ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過15萬的網紅豐富,也在其Youtube影片中提到,主持人:楊應超 第一季-第7集:投資房地產拿來收租好嗎? 節目直播時間:週五 14點 本集播出日期:2020.10.23 ⏭ 章節: 00:00 頻道片頭 00:07 開場 00:41 節目片頭 00:59 投資房地產拿來收租好嗎? 13:22 Q&A:保險跟投資不應該混在一起 23:22 Q&A...
corporation finance 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
กรณีศึกษา KakaoBank ใช้เวลา 4 ปี ขึ้นมาเป็นธนาคารใหญ่สุด ในเกาหลีใต้ /โดย ลงทุนแมน
KakaoBank เป็นบริษัทของเกาหลีใต้ ที่เป็นธนาคารดิจิทัลโดยสมบูรณ์ ไม่มีหน้าสาขาเลย
KakaoBank เพิ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เกาหลีใต้ไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา
ปัจจุบันมีมูลค่าราว 1.1 ล้านล้านบาท ซึ่งใหญ่กว่า KB Financial Group บริษัทแม่ของ Kookmin Bank ธนาคารพาณิชย์ดั้งเดิมที่ใหญ่สุดในประเทศเกาหลีใต้เป็นเท่าตัว
จึงทำให้ KakaoBank ที่เพิ่งก่อตั้งมาเพียง 4 ปี กลายเป็นธนาคารที่มีมูลค่าบริษัทมากที่สุด
นอกจากนี้แอปพลิเคชัน KakaoBank ยังกลายมาเป็นแอปพลิเคชันธนาคารที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในเกาหลีใต้อีกด้วย
แล้ว KakaoBank เอาชนะธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม ในระยะเวลาเพียง 4 ปี ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
โลกที่กำลังมุ่งสู่ออนไลน์ด้วยความรวดเร็ว ได้ทำให้ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม
ต้องรีบปรับตัวมาให้บริการผ่านแพลตฟอร์มแบบดิจิทัล เพื่อไม่ให้ถูกดิสรัป
ซึ่งคู่แข่งคนสำคัญของธนาคาร ก็คือผู้ให้บริการ “ธนาคารดิจิทัล” ที่มีรูปแบบการให้บริการออนไลน์ทั้งหมด ไม่มีสาขาเลย เช่น Nubank จากประเทศบราซิล ที่มีบริษัท Berkshire Hathaway ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ให้ความสนใจและได้เข้าไปร่วมลงทุนเมื่อไม่นานมานี้
โดย Nubank เริ่มจากการให้บริการบัตรเครดิตดอกเบี้ยต่ำในปี 2013 ก่อนที่จะขยายบริการมาเป็นธนาคารดิจิทัลแบบสมบูรณ์ อย่างเช่น บริการเงินฝากและสินเชื่อ ในปี 2018
ปัจจุบัน Nubank คือธนาคารดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกราว 40 ล้านบัญชี
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือชาวบราซิล โดยคิดเป็น 18.8% ของประชากรบราซิล
และถ้าถามว่ารองจาก Nubank หรือธนาคารดิจิทัลที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอันดับ 2 ของโลกคือใคร ?
คำตอบก็คือ ธนาคารดิจิทัลจากประเทศเกาหลีใต้ ที่ชื่อว่า “KakaoBank”
หลายคนอาจคุ้นชื่อ Kakao จาก KakaoTalk แอปพลิเคชันแช็ตที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในเกาหลีใต้ ซึ่งบริษัท Kakao ก็ได้ต่อยอดมาทำธุรกิจให้บริการธนาคารดิจิทัลด้วย
ในประเทศเกาหลีใต้ แม้จะเคยมีบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคาร อยากลองทำธนาคารดิจิทัลมาตั้งแต่ปี 2001 แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีกฎหมายใด ๆ รองรับ
จนกระทั่งในปี 2015 รัฐบาลเกาหลีใต้ เพิ่งมีการประกาศว่าจะเริ่มออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการธนาคารดิจิทัลแล้ว ซึ่งก็ได้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างจริงในปี 2017 หรือเพียง 4 ปีก่อน ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ในปี 2017 มีผู้ให้บริการธนาคารดิจิทัล 2 แห่ง ที่ขอใบอนุญาต นั่นก็คือ
K Bank ของบริษัท KT Corporation บริษัทเทเลคอมที่ใหญ่สุดในเกาหลีใต้
KakaoBank ของบริษัท Kakao ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันแช็ตอันดับ 1 ของเกาหลีใต้
การขอใบอนุญาตนี้ นับเป็นการจดทะเบียนธุรกิจธนาคารครั้งแรกในรอบ 25 ปี และเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของธนาคารเกาหลีใต้นับตั้งแต่ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่บางธนาคารควบรวมกิจการกันเพื่อความอยู่รอด
ซึ่งก็ทำให้ปัจจุบัน เกาหลีใต้มีธนาคารที่ใหญ่ที่สุด 4 แห่ง นั่นก็คือ Kookmin Bank, Shinhan Bank, Hana Bank และ Woori Bank ที่ยังเป็นผู้นำด้านการให้สินเชื่อ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่คนละ 20-30% และมีอัตราการเติบโตของสินเชื่อโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8-9% ต่อปี
แต่ธนาคารดั้งเดิมเหล่านี้ กำลังเผชิญการแข่งขันที่ท้าทายจากธนาคารดิจิทัล โดยเฉพาะผู้นำอย่าง KakaoBank ที่ธุรกิจสินเชื่อมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 60-70% ต่อปี จนมีส่วนแบ่งการตลาดไล่ตามมาเป็น 14% ซึ่งถ้ายังเติบโตด้วยอัตรานี้ อีกไม่นาน KakaoBank จะกลายเป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อได้มากที่สุดในประเทศ
ที่สำคัญก็คือ แม้ว่าธนาคารดั้งเดิมต่างก็มีแอปพลิเคชันของตัวเอง แต่แอปพลิเคชันธนาคารที่มีผู้ใช้งานมากสุด กลับกลายเป็น KakaoBank
ตั้งแต่ที่เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2017 KakaoBank ก็มีผู้ใช้งาน 3 แสนบัญชีภายใน 24 ชั่วโมงและสามารถแตะระดับ 1 ล้านบัญชีได้ ภายในสัปดาห์แรก
จนถึงปัจจุบัน KakaoBank มีผู้ใช้งาน 16.7 ล้านบัญชี คิดเป็น 32.5% ของจำนวนประชากรเกาหลีใต้ มากกว่าแอปพลิเคชันของธนาคารดั้งเดิมที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดอย่าง Kookmin Bank ที่มีผู้ใช้งานราว 11 ล้านบัญชี ซึ่งน่าสนใจว่าผู้ใช้งานของ Kookmin Bank ลดลงจาก 15 ล้านบัญชีในปี 2019
และเมื่อเทียบกับ K Bank ธนาคารดิจิทัลของบริษัท KT Corporation ที่เปิดตัวเดือนเมษายน ปี 2017 หรือ 3 เดือนก่อนการเปิดตัวของ KakaoBank ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเพียง 6.3 ล้านบัญชี
ทั้ง ๆ ที่ K Bank ดูจะได้เปรียบกว่าเพราะมีฐานลูกค้าจากบริการเทเลคอมเกาหลีใต้กว่า 20 ล้านบัญชี แต่บริษัทก็ไม่สามารถดึงลูกค้าให้มาใช้บริการได้
ในขณะที่ KakaoBank มีฐานลูกค้าจากแอปพลิเคชันแช็ต KakaoTalk ราว 40 ล้านบัญชี สามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งาน KakaoBank ได้อย่างรวดเร็ว
แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ KakaoBank สามารถชนะในตลาดนี้ได้ ?
หนึ่งในเหตุผลหลัก ก็เป็นเพราะว่า KakaoBank มี KakaoPay ที่เป็นบริการชำระเงินเชื่อมกับแอปพลิเคชันแช็ต
ที่ได้เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2014 และได้รับความนิยมสูงมากอยู่แล้ว
อีกส่วนหนึ่งก็เพราะผู้ใช้งาน KakaoBank สามารถโอนเงินระหว่างบัญชี KakaoTalk ได้เลย
จึงทำให้การถ่ายโอนผู้ใช้งานทำได้ง่ายและเร็ว
นอกจากนี้ ก็ยังมีอีกปัจจัยที่ KakaoBank สามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้ก็คือ อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
เพราะธนาคารดิจิทัลได้เปรียบธนาคารแบบดั้งเดิมในเรื่องต้นทุนที่ต่ำกว่าจากการที่ไม่มีต้นทุนในการจัดการหน้าสาขา ทำให้ไม่ต้องจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก
ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุน จึงทำให้ธนาคารดิจิทัลอย่าง KakaoBank คิดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำกว่าและให้ดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าธนาคารแบบดั้งเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงยังให้บริการด้านอื่น ๆ แบบไม่คิดค่าธรรมเนียม ได้มากกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม
ยกตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อไมโครของธนาคารดั้งเดิมจะอยู่ที่ 6-19%
แต่ KakaoBank คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อไมโครเพียง 3% ถูกกว่าธนาคารดั้งเดิมมากกว่าครึ่ง
นอกจากความได้เปรียบโดยทั่วไปของธนาคารดิจิทัลแล้ว KakaoBank ยังสร้างจุดแข็งที่เหนือกว่าทุกแอปพลิเคชันธนาคารในประเทศ ด้วยการใส่ใจประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าเป็นหลัก
แอปพลิเคชันของธนาคารดั้งเดิมมีจุดอ่อนอยู่หลายด้าน อย่างเช่น การสร้างแอปพลิเคชันแยกหลายอัน สำหรับบริการที่ต่างกัน ทำให้ผู้ใช้งานสับสน รวมไปถึงระบบที่ไม่เสถียร การออกแบบหน้าแอปพลิเคชันใช้งานยาก ขั้นตอนการทำธุรกรรมยังคงซับซ้อนไม่ต่างจากการทำธุรกรรมที่หน้าสาขา
KakaoBank เลยออกแบบหน้าแอปพลิเคชันให้สวยงามและใช้งานง่าย ที่สำคัญคือลดความซับซ้อนและลดเวลาของแต่ละธุรกรรมลง
ยกตัวอย่างเช่น การประเมินความเสี่ยงลูกค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-KYC ที่มีมาก่อนแล้ว แต่แอปพลิเคชันของธนาคารดั้งเดิมใช้เวลาอนุมัติราว 30 นาที ขณะที่ KakaoBank ออกแบบให้ใช้เวลาอนุมัติแค่ 7 นาที ภายใต้มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงแบบเดียวกัน
นอกจากเรื่องการใช้งานที่สะดวกแล้ว KakaoBank ยังประสบความสำเร็จจากการใช้ฐานข้อมูลลูกค้า มาออกแบบบริการใหม่ ๆ ได้ถูกใจผู้ใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น “บัญชีออมเงิน 26 สัปดาห์” ที่ให้ผู้ใช้งานเปิดบัญชีออมทรัพย์เพื่อออมเงินรายสัปดาห์ โดยสามารถตั้งจำนวนเงินออมแต่ละสัปดาห์ได้เอง สามารถเพิ่มลด ช่วงเวลาออมเงินได้เอง รวมถึงสามารถแชร์สถานะการออมลงโซเชียลมีเดียได้ด้วย
บริการนี้ก็เป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว เพราะผู้ใช้งานรู้สึกได้ท้าทายตัวเอง โดยภายในเดือนแรกที่เปิดตัว มีผู้ใช้งานกว่า 3 แสนบัญชี ผ่านไป 4 ปี มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 8 ล้านบัญชีในปัจจุบัน
อีกบริการที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2020 ก็คือ “Mini” บริการสำหรับผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี ที่ยังไม่มีบัญชีออมทรัพย์หรือบัตรเครดิต ให้สามารถซื้อก่อนจ่ายทีหลังได้ โอนเงินได้แม้ไม่มีบัญชีธนาคาร รวมถึงยังออกบัตร Minicard สำหรับให้ใช้จ่ายแบบออฟไลน์ได้ด้วย
บริการ Mini ก็ประสบความสำเร็จอีกเช่นเคย เพราะมีผู้ใช้งานทะลุ 5 หมื่นบัญชีในวันเดียว และทะลุ 5 แสนบัญชีใน 1 เดือน
และนอกจากจะเพิ่มประเภทสินเชื่อและบริการให้ผู้ใช้งานที่เปิดบัญชีกับ KakaoBank เองแล้ว
KakaoBank ยังพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเอง เพื่อรองรับผู้ใช้บริการจากสถาบันการเงินเจ้าอื่นด้วย
ยกตัวอย่างเช่น บริการเปิดบัตรเครดิตของผู้ให้บริการอื่น เช่น Shinhan Card และ Samsung Card
โดยมี KakaoBank เป็นผู้จัดจำหน่ายและใช้กลยุทธ์การดึงดูดลูกค้าด้วยลายบัตรที่เป็นแครักเตอร์จากสติกเกอร์ของ KakaoTalk เอง เช่น Ryan ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากอยู่แล้ว คล้ายกับ Moon ของแอปพลิเคชันแช็ต LINE
KakaoBank ยังให้บริการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ชั้นนำ ให้บริการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น ๆ และล่าสุดก็ได้พัฒนาหน้าแอปพลิเคชันให้แสดงทุกบัญชี จากทุกสถาบันการเงินทั้งหมดที่ลูกค้ามี
ผลจากการตีแตกความต้องการของลูกค้า ก็สะท้อนมาที่ผลการจัดอันดับของ RFi ที่ให้ KakaoBank เป็นแอปพลิเคชันที่ได้คะแนนความพึงพอใจจากผู้ใช้งานมากที่สุดในเกาหลีใต้ 2 ปีซ้อน
ที่น่าสนใจก็คือ ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน KakaoBank ในช่วงอายุ 40-50 ปี สูงกว่ากลุ่มที่อายุน้อยกว่า ซึ่งข้อมูลนี้ก็สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าที่ KakaoBank เลือกโฟกัสกลุ่มผู้ใช้งานในเมืองที่มีอายุ 30-50 ปีมาตั้งแต่แรก สวนทางกับบริษัทฟินเทคส่วนใหญ่ที่จะโฟกัสกลุ่มผู้ใช้งานช่วงอายุ 20-30 ปี
เพราะ KakaoBank มองว่าผู้ใช้งานกลุ่มนี้ มีความเข้าใจในบริการทางการเงินมากกว่า และมีรายได้โดยเฉลี่ยสูงกว่า ทำให้โอกาสไม่จ่ายคืนหนี้มีน้อยกว่า เช่นกัน
ซึ่งก็ดูเหมือนว่า KakaoBank คิดถูก เพราะ KakaoBank มีสินเชื่อที่ลูกหนี้ไม่ยอมจ่ายนานกว่า 3 เดือนติดต่อกัน หรือ NPL อยู่ที่ 0.18% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของธนาคารในเกาหลีใต้ที่ 0.55%
ในด้านการทำกำไร แม้ KakaoBank จะเก็บดอกเบี้ยสินเชื่อต่ำและจ่ายดอกเบี้ยเงินฝากสูง ทำให้รายได้สุทธิจากดอกเบี้ยน้อยลง
แต่จากการควบคุมต้นทุนได้ดี เลยทำให้ความสามารถในการทำกำไรจากดอกเบี้ยหรือ NIM อยู่ในระดับเดียวกับค่าเฉลี่ยของธนาคารในเกาหลีใต้
ผลจากความสามารถในการทำกำไรที่ไม่แพ้ธนาคารดั้งเดิมและจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เลยทำให้ KakaoBank สามารถทำกำไรได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2019 หรือเพียง 18 เดือนหลังจากเริ่มให้บริการเท่านั้น เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าอย่างน้อยต้องใช้เวลา 3-5 ปี
ซึ่งความเร็วในการทำกำไรนี้ก็ถือว่าผิดปกติไปจากบริษัทฟินเทคโดยส่วนใหญ่ ที่จะยอมขาดทุนมหาศาล เพื่อทุ่มเงินลงทุนเร่งขยายฐานลูกค้าและพัฒนาเทคโนโลยีก่อน อย่าง Nubank เองก็ยังขาดทุนอยู่ หรือ K Bank จากบริษัท KT Corporation ก็เพิ่งทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในไตรมาส 2 ปี 2021 ที่ผ่านมา
ขณะที่ KakaoBank ก็ยังเน้นลงทุนเพื่อขยายฐานลูกค้าและพัฒนาบริการเช่นกัน แต่กำไรยังเติบโตเป็นเท่าตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างล่าสุด กำไรจากการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 ก็เติบโต 200% โดยยังคงมีรายได้หลักกว่า 70% มาจากดอกเบี้ย
สิ่งที่ต้องจับตามองต่อจากนี้ นอกจากพัฒนาการของ KakaoBank เอง ก็คือคู่แข่งคนสำคัญอย่าง Toss สตาร์ตอัปยูนิคอร์นด้านฟินเทคแรกของเกาหลีใต้ ที่เริ่มเปิดตัวแอปพลิเคชันโอนเงินบนสมาร์ตโฟนเมื่อปี 2015
โดย Toss Bank เพิ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ให้บริการธนาคารดิจิทัลรายที่ 3 ของเกาหลีใต้ ในเดือนกันยายนนี้ แต่จะโฟกัสลูกค้าต่างไปจาก KakaoBank อย่างเช่น ผู้ใช้งานที่อายุน้อยกว่าและเน้นสินเชื่อสำหรับกลุ่มผู้มีคะแนนเครดิตต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
และแม้ว่าผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Toss อย่างเช่น บริการชำระเงินและบัญชีซื้อขายหุ้น จะมีฐานลูกค้ารวม 20 ล้านบัญชี แต่เมื่อเทียบกับผู้ใช้งานผลิตภัณฑ์ของอาณาจักร Kakao ที่มีเกือบ 50 ล้านบัญชี หรือเกือบทั้งหมดของประชากรเกาหลีใต้ 51.7 ล้านคน ก็นับว่ายังเป็นเรื่องยากสำหรับ Toss ที่จะชิงฐานลูกค้าไปจาก KakaoBank
และด้วยเรื่องราวทั้งหมดนี้
นั่นจึงทำให้ในเวลาเพียง 4 ปี KakaoBank ได้กลายมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากถึง 1.1 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับ 10 ในเกาหลีใต้ และได้ขึ้นแท่นเป็นบริษัทธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเกาหลีใต้ ไปแล้วเรียบร้อย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://asia.nikkei.com/Business/Finance/South-Korea-digital-lenders-challenge-nation-s-traditional-giants
-https://openknowledge.worldbank.org/bitstream/handle/10986/34701/Digital-Banks-Lessons-from-Korea.pdf?sequence=1&isAllowed=y
-https://uniteconomics.substack.com/p/kakao-bank-worlds-most-profitable
-https://www.theedgemarkets.com/article/cover-story-south-korea-experience-how-kakao-bank-forced-traditional-banks-buck
-https://asianbankingandfinance.net/financial-technology/exclusive/how-kakaobank-successfully-cracked-profitability-code-two-years-after
-https://www.koreatimes.co.kr/www/biz/2019/05/126_269111.html
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20190618000501
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210712000783
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210817000968
-http://www.koreaherald.com/view.php?ud=20210805000838
-https://www.kedglobal.com/newsView/ked202106110008
corporation finance 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
กรณีศึกษา SINGER จากจักรเย็บผ้า สู่ธุรกิจใหม่หมื่นล้าน /โดย ลงทุนแมน
ในอดีต ถ้าเราพูดถึง SINGER หลายคนน่าจะนึกถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า
หรืออีกอย่างคือ “จักรเย็บผ้า” ที่ถือว่าเป็นหนึ่งสินค้าชื่อดังของ SINGER เลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่าวันนี้ รายได้จากการขายจักรเย็บผ้าของ SINGER
ลดลงมาเหลือเพียง 1% ของรายได้รวม..
แล้ววันนี้ SINGER เปลี่ยนไปจากเดิมมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จุดเริ่มต้นของ SINGER ต้องย้อนกลับไปถึงปี ค.ศ. 1851 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2394 หรือเมื่อ 170 ปีมาแล้ว
2 นักธุรกิจชาวอเมริกัน ชื่อว่า Isaac Singer และ Edward Clark ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทผลิตจักรเย็บผ้าที่มีชื่อว่า Singer Corporation ขึ้นในนิวยอร์กซิตี สหรัฐอเมริกา
SINGER เป็นที่รู้จักของคนไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2432 เมื่อ Singer Corporation ได้แต่งตั้งให้บริษัท เคียมฮั่วเฮง จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายจักรเย็บผ้า SINGER ในประเทศไทย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 Singer Corporation ได้จัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทย
โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ซิงเกอร์ โซอิ้ง แมชีน จำกัด
เพื่อขายจักรเย็บผ้าและสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรเย็บผ้า โดยสินค้าที่ขายส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 บริษัทได้ริเริ่มให้บริการเช่าซื้อจักรเย็บผ้า
คือลูกค้าสามารถมาซื้อจักรเย็บผ้าแบบผ่อนชำระเป็นงวดได้
ทำให้จักรเย็บผ้าแบรนด์ SINGER ยิ่งเป็นที่รู้จักในไทยมากขึ้น
หลังจากขายจักรเย็บผ้า ภายหลัง SINGER ก็เริ่มขยายไปสู่การขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน พร้อมทั้งมีการจัดตั้ง บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด ก่อนที่ต่อมาจะจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน แล้วเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2527
จากจักรเย็บผ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า SINGER เริ่มขยายธุรกิจไปขายสินค้าเชิงพาณิชย์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นตู้แช่แข็ง, ตู้แช่เครื่องดื่ม, ตู้เติมเงินหยอดเหรียญอัตโนมัติ, ตู้น้ำมันหยอดเหรียญอัตโนมัติ
นอกจากนั้นยังเป็นตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แบรนด์ต่าง ๆ รวมไปถึงธุรกิจบริการที่มาจากการบริการติดตั้ง ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด
เมื่อแบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จักและมีฐานลูกค้ามากขึ้น
SINGER ก็เริ่มเข้าสู่ธุรกิจ การให้บริการสินเชื่อ
รวมถึงเป็นนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2558
เมื่อกลุ่ม JMART ที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจสินเชื่อและบริหารหนี้ ได้เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ SINGER และได้ปรับโครงสร้างการทำธุรกิจของ SINGER ให้เข้าสู่ธุรกิจให้บริการสินเชื่อมากขึ้น
ปัจจุบัน บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นใน SINGER ทั้งสิ้น 148.5 ล้านหุ้น คิดเป็น 32.6% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
โดยสินเชื่อกลุ่มหลักที่ SINGER ให้บริการคือ สินเชื่อเช่าซื้อสินค้า สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ และสินเชื่อเช่าซื้อเครื่องจักร โดยที่ SINGER ก็จะทำรายได้จากดอกเบี้ยรับ ที่ลูกหนี้มาผ่อนชำระค่าเงินสินเชื่อ
หลังการเข้ามาของกลุ่ม JMART พอร์ตธุรกิจสินเชื่อของ SINGER ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
จาก 3,600 ล้านบาท ในปี 2562 มาอยู่ที่ 6,600 ล้านบาท ในปี 2563 โดยบริษัทยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มพอร์ตสินเชื่อไปถึง 10,000 ล้านบาท ในปีนี้
แม้บางคนอาจกังวลว่า การเติบโตของพอร์ตสินเชื่อ อาจทำให้เกิดหนี้เสียมากขึ้น แต่นักลงทุนหลายคนก็มองว่า ความเชี่ยวชาญในเรื่องของการติดตามหนี้ที่กลุ่ม JMART มีอยู่ จะช่วยทำให้ธุรกิจนี้ของ SINGER ยังเติบโตไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่เป็นแบบนี้เพราะ กลุ่ม JMART นั้น มีอีกบริษัทในเครือ คือ JMT ซึ่งทำธุรกิจรับซื้อหนี้เสียและติดตามทวงหนี้โดยเฉพาะนั่นเอง
ลองมาดูกันว่า ในปีที่ผ่านมา รายได้ของ SINGER มาจากอะไรบ้าง ?
- รายได้จากการขายสินค้า 67%
- รายได้จากดอกเบี้ยรับ 27%
- รายได้จากธุรกิจบริการ ธุรกิจนายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย และรายได้อื่น ๆ 6%
โดยข้อมูลที่น่าสนใจ จากแบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563 ของบริษัท
คือรายได้จากการขายจักรเย็บผ้า ที่เป็นสินค้าแรกเริ่มของ SINGER นั้น
ในปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนคิดเป็นเพียง 1% ของรายได้รวมของบริษัทเท่านั้น
ผลประกอบการของ บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
ปี 2561 รายได้ 2,888 ล้านบาท ขาดทุน 81 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 2,610 ล้านบาท กำไร 166 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 3,658 ล้านบาท กำไร 443 ล้านบาท
เรียกได้ว่า SINGER ทำผลประกอบการเติบโตได้อย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฉพาะปีล่าสุดที่แม้จะเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด 19
แต่บริษัทก็ยังทำกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
แต่ต้องยอมรับว่า ธุรกิจของบริษัทก็เป็นลักษณะธุรกิจที่แข่งขันสูง ไม่ว่าจะเป็นการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ในประเทศไทยนั้นมีผู้ประกอบการหลายรายที่ทำธุรกิจนี้
นอกจากนั้นในส่วนของธุรกิจให้สินเชื่อ
ก็ยังต้องคอยติดตามกฎเกณฑ์ การกำกับดูแลการให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของเพดานดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อได้ในอนาคต
ทั้งยังต้องแข่งขันกับผู้ให้บริการสินเชื่ออีกหลายราย
โดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) ในตลาดที่มีจำนวนไม่น้อยเลย
ก็น่าติดตามว่าการรุกธุรกิจสินเชื่อของ SINGER ที่อาศัย Synergy กับกลุ่ม JMART จะทำให้บริษัทเติบโตได้อีกแค่ไหน
แต่สิ่งที่น่าสนใจในตอนนี้ก็คือ
ปี 2561 มูลค่าบริษัท SINGER อยู่ที่ประมาณ 1,700 ล้านบาท
ขณะที่ในวันนี้ บริษัท SINGER มีมูลค่ากว่า 21,000 ล้านบาท
หรือปรับเพิ่มขึ้นมามากกว่า 12 เท่า ในระยะเวลาไม่ถึง 3 ปี..
หมายเหตุ: บทความนี้ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อหรือขายหุ้นตัวนี้ การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนการตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-แบบฟอร์ม 56-1 ปี 2563, บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
-https://www.singerthai.co.th/th/about-us/corporate-info
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2563, บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
-https://www.prachachat.net/finance/news-618775
corporation finance 在 豐富 Youtube 的精選貼文
主持人:楊應超
第一季-第7集:投資房地產拿來收租好嗎?
節目直播時間:週五 14點
本集播出日期:2020.10.23
⏭ 章節:
00:00 頻道片頭
00:07 開場
00:41 節目片頭
00:59 投資房地產拿來收租好嗎?
13:22 Q&A:保險跟投資不應該混在一起
23:22 Q&A:可以考慮投資黃金ETF
28:24 Q&A:現在沒有計劃收錢開課
40:04 請繼續提問:你活著不是為了工作,祝大家早日達到FIRE財務自由
42:56 節目片尾
📝 名詞補充:
1. Professor Robert Shiller:諾貝爾獎得主席勒教授
2. Depreciation:房屋折舊抵稅
3. H&R Block:美國的一個特別幫個人保稅的公司
4. LLC:Limited Liability Corporation有限公司
5. Single Family Home:個人家庭房子
6. Apartment Duplex:雙戶的公寓
7. Term Life Insurance:定期壽險
8. Whole Life Insurance:終身壽險
9. ADR:American Depository Receipt(例如:台灣上市美國交易的股票)
10. ADR Access:可以買到ADR的管道
11. GLD:之前最流行的黃金ETF
12. GLDM和SGOL:較低管理費黃金的ETF
13. ETF管理費:QQQ (0.20%),SPY (0.095%),DIA (0.16%),GLD (0.40%),GLDM (0.18%),SGOL (0.17%)
14. Ray Dalio:美國橋水基金的創始人
15. Hedge Fund:對沖基金
16. Longevity (Long Term Care Insurance):長期護理保險
17. Geo-arbitrage:地理套利(退休住便宜的地方)
18. Liberal arts - personal finance:大學個人財務的課程
19. Enron:美國很有名的安隆公司,後來因為做假帳倒掉
20. Clark Howard:美國很有名的個人財務名嘴,每天3小時免費廣播服務回答問題
📚 參考書訊:《財務自由的人生:跟著首席分析師楊應超學華爾街的投資技巧和工作效率,40歲就過FIRE的優質生活》 https://eslite.me/w24ad
#楊應超 #財務自由 #房地產投資
-----
訂閱【豐富】YouTube頻道:https://www.youtube.com/c/豐富
按讚【豐富】FB:https://www.facebook.com/RicherChannel
corporation finance 在 Humans Offshore Podcast離島人 Youtube 的最佳解答
🔥文組也能成為軟體工程師嗎?
這週離島人邀請到在目前在美國的文組軟體工程師:許瑞庭。
瑞庭是台灣長大的孩子,在高中選了文組、然而前往美國UCLA攻讀大學時對程式產生興趣,意外走上軟體工程之路。大學時的暑假、曾經在Apple實習,今年畢業後也將加入微軟在西雅圖的總部。
歡迎大家來聽聽這週的離島人播客節目,
來聽聽瑞庭分享在美國求學生活的經驗、及當時決定成為軟體工程師的契機。
-----
🎙Ep094 - 文組軟體工程師在美國:許瑞庭
#轉職 #軟體工程師 #微軟
🔗 https://www.facebook.com/renee.hsu.9788
🏆經歷
- 美國 ACM at UCLA - External Director/ Finance Director
- 美國 Apple - Software Engineer Intern
- 美國 Tutorfly Inc. Mobile Application Development Intern
- 台灣 Universal Cement Corporation - Website Redesign Intern.
🎓學歷
- 美國 University of California(UCLA) - Economics/ Cognitive Science with Specialization in Computing
- 美國 Horizons School of Technology - Full stack web development
- 台灣 Taipei First Girls High School
-------------
🎧離島人們的經驗交流播客平台
A podcast platform, shares experiences of those who are offshore.
🎬 Youtube | https://bit.ly/ho_youtube
🎙 參與錄音 | http://bit.ly/humansoffshore_interviewform
🎧 收聽 on Spotify | http://bit.ly/podcast_humansoffshore
👉🏼 Follow us on Instagram | http://bit.ly/humansoffshore_ig
👉🏼 Follow us on Facebook | http://bit.ly/humansoffshore_fb
corporation finance 在 Corporate Finance Definition - Investopedia 的相關結果
Corporate finance is concerned with how businesses fund their operations in order to maximize profits and minimize costs. · It deals with the day-to-day ... ... <看更多>
corporation finance 在 Overview of Main Activities in Corporate Finance 的相關結果
Corporate finance deals with the capital structure of a corporation, including its funding and the actions that management takes to increase the value of ... ... <看更多>
corporation finance 在 International Finance Corporation: IFC 的相關結果
IFC—a sister organization of the World Bank and member of the World Bank Group—is the largest global development institution focused exclusively on the private ... ... <看更多>