะออกนโยบายผลักดัน ให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น
ดังนั้น แบตเตอรี่ ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญ และหัวใจหลัก ของรถยนต์ไฟฟ้า จึงต้องเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เขาเลยตัดสินใจก่อตั้ง CATL ขึ้นในปี ค.ศ. 2011
และหลังจากนั้น ธุรกิจแบตเตอรี่ของเขาก็รุ่งเรือง ตามตลาดรถยนต์ไฟฟ้าที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด
CATL ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เชินเจิ้น ในเดือนมิถุนายน 2018
ซึ่งปัจจุบัน ราคาหุ้นของบริษัท เพิ่มขึ้นกว่า 663% ตั้งแต่เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
และมีมูลค่าบริษัท 4,405,000 ล้านบาท
ผลประกอบการย้อนหลังของ CATL
ปี 2017 มีรายได้ 92,563 ล้านบาท กำไร 18,037 ล้านบาท
ปี 2018 มีรายได้ 136,931 ล้านบาท กำไร 15,754 ล้านบาท
ปี 2019 มีรายได้ 211,703 ล้านบาท กำไร 21,209 ล้านบาท
ที่น่าสนใจคือ CATL เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ และซัปพลายเออร์ให้กับ บริษัทรถยนต์ชื่อดังเกือบทุกราย
ไม่ว่าจะเป็น Tesla, BMW, Daimler AG, Volkswagen, Volvo, Toyota, Honda, Hyundai, Geely และ SAIC เป็นต้น
นอกจากธุรกิจพัฒนาและผลิตแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว
CATL ยังดำเนินธุรกิจอื่นๆ อีก อาทิ จัดหาโซลูชันสำหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage Systems) ในรูปแบบพลังงานหมุนเวียน อย่างพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
รวมถึงพัฒนานวัตกรรมรีไซเคิลแบตเตอรี่ และนำกลับมาใช้อีกครั้ง (Battery Recycling) เพื่อลดต้นทุนด้านแบตเตอรี่ในอนาคต
โดย CATL มีโรงงานการผลิตทั้งหมด 5 แห่ง ประกอบด้วยในจีน 4 แห่ง และ เยอรมนี 1 แห่ง
มีศูนย์วิจัยและพัฒนา 4 แห่ง ประกอบด้วย ในจีน 3 แห่ง และ เยอรมนี 1 แห่ง
สรุปแล้ว ด้วยเมกะเทรนด์ในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทำให้เกิดความต้องการในแบตเตอรี่มหาศาล
และยิ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ยิ่งแข่งขันกัน หรือ มีผู้เล่นเข้ามาในตลาดมากเท่าไร
ก็ยิ่งทำให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่ โดยเฉพาะเจ้าตลาดอย่าง CATL ได้รับอานิสงส์ มากเท่านั้น
CATL จึงเป็นดั่งขุมทรัพย์ และเครื่องจักรผลิตความมั่งคั่งให้กับ Robin Zeng จนทำให้เขาได้ครองบัลลังก์ บุคคลที่รวยสุดในฮ่องกง นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Robin_Zeng
-https://en.wikipedia.org/wiki/Contemporary_Amperex_Technology
-https://www.bloomberg.com/billionaires/
-https://www.forbes.com/profile/robin-zeng/?sh=c52fb3397f2a
-https://www.catl.com/en/about/profile/
-https://www.wsj.com/market-data/quotes/CN/XSHE/300750/financials/annual/income-statement
-https://insideevs.com/news/442875/lg-chem-leads-ev-battery-market/
university of chinese academy of sciences 在 Qingming Huang's Homepage - Professor at University of CAS 的推薦與評價
Qingming Huang is a professor in the University of Chinese Academy of Sciences and an adjunct research professor in the Institute of ... ... <看更多>
university of chinese academy of sciences 在 University of Chinese Academy of Sciences - 首頁| Facebook 的推薦與評價
The University of Chinese Academy of Sciences (Chinese: 中国科学院大学), founded in 1978, was the first graduate school in China with the approval of the ... ... <看更多>