ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง นาฬิกา? /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงนาฬิกา ประเทศแรกที่เราจะนึกถึง ก็คงเป็น สวิตเซอร์แลนด์
และเช่นเดียวกัน หากพูดถึงสวิตเซอร์แลนด์ สินค้าแรกที่เรานึกถึง ก็คือ นาฬิกา
นาฬิกาคือสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เวลาของมนุษย์เป็นสิ่งมีค่า
และเวลาจะยิ่งกลายเป็นสิ่งมี “มูลค่า” เมื่อถูกมองผ่าน “นาฬิกาสวิส”..
ความสัมพันธ์นี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากอะไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง นาฬิกา?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ลงทุนแมนขอพาทุกท่านย้อนเวลาสู่ยุคกลาง
ช่วงเวลาที่สวิตเซอร์แลนด์ยังไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวยอย่างในปัจจุบัน
สวิตเซอร์แลนด์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ถูกรายล้อมไปด้วยเทือกเขาแอลป์
ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อย และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
ด้วยความขาดแคลน หล่อหลอมให้ชาวสวิสเป็นคนขยันขันแข็ง ประหยัด
และทรหดอดทน หนึ่งในหนทางที่จะอยู่รอดของชาวสวิสตั้งแต่ยุคกลางก็คือ
การเป็นทหารรับจ้างให้กับยุโรปชาติอื่นๆ
ทหารรับจ้างสวิสมีชื่อเสียงในเรื่องความทรหดและมีฝีมือที่เก่งกาจ
ทำให้เป็นที่ต้องการของกองทัพต่างชาติทั่วยุโรป เพื่อให้สามารถให้บริการและฝึกฝนทหารอาชีพได้โดยไม่ถูกรบกวน สวิตเซอร์แลนด์จึงประกาศนโยบายเป็นกลางมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16
นอกจากการเป็นทหารรับจ้างแล้ว การมีเทือกเขาอยู่รายล้อม และไม่มีทางออกสู่ทะเล
ทำให้การเดินทางขนส่งยากลำบาก สินค้าที่ผลิตในสวิตเซอร์แลนด์มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งสูง
ชาวสวิสจึงมุ่งเน้นการผลิตสินค้าขนาดเล็ก ขนส่งง่าย มีกรรมวิธีซับซ้อน
และมีราคาสูงพอที่จะคุ้มทุน ซึ่ง “นาฬิกา” คือคำตอบ..
การทำนาฬิกามีต้นกำเนิดมาจากดินแดนเยอรมนีตอนใต้ในช่วงยุคเรอเนสซองซ์ ราวปี ค.ศ. 1530
ก่อนจะเผยแพร่มายังประเทศอื่นๆ ในยุโรป รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์
จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อุตสาหกรรมนาฬิการุ่งเรืองในสวิตเซอร์แลนด์ก็คือ “การปฏิรูปศาสนา”
ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน
การปฏิรูปศาสนาเกิดจากการที่ศาสนจักรคาทอลิกฟุ้งเฟ้ออยู่กับความมั่งคั่ง
ในขณะที่นักบวชก็ชักนำประชาชนด้วยการขายใบไถ่บาป นำความไม่พอใจมาให้นักบวชเยอรมันบางกลุ่ม จนเกิดการแยกตัวออกมาเป็นนิกายใหม่ เรียกกันโดยรวมว่า “โปรเตสแตนต์” ซึ่งแปลว่า ผู้ต่อต้าน
นิกายใหม่ได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรป ทั้งเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน และฝรั่งเศส
ทำให้เกิดสงครามและความขัดแย้งระหว่างชาวคาทอลิกกับชาวโปรเตสแตนต์ไปทั่วทวีป
โดยเฉพาะในฝรั่งเศส ชาวโปรเตสแตนต์ซึ่งถูกเรียกว่า “อูเกอโนต์” (Huguenots)
ถูกกดดันอย่างหนักในช่วงศตวรรษที่ 16 ท้ายที่สุดก็นำมาสู่การอพยพครั้งใหญ่ออกจากฝรั่งเศส
ชาวอูเกอโนต์ เป็นกลุ่มพ่อค้าและช่างฝีมือ มีความเชี่ยวชาญในการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้
โดยเฉพาะนาฬิกา ด้วยความที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศเป็นกลาง และประชากรส่วนใหญ่เป็นโปรเตสแตนต์ ที่นี่จึงกลายเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของชาวอูเกอโนต์นับแสนคน
โดยเฉพาะเมืองเจนีวา..
เจนีวาตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของสวิตเซอร์แลนด์ มีพรมแดนติดกับฝรั่งเศส ประชากรส่วนใหญ่จึงพูดภาษาฝรั่งเศส เมืองนี้เป็นที่ตั้งของสมาคมพ่อค้าเพชรมาตั้งแต่ยุคกลาง มีช่างทอง อัญมณี และช่างทำเครื่องประดับอยู่เป็นจำนวนมาก
แต่เมื่อผู้นำศาสนาชื่อว่า Jean Calvin ซึ่งเป็นผู้นำโปรเตสแตนต์นิกายหนึ่ง ที่เน้นต่อต้านความหรูหราฟุ้งเฟ้อ ได้ออกกฎห้ามสวมใส่เครื่องประดับอย่างเข็มงวดในปี ค.ศ. 1541
จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ให้เหล่าช่างทองเปลี่ยนมาทำนาฬิกา
เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชาวอูเกอโนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำนาฬิกาอพยพเข้ามาพอดี
จึงกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่างช่างฝีมือเจนีวาผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ
กับชาวอูเกอโนต์ผู้เชี่ยวชาญเทคนิคการทำนาฬิกา
แล้วการเปลี่ยนแปลงโลกของการบอกเวลา ก็เริ่มต้นที่นี่..
สมาคมช่างทำนาฬิกาแห่งเจนีวา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1601 นับเป็นสมาคมช่างทำนาฬิกาแห่งแรกของโลก เป็นผู้นำในการผลิตนาฬิกา มีการนำองค์ความรู้จากฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี
มาต่อยอดพัฒนาส่วนประกอบต่างๆ ของนาฬิกา
นาฬิกาของเจนีวา มีความโดดเด่นในการออกแบบที่ประณีตและสวยงาม
แต่เนื่องจากการควบคุมการผลิตอย่างเคร่งครัด จำนวนนาฬิกาที่ผลิตได้จึงมีน้อย
และมีราคาสูงมาก
ช่างทำนาฬิกาบางส่วนจึงเดินทางออกจากเจนีวา มาตั้งธุรกิจในเมืองแถบเทือกเขา Jura
ทางตอนเหนือของเจนีวา แถบนี้เป็นที่ตั้งของเมือง Neuchâtel และเมือง Biel
หนึ่งในนั้นคือ Daniel Jeanrichard
Jeanrichard ได้เปลี่ยนกระบวนการผลิตนาฬิกาให้เป็นระบบที่เรียกว่า "Établissage"
คือ การแบ่งงานกันทำ โดยแบ่งส่วนประกอบของนาฬิกาออกเป็นหลายๆ ส่วน
แต่ละส่วนจะถูกแบ่งกันผลิต ตามลำดับความยากง่าย
ผู้ผลิตมีตั้งแต่ชาวไร่ชาวนาในช่วงที่ว่างจากการเพาะปลูก ไปจนถึงช่างฝีมือ
ก่อนจะถูกส่งมาประกอบรวมกันโดยช่างนาฬิกาผู้เชี่ยวชาญ
ระบบนี้ ทำให้ชาวบ้านทั่วไปกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตนาฬิกา
นาฬิกาสวิสจึงผลิตได้จำนวนมากขึ้น ทำให้เมืองในแถบเทือกเขา Jura
ได้กลายมาเป็นหนึ่งในฐานการผลิตนาฬิกาที่สำคัญควบคู่กันกับเมืองเจนีวา
และเปลี่ยนให้สวิตเซอร์แลนด์กลายเป็นผู้นำการผลิตนาฬิกาของโลกนับตั้งแต่นั้น
แบรนด์นาฬิกาสวิสระดับตำนานต่างถือกำเนิดขึ้น
ซึ่งแต่ละแบรนด์ก็ได้เปลี่ยนแปลงโลกของนาฬิกา
ทำให้นาฬิกากลายเป็นสิ่งที่ค่า มากกว่าการบอกโมงยาม..
Vacheron Constantin ก่อตั้งปี ค.ศ. 1755
แบรนด์นาฬิกาที่ก่อตั้งในเจนีวาโดย Jean-Marc Vacheron
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญคือในปี ค.ศ. 1812 เมื่อนาฬิกาของ Vacheron มีฟังก์ชันที่นอกเหนือจากการบอกเวลาเป็นชั่วโมงและนาที เรียกฟังก์ชันเหล่านี้ว่า Complication
ฟังก์ชันที่เพิ่มขึ้นมา คือ Repeater เป็นกลไกเคาะเสียงบอกเวลา ชั่วโมงและนาที
เมื่อเปิดปุ่มเสียง จะออกแบบเสียงที่แตกต่างกันออกไป
นับเป็นครั้งแรกที่ผู้ใช้ถูกบอกเวลาด้วยการส่งเสียง
Breguet ก่อตั้งปี ค.ศ. 1775
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนาฬิกา คือ “ความเที่ยงตรง”
ด้วยความที่นาฬิการุ่นแรกๆ ยังไม่ใช่นาฬิกาข้อมือ แต่เป็นนาฬิกาพก ผู้ใช้มักพกนาฬิกาไว้ในกระเป๋าเสื้อหรือแขวนนาฬิกาไว้ที่คอ ข้อเสียของนาฬิกาแบบนี้คือแรงโน้มถ่วงของโลกจะส่งผลต่อการทำงานของชิ้นส่วนฟันเฟืองต่างๆ ทำให้การบอกเวลาเกิดความคลาดเคลื่อน
Abraham-Louis Breguet ช่างทำนาฬิกาชาวเมือง Neuchâtel
ได้ประดิษฐ์กลไกตูร์บิญอง (Tourbillon) ซึ่งเป็นกงล้อที่หมุนอยู่ตลอดเวลา
และนำส่วนประกอบต่างๆ เข้าไปในกงล้อนั้น ทำให้นาฬิกาสามารถเดินได้โดยไม่ต้องต่อสู้กับแรงโน้มถ่วงของโลกอีกต่อไป
กลไกตูร์บิญอง ได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1801
นับว่าเป็นจุดเปลี่ยนของการบอกเวลาให้เที่ยงตรงยิ่งกว่าที่เคย
จากตูร์บิญองที่อยู่ในนาฬิกาพก ถูกพัฒนามาสู่ตูร์บิญองที่อยู่ในนาฬิกาข้อมือซึ่งมีขนาดบางและเล็กกว่า Breguet เป็นผู้ประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือขึ้นมาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1810
โดยผู้สวมใส่รายแรกคือ ราชินี Caroline แห่งเนเปิลส์
Patek Philippe ก่อตั้งปี ค.ศ. 1839
Antoni Norbert Patek ได้ก่อตั้งแบรนด์นาฬิกาขึ้นที่เจนีวาในปี ค.ศ. 1839
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญ คือการได้พบกับช่างนาฬิกาชาวฝรั่งเศส Jean Adrien Philippe
ผู้ประดิษฐ์กลไก “Keyless Winding System” ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตรในปี ค.ศ. 1844
แต่เดิมในการปรับเข็มนาฬิกาต้องทำโดยใช้กุญแจ เพื่อแกะด้านหลังของนาฬิกาออก
วิธีการนี้มีข้อเสียคือ ผู้ใช้อาจทำตัวกุญแจหาย และกลไกภายในต้องเจอกับฝุ่นและความชื้นอยู่เป็นประจำ
กลไกใหม่ที่ Philippe ได้คิดค้น เป็นการปรับนาฬิกาผ่าน Winding Stem ซึ่งเป็นแท่งที่เชื่อมระหว่างกลไกด้านใน กับ Crown หรือเม็ดมะยมที่อยู่ด้านนอก
ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเวลาด้วยการหมุนเม็ดมะยมที่ด้านข้างตัวเรือน ทำให้ตัวเรือนไม่ต้องถูกเปิดอีกต่อไป นับเป็นจุดเปลี่ยนของวงการนาฬิกา และเป็นต้นแบบของนาฬิกาหลายรุ่นมาจนถึงปัจจุบัน
Longines ก่อตั้งปี ค.ศ. 1832
ในเวลานี้ ยุโรปเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม การผลิตด้วยระบบ Établissage หรือการแบ่งงานกันทำแบบเดิมๆ ทำให้ผลิตนาฬิกาได้จำนวนน้อย
Jacques David ผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิคของ Longines เป็นผู้นำเครื่องจักรมาใช้ในการผลิตนาฬิกาในปี ค.ศ. 1867 และนำกระบวนการผลิตทั้งหมดมาอยู่ในโรงงานเดียวในเมือง Biel
โดยมีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน ทำให้นาฬิกาสามารถผลิตได้มากขึ้น..
หลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม นาฬิกาสวิสยังคงถูกพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ
มีการประดิษฐ์นาฬิกากันน้ำ สายนาฬิการูปแบบต่างๆ และระบบกลไกที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
เป็นเวลาหลายศตวรรษ ที่ชาวสวิสใช้ความเชี่ยวชาญ ปรับปรุงความเที่ยงตรง เพิ่มเติมกลไกต่างๆ ถึงแม้จะเผชิญความท้าทายหลายครั้ง ทั้งจากการแข็งค่าของเงินฟรังก์สวิส
และนาฬิกาญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง จนเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมนาฬิกา
นาฬิกาสวิสก็ยังฝ่าฟันและยืนหยัดอยู่ในแถวหน้าของโลกได้เสมอมา
เป็นตัวแทนของทั้งคุณค่า และสร้างมูลค่ามหาศาลมาสู่ประเทศ
และตอนนี้ ในวันที่สมาร์ตวอชเติบโต และทำหลายอย่างได้มากขึ้นเรื่อยๆ จึงอาจกลายมาเป็นความท้าทายใหม่ของนาฬิกาสวิส
ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตของอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิสจะเป็นอย่างไร?
แต่หากเราจะหาคุณค่าของอะไรสักอย่าง ไม่เว้นแม้แต่ “นาฬิกา”
“เวลา” จะเป็นเครื่องพิสูจน์ที่ดีที่สุดสำหรับของสิ่งนั้น..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.livwatches.com/blogs/everything-about-watches/the-complete-history-of-the-swiss-watchmaking-industry
-https://www.firstclasswatches.co.uk/blog/2015/07/the-history-of-the-swiss-watch-industry-part-one/
-https://www.fhs.swiss/eng/origins.html
-https://www.watchtime.com/featured/the-man-behind-the-brand-daniel-jeanrichard/
-https://www.vacheron-constantin.com/en/manufacture/history.html
-https://www.patek.com/en/company/history#1839-1877
-https://www.firstclasswatches.co.uk/blog/2020/05/the-history-of-longines-watches/
「breguet 1100」的推薦目錄:
breguet 1100 在 Esquire HK Facebook 的最佳貼文
或者你唔知,原來那不勒斯王后Caroline Murat同埋法國瑪麗皇后Marie Antoinette都係寶璣Breguet嘅擁躉,今個情人節想將另一半奉如皇后?我哋揀咗3款Breguet嘅女裝腕錶,總可以揀出心水選擇!
第一款就係Reine de Naples那不勒斯王后系列8918腕錶,創作靈感正係來自寶璣先生早年為那不勒斯王后所設計嘅手鐲型腕錶,呢款錶用咗18K白金鑄造弧蛋形錶殼,錶殼鑲咗117顆圓形鑽石,加埋鮮明紅色羅馬數字時標,夠晒清雅脫俗!
而另一款Classique系列9068腕錶,係經典的大三針及日曆腕錶,珍珠貝母錶盤上有細膩嘅羅馬數字時標,配合Breguet鏤空藍鋼指針,典雅!
最後一款就係La Marine航海系列嘅Marine Dame 9518白金腕錶,珍珠貝母錶盤上再飾有手工製作嘅藍色海浪圖案,立體又有質感,加上橡膠帶,運動感與優雅並重!
===============
Follow us on 👉🏻
Instagram:http://instagram.com/esquirehk
YouTube:https://bit.ly/SubscribeToEsquireHK
#EsquireHK #EsquireWatch #EsquireSelect