สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse ทำไมคนไทยไม่ควรพลาด ในการลงทุนหุ้นเทคโนโลยี ?
BBLAM x ลงทุนแมน
หลังจาก ลงทุนแมน ได้ชวนผู้เชี่ยวชาญหุ้นเทคโนโลยีจากกองทุนบัวหลวง
มาร่วมพูดคุยในเรื่องหุ้นเทคโนโลยีกันแบบเจาะลึก เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา
โดยมี 2 Speakers มากประสบการณ์จากกองทุนบัวหลวง ได้เปิดเผยข้อมูลน่าสนใจมากมาย
- คุณเศรณี นาคธน AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
สถานการณ์ความท้าทาย, โอกาสในอนาคต รวมทั้งแนวทางการลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้จะเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
คำถามที่ 1 : หุ้นเทคโนโลยีจะกลับมาอีกครั้งหรือยัง ?
สังเกตไหมว่าในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเทคโนโลยีให้ผลตอบแทนได้ดีมาโดยตลอด
โดยในปีนี้ ดัชนีที่รวบรวมบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกอย่าง Nasdaq ก็ให้ผลตอบแทน 12%
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่บอกว่านักลงทุนเริ่มกลับมาให้ความสนใจหุ้นเทคอีกครั้ง
อย่างในช่วงโควิดที่ผ่านมา เราก็คงได้มีโอกาสใช้บริการแพลตฟอร์มเทคโนโลยีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Grab, Lazada, Shopee หรือ Netflix
แต่ถ้าถามว่ามุมมองต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในอนาคตจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่า สิ่งที่จะทำให้โลกขับเคลื่อนต่อไปได้ก็คือเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีในการพัฒนา ให้ถูกขึ้น ดีขึ้น และเร็วขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
รวมไปถึงเรื่องของสังคมผู้สูงวัยทั่วโลก ส่งผลให้แรงงานมีจำนวนน้อยลง จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอย่าง หุ่นยนต์ หรือ AI เพิ่มมากขึ้น หรือแม้แต่แนวโน้มการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมกับการแพทย์อื่น ๆ เช่น การหาหมอออนไลน์, การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ, 3D printing ฯลฯ
ซึ่งถ้าถามว่าถึงเวลาของหุ้นเทคโนโลยีหรือยัง ก็จะเห็นได้ว่า ตลาดเริ่มส่งสัญญาณบวกแล้ว เพราะแม้จะมีความชัดเจนในเรื่องการปรับขึ้นดอกเบี้ย แต่หุ้นเทคในช่วงที่ผ่านมาก็ยังปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งคุณเอมได้เสริมว่า ทุกวันนี้ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นเทคโนโลยียังไม่เปลี่ยนแปลง และกำไรยังเติบโต อีกด้วย จากเหตุผลที่ว่ามานี้หุ้นเทคโนโลยีจึงเป็น Theme ลงทุนหลักของโลกในระยะต่อไปแน่นอน
คำถามที่ 2 : “เงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ย” ส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยีอย่างไร ?
ปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หรืออัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) จะส่งผลต่อหุ้นเทคโนโลยี 2 เรื่องสำคัญ นั่นคือ
- ต้นทุนในการกู้ยืมเงินของบริษัท เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการกู้ยืมเงินก็จะสูงตามไปด้วย
- การประเมินมูลค่าหุ้นแบบ Dividend Discount Model (DDM) เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อัตราคิดลดก็จะเพิ่มขึ้น เมื่อคิดเป็นมูลค่าหุ้นกลับมา จึงทำให้มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีลดลง
ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมหุ้นเทคโนโลยีค่อนข้างอ่อนไหวกับอัตราดอกเบี้ย นั่นเอง
ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว หลายประเทศเริ่มเปิดเมืองและมีการเร่งฉีดวัคซีน
จึงเป็นไปได้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนจึงคาดว่า Bond Yield ต้องปรับตัวขึ้นอย่างแน่นอน
ซึ่ง Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ก็เคยปรับขึ้นไปสูงถึงเกือบ 1.8% จากเดิมที่มีตัวเลข 1%
แต่แล้ว.. เมื่อประกาศอัตราเงินเฟ้อออกมาสูงตามที่นักลงทุนคาดไว้จริง ๆ Bond Yield ที่ปรับขึ้นมารออยู่แล้ว จึงเริ่มกลับปรับตัวลดลง ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง หรือที่เรียกว่า Real Yield ที่คำนวณจาก Bond Yield หลังหักเงินเฟ้อคาดการณ์ ยังอยู่ในระดับต่ำ -0.8%
สะท้อนได้ว่า ผลตอบแทนพันธบัตรไม่น่าจะเอาชนะเงินเฟ้อได้
จึงส่งผลให้การลงทุนในตลาดหุ้นกลับมาน่าสนใจ จากนั้นมาหุ้นเทคโนโลยีก็เริ่มปรับตัวขึ้นมาเรื่อย ๆ
นอกจากนี้ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ผ่านเครื่องมือ Dot Plot
ยังมองว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (Fed Fund Rate) อาจเกิดขึ้น 2 ครั้งภายในปี 2023
ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เร็วกว่าที่นักลงทุนคาดไว้
นักลงทุนจึงมองว่า ยิ่งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยมาเร็วมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดอัตราเงินเฟ้อย่อมลดลง
ดังนั้น Bond Yield คงไปต่อได้ไม่ไกล จึงน่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น รวมทั้งหุ้นเทคโนโลยี อีกด้วย
คำถามที่ 3 : ปัจจัยใดส่งผลต่อ “การปรับฐานของหุ้นเทคโนโลยี” ในตอนนี้ ?
ปัจจัยแรกคือ Bond Yield
หากถามว่า Bond Yield เท่าไรถึงจะส่งผลต่อตลาดหุ้น คำตอบจากการสำรวจของ Bank of America นั้นอยู่ที่ 2.5% ซึ่งปัจจุบันนี้ อัตราดอกเบี้ยยังคงเคลื่อนไหวในกรอบแคบ บวกลบไม่เกิน 1.5%
ดังนั้น กว่าที่ Bond Yield จะปรับตัวสูงถึงระดับนั้น อาจใช้เวลานาน ตลาดหุ้นถึงจะเริ่มปรับฐาน
ปัจจัยที่สองคือ Sector Rotation
เมื่อต้นปีเกิดแรงขายของหุ้นเทคโนโลยี ไปลงทุนในหุ้นวัฏจักรที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเมือง
โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีราคาปรับสูง จนกลายเป็น Commodity Supercycle
สะท้อนได้ว่า สินค้าโภคภัณฑ์กลายเป็น Most Crowded Trade ที่อาจเข้าใกล้จุดสูงสุดไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อนักลงทุนเริ่มคลายกังวลในเรื่องอัตราเงินเฟ้อ บวกกับผลประกอบการของเหล่าบริษัทเทคโนโลยีที่ออกมาดี จึงเป็นเหตุผลให้นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนหุ้นเทคโนโลยีอีกครั้ง
ปัจจัยสุดท้ายที่หลายคนกังวลคือ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น คนยังจะพึ่งพาเทคโนโลยีอยู่หรือไม่ ?
ซึ่งต้องยอมรับว่า พฤติกรรมหลาย ๆ อย่างได้กลายเป็น New Normal ไปเรียบร้อยแล้ว
อาทิ Work From Home, การช็อปปิงออนไลน์, การสั่งอาหารแบบ Delivery
สิ่งเหล่านี้สะท้อนได้ว่า ปัจจัยพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีจะยังคงอยู่ต่อไป ไม่เปลี่ยนแปลง
คำถามที่ 4 : “QE Tapering” กระทบหุ้นเทคโนโลยีหรือไม่ ?
การปรับลดวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการ QE ของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า QE Tapering
แม้ว่าจะมีวงเงินลดลง แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในสถานะอัดฉีดเงินอยู่ดี
โดย QE Tapering เป็นหนึ่งในสัญญาณชี้ว่า สภาวะเศรษฐกิจอาจดีขึ้นแล้วจริง ๆ
เพราะแม้ว่า FED จะลดวงเงินอัดฉีดเงิน แต่เศรษฐกิจและภาคธุรกิจก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้
สะท้อนได้ว่า เราอาจจะกำลังอยู่ในช่วง Mid-cycle ของวงจรเศรษฐกิจ
ซึ่ง Mid-cycle จะเป็นช่วงที่ระดับอัตราดอกเบี้ยไม่ได้สูงมาก และเศรษฐกิจยังโตต่อเนื่องได้
โดยปกติแล้วจะส่งผลดีต่อกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวก
ขณะเดียวกัน ต้องยอมรับว่าความกังวลเรื่องสภาพคล่องก็ถูก Price In ไปแล้วบางส่วน
เมื่อทุกอย่างชัดเจน เชื่อว่ากลุ่มหุ้นเทคโนโลยีก็พร้อมจะไปต่อได้
นอกจากนี้ ต้องให้เครดิตคุณเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ
ผู้เป็นสุดยอดนักสื่อสาร และเข้าใจตลาดการลงทุน ซึ่งการค่อย ๆ ออกมาพูด ทำให้ตลาดปรับตัวได้
ที่น่าสนใจคือ หุ้นเทคโนโลยีตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มีเพียงปีเดียวที่ให้ผลตอบแทนที่เป็นลบ คือปี 2018 ที่ให้ผลตอบแทน -1.1% จากมรสุมลูกใหญ่ อาทิ Trade War, ทรัมป์ ทวีต และการประกาศขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีเดียว ส่วนปีอื่นๆ ล้วนให้ผลตอบแทนในอัตราเลขสองหลัก
สะท้อนได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ และให้ผลตอบแทนที่ดีได้
คำถามที่ 5 : ถ้าอนาคตเกิด “การดูดกลับสภาพคล่อง” หุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม ?
ก่อนหน้านี้ สภาพคล่องได้กระจายตัวไปทั่วตลาดหุ้น แม้แต่ในหุ้นที่ขาดทุนไม่มีกำไร
ดังนั้น เมื่อสภาพคล่องลดลง หุ้นที่มีคุณภาพและมีกำไร เชื่อว่าจะยังไปต่อได้
ต่างจากหุ้นพื้นฐานไม่ดี ยังไม่มีกำไร คงยากที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ในปีนี้
ทีนี้น่าจะพอเห็นภาพแล้วว่า ไม่ใช่หุ้นเทคทุกตัว ที่จะน่ากลัวเสมอไป
หนึ่งวิธีที่จะช่วยเฟ้นหาหุ้นเทคในช่วงเวลานี้คือ วิธี Bottom Up
ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานจากตัวธุรกิจ ไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ
ตัวอย่างเช่น Shopify ธุรกิจ E-commerce แบบครบวงจรสัญชาติแคนาดา ทั้งในด้านการตลาด โกดังเก็บของ และบริการขนส่งสินค้า แม้จะมี P/E สูงมาก แต่ก็สร้างกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเท่าตัว และคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องได้ นักลงทุนจึงได้เข้าไปลงทุนจนราคาหุ้นปรับตัวสูง 150% ในปีที่ผ่านมา
ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่าหุ้นเทคโนโลยีจะยังไปต่อไหม จึงขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้น นั่นเอง
โดยลักษณะหุ้นที่มีโอกาสไปต่อก็คือ หุ้นที่ยังไม่แพง หุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอ และเป็นหุ้นใหญ่
อาทิ หุ้นกลุ่ม FAANG, หุ้นกลุ่ม Software-as-a-Service (SaaS) ที่ให้บริการในด้านซอฟต์แวร์ที่มี Recurring Income หรือมีรายได้เข้ามาสม่ำเสมอ และราคาหุ้นยังไม่แพง ก็น่าจะยังไปต่อได้
คำถามที่ 6 : หุ้นเทคโนโลยี “ลงทุนระยะยาว” ได้ไหม ?
หลายคนอาจจะยังไม่กล้าถือหุ้นเทคโนโลยีในระยะยาวเพราะกลัวปัจจัยเรื่องดอกเบี้ย
ซึ่งคำถามสำคัญคือ หากมีการขึ้นดอกเบี้ยจริง ๆ จะเกิดอะไรขึ้น ?
อิงจากสถิติตั้งแต่ช่วงปี 1990 จนถึงปัจจุบัน FED ได้มีการขึ้นดอกเบี้ยทั้งหมด 7 ครั้ง บวกการทำ QE Tapering อีก 1 ครั้ง
ผลปรากฏว่า Sector ที่ให้ผลตอบแทนเป็นบวกได้มาโดยตลอดก็คือ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี และยังให้ผลตอบแทนเป็นบวกมากที่สุดเมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ
หรืออย่างในปัจจุบันเอง ที่มีปัจจัยมากระทบมากมาย อย่างเรื่อง Sector Rotation, ภาษีนิติบุคคลฉบับใหม่, กฎหมายเรื่องการผูกขาด แต่กองทุน B-INNOTECH ยังคงเติบโตกว่า 17%
ดังนั้น ทางกองทุนบัวหลวงก็มองว่า อาจไม่จำเป็นต้องดู Timing มาก แต่ให้เน้นจัดพอร์ตการลงทุนโดยให้คงสัดส่วนหุ้นเทคโนโลยีไว้ เพราะถือเป็น Sector ที่มีโอกาสเติบโตได้ดี เมื่อเทียบกับ Sector อื่น ๆ ในตลาด
คำถามที่ 7 : ตอนนี้ “ควรเลือกลงทุน” หุ้นเทคโนโลยี อย่างไรดี ?
หุ้นเทคโนโลยีในช่วงนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ 3 ประเภท คือ
1. กลุ่ม Hardware เช่น อุปกรณ์ไอที คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร อย่างบริษัท HP หรือ Logitech
2. กลุ่ม Software as a Service หรือว่าซอฟต์แวร์ที่ใช้ในบริษัทองค์กรใหญ่ ๆ เช่น Microsoft Office, Salesforce (CRM) และ ServiceNow
3. กลุ่ม Semiconductor เช่น ชิปเซต การ์ดจอ อย่าง TSMC และ NVIDIA
ซึ่งกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นตลาดจะให้ P/E ค่อนข้างสูง เนื่องจากมีอัตราการเติบโตของกำไรที่สูง ต่างกับกลุ่มที่ 1 ที่อาจเติบโตได้ดีแค่ในช่วงโควิด แต่เป็นสินค้าที่คนไม่ได้ซื้อบ่อย ทำให้ตลาดยังให้ราคาค่อนข้างต่ำ
อย่างบริษัท NVIDIA ผู้ผลิตการ์ดจอ ที่กำลังเป็นที่ต้องการของนักขุดเหรียญคริปโทฯ ที่มี P/E สูงถึง 76 เท่า แต่ก็มีอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ในไตรมาสที่ผ่านมาสูงถึง 100% ในขณะที่กลุ่ม Hardware อย่าง HP หรือ Logitech นั้นจะมี P/E อยู่ที่ประมาณ 20 เท่า เท่านั้น
จะเห็นได้ว่า หุ้นเทคโนโลยีแต่ละกลุ่มนั้น ให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
ดังนั้น การเลือกกองทุนที่มีนโยบายบริหารแบบ Active Management หรือ กองทุนที่มีเป้าหมายเพื่อเอาชนะดัชนีอ้างอิง จึงเป็นนโยบายที่เหมาะกับการลงทุนใน Theme เทคโนโลยีนี้ เพราะจะช่วยให้กองทุนมีความยืดหยุ่นในการคัดเลือกหุ้นมากขึ้น โดยสามารถเลือกลงทุนในหุ้นที่เห็น Upside ได้เยอะกว่าได้ เมื่อเทียบกับแบบ Passive Management ที่ลงทุนอิงตามดัชนีเท่านั้น
คำถามที่ 8 : แล้ว “B-INNOTECH” เลือกหุ้นเทคโนโลยีเข้าพอร์ตอย่างไร ?
วิธีคัดเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุน Fidelity ซึ่งเป็นกองทุนหลักของ B-INNOTECH
จะประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ นั่นคือ
- Growth คือ หุ้นบริษัทที่เน้นการสร้างนวัตกรรมทันสมัย มีแนวโน้มเติบโต และเป็นผู้นำได้ในระยะยาว
- Cyclical คือ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และที่จะเติบโตไปตามสภาพเศรษฐกิจได้
ตัวอย่างเช่น หุ้นผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ Semiconductor ที่จะยังเติบโตต่อไปได้
- Special Situation คือ หุ้นบริษัทคุณภาพในช่วงเวลาไม่ปกติ
เมื่อกองทุนเห็นบริษัทคุณภาพที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น
หากบริษัทนั้น มีโอกาสฟื้นตัวได้สูง น่าสนใจในอนาคต ก็จะเข้าไปลงทุนเก็บสะสมไว้
ดังนั้น การเลือกหุ้นเทคโนโลยีของกองทุน B-INNOTECH ที่มักจะลงทุนในหุ้นใหญ่
ลักษณะไม่หวือหวา เช่น Alphabet, Microsoft
ด้วยพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นที่เหมาะสม เป็นธุรกิจผู้นำในกลุ่ม
รวมทั้งเป็นธุรกิจมีรายได้และกำไรที่มีคุณภาพ และต้องเติบโตต่อเนื่องในอนาคตด้วย
ซึ่งการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีขนาดใหญ่, ธุรกิจเทคโนโลยีพื้นฐาน และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
ที่มีแนวโน้มผลการดำเนินการค่อยปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลให้ B-INNOTECH เป็นกองทุนที่มีความผันผวนที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับกองทุนเทคโนโลยีและ Innovation อื่น ๆ อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ สะท้อนได้ว่า B-INNOTECH เป็นอีกหนึ่งกองทุนหุ้นเทคโนโลยีที่น่าสนใจเลยทีเดียว ในตอนนี้..
คำเตือน:
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อนู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過14萬的網紅RagaFinance財經台,也在其Youtube影片中提到,www.RagaFinance.com RagaFinance Facebook: https://www.facebook.com/ragafin/ 《Calvin直播室》眾籌計劃 ? http://patreon.com/calvinchoy ◎◎◎訂閱 ◎◎◎ ▶Ragazine ...
dividend discount model 在 Facebook 的精選貼文
【鍾記買恆生 不足一年回報率43%】
股壇老兵鍾記 //我於2020年8月初首次以平均價116.3港元買入恆生銀行(011)的股票(見<買入領展、煤氣、恆生>,股價於9月見底(約110港元)後回升,其後穩步上揚。截至上周五(2021年5月7日)收市價162.3港元計算,股價已較我的買入價上漲了40%,連同期內收取的股息共4.4港元(2020年第二次中期股息0.8港元,第三次中期股息0.8港元及末期股息2.8港元),賬面總回報率達43%。
由於恆生銀行(011)資本充足,過去的派息穩定,經得起2008年金融海嘯及2020年新冠肺炎疫情的考驗,我嘗試用「股利折現模型」(Dividend Discount Model,簡稱DDM)評估它的內在價值。
我假設恆生銀行未來股息增長率(g)= 2.85%及必要報酬率(r)= 6.49%,得出其內在價值(P0)為155.5港元。現價(2021年5月7日)162.3港元,稍微高出內在價值4%,估值尚算合理,但已經不便宜了。//
【全文閱讀】
【鍾記 用DDM評估恆生銀行的內在價值】https://bennychungwai.blogspot.com/2021/05/ddm.html
鍾記活道教育中心理財班報名詳情 http://www.livingword.edu.hk/
dividend discount model 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文
การประเมินมูลค่าหุ้นมีวิธีไหนบ้าง
สำหรับมือใหม่ที่เข้ามาในตลาดหุ้นไม่นานเชื่อว่าหลายคนที่เข้ามาศึกษาการลงทุนในตลาดหุ้น อาจจะอยากรู้ว่าวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นนั้นมีกี่วิธี อะไรบ้าง ในบทความนี้ผมจะรวบรวมวิธีประเมินมูลค่าหุ้นที่เป็นที่นิยมและมีประสิทธิภาพมาให้เพื่อนๆครับ
1.DDM ( Dividend Discount Model )
วิธีนี้เป็นการมองเงินปันผลเป็นหลัก โดยอาศัยสมการทางคณิตศาสตร์ อนุกกรมเลขาคณิตอนันต์ มาใช้คิดลดเงินปันผลในอนาคตกลับมาเป็นมูลค่าในปัจจุบัน ( วิธีพิสูจค่อนข้างยาวครับถ้าเพื่อนๆอยากเห็นที่มาที่ไปในการพิสูจลอง comment บอกกันใต้โพสได้นะครับ )
สมการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม = D(1 + g)/(k-g)
*หมายเหตุ D คือเงินปันผลปีล่าสุด
g คืออัตราการเติบโตของหุ้น
K คือผลตอบแทนที่คาดหวัง
2.DCF (Discounted Cash Flow )
วิธีนี้จะคล้ายกับ DDM แต่เปลี่ยนจากการมองเงินปันผลเป็นหลัก มามองที่ กระแสเงินสดอิสระ แทน โดยอาศัยอนุกรมเลขาคณิตอนันต์ มาใช้เช่นเดียวกับ DDM
สมการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม = FCF(1+g)/(k-g)
*หมายเหตุ FCF คือ กระแสเงินสดอิสระ ( กระแสเงินสดอิสระ = กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน - เงินลงทุนในทรัพย์สินถาวร )
3.P/E
วิธีนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุนมากที่สุดเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ ไม่จำเป็นต้องใช้คณิตศาสตร์มากนักในการประเมินมูลค่า แต่ วิธีนี้จะเป็นวิธีที่ได้ผลลัพธ์ในเชิงเปรียบเทียบมากกว่า DDM และ DCF ที่ผลลัพธ์ของข้างจะ Conservative
สมการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม = P/E * EPS
* Comment วิธี P/E จะใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้ใช้ควรมีความรู้ในการอ่านงบการเงิน เพื่อแยกแยะรายได้ รายจ่ายที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำออก เช่น รายได้จากการขายกิจการ รายได้จากการปรับมูลค่ายุติธรรม เป็นต้น
4.PEG
วิธีนี้เป็นวิธีที่นำ วิธีการประเมินมูลค่าแบบ P/E มาประยุคใช้โดยมองการเติบโตในอนาคตของหุ้น ผ่านค่า G มาใช้ในการคำนวณร่วมด้วย
สมการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
PEG = P/( E*G )
*Comment จุดอ่อนของวิธีนี้อยู่ที่การคาดเดา G ( Growth ) ในอนาคตเนื่องจากการคาดเดาอนาคตเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากมาก ในบางครั้งแม้แต่ผู้บริหารเองก็ยากที่จะตอบได้อย่างแม่นยำ
5.P/BV
วิธีนี้จะมีเป็นการคิดมูลค่าหุ้นจากการเปรียบเทียบกับกำไรสะสม หรือ Equity ของกิจการเมื่อเทียบกับราคา
สมการที่ใช้ในการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
มูลค่าหุ้นที่เหมาะสม = P/BV * Book value
*Comment วิธีนี้ได้ได้ผลดีกว่า P/E เมื่อเกิดวิกฤติที่ส่งผลให้รายได้การกิจการลดลงไปมาก หรือขาดทุน จนทำให้ประเมินมูลค่าด้วยวิธี P/E ไม่ได้เนื่องจาก Earning ที่ต่ำลงไปมาก หรือ แม้กระทั่งติดลบ วิธีP/BV จึงเป็นทางเลือกที่ค่อนข้างเหมาะสมกว่าในช่วงวิฤติ
อย่างไรก็ตามในโลกการลงทุนนั้นยังมีวิธีการประเมินมูลค่าอื่นๆอีกมากมายจนไม่สามารถนำมาเขียนในบทความได้ทั้งหมด หากเพื่อนมีวิธีไหนที่สนใจ หรือ อยากให้เราพิสูจน์ หรือเขียนบทความตัวอย่างการประเมินมูลค่าหุ้นในแต่ละวิธีให้ชมกัน ลองคอมเม้นใต้โพสไว้ได้เลยครับ
dividend discount model 在 RagaFinance財經台 Youtube 的精選貼文
www.RagaFinance.com
RagaFinance Facebook:
https://www.facebook.com/ragafin/
《Calvin直播室》眾籌計劃 ?
http://patreon.com/calvinchoy
◎◎◎訂閱 ◎◎◎
▶Ragazine : https://www.youtube.com/channel/UC5DWcqCjBne2-wRnrjxkuHQ
▶Raga Finance: https://www.youtube.com/c/RagazineFinanceVideo
▶Giggs.hk: https://www.youtube.com/channel/UCVZTkv6LM-_xWUM9t-jS5JA
#新煎地教會 #羅尚沛 #RagaFinance
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
免責聲明:《Raga Finance》竭力提供準確資訊,惟不保證絕對無誤,資訊如有錯漏而令閣下蒙受損失(不論公司是否與侵權行為、訂立契約或其他方面有關),本公司概不負責。
同時,《Raga Finance》所提供之投資分析技巧與建議,只可作為參考之用,並不構成要約、招攬、邀請、誘使、任何不論種類或形式之申述或訂立任何建議及推薦,讀者務請運用個人獨立思考能力自行作出投資決定,如因相關建議招致損失,概與《Raga Finance》主持、嘉賓、編輯及記者無關。
同時,《Raga Finance》所有節目或資訊,相關內容屬作者個人意見,並不代表《Raga Finance》立場。
Raga Finance
網址: www.ragafinance.com
dividend discount model 在 Dividend discount model - Wikipedia 的相關結果
In finance and investing, the dividend discount model (DDM) is a method of valuing the price of a company's stock based on the fact that its stock is worth ... ... <看更多>
dividend discount model 在 Dividend Discount Model - Definition, Formulas and Variations 的相關結果
The Dividend Discount Model (DDM) is a quantitative method of valuing a company's stock price based on the assumption that the current fair price of a ... ... <看更多>
dividend discount model 在 How Does the Dividend Discount Model (DDM) Work? 的相關結果
The dividend discount model (DDM) is a system for evaluating a stock by using predicted dividends and discounting them back to present value. ... A dividend is ... ... <看更多>