QGEN - HR Practice Provider
Culture that Inspires Creativity คือ Top 3 เหตุผลที่คนใช้ในการตัดสินใจเลือกสมัครงานกับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง จากผลการสำรวจของ Glassdoor และ Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรก็เป็น 1 ใน 6 ของ Factor ที่มีผลต่อ Employee Motivation and Engagement ตาม Model ของ QGEN เช่นกัน
ค่านิยมองค์กร วัฒนธรรมองค์กรที่คุณมี ส่งผลโดยตรงต่อเป้าหมายขององค์กรหรือไม่ และพนักงานในองค์กรมีส่วนร่วม มีความเข้าใจ และแสดงพฤติกรรมตามที่องค์กรคาดหวังไว้ได้มากน้อยแค่ไหน นี่คือสิ่งที่องค์กรต้องตรวจสอบและดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
ปัญหาที่หลายองค์กรอาจจะเจออยู่คือ Default Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับ Design Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่อยากจะให้เป็น และแน่นอนว่าถ้า Design Culture มีความแตกต่างจาก Default Culture มาก พนักงานย่อมจะรู้สึกอึดอัดเพราะต้องปรับตัวอย่างมาก ซึ่งถ้าองค์กรไม่ได้มีวิธีการจัดการอย่างเป็นระบบ ความอึดอัดจะกลายเป็น Burn Out และส่งผลต่อ Performance อย่างแน่นอน
James Baron และ Michael Hannan จาก Standford University จำแนกรูปแบบของ Culture โดยพิจารณาจากรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอารมณ์ระหว่างองค์กรและพนักงาน วิธีการคัดเลือกคน และวิธีการควบคุมประสานงานในองค์กร โดยมีทั้งหมด 5 Model คือ Star Model, Bureaucratic Model, Engineering Model, Autocratic Model และ Commitment Model
Commitment Model เป็นรูปแบบวัฒนธรรมที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในระยะยาว ซึ่งจุดเด่นของ Commitment Model คือให้ความสำคัญกับการ Buy-In หรือการมีความรู้สึกร่วมของพนักงาน และใช้วิธีการคัดเลือกพนักงานโดยเน้น Culture Fit มากกว่า Skill Fit รวมถึงผู้บริหารต้องเป็นคนลงมาสั่งการเรื่อง Culture อย่างจริงจัง
เรื่องที่ทำยากที่สุดใน Commitment Model คือการทำให้พนักงาน Buy-In ในสิ่งที่องค์กรกำลังจะเดินหน้าไปตาม Vision และ Goal ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นต้องคือการสื่สารอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยเป้าหมายของการสื่อสารเพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
1. Awareness สร้างให้เกิดการรับรู้
2. Understanding สร้างความเข้าใจ
3. Acceptance สร้างการยอมรับ
4. Commitment สร้างความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ
แต่สิ่งที่สำคัญก่อนหน้านั้นคือการพัฒนา และ Design Culture ที่ต้องมั่นใจว่าส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายขององค์กร รวมถึง Inspire และ Motivate พนักงานไปพร้อม ๆ กัน
#Culture
#QGEN #HRTheNextGen
「employee engagement model」的推薦目錄:
- 關於employee engagement model 在 HR - The Next Gen Facebook 的最讚貼文
- 關於employee engagement model 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
- 關於employee engagement model 在 HR - The Next Gen Facebook 的精選貼文
- 關於employee engagement model 在 Aon's Employee Engagement Model - Pinterest 的評價
- 關於employee engagement model 在 Employee Engagement Model in 4.5 Steps! More ... - YouTube 的評價
- 關於employee engagement model 在 An employee engagement model... - SKOPE Business ... 的評價
employee engagement model 在 HR - The Next Gen Facebook 的最佳貼文
QGEN - HR Practice Provider
People คือหนึ่งในปัญหาหลักที่ทำให้คนเก่งหรือ Talent ขององค์กรเลือกที่จะไม่ไปต่อ ซึ่ง Employee Engagement Model ของ QGEN ได้แบ่งรูปแบบความสัมพันธ์กับคนในองค์กรออกเป็น 4 รูปแบบ ที่มีอิทธิพลต่อเหตุผลและความรู้สึกที่ต่างกันไปตามการให้คุณให้โทษ และการสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน
หัวหน้า ลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน และลูกค้า คือรูปแบบของคน 4 ประเภทที่ QGEN พูดถึง ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่นำไปโยงกับการรักษาคนเก่งหรือ Talent ขององค์กรไว้ หัวหน้าจะเป็นเป้านิ่งลำดับแรกที่หลายคนนึกถึง และอาจจะตัดสินไปแล้วด้วยว่า นี่แหละคือสาเหตุหลักที่ทำให้องค์กรเสียคนเก่งไป
การตัดสินใจลาออกของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นคนในค่าเฉลี่ยขององค์กร หรือ Talent ขององค์กร มีเหตุผลอยู่มากมาย ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ องค์กรอื่นให้ตำแหน่ง เงินเดือน สวัสดิการ ที่ดีกว่า Work Life Balance ไม่ได้เป็นไปอย่างที่คาดหวัง หรือแม้แต่งานไม่สนุก รู้สึกไม่มีคุณค่า และผังองค์กรที่มีลำดับขั้นเยอะจนทำให้งานไม่เดินหรือล่าช้าไปกว่าที่ควรจะเป็น
หรือถ้าปัญหาของการลาออกเป็นเรื่องของคน ก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้งการมีปัญหากับลูกน้อง เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า แต่ก็นั่นล่ะครับ ถึงจะมีเคสให้เห็นอยู่บ้างอย่างนักเตะเล่นไล่โค้ช แต่ก็เป็นส่วนน้อยจริง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อเทียบกับการที่ใครซักคนจะลาออกเพราะหัวหน้า
เหรียญมีสองด้านเสมอ อย่าเพิ่งเร่งตัดสินว่าเป็นเพราะหัวหน้า ภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดที่หลายคนอาจจะไม่รู้ สิ่งที่หัวหน้าได้ทำไปก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ณ เวลานั้นก็ได้ และเช่นกันครับหัวหน้าบางคนอาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานอยากจะที่เปิด Job Board ในทุกวัน แต่ก็มีไม่น้อยเหมือนกันที่หัวหน้าคือคนสำคัญที่กระตุ้นและเป็นแรงผลักให้หลายคนทำงานอย่างมีความสุข
ความกังวลของหัวหน้าหน้าใหม่หลายคนคือ ทำตัวไม่ถูก ไม่รู้จะบริหารทีมอย่างไร กลัวการตำหนิผู้อื่น กลัวการถูกนินทา นี่คือเรื่องที่ผมมองว่าผู้บริหารและ HR จะต้องให้ความใส่ใจกับหัวหน้าหน้าใหม่ที่แต่ละคนอาจจะมี People Management Skill ที่ไม่เท่ากัน อย่ารอให้เค้ากังวลจนทำตัวไม่ถูก เร่งพัฒนาเค้าด้วยในวันที่เรา Promote เค้าขึ้นไปเป็น Leader
Leadership ตามนิยามของ Jims Collin คือ ศิลปะของการกระตุ้นให้คนในทีมอยากจะทำ ในสิ่งที่เค้าจะต้องทำให้สำเร็จ นี่คือสิ่งที่ผมอยากให้ Leader ในทุกระดับลองไปตีความดู และในงานพื้นฐานของ Leader ในทุกระดับต้องลองไปพิจารณากันอีกทีว่า เราทำเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ได้ดีแค่ไหน และถ้าเราทำได้ไม่ดี นี่คือหนึ่งในการส่งสัญญาณว่าคนเก่ง ๆ จะไม่อยู่กับเราหรือเปล่า
1.Target Setting การตั้งเป้าหมายให้กับคนในทีม 2. Assignment การมอบหมายงานให้กับคนในทีมโดยเน้นที่ Strength เป็นที่ตั้ง 3. Monitoring & Tracking การติดตามงานอย่างเหมาะสม และไม่ Micro Management จนขาด Creativity 4 Evaluation and Feedback แยกคนเก่งและไม่เก่งออกจากกันได้ และสามารถให้ข้อมูลเพื่อไปพัฒนาตนเองของทีมแต่ละคนด้วย และ 5 Reward & Recognition ซึ่งเชื่อมโยงกับการตั้งเป้าและการประเมินผล
ขอไม่ลงรายละเอียดใน Content นี้นะครับ แต่ลองไปเช็คดูว่าเราทำครบมั้ย ให้คะแนนตัวเองกันหน่อยว่าเราได้ดีแค่ไหน
ทีนี้กลับมาที่เหตุและผลของการที่คนเก่งลาออก แล้วบอกว่า หัวหน้านี่แหละคือสาเหตุสำคัญ จากประสบการณ์ของผมเอง ผมวิเคราะห์ออกมา 4 หัวข้อใหญ่ ๆ ที่เป็นพฤติกรรมของหัวหน้าซึ่งส่งผลต่อเหตุผล อารมณ์และความรู้สึกของคนทำงาน โดยเฉพาะกับคนเก่ง ๆ
ขอตัดเรื่องหัวหน้าที่ EQ น้อย ๆ ออกไปก่อน เพราะประเด็นนั้นคงไม่จำเป็นต้องคุย ส่วนอีก 4 ข้อ อยากจะให้หัวหน้าไปลองรีวิวตัวของเราเองดู เผื่อว่าเราจะเจอต้นตอของปัญหา และหาวิธีในการแก้ไขได้ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อรักษาคนเก่งไว้ให้อยู่กับเราต่อไปได้
ข้อแรกคือ Communication หัวหน้าที่สื่อสารไม่เป็น ซึ่งการพูดเก่งไม่ได้หมายความว่าสื่อสารเป็น และถ้าเราย้อนกลับไปดู 5 งานพื้นฐานของหัวหน้า Communication คือองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้กระบวนการเหล่านั้นประสบความสำเร็จ
ข้อสอง หัวหน้าที่ไม่วางแผน Career Path ให้กับ Talent อย่างเหมาะสม เราต้องไม่ลืมว่า Career Growth คือเหตุผลอันดับต้น ๆ ของ Talent โดยเฉพาะ New Generation หัวหน้าคนไหนที่ลืมเรื่องนี้ไป รีบกลับมาวางแผนซะก่อนที่ Talent ของเราจะไปวางแผนกับองค์กรอื่น
ข้อที่สาม หัวหน้าที่เป็น Center ในทุกเรื่อง ไม่ Empower ให้กับ Talent ในการทำงานทั้งที่ตอนเลือกคนเข้ามา พยายามเลือกคนที่เก่งที่สุด แต่ไม่ให้อำนาจในการทำงานที่เหมาะสม
และข้อสุดท้าย คือหัวหน้าที่ไม่ตัดสินใจ
ทั้ง 4 ข้อนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากให้หัวหน้าไปลองพิจารณาดู และถ้าให้ดีลองทำ Feedback โดยให้ทุกคนในทีมบอกเราว่า อะไรคือสิ่งที่เราควรพัฒนา เปิดใจให้มากเพื่อรับฟังเรื่องเหล่านั้น ถ้าเห็นว่านั่นคือ Fact และเราควรจะเร่งพัฒนาปรับปรุงตัวเราเองก็ควรรีบทำซะ
คนเก่งหาไม่ได้ง่าย ๆ รักษาเค้าไว้ให้ดีนะครับ
ใน Content หน้าจะมาเล่าเรื่อง Leader for Employee Experience ซึ่งเป็นอีกแนวทางนึงในการ Retain และ Engage คนเก่งไว้ให้กับองค์กร ฝากติดตามนะครับ
#Leadership #EmployeeEngagement #EmployeeExperience
#QGEN
employee engagement model 在 HR - The Next Gen Facebook 的精選貼文
QGEN - HR Practice Provider
เมื่อวานจัดรายการ Hey Monday ตอน ทำให้พนักงาน "รักองค์กร" ยังจำเป็นอยู่มั้ย แล้วพูดถึงเรื่อง Employee Engagement เลยมาเล่าให้ฟังกันอีกทีครับ
ขายของหน่อย ติดตามรายการ Hey Monday ได้ทุกวันจันทร์ 0730 น. นะครับ ส่วนจัดที่ไหน ลองเดาดู ไม่น่ายากแต่เกรงใจแพลทฟอร์มนี้ เลยไม่อยากพูดถึง 5555
Employee Engagement เป็น Top 3 กลยุทธ์ของบริษัทในยุคที่การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา และการแข่งขันทั้งทางธุรกิจทำให้ใคร ๆ ก็อยากได้ตัวคนเก่งไปทำงานด้วย
บริษัทเลือกคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงานด้วยได้แล้ว ก็ต้องพยายามอย่างที่สุดให้คนเก่งยังคงอยู่กับองค์กร แล้วไม่ใช่แค่อยู่เท่านั้น แต่ต้อง Perform อย่างที่คาดหวังด้วย
แต่วันนี้บริษัท ผู้บริหาร หัวหน้า HR รู้หรือเปล่าว่าพนักงานอยู่ในความรู้สึกแบบไหน
Employee Engagement Survey ไม่ใช่ทางเลือกเดียว ถ้าเราสัมผัสได้เองผ่านการพูดคุย Survey ก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น เพราะเป้าหมายจริง ๆ คือการสร้าง Engaged Employee ไม่ใช่การเพิ่มคะแนน Employee Engagement Survey
แล้วถ้าจะต้องทำ Survey คำถามคืออะไร
ในแต่ละ Model แต่ละแนวคิดก็มีคำถามที่แตกต่างกันไป Google ดูก็จะเจอคำถามที่หลากหลาย สำหรับ QGEN ซึ่งมี Employee Engagement & Motivation Model ที่มี Driver คือ Culture, People, Opportunity, Reward, Work และ Organization ก็มีคำถามที่ใช้วัด Employee Engagement Status อยู่ 6 ข้อคือ
1. ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ฉันมีความรู้สึกอยากมาทำงานทุกวัน
2. ฉันพัฒนางานให้ดีขึ้นอยู่ตลอดเวลา
3. ฉันติดตามและใส่ใจผลการดำเนินงานของบริษัทอยู่เสมอ
4. ฉันจะแนะนำเพื่อนสนิทของฉันมาร่วมงานกับองค์กรเมื่อมีโอกาส
5. ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ฉันไม่เคยคิดลาออกจากองค์กร
6. หลังจากนี้ถ้ามีข้อเสนอจากองค์กรอื่น ๆ ให้ไปร่วมงาน ฉันจะปฏิเสธข้อเสนอนั้น
ถ้าพนักงานเห็นด้วยกับ 6 ข้อแปลว่าพนักงานยังคง Engage กับบริษัทอยู่ แต่ถ้าไม่เลย คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะไม่อยากอยู่ หรือไม่อยากทำผลงานดี ๆ ให้กับบริษัทแน่ ๆ
นี่คือโจทย์ที่ บริษัท ผู้บริหาร หัวหน้า และ HR จะต้องแก้ไขปัญหาร่วมกันครับ
สนใจรายละเอียดเรือง Employee Engagement Survey ติดต่อ QGEN ได้ที่ +662-168-8098 ครับ
#EmployeeEngagement
#QGEN
employee engagement model 在 Employee Engagement Model in 4.5 Steps! More ... - YouTube 的推薦與評價
This simple 4.5 step model to supercharge your Employee Engagement comes from more than 40 years of proven research - all spelled out ... ... <看更多>
employee engagement model 在 An employee engagement model... - SKOPE Business ... 的推薦與評價
An employee engagement model is a blueprint which helps leaders understand what makes people productive in the workplace. Companies can choose any of... ... <看更多>
employee engagement model 在 Aon's Employee Engagement Model - Pinterest 的推薦與評價
Nov 21, 2018 - Aon's human capital business provides leaders with a powerful mix of data, analytics and advice to help them make better workforce decisions. ... <看更多>