========
Wildermyth: พลังของเรื่องเล่าและตํานาน
========
.
หนึ่งในภูมิปัญญาของคนโบราณคือการรังสรรค์เรื่องเล่าจำนวนมากในรูปเทพนิยาย ตำนาน และนิทานสอนใจ ใช้สอนคนรุ่นหลังในยุคมุขปาฐะที่มนุษย์เรียนรู้หลักๆ ด้วยวิธีการเล่าปากต่อปาก นานนับพันปีก่อนกำเนิดของแท่นพิมพ์ และสำหรับชาวกรีกโบราณ ผู้หายใจเข้าออกเป็นตำนาน พวกเขาก็หลงใหลในละครโศกนาฏกรรม (tragedy) ที่ถ่ายทอดชีวิตตัวละครไปถึงฉากจบอันแสนเศร้า เพราะเชื่อว่าละครที่ดีนั้นสามารถยกระดับจิตใจคนดู ชำระล้างให้บริสุทธิ์ ผ่านการเข้าถึงความหดหู่เศร้าหมองอย่างลึกซึ้งถึงแก่น
.
ชาวกรีกโบราณไม่อยากขานใครว่า “วีรบุรุษ” หรือ “วีรสตรี” ก่อนที่เขาหรือเธอจะตายจากไป เพราะอยากได้ประเมินการใช้ชีวิต “ทั้งชีวิต” ของคนผู้นั้นก่อน ว่าโดยรวมแล้วคู่ควรกับคำสรรเสริญเยินยอมากน้อยเพียงใด ชีวิตของเธอหรือเขาควรเป็น “ตำนาน” หรือไม่
.
ผู้เขียนคิดเรื่องนี้ระหว่างเล่น Wildermyth เกมสวมบทบาท (RPG) แนว Roguelike (สุ่มทั้งเหตุการณ์ แผนที่ ตัวละคร และเรื่องราวในเกม) จากสามีภรรยา Nate กับ Anne Austin ที่รวมตัวกันในชื่อ Worldwalker Games
.
นี่คือเกม RPG หน้าตาน่ารักน่าชังแต่ระบบการต่อสู้สุดมันส์และมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แต่เสน่ห์ที่ทำให้ Wildermyth โดดเด่นกว่า RPG เกมอื่นก็คือ จุดเน้นที่ “เรื่องราว” และ “พัฒนาการ” ของตัวละครในทีมเรา พวกเขาแต่ละคนเริ่มต้นจากการเป็นชาวนาชาวไร่ธรรมดาๆ ที่ถูกสถานการณ์บังคับให้ต้องจับจอบจับเสียมมาสู้รบปรบมือกับสัตว์ประหลาด ซึ่งในเกมนี้ก็ไม่ใช่ ก็อบลิน ออร์ค คนแคระ เอลฟ์ หรือเผ่าพันธุ์ตามขนบแฟนตาซีมาตรฐานในโลกตะวันตกที่เราคุ้นเคย แต่เป็นเผ่าพันธุ์แปลกใหม่น่าตื่นตา มีทั้งหมดห้าเผ่า บางเผ่าดูเหมือนฤาษีคลั่งลัทธิจากโลกใต้ดินอันเร้นลับ บางเผ่าเป็นหุ่นยนต์แนว steampunk อันเต็มไปด้วยปริศนา บางเผ่าดูเหมือนแมลงไปผสมพันธุ์กับมังกร (และมีพลังจิตอีกต่างหาก!) และบางเผ่าก็มีหน้าตาเหมือนสัตว์ประหลาดจากต่างดาว “ศัตรู” ที่เราต้องต่อกรด้วยเหล่านี้ล้วนแต่มีปูมหลังลึกลับน่าค้นหา ซึ่งจะค่อยๆ เผยออกมาระหว่างทาง จนสุดท้ายเราอาจค้นพบว่า พวกเขาไม่ใช่ “ศัตรู” คู่อาฆาตของเราแต่อย่างใดเลยก็ได้
.
เป้าหมายใหญ่ไม่ว่าเราจะเลือกเล่นแคมเปญไหนก็คือ ทีมนักผจญภัยของเราต้องพิทักษ์โลกแฟนตาซี ในเกมนี้ชื่อ Yondering Lands จากภยันตรายที่คืบคลานเข้ามา ระบบเกมสลับระหว่างฉากการวางแผนการเดินทางระหว่างเมืองต่างๆ ในโลก ฉากการต่อสู้แบบ tactical (เป็น turn-based ไม่ใช่เวลาจริงหรือ real-time) และฉากการเล่าเรื่องผ่านการ์ตูนช่องสองมิติ เมื่อเวลาผ่านไป สมาชิกในทีมของเราจะเก่งกล้าสามารถขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งอัพเลเวล เราจะได้เลือกหนึ่งในสามทักษะใหม่ที่ตรงกับคลาส (class) ของตัวละคร ซึ่งมีสามคลาส ได้แก่ นักรบ (ระยะประชิด) (warrior) นายพราน (แม่นธนู) (hunter) และ นักเวท (mystic) ใช้เวทเป็นอาวุธ
.
แคมเปญแต่ละแคมเปญในเกมแบ่งเรื่องออกเป็น “บท” จำนวนสามถึงห้าบท เราจะเดินทางระหว่างแคว้นต่างๆ ในโลกเพื่อเฟ้นหาสมาชิกใหม่มาร่วมทีม สร้างแนวป้องกันศัตรู ลาดตระเวนป้องกันศัตรู บุกโจมตีฐานที่มั่นของศัตรู สร้างทางเดินหรือสะพานไปสำรวจแคว้นใหม่ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาผลิตวัตถุดิบสำหรับสร้างหรืออัพเกรดอาวุธและเสื้อเกราะตอนจบแต่ละบท โดยจะได้โอกาสอัพเกรดก่อนประมือกับ “บอสใหญ่” ของแคมเปญด้วย ทุกภารกิจบนแผนที่โลกนี้เราสามารถส่งตัวละครในทีมตั้งแต่ 1-5 คนไปทำ ภารกิจบางอย่างต้องใช้คนมากกว่าหนึ่งคน ด้านบนของแผนที่โลกจะแสดงเค้าน์ท์เตอร์ (counter) นับเวลาถอยหลังสองอัน อันหนึ่งบอกเวลาที่ศัตรูจะบุกมาทำลายเมือง อีกอันนับถอยหลังเวลาที่ศัตรูจะเก่งขึ้นอีก (แต่มันก็เก่งขึ้นอัตโนมัติอยู่แล้วหลังการต่อสู้ทุกครั้ง)
.
ระบบการต่อสู้ของ Wildermyth สนุกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เราจะซูมลงมาดูทีมนักผจญภัยบนตารางคล้ายหมากรุก จะมองเห็นศัตรูก็ต่อเมื่อมันเดินเข้ามาในระยะสายตา แต่ละตาทีมเราจะเดินก่อน จากนั้นศัตรูจะเดิน แต่ละคนมี 2 แอ๊กชั่นให้ใช้ระหว่าง เดิน โจมตี หรือใช้ความสามารถอื่น ความสามารถบางอย่างต้องใช้ทั้ง 2 แอ๊กชั่น บางอย่างเป็น free action แต่ใช้ไม่ได้ทุกตา เป็นต้น นักรบ นายพราน และนักเวทล้วนท่าโจมตี ทักษะ และสไตล์การเล่นแตกต่างกัน แน่นอนว่านักรบควรอยู่ด่านหน้าเป็น “แทงก์” และปกป้องเพื่อนในทีม (ทักษะ “Guardian” หรือผู้คุ้มกัน ที่ให้โจมตีศัตรูอัตโนมัติที่เข้ามาใกล้ในระยะ 1×1 หรือ 2×2 มีประโยชน์มาก) นายพรานใน Wildermyth เป็นส่วนผสมระหว่าง ranger กับ rogue ในขนบ RPG ทั่วไป คือสามารถยิงธนูจากระยะไกลและอำพรางตัวไม่ให้ศัตรูมองเห็น
.
นักเวทนับเป็นคลาสที่สนุกที่สุดในเกมนี้ เพราะไม่ได้ร่ายเวทจากคัมภีร์เวทมนตร์เหมือน RPG ทั่วไป แต่นักเวทใน Wildermyth ร่ายเวทจากการ “Interfuse” หรือส่งพลังไป “หลอมรวม” กับเฟอร์นิเจอร์ ก้อนหิน ต้นไม้ กองไฟ หรือสิ่งของอื่นๆ ในฉาก จากนั้นค่อยใช้ท่าโจมตีที่ใช้ลักษณะเด่นของสิ่งที่ไปหลอมด้วย เช่น ถ้าเป็นพุ่มไม้ก็ยิงหนามแหลม ถ้าเป็นไฟก็ยิงลูกไฟ ถ้าเป็นตู้ไม้ก็ยิงเศษไม้ใส่ เป็นต้น และเมื่อนักเวทอัพเลเวล ท่าโจมตีเหล่านี้ก็จะได้อัพเกรดทั้งความแรงและท่าใหม่ๆ ที่สนุกสนานกว่าเดิมอีก
.
ทุกครั้งที่เราจบการต่อสู้ ศัตรูที่เราประมือด้วยก็จะเก่งขึ้นอีก อาจจะมีพลังชีวิตมากขึ้น มีเกราะมากขึ้น หรือมีสัตว์ประหลาดชนิดใหม่ในเผ่ามาร่วมรบ เราไม่มีทางกดไม่ให้มันเก่งขึ้น ต่างจากการลดเคาท์น์เตอร์เรื่องความเก่งของศัตรูบนแผนที่โลก ทุกครั้งที่เวลาเคาน์ท์เตอร์นับถอยหลังเหลือศูนย์ เกมจะแสดงผลบนจอว่าศัตรูเผ่าไหนจะเก่งขึ้นอย่างไร เรามีทางเลือกที่จะใช้ “แต้มความเป็นตำนาน” (Legacy Points) ที่ได้จากการสำรวจดินแดนใหม่ๆ และผ่านเส้นเรื่องบางจุด กดไม่ให้ศัตรูเก่งขึ้นได้ถ้าเรามีแต้มมากพอ
.
กลไกนี้หมายความว่า บรรดานักผจญภัยของเราจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ก็จริง แต่ศัตรูก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ เป็นเงาตามตัวด้วย ยังไม่นับเหตุการณ์ตามท้องเรื่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเป็นระยะๆ บางครั้งตัวละครเราจะถูกดึงให้ไปทำภารกิจ (quest) ส่วนตัวอะไรสักอย่าง ก่อนจะกลับมาร่วมเดินทางกับทีม
.
พูดถึงเหตุการณ์ตามท้องเรื่องแล้วก็ต้องพูดถึงระบบ “พัฒนาการ” ของตัวละคร และวิธีเล่าเรื่องของ Wildermyth อันเป็นจุดที่โดดเด่นที่สุดของเกมนี้ สมาชิกนักผจญภัยของเราทุกคนไม่เพียงแต่มีปูมหลังและลักษณะนิสัยที่แตกต่างกัน (ใจร้อน / ช่างคิด / เพ้อฝัน / โรแมนติก / ชอบผจญภัย / กวี และนิสัยอื่นๆ หลายสิบชนิด) แต่เกมนี้จะติดตามเรื่องราวของตัวละครตั้งแต่มาร่วมทีมในวัยละอ่อน (20 ต้นๆ) จนถึงวันตาย เราจะได้เห็นฮีโร่คนโปรดเติบโต ผมดำขลับเปลี่ยนเป็นสีดอกเลา จากนั้นพอถึงวัย 70-80 ก็จะใกล้ตาย (เกมจะบอกเราในฉากติดอาวุธหรืออุปกรณ์ว่า ตัวละครตัวไหนที่จะไม่อยู่กับเราในบทต่อไปแล้ว) และเมื่อฮีโร่ตายหรือเราพิชิตแคมเปญได้แล้ว นั่นก็ยังไม่ใช่ “จุดจบ” ของนักผจญภัย – เราสามารถเลือกสมาชิกคนโปรดที่อยากเจออีกในแคมเปญอนาคต ในฐานะ “ฮีโร่ในตำนาน” และได้เลือกความสามารถพิเศษบางอย่างที่เขาหรือเธอสะสมมาตลอดแคมเปญ ให้เป็น “มรดก” สำหรับเขาหรือเธอในภพถัดไป เมื่อต้องเริ่มต้นใหม่ที่เลเวล 1 เหมือนกับสมาชิกคนอื่นๆ
.
ระบบ Legacy แปลว่า ฮีโร่คนโปรดของเราอาจกลายเป็นตำนานอันยิ่งใหญ่หลังจากที่เราเลือกเซฟเขาหรือเธอไปเล่นหลายแคมเปญติดต่อกัน เกมจะบันทึกการผจญภัยและเหตุการณ์สำคัญๆ ที่นักผจญภัยแต่ละคนประสบพบเจอใน “ประวัติ” ของเขาหรือเธอ
.
ที่น่าทึ่งไปกว่านั้น นักผจญภัยในทีมเราจะไม่ได้ง่วนอยู่กับการทำภารกิจต่อสู้สัตว์ประหลาดอย่างเดียว แต่มี “ชีวิต” ที่หลากหลายและเปี่ยมเสน่ห์ ก่อนการต่อสู้ทุกครั้งและระหว่างการเดินทางท่องโลก เรามีโอกาสเจอ “เรื่องราว” ที่เข้ามากระทบกับตัวละครอยู่เสมอ ทุกเรื่องเล่าผ่านการ์ตูนช่องที่ให้เราตัดสินใจผลลัพธ์ และเรื่องนั้นก็อาจเป็นเรื่องราวเรียบง่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวละครสองตัวเกี้ยวพาราสีจนพบรัก หรือชิงดีชิงเด่นกันจนเป็นคู่อริ (มีผลในฉากต่อสู้ด้วย) ตัวละครอีกตัวนึกครึ้มใจอยากแต่งกลอนชื่นชมธรรมชาติ บางครั้งคู่รักอาจให้กำเนิดลูกสาวหรือลูกชายที่เติบโตมาเป็นนักผจญภัยเหมือนพ่อแม่ (เราเลือกได้ว่าจะให้ตัวละครใหม่เป็นคลาสอะไร) หรือไม่อีกที ตัวละครอีกตัวอาจเจอหินลึกลับที่พอแตะแล้วซึมซับเข้าไปในร่างกาย เปลี่ยนแขนหรือขาให้กลายเป็นก้อนหินทรงพลัง (การแปลงร่างในเกมนี้มีหลากหลายรูปแบบ และทั้งหมดล้วนแต่สนุกมากเวลาเจอ)
.
เรื่องราวทุกเรื่องในเกมถ่ายทอดเป็นการ์ตูนช่องสองมิติสวยงาม หลายเรื่องใช้ภาษาเรียบง่ายแต่น่าหลงใหลไม่ต่างจากการได้อ่านเรื่องสั้นชั้นดีเลยทีเดียว อีกจุดที่สนุกมากคือการเล่าเรื่องระหว่างบท เมื่อจบบทหนึ่งแล้ว เกมจะขึ้นข้อความให้เราเห็นว่า การกระทำของเรามีผลให้โลก Yondering Lands ได้พบกับสันติสุขไปกี่ปี (ก่อนที่ความโกลาหลครั้งใหม่จะเริ่มต้นในบทถัดไป) จากนั้นก็ขึ้นการ์ตูนช่องบรรยายว่า ในช่วงเวลาแห่งสันตินั้น สมาชิกในทีมเราแต่ละคนใช้เวลาไปทำอะไรบ้าง บางคนอาจเปิดผับขายเหล้า บางคนกลับบ้านไปหาครอบครัว บางคนตั้งรกรากมีลูก บางคนอาจสอนเวทให้กับนักเวทรุ่นต่อไป ทั้งหมดนี้ประกอบกันทำให้เราใส่ใจกับทีม เสียใจเมื่อใครสักคนต้องตาย ไม่ว่าจะตายในสนามรบ ตายตามท้องเรื่อง หรือตายตามอายุขัยก็ตาม
.
Wildermyth มีโหมด multiplayer ให้เราผจญภัยร่วมกับเพื่อนๆ และมีแคมเปญแบบสุ่มนอกเหนือจากแคมเปญหลักที่เล่าเรื่องใหญ่ห้าแคมเปญ แคมเปญสุ่มจะไม่มีเส้นเรื่องใหญ่ใดๆ มีเพียงเหตุการณ์สั้นๆ ที่คาดเดาไม่ได้ล่วงหน้า (procedural campaign) ทำให้มันเป็นเกม RPG ส่วนน้อยที่เล่นแล้วเล่นอีกได้ไม่รู้เบื่อ ยังไม่นับ mods อีกมากมายที่แฟนเกมบรรจงสร้างมาต่อเติมเนื้อหาให้สดใหม่อยู่เสมอ
.
คงไม่มีคำสรรเสริญ Wildermyth ใดๆ ที่จะชัดไปกว่าการกล่าวว่า นี่เป็นเกมหนึ่งในจำนวนไม่กี่เกมที่ผู้เขียนคิดว่าจะไม่มีวันลบไปจากฮาร์ดดิสก์แน่ ๆ
.
- สฤณี อาชวานันทกุล
.
#UnderdogsCorner #GamingDose #wildermyth #Fringer
counter แปลว่า 在 Reiko.ws Facebook 的最讚貼文
มาหาไอเท็มทำสวยเที่ยวปลายปีกันหน่อย และพบว่าเค้าน์เตอร์ Shiseido ที่สยามพารากอน เค้าตกแต่งใหม่ คูลบิวตี้ สไตล์เจแปนเลยนะยูววว
.
サイアムパラゴンの資生堂カウンターが新しくなりました!デジタルとビューティーが一体化して、肌審査など無料でカウンセリングできます。年末限定風呂敷ラッピングも素敵でした!
.
ได้ยินว่าเป็น Alive Counter แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรวจวัดสภาพผิวและจิตใจ แนะนำไอเท็มที่เข้ากับเราได้ในแบบดิจิตอล! (ตรวจฟรี)
.
ที่ออกใหม่และพลาดไม่ได้คือ Shiseido 2020 Holiday Collection ที่ออกแบบแพ็กเก็จโดยคุณ Noritaka Tatehana ศิลปินชื่อดัง
.
สำหรับช่วงปลายปีนี้ ห่อของขวัญฟรี ซื้ออะไรก็ห่อฟรี! สวยหรูดูมีคลาสมาก (มีห่อแบบผ้าฟุโระชิคิด้วยนะ) ไปดูของจริงกันได้ที่เคาน์เตอร์ Shiseido ชั้น M, Siam Paragon เลยจ้า
ปล.และลายผ้าห่อ ดันคล้ายลายเสื้อเราวันนี้อีก 555
.
#ไหนๆแล้วสอนศัพท์กันหน่อย
風呂敷 ・ ふろしき ・ furoshiki แปลว่า ผ้าฟุโรชิคิ เป็นผ้าทรงสี่เหลี่ยม ลวดลายต่างๆ ที่ชาวญี่ปุ่นไว้ใช้ห่อของ เช่น กล่องข้าว, ของขวัญ เป็นต้น
.
.
#ShiseidoHoliday #ShiseidoThailand #ALIVEwithBeauty #reikowsevent #reikowsbeauty #バンコク #資生堂
counter แปลว่า 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
รีโพสต์ต่อเนื่อง
ไม่ใช้ยา ใช้อะไรได้บ้างเพื่อบรรเทาหวัดให้ลูก
ปล.น้ำผึ้ง ควรใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี และซื้อน้ำผึ้งที่ได้รับตรา อย.นะคะ
#รักษาหวัดโดยไม่ใช้ยา (อิงหลักฐานทางการแพทย์)
.
หากใครอ่านโพสต์
“6 ข้อ...ที่หมอเด็กอยากบอก เมื่อเด็กเล็กเป็นหวัด”
ก็น่าจะมีความเข้าใจระดับหนึ่งนะคะ
หวัดเป็นโรคที่เจอบ่อยที่สุด
เด็กเป็นหวัดเฉลี่ย 6-8 ครั้ง/ปี
(โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งไป nursery หรือ อนุบาลใหม่ๆ เป็นเดือนละ 2 ครั้ง ก็เจอบ่อย)
โรคหวัดภาษาทางการ คือ Rhinitis
ซึ่งรากศัพท์ Rhino แปลว่าจมูก -itis แปลว่าอักเสบ
รวมกัน แปลว่า การอักเสบที่เกิดบริเวณจมูก (เริ่มที่จมูก)
ซึ่ง สาเหตุ #เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
เมื่อเยื่อบุจมูกอักเสบ
ก็จะตอบสนองด้วยการบวม และมีการคัดหลั่งน้ำมูกเพิ่ม
เราก็จะมี #อาการคัดจมูก และ #มีน้ำมูก
เชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค
เม็ดเลือดขาว จะหลั่งสารต่างๆในกระบวนการกำจัดเชื้อโรค
ทำให้เรา #มีไข้ #รู้สึกไม่สบายตัว
(ในเด็กก็จะแสดงอาการ งอแง หรือบางคนก็หลับมาก ไม่เล่น ไม่ร่าเริง)
.
ทีนี้ถามว่า ยารักษาเฉพาะ
แบบว่าไปฆ่าเชื้อโรคในร่างกายเลยมีมั้ย?
ตอบว่า #ไม่มี
การรักษาก็จะเป็นแบบประคับประคอง
supportive treatment หัวใจของการรักษาแบบนี้คือ
#ทำได้แค่ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายขึ้นเท่านั้น
.
ยาที่เราเรียกว่า ยารักษาตามอาการ เช่น
มีไข้ ก็ให้ยาลดไข้
คัดจมูก ก็ให้ยาลดบวมของเยื่อบุจมูก
มีน้ำมูก ก็ให้ยาลดน้ำมูก
มีอาการไอ ก็ให้ยาแก้ไอกลุ่มยาละลายเสมหะ
.
ซึ่งเป็นยาที่ใช้มาอย่างช้านานแล้วใช่มั้ยคะ
แต่จากการรวบรวมผลการศึกษาหลายๆการศึกษา
และนำมาสรุปผล (meta-analysis)
กลับพบว่า ยาลดอาการคัดจมูก ยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ นอกจากจะไม่ช่วยลดอาการหวัดของเด็ก/ไม่ช่วยให้หวัดหายเร็วขึ้น #ยายังมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นอีกด้วย
อย่างที่เคยเขียนในโพสต์ก่อน ว่ายาลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกเหนียวข้นขึ้น ในเด็กเล็ก
ไอไม่เก่ง ขากเสมหะไม่ได้
มีรายงานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เชื้อกระจายลงไปที่ทางเดินหายใจส่วนล่างมากขึ้น
และยาลดอาการคัดจมูก กับยาละลายเสมหะ
ก็ไม่มีผลยืนยันที่บอกว่าทำให้เด็กดีขึ้น
(คือกินกับไม่กินก็เหมือนๆกัน)
แปลว่า ไม่ต้องให้ เพราะให้ก็จะเกิดผลข้างเคียงของยาได้แถมยังไม่เกิดประโยชน์อีก
.
แต่ในผู้ใหญ่ ยาลดคัดจมูก ยาลดน้ำมูก และยาแก้ไอ
กินยาแล้วเราก็ดีขึ้น ไม่ต้องทรมานกับน้ำมูกที่ไหลเวลาทำงาน ยาลดคัดจมูกก็ทำให้หายใจโล่งขึ้น
ดังนั้น การศึกษาในผู้ใหญ่ ยาพวกนี้ ก็จะได้ผลดีในแง่เรื่องคุณภาพชีวิต
.
👉 ข้อสรุปก็คือ ในเด็กอายุมากกว่า 6 ปี ก็คล้ายกับผู้ใหญ่
คือ การให้ยาช่วยลดอาการต่างๆ ดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์ในแง่คุณภาพชีวิตตอนที่เจ็บป่วย ดีขึ้น ให้ยาได้ด้วยความสบายใจ
👉 ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
จะเป็นเด็กที่พบผลข้างเคียงจากยามากที่สุด
ในอเมริกามีข้อห้ามใช้ยาเพื่อรักษาหวัด
(Over-the-counter cold medications)
ในเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ตั้งแต่ปี 2008
ในเด็กกลุ่มนี้ ไม่ต้องแปลกใจ ถ้าเป็นหวัดแล้วไปพบหมอเด็กจะได้มาแค่ #ยาลดไข้กับน้ำเกลือหยดจมูก
(แต่ก็ไม่ได้มีข้อห้ามใช้เป็นทางการนะคะ แพทย์บางคนยังจ่ายยาลดน้ำมูกก็ไม่ถือเป็นความผิด
เอาเป็นว่าใช้ได้ #แต่ต้องระมัดระวังมากในเด็กอายุน้อย)
ส่วนในเด็กอายุ 2-5 ปี การให้ยา
ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
ซึ่งส่วนตัวหมอเองก็จ่ายยาเหมือนกันค่ะ ตามความจำเป็น จะให้คำแนะนำแม่เป็นหลัก
.
อ่านไปอ่านมา....คุณแม่เริ่มกังวลใจใช่มั้ยคะ
ถ้ายาไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น แถมยังอาจจะมีผลข้างเคียง แล้วจะทำอย่างไรดี?
เรื่องนี้ ไม่ใช่เป็นความกังวลเฉพาะบ้านเมืองเรานะคะ
ที่อเมริกาเอง ก็พบผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาลดอาการหวัดในเด็กมาก เค้าก็เลยเริ่มมีการศึกษา ว่าจะมีวิธีการรักษาที่ไม่ใช่ยาหรือไม่?
American Academy of Pediatrics (AAP)
มีบทความที่เขียนให้ความรู้เรื่อง
วิธีการบรรเทาอาการหวัดในเด็ก โดยไม่ใช้ยา โดยความรู้พวกนี้ก็อ้างอิงมาจากงานวิจัยทางการแพทย์
หมอจะสรุปให้ดังนี้นะคะ
======================
❤❤ น้ำผึ้ง ( AAP เรียกสูตรนี้ว่า Sweet dreams)
น้ำผึ้ง มีการศึกษามากมาย แต่ที่ผลการศึกษาไปในทางบวก ก็คือการลดภาวะไอตอนกลางคืน
โดยแนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี
เพราะกลัวเรื่อง toxin ที่อาจปนเปื้อนในน้ำผึ้ง
(ซื้อน้ำผึ้งที่มี อย. นะคะ)
โดยขนาดที่แนะนำคือ กินครั้งละ ½-1 ช้อนชา บ่อยแค่ไหนไม่ได้แนะนำชัดเจน แต่หมอใช้น้ำผึ้งกับลูกสาวตั้งแต่เล็กๆ หมอเอา 1 ช้อนชา มาผสมน้ำอุ่นสัก 10 ซีซี แล้วให้กินวันละ 3-4 ครั้ง บางบ้านเอาไปผสมมะนาวก็ได้ค่ะ หรือใครจะให้กินเปล่าๆเลยก็ได้ค่ะ
=====================
❤❤ น้ำเกลือสำหรับหยด/spray/ล้างจมูก
สำหรับตัวเอง สำหรับเด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี หมอจะให้น้ำเกลือไป #หยดจมูก เสมอค่ะ
(อ่านโพสต์ ล้างจมูกในเด็กเพิ่มเติมนะคะ อธิบายไว้แล้ว ว่า หยด กับ ล้าง ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน)
โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ยังกินนมเป็นอาหารหลัก เพราะการที่จมูกบวมและน้ำมูกอยู่ในโพรงจมูก
จะทำให้เด็กเล็กหายใจลำบากมาก
การกลืน คือต้องหายใจไปพร้อมๆกับจังหวะการหยุดหายใจ เด็กจะเหนื่อยมาก ช่วงดูดนม
เพราะฉะนั้น ก่อนกินนมคุณแม่ควรหยดจมูกด้วยน้ำเกลือให้ลูกก่อน และอีกเวลาที่จะแนะนำคือก่อนนอน
(จะทำบ่อยกว่านี้ก็ได้ #แต่เวลาที่ต้องทำเลยคือก่อนกินนมกับก่อนนอน)
ส่วนเรื่องการสวนล้างจมูก (nasal irrigation)
ควรทำมั้ยในเด็กเป็นหวัด?
ตัดสินให้ไม่ได้ แต่ให้ข้อมูลนะคะ
เพราะแต่ละบ้านก็มีความรู้สึกต่อการสวนล้างจมูกไม่เหมือนกัน
การสวนล้างจมูกนั้น ได้ผลดี ที่พิสูจน์แล้ว
คือ 1. คนไข้ที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง
2.คนไข้ภูมิแพ้จมูก (allergic rhinitis) ที่มีอาการทางจมูกมากเท่านั้น และให้ร่วมกับการรักษาอื่น
การล้างจมูกในหวัด ไม่มีผลทำให้อาการดีขึ้นชัดเจน
และไม่มีการศึกษาที่ยืนยันว่า
ถ้าเป็นหวัด ล้างจมูกแล้วจะทำให้เชื้อกระจาย
เกิดโรคหูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบนะคะ
เอาเป็นว่า #เอาที่เราสะดวกเลยค่ะ
เพราะมันมีรายละเอียดเรื่อง
👉 ความร่วมมือของลูก
👉 เทคนิคการล้าง
ถ้าเด็กบ้านไหน กลัวมาก ดิ้นมาก
แนะนำว่า ไม่ต้องล้างตอนเป็นหวัดหรอกค่ะ
ยิ่งดิ้นมาก อุปกรณ์ไปกระทบเยื่อบุจมูก ทำให้บวมขึ้น
แทนที่จะดี กลับกลายเป็นผลร้าย
หรือ เด็กกลัวมาก ถ้าเป็นหมอ หมอจะรักษาหัวใจของลูกมากกว่าค่ะ
เพราะก็ไม่ได้ดีชัดเจน #ทำไมต้องทำร้ายจิตใจลูกด้วย
ที่สำคัญ ไม่ต้องล้างจมูก หวัดก็หายได้เองอยู่แล้ว
ถ้าลูกสั่งน้ำมูกเป็น ก็สั่งเองเอาน้ำมูกออกมาได้มากกว่าค่ะ แล้วค่อยเอาน้ำเกลือ spray ตาม
(ผลการศึกษาบอกว่าเด็กส่วนใหญ่ สนิทใจที่จะใช้น้ำเกลือแบบ spray มากที่สุด)
=====================
❤❤ Vapor rubs (พวกน้ำมันหอมระเหย) ซึ่งก็ใช้แพร่หลายในบ้านเราเหมือนกันนะคะ
ซึ่งจากงานวิจัย พบว่า จะช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นนะคะ AAP แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี
โดย #ทาบางบางที่หน้าอก ไม่แนะนำให้ทาใต้จมูก หรือบริเวณใบหน้า หรือทาหนาเกินไป
เพราะทำให้เด็กรู้สึกร้อนบริเวณที่ทา และเคยเจอเคสที่เยื่อบุจมูกบวมไม่หายซักที อาการเหมือนภูมิแพ้จมูก รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย ท้ายที่สุดได้ข้อมูลว่า ทา vapor rub ที่จมูกให้ลูกทุกคืน (เป็นความเชื่อว่าทำให้ลูกหายใจสบาย) พอหยุดทา เด็กก็อาการดีขึ้น ดังนั้น อะไรที่มากไปย่อมไม่ดี ทำตามที่ฉลากยาแนะนำ ดีที่สุดค่ะ
.
หวัด เป็นโรคที่เราดูแลลูกได้เองที่บ้าน อาการเด็กจะดูดีตอนกลางวัน แต่กลางคืนจะแย่ลง เป็นกันทุกบ้านนะคะ
ธรรมชาติของโรค วันแรกที่อาการเริ่ม อาการไม่มาก แต่วันที่อาการหนักจะเป็นวันที่ 2-4
หากผ่านช่วง peak ไปได้แล้ว หลังจากนั้น จะดีขึ้นตามลำดับ
ถ้าไม่เป็นไปตามนี้ คือ แย่ลงทุกวันทุกวัน มีอาการอื่นเพิ่มทุกวัน แนะนำพาไปพบแพทย์
หรือ ถ้าคุณแม่คิดว่าลูกมีอาการที่น่ากังวล ก็ควรพาไปพบแพทย์นะคะ
.
หมอแพม
ที่มาของข้อมูล
บทความของ AAP
http://www.aappublications.org/content/32/12/32.5
งานวิจัยเกี่ยวกับการล้างจมูก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20238351
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/PMC43954…/pdf/nihms483545.pdf
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/…/a…/PMC3904042/pdf/zrie119.pdf
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22727153