ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有79部Youtube影片,追蹤數超過30萬的網紅PM FOOD TRAVEL,也在其Youtube影片中提到,Tiệm HỦ TIẾU DÊ 75K Cực Chất | Khách Đông Như Ong Vỡ Tổ 9 Người Bán Nhanh Như Cái Máy ______ Đăng Ký Kênh PM FOOD TRAVEL Miễn Phí ? https://bit.ly/30x...
de bank 在 IELTS Nguyễn Huyền Facebook 的精選貼文
TỪ VỰNG CHỦ ĐỀ MONEY {kèm các THÀNH NGỮ, COLLOCATION rất hay}
🍄PHẦN THÀNH NGỮ
- money doesn’t grow on trees = said to warn someone to be careful how much money they spend, because there is only a limited amount: tiền không mọc từ trên cây → không nên tiêu pha quá nhiều tiền, vì tiền chỉ có hạn
- bread and butter = a job or activity that provides you with the money you need to live: kế sinh nhai, công việc giúp bạn trang trải cuộc sống
- bring home the bacon = supply material provision or support; earn a living: kiếm tiền về nuôi sống gia đình
- born with a silver spoon in your mouth = born into a very wealthy family: sinh ra đã ngậm thìa bạc → được sinh ra trong 1 gia đình giàu có
- a penny saved is a penny earned = is a way of saying that one should not waste money but should save it, even if little by little: một xu tiết kiệm cũng chính là một xu làm ra, không nên tiêu xài hoang phí
- an arm and a leg = a lot of money: đắt đỏ
- break the bank = cost too much: rất đắt, rất tốn kém
- easy money = money that is easily and sometimes dishonestly earned: tiền dễ kiếm, bạn không cần tốn quá nhiều công sức để kiếm
- foot the bill = to pay for something, esp. something expensive: chi trả ...
- on the breadline = very poor; with very little money to live on: cuộc sống rất khó khăn, nghèo khổ
- pay your (own) way = pay for everything yourself without relying on others: tự chi trả
🍄PHẦN TỪ VỰNG CHUNG
- to save for the future: tiết kiệm cho tương lai
- to save for retirement: tiết kiệm cho việc nghỉ hưu
- to get out of debt: thoát khỏi nợ nần
- a solid credit score: điểm tín dụng tốt
- long-term financial goals: mục tiêu tài chính dài hạn
- to take control of your finances: kiểm soát tài chính của bạn
- financial success: thành công tài chính
- long-term savings: tiết kiệm dài hạn
- to overspend: chi tiêu quá mức
- to set up a budget: lập ngân sách
- to make adjustments where necessary: thực hiện các điều chỉnh khi cần thiết
- your net income after taxes: thu nhập ròng của bạn sau thuế
- to pay off debt: trả nợ
- a huge financial burden: một gánh nặng tài chính lớn
- to become financially independent: trở nên độc lập về tài chính
- an emergency fund: quỹ cho các trường hợp khẩn cấp
- to cut your monthly expenses: cắt giảm chi phí hàng tháng của bạn
- high-interest credit card debt: nợ thẻ tín dụng lãi suất cao
- to make ends meet: kiếm sống, xoay sở cho đủ sống
- student loans: khoản vay cho sinh viên
👉PHẦN VÍ DỤ: Page mình xem tại đây nhé https://ielts-nguyenhuyen.com/tu-vung-chu-de-money/
Chúc page mình học tốt nè <3
#ieltsnguyenhuyen
de bank 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
รู้จัก บริษัทผลิตธนบัตร ใหญ่สุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
รู้หรือไม่ว่าเกือบ 90% ของธนบัตรทั่วโลก ถูกพิมพ์โดยหน่วยงานภาครัฐ เช่น ธนาคารกลางหรือกระทรวงการคลัง เหมือนกับธนบัตรของประเทศไทย ที่พิมพ์โดยธนาคารแห่งประเทศไทย
แต่ไม่ใช่ทุกประเทศที่มีโรงพิมพ์ธนบัตรเป็นของตัวเอง
ประเทศเหล่านั้นจึงยังต้องสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัทในต่างประเทศอยู่
โดยบริษัทที่ทำธุรกิจรับผลิตธนบัตรที่ใหญ่สุดในโลก เป็นบริษัทจากประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า “De La Rue” ซึ่งก่อนที่ไทยจะมีโรงพิมพ์ธนบัตรเป็นของตัวเอง ก็เคยสั่งพิมพ์ธนบัตรจาก De La Rue มาก่อนเช่นกัน
เรื่องราวของบริษัท De La Rue มีความเป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ประเทศไทยเริ่มใช้ “ธนบัตร” เป็นครั้งแรกในปี 1902 (พ.ศ. 2445) หรือตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5
แต่ประเทศไทยเริ่มพิมพ์ธนบัตรเองเป็นครั้งแรกในปี 1941 (พ.ศ. 2484) โดยกรมแผนที่ทหารบก
ก่อนที่เราจะมีโรงพิมพ์ธนบัตรเป็นของตัวเองในปี 1969 (พ.ศ. 2512) ซึ่งอยู่ในความดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
ก่อนที่ประเทศไทยจะเริ่มพิมพ์ธนบัตรเอง ธนบัตรรุ่นแรก ๆ ของไทยพิมพ์มาจากบริษัทในประเทศอังกฤษที่ชื่อ “De La Rue” อ่านว่า เดอ ลา รู
De La Rue เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนมาตั้งแต่ปี 1947
โดยธุรกิจหลักของบริษัทแห่งนี้ ก็คือบริการที่เกี่ยวกับการผลิตธนบัตรแบบครบวงจร ทั้งการรับออกแบบธนบัตร พิมพ์ธนบัตร รวมไปถึงขายเครื่องพิมพ์ธนบัตรและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แม้ว่าจะมีบริษัทที่รับพิมพ์ธนบัตรเหมือนกับ De La Rue เช่น
บริษัท Crane ในประเทศสวีเดนและสหรัฐอเมริกา
บริษัท Canadian Bank Note ของแคนาดา
หรือบริษัท Giesecke & Devrient ของเยอรมนี
แต่ในปัจจุบัน De La Rue เป็นบริษัทที่พิมพ์ธนบัตร มากที่สุดในโลก
โดยมีการประเมินว่า ทั่วโลกจะมีธนบัตรพิมพ์ใหม่ประมาณ 1.7 แสนล้านฉบับโดยเฉลี่ยต่อปี
คิดเป็นธนบัตรที่พิมพ์โดยบริษัทรับจ้างพิมพ์ธนบัตร 1.9 หมื่นล้านฉบับ หรือราว 1 ใน 10
ในจำนวนนั้น จะเป็นธนบัตรที่พิมพ์โดย De La Rue ราว 7 พันล้านฉบับ คิดสัดส่วนมากถึง 1 ใน 3
โดยลูกค้าของ De La Rue ส่วนใหญ่ คือธนาคารกลาง รวมถึงหน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่พิมพ์ธนบัตร ในกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมักเป็นประเทศขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น ประเทศคูเวต, เฮติ, กาตาร์, เปรู และนิการากัว
ประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่ยังไม่มีโรงพิมพ์ธนบัตรเป็นของตัวเอง เพราะการผลิตธนบัตรที่มีคุณภาพ ปลอมแปลงได้ยาก มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง รวมถึงเครื่องพิมพ์ธนบัตร 1 เครื่อง ก็จะมีกำลังการผลิตที่สูงเกินกว่าความต้องการใช้ธนบัตรในประเทศเหล่านี้มาก เรียกได้ว่าไม่คุ้มที่จะผลิตธนบัตรเองในประเทศ
การจ้างบริษัทต่างประเทศเพื่อพิมพ์ธนบัตร จึงคุ้มค่ากว่าและมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ซึ่ง De La Rue ก็ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ธนบัตรของโลก
สำหรับจุดเริ่มต้นของบริษัท De La Rue ต้องย้อนกลับไปเมื่อ 200 ปีก่อน
ในปี 1821 ที่ประเทศอังกฤษ ชายที่ชื่อว่า “Thomas de la Rue” ได้ก่อตั้งโรงงานสิ่งพิมพ์เล็ก ๆ โดยโรงพิมพ์ของเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากการพิมพ์ไพ่ด้วยเทคนิคเคลือบมัน
ต่อด้วยการคิดค้นเครื่องพับซองจดหมาย ซึ่งได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบซองจดหมายมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน รวมไปถึงการผลิตอากรสแตมป์
จนกระทั่งในปี 1860 บริษัท De La Rue เริ่มพิมพ์ธนบัตรเป็นครั้งแรกให้กับประเทศมอริเชียส
ซึ่งประเทศแห่งนี้เป็นหนึ่งในประเทศอาณานิคมของอังกฤษ ก่อนที่ในเวลาต่อมา บริษัทจะเริ่มพิมพ์ธนบัตรให้ธนาคารกลางอังกฤษในปี 1914
ก่อนหน้าที่ De La Rue จะผลิตธนบัตรให้กับธนาคารกลางอังกฤษนั้น
ธนาคารอังกฤษเคยพิมพ์ธนบัตรกับบริษัท Portals มาก่อน
ในภายหลัง De La Rue ได้เข้าซื้อกิจการ Portals
De La Rue จึงกลายเป็นบริษัทเดียวที่พิมพ์ธนบัตรให้ธนาคารกลางอังกฤษ แบบในปัจจุบัน
De La Rue รวมถึง Portals ก็ถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับธนบัตร ยกตัวอย่างเช่น ในปี 1957 De La Rue เริ่มผลิตเครื่องนับธนบัตรขาย เป็นครั้งแรกของโลก
ในด้านเทคโนโลยีการผลิตธนบัตร ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1720 Portals ถือเป็นบริษัทแรกที่นำเทคนิคการพิมพ์แบบลายน้ำมาใช้กับธนบัตร
ซึ่งเทคนิคการพิมพ์ลักษณะนี้จะทำให้เนื้อกระดาษหนาบางไม่เท่ากัน มีลายนูน
ส่งผลให้ปลอมแปลงยาก เหมือนที่เรานำธนบัตรไปส่องกับแสงเพื่อดูว่าเป็นของจริงหรือปลอม
ส่วนเทคโนโลยีการผลิตธนบัตรที่ทำจากพอลิเมอร์ แม้จะถูกคิดค้นที่ประเทศออสเตรเลียในปี 1988 แต่ De La Rue ก็ยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เทคโนโลยีนี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบัน De La Rue เป็นเพียง 1 ใน 2 บริษัท ที่ขายพอลิเมอร์สำหรับทำธนบัตร และเป็นบริษัทเดียวในโลกที่ขายพอลิเมอร์ทำธนบัตร และรับพิมพ์ธนบัตรพอลิเมอร์ควบคู่ไปด้วย
การเป็นผู้นำเทคโนโลยีการพิมพ์ธนบัตร รวมถึงการสร้างความน่าเชื่อถือตลอด 200 ปีที่ผ่านมา เลยเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ De La Rue เป็นหนึ่งในบริษัทรับผลิตธนบัตร ที่เป็นผู้นำของโลก มาอย่างยาวนาน
มาถึงตรงนี้ อาจเกิดคำถามว่า โลกที่หมุนเข้าสู่สังคมไร้เงินสด
กระทบกับบริษัท De La Rue หรือไม่ ?
แม้ว่าทั่วโลกจะยังมีความต้องการใช้ธนบัตรอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะประเทศในทวีปเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ที่ยังใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นหลัก
แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ก็กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น
สะท้อนให้เห็นจากการใช้จ่ายทั่วโลกราว 20% ยังคงเป็นเงินสด
แต่สัดส่วนนี้ลดลงจาก 60% ในช่วง 10 ปีก่อนหน้า
ที่น่าสนใจก็คือ ในช่วงเวลาดังกล่าว หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่เป็นผู้นำด้านการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่นประเทศในยุโรป แคนาดา และสิงคโปร์ กลับพบว่ามูลค่าธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ที่เป็นปัจจัยเร่งให้การใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ระบุว่ามูลค่าธนบัตรหมุนเวียนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แม้แต่ในปี 2020 ก็ยังเพิ่มขึ้นได้ราว 8% ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่ระบุว่าในปี 2020 มูลค่าธนบัตรหมุนเวียนเพิ่มขึ้นราว 11%
ซึ่งทางธนาคารกลางอังกฤษได้ให้เหตุผลว่า มูลค่าธนบัตรหมุนเวียนที่ยังคงเพิ่มขึ้นแม้การใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จะได้รับความนิยมสูงขึ้น เป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ยังมองว่าการเก็บเงินสดเป็นการเก็บของที่มีมูลค่าในตัวมันเองอยู่
จากข้อมูลเหล่านี้ เลยทำให้ผู้บริหาร De La Rue มองว่าความต้องการธนบัตร จะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปได้ในอนาคต
แต่อย่างไรก็ตาม ธุรกิจรับผลิตธนบัตรยังคงมีความเสี่ยงอีกหลายด้าน อย่างเช่น การที่ลูกค้าเป็นประเทศขนาดเล็กหรือเศรษฐกิจไม่มีเสถียรภาพ ความต้องการพิมพ์ธนบัตรเพิ่ม จึงไม่แน่นอน
ในกรณีเลวร้ายกว่านั้นคือ สั่งพิมพ์ธนบัตรไปแล้วแต่กลับจ่ายเงินไม่ได้ อย่างกรณีของประเทศเวเนซุเอลา ที่ในปี 2018 บริษัท De La Rue ต้องบันทึกหนี้สูญ 800 ล้านบาท เพราะธนาคารกลางเวเนซุเอลาไม่สามารถจ่ายเงินค่าสั่งพิมพ์ธนบัตรได้
นอกจากนั้นแล้ว หลายประเทศที่เคยเป็นลูกค้า ก็หันมาสร้างโรงพิมพ์ธนบัตรของตัวเองกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยที่เคยพิมพ์ธนบัตรกับ De La Rue แค่ช่วงแรก นอกจากนั้นก็มีฮ่องกงและอินเดีย โดยเฉพาะอินเดียที่เคยเป็นลูกค้ารายใหญ่ ก็หันไปพิมพ์ธนบัตรเองกันหมดแล้ว
แม้ว่า De La Rue จะไม่ได้มีธุรกิจผลิตธนบัตรอย่างเดียว แต่ยังมีธุรกิจผลิตพาสปอร์ต รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ต้องมีการป้องกันไม่ให้ถูกปลอมแปลงอยู่ด้วย แต่รายได้หลักกว่า 70% ยังมาจากธุรกิจธนบัตร
แล้วผลประกอบการตามปีงบประมาณของ De La Rue ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง ?
ปี 2017 รายได้ 22,200 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 2,800 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 25,400 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 2,700 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 21,200 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 1,900 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 17,900 ล้านบาท กำไรจากการดำเนินงาน 650 ล้านบาท
จากรายได้และกำไรจากการดำเนินงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ก็ได้สะท้อนมาที่มูลค่าของบริษัท De La Rue ในปัจจุบัน ที่มีมูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ลดลงจากปี 2017 กว่า 70%
ทำให้เราสรุปได้ว่าแม้แต่บริษัทผลิตธนบัตร ที่เรียกได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ก็หนีไม่พ้นยุคแห่งความท้าทาย และการเปลี่ยนแปลง จากเทคโนโลยี เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.ft.com/content/2585aaa7-6708-4ecc-ae60-6ddc407c6c95
-https://www.bloomberg.com/opinion/articles/2019-11-26/world-s-biggest-banknote-maker-de-la-rue-is-running-out-of-money
-https://www.economist.com/business/2017/04/06/de-la-rue-rethinks-its-strategy
-https://www.bbc.com/news/business-50557097
-https://www.bbc.com/news/business-45272704
-https://www.bbc.co.uk/news/business-43807190
-https://www.forbes.com/sites/francescoppola/2020/01/30/why-is-a-company-that-prints-money-running-out-of-cash/?sh=43b903eb3b5d
-https://www.americanbanker.com/news/watermarks-an-appreciation-for-a-timeless-feature-of-currency
-https://www.delarue.com/about-us/our-history-orig
-https://www.delarue.com/investors/results-and-reports
-https://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/HistoryAndSeriesOfBanknotes/Pages/All_Series_of_Banknotes.aspx
de bank 在 PM FOOD TRAVEL Youtube 的最佳貼文
Tiệm HỦ TIẾU DÊ 75K Cực Chất | Khách Đông Như Ong Vỡ Tổ 9 Người Bán Nhanh Như Cái Máy
______
Đăng Ký Kênh PM FOOD TRAVEL Miễn Phí ? https://bit.ly/30xHDbT
______
Sáng lạnh quíu làm tô hủ tiếu dê cả nhà ơi ^_^, tiệm hủ tiếu dê 75k cực chất khách đông như ong vỡ tổ 9 người bán nhanh như máy luôn nha, tiệm rất nhộn nhịp ngồi ở ngoài sẽ thoái mái hơn nha cả nhà, nồi nước lèo sôi ùng ục thịt dê mùi bay phảng phất cực hấp dẫn, có đầy đủ bộ phận cho cả nhà thưởng thức như: tai, sụn, nạc, v...vv có hủ tiếu, mì nhỏ, mì lớn cho chúng ta lựa chọn, nước lèo ở đây vị sẽ lờ lợ hơi nhạt để tăng hương vị cả nhà pha thêm mắm, chanh, chao sẽ đậm đà liền, món này mùi dễ sẽ hơi hăng nên ai ko quên ko nên thử nha, chao pha ít mặn ngọt vừa ăn, thịt dê hầm mềm vô cùng hoà với hủ tiếu chút rau tía tô khử mùi ăn tới đâu ấm tới đó^_^, cả nhà ai ăn ở đây rồi chia sẻ cảm nghĩ mình biết với nha, mình thấy ở đây ăn cũng ok, thịt ngon, nước lèo mình thích dạng đậm sẵn hơn.
______
?Các Món Ăn Vỉa Hè ? https://bit.ly/2CcK0nM
?Các Món Bún Ngon? http://bit.ly/2tocBp1
______
?Địa Chỉ: 111 Thái Phiên, P. 2, Q.11, Sài Gòn
?Bản Đồ: http://bit.ly/38IVxMI
?Số Điện Thoại: 0902591912
?Thời Gian: 06H00 - 11H00 (Nghỉ Ngày Rằm Tháng Giêng)
?Giá:
- Tô Bình Thường: 55K/Tô
- Tô Đặc Biệt: 75K/Tô
______
?Fanpage: https://bit.ly/31B4mTk
?Group: https://bit.ly/2GQ1oRX
?Facebook Phú: https://bit.ly/2wVorFW
?Facebook Mèo: http://bit.ly/2TD6mIH
?instagram: https://bit.ly/2kPAqCl
______
Liên hệ hỗ trợ, hợp tác:
?Email: pmfoodtravel@gmail.com
?Để hỗ trợ tụi mình xin Donate qua tài khoản ngân hàng: 225475479
- ACB BANK - Giang Lương Minh Phú - Chi nhánh Trung tâm thẻ TPHCM
?Để hỗ trợ tụi mình xin Donate qua Paypal: http://bit.ly/30d3MdZ
______
VIDEO thuộc bản quyền PM FOOD TRAVEL, vui lòng không REUP dưới mọi hình thức.
#PMFood #HủTiếuDê #StreetFoodSaiGon
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/1k083JT9aAM/hqdefault.jpg)
de bank 在 PM FOOD TRAVEL Youtube 的最讚貼文
Lần Đầu Ăn CUA HOÀNG ĐẾ KING CRAB Cùng Bàn ĐẠI TIỆC HẢI SẢN Cực TO Như KHOA PUG Ở Đảo Phú Quốc
______
Đăng Ký Kênh PM FOOD TRAVEL Miễn Phí ? https://bit.ly/30xHDbT
______
Hôm nay Phú Và Mèo chơi lớn, sẽ ăn thử món Cua Hoàng Đế, hay còn có tên là King Crab cho cả nhà xem nha. Một phần do đắn đo noel với kênh gần 250k sub ko biết làm gì cho cả nhà xem tâm sự ông anh thì ổng rủ ra đảo chơi, ổng làm trong khu Orchard Villa là một khu nghĩ dưỡng dạng 5 sao, cứ nghĩ là ổng đãi ở ngoài ai dè trong đây có một nhà hàng tích hợp mang tên nhà hàng Phú Quốc Xanh, tụi mình được hỗ trợ tối đa vào bếp quay các món ăn hoành tráng gửi đến cả nhà xem luôn, các món ăn gồm có : Gỏi cá trích ngọt thanh, Chả giò Hải Sản Phú Quốc thơm dẻo béo, Ốc Tu Hài nướng mỡ hành đậm đà, Ốc hương rang muối giòn sựt ngọt thơm, Cá bóng mú thớ thịt tươi ngọt thanh sật như thịt gà, Sườn Phú Quốc sốt được làm kẹo đậm đà thơm phức, Tôm Hùm Sốt Singapore sốt cà trứng béo thơm mặn chua ngọt hết xảy, Tôm Sú Biển to bằng bàn tay ngọt chắc thịt ngập răng nhau mỏi miệng luôn, cuối cùng là con Cua Hoàng Đế King Grab cực to được tặng ^^, thịt mềm đầy đặn ngọt mà sao mình ăn cũng cảm giác như nhiều người thấy không ngon như cua Cà Mau của mình nhưng chất dinh dưỡng chắc hơn nhiều lắm đó cả nhà. Để chi tiết hơn cả nhà xem clip để rõ hơn nha xin cám ơn tất cả mọi người và toàn thể ekip nhà hàng Phú Quốc Xanh đã hỗ trợ một clip hấp dẫn này.
______
?Các Món Ăn Vỉa Hè ? https://bit.ly/2CcK0nM
?Danh Sách Các Món Hải Sản ? http://bit.ly/34k0tlI
______
?Địa Chỉ: 68 Đường Suối Đá Bàn, Bến Tràm, Đảo Phú Quốc
?Bản Đồ: http://bit.ly/3mKBIZ6
?Số Điện Thoại: 0835 95 95 96
?Thời Gian: 10H00 - 22H00
?Giá: Theo Thời Giá
______
?Fanpage: https://bit.ly/31B4mTk
?Group: https://bit.ly/2GQ1oRX
?Facebook Phú: https://bit.ly/2wVorFW
?Facebook Mèo: http://bit.ly/2TD6mIH
?instagram: https://bit.ly/2kPAqCl
______
Liên hệ hỗ trợ, hợp tác:
?Email: pmfoodtravel@gmail.com
?Để hỗ trợ tụi mình xin Donate qua tài khoản ngân hàng: 225475479
- ACB BANK - Giang Lương Minh Phú - Chi nhánh Trung tâm thẻ TPHCM
?Để hỗ trợ tụi mình xin Donate qua Paypal: http://bit.ly/30d3MdZ
______
VIDEO thuộc bản quyền PM FOOD TRAVEL, vui lòng không REUP dưới mọi hình thức.
#PMFood #CuaHoàngĐế #KingCrab
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/q1Ig5HkfAw0/hqdefault.jpg)
de bank 在 mansonovo Youtube 的最讚貼文
【 此影片含合作內容 WeLab Bank
今條影片好開心收到港產虛擬銀行 WeLab Bank
試用佢哋既Debit Card
於是我就計劃左一直以來都好想做嘅影片就係
「漢堡包馬拉松」
呢六間小店都係之前收集觀眾嘅意見最多人推介嘅六間舖頭
睇完呢段影片大家有興趣嘅可以試吓
同埋有興趣記得申請 WeLab Debit Card
宜家係11月30日前成功開戶
所有消費可享高達 8% 回贈*,更多詳情:https://welab.app.link/TVEc8BnL4ab
*受條款及細則約束,2020年11月30日之前開戶的新客戶憑卡作合資格交易,首HKD3,000可獲得7%現金回贈,而其餘任何合資格消費均可賺取額外1%現金回贈,上限為HKD 1,000。詳情請瀏覽WeLab Bank官方網站上適用的相關條款及細則。
1。Burger Joys
地址:灣仔駱克道42-50號君悅居地下E舖
Shop E, G/F, De Fenwick, 42-50 Lockhart Road, Wan Chai
港鐵灣仔站 C 出口, 步行約3分鐘
電話號碼:27871288
2.Honbo (灣仔店)
地址 :灣仔日街6-7號日新樓地下B號舖
Shop B, G/F, New Sun House, 6-7 Sun Street, Wan Chai
港鐵金鐘站 F 出口, 步行約7分鐘
電話號碼:25678970
3.Texas Burger
地址 :旺角亞皆老街8號朗豪坊12樓1A號舖
Shop 1A, 12/F, Langham Place, 8 Argyle Street, Mong Kok
港鐵旺角站 C3 出口, 港鐵旺角站 E1 出口, 港鐵旺角東站 B 出口
電話號碼:34885005
4. Burgerman
地址 :大角咀埃華街95-97號地下
Shop C, G/F., 95-97 Ivy St., Tai Kok Tsui
港鐵奧運站 A1 出口, 步行約6分鐘
電話號碼:23313973
5.轉角‧見
地址 :荃灣西樓角路202-216號荃昌中心昌寧大廈地下66號舖
Shop 66, G/F, Cheong Ning Building, Tsuen Cheong Centre, 202-216 Sai Lau Kok Road, Tsuen Wan
港鐵荃灣站 B3 出口, 步行約6分鐘
電話號碼:54887124
6.嘉寶漢堡
地址 :葵涌青山公路葵涌段499號嘉寶大廈地下A&B號舖
Shop A&B, G/F, Kar Po Mansion, 499 Castle Peak Road, Kwai Chung
電話號碼:61258419
more about me:
►工作EAMIL ►manson_yee@yahoo.com.hk
►FACEBOOK ► https://m.facebook.com/Iammanson-1463381420592597/
►Instagram ►https://www.instagram.com/iam.manson/?hl=zh-hk
►飲食分享IG ►https://www.instagram.com/ffatfoodie/?hl=zh-hk
►我的PARTY ROOM ►https://www.instagram.com/fathouse.party/?hl=zh-h
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/jOtbRJx2fdA/hqdefault.jpg)
de bank 在 DeBank (@DeBankDeFi) / Twitter 的相關結果
DeBank. @DeBankDeFi. The leading DeFi portfolio tracker that supports the largest number of DeFi protocols across 13 chains. ETH,BSC,MOVR,MATIC,FTM,AVAX. ... <看更多>
de bank 在 TD Bank: TD Personal Banking, Loans, Cards & More 的相關結果
Welcome to TD Bank, America's Most Convenient Bank. Visit now to learn about all our personal banking products like accounts, loans, cards & more. ... <看更多>
de bank 在 DeBank: DeFi Wallet | Track Portfolio, Explore Project ... 的相關結果
DeFi Wallet for you to track DeFi portfolio, explore DeFi project, compare DeFi rates, analyze DeFi risk and manage DeFi assets. ... <看更多>