Rick Guerin นักลงทุนที่ บัฟเฟตต์ เคยยกย่อง แต่โลกลืม /โดย ลงทุนแมน
เมื่อพูดถึงนักลงทุนรุ่นเก๋า เราก็น่าจะคุ้นเคยกับสองคู่หูแห่ง Berkshire Hathaway
คือ Warren Buffett และ Charlie Munger
ทั้งคู่ถือเป็นนักลงทุนต้นแบบด้านการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
จากการที่อยู่ในตลาดหุ้นมาแล้วหลายทศวรรษและยังประสบความสำเร็จ
รวมถึงเป็นผู้คอยให้คำแนะนำแก่เหล่านักลงทุนหน้าใหม่
แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนหน้านี้ในปี 1970 Berkshire Hathaway ยังมีหุ้นส่วนอีกคนหนึ่ง
มีชื่อว่า “Rick Guerin” ผู้ที่ได้รับการยกย่องจาก Buffett ว่าเป็นคนที่เฉลียวฉลาดที่สุดในกลุ่ม
โดยกองทุนที่เขาบริหารส่วนตัวสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 33% ต่อปี
ติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานถึง 19 ปีด้วยกัน
แล้วทำไมอยู่ดี ๆ เขาถึงกลายเป็นนักลงทุนที่ถูกลืม ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Rick Guerin เกิดที่ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1929
เขาเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 6 ขวบ โดยประกอบอาชีพเป็นคนส่งน้ำแข็งและหนังสือพิมพ์
Guerin ได้เข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สาขาเอกคณิตศาสตร์
และเมื่อจบการศึกษา เขาก็ได้เข้าทำงานเป็นเซลส์แมนที่ IBM
หลังจากนั้นจึงได้เข้าสู่วงการนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
แม้ว่า Guerin จะย้ายมาทำงานในแวดวงการลงทุนแล้ว
แต่เขาก็ยังไม่เคยบริหารเงินทุนมาก่อน โดยคนที่ทำให้เขาเข้าสู่วงการนี้ไม่ใช่ใคร
เขาคนนั้นก็คือ Munger นั่นเอง ซึ่งพวกเขาได้รู้จักกัน
ในช่วงที่ Munger กำลังเข้าสู่วงการลงทุนแบบเต็มตัว
ช่วงเวลานั้น Munger เห็นว่า Guerin มีความสนใจในวงการการลงทุนอย่างมาก
จึงตัดสินใจชวนให้เขาเข้ามาทำงานร่วมกันที่บริษัทด้านการลงทุนของตน
และที่แห่งนี้เอง เป็นสถานที่ที่ทำให้เขาเข้าใจโลกการลงทุนมากยิ่งขึ้น
แม้ว่า Guerin จะไม่ได้จบสายการเงินหรือแม้กระทั่งสายธุรกิจ
แต่เขาสามารถเรียนรู้และเข้าใจเรื่องการลงทุนแบบเน้นคุณค่าได้อย่างรวดเร็ว
ขนาด Buffett เองยังยอมรับทักษะและความคิดด้านการลงทุนของเขา
หลังจากร่วมงานกับ Munger ไปสักระยะเวลาหนึ่ง จนเริ่มมีฝีมือ
Guerin ก็ออกมาบริหารกองทุนของตัวเอง ที่มีชื่อว่า “Pacific Partners”
สไตล์การลงทุนของ Guerin คือการเลือกกิจการพื้นฐานที่ดีและราคาที่ถูก
ตรงตามต้นตำรับการลงทุนเน้นคุณค่าของคู่หู Buffett และ Munger
และจากการที่เขามีแนวคิดการลงทุนและนิสัยใจคอที่ใกล้เคียงกัน
นั่นทำให้เขาได้กลายมาเป็นหุ้นส่วนกับ Berkshire Hathaway ในเวลาต่อมา
หากดูหุ้นในพอร์ตของเขาเทียบกับ Buffett และ Munger จะพบว่าคล้ายกันมาก
จากเรื่องนี้เองทำให้พวกเขาทั้งสามคนมักจะพูดคุยและร่วมเข้าซื้อกิจการด้วยกัน
การเข้าซื้อกิจการที่โด่งดังที่ Guerin มีส่วนสำคัญในการตัดสินใจคือ Blue Chip Stamps
Blue Chip Stamps เป็นบริษัทที่ทำคูปองส่วนลดให้แก่ร้านค้าปลีก เพื่อให้แต่ละรายนำไปแจกจ่ายให้ลูกค้าต่อ สำหรับการสร้าง Brand Loyalty
เหตุผลที่พวกเขาเข้าซื้อกิจการแห่งนี้เพราะว่า จะได้ใช้ Float ของบริษัทหรือเงินสดที่ได้รับจากการออกคูปอง แต่ยังไม่มีใครมาเคลม สำหรับเข้าซื้อกิจการอื่น ๆ ต่อไป
โดยกิจการที่ใช้เงินจาก Float ในการเข้าซื้อ ตัวอย่างเช่น
See's Candy ร้านขนมหวาน
Wesco Financial บริษัทด้านการเงิน
The Buffalo Evening News สำนักพิมพ์
การลงทุนเหล่านี้ล้วนสร้างผลตอบแทนดีและก็ได้กลายเป็นรากฐานของ Berkshire Hathaway ที่เรารู้จักในปัจจุบัน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าการดีลครั้งนี้ ถือเป็นจุดสำคัญที่ทำให้ Berkshire Hathaway ยิ่งใหญ่ได้
อย่างไรก็ตาม แม้แนวทางการเลือกหุ้นของพวกเขาจะคล้ายกัน
แต่สิ่งที่ทำให้ Guerin แตกต่างออกไปคือ “การใช้มาร์จินในการซื้อหุ้น”
การใช้มาร์จิน คือ การกู้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อนำมาซื้อหุ้น
ยกตัวอย่าง เช่น หากเรามีเงิน 100,000 บาท คิดว่าหุ้น A กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น
แต่เราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ก็เพียงกู้เงินจากโบรกเกอร์อีก 100,000 บาท
เพื่อเพิ่มอำนาจในการซื้อเป็น 2 เท่า
ถ้าหุ้นขึ้น 10% ปกติเราจะได้กำไร 10,000 บาท คิดเป็นผลตอบแทน 10%
แต่ถ้าใช้มาร์จิน เราจะได้กำไรเป็น 2 เท่า คิดเป็น 20,000 บาท ผลตอบแทนกลายเป็น 20%
ก่อนหักด้วยค่าดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงิน
ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้มีนักลงทุนหลายรายชอบใช้มาร์จินสำหรับการซื้อหุ้น
รวมถึง Guerin ก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องการจะรวยได้อย่างรวดเร็ว
จากการใช้มาร์จินส่งผลให้กองทุนของเขาช่วง 8 ปีแรก
มีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 55% ต่อปี
ซึ่งมีเพียงปีเดียวที่ขาดทุน และขาดทุนแค่ 7% เท่านั้น
หมายความว่าในช่วงเวลาดังกล่าว
หากใครที่นำเงินไปลงทุนในกองทุนของเขา มูลค่า 1,000,000 บาทเป็นระยะเวลา 8 ปี
เงินก้อนนั้นจะเติบโตเป็น 33,000,000 บาท เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม เหรียญมีสองด้านเสมอ
หากมาร์จินสามารถสร้างผลตอบแทนที่มหาศาลแล้ว
ในทางกลับกัน มาร์จินที่ผิดทางก็ทำให้เราขาดทุนมหาศาล เช่นกัน
ดังนั้นเห็นได้ว่าการใช้มาร์จินมีความเสี่ยงอย่างมาก
เพราะถ้าหากเราทายผิด มีโอกาสขาดทุนอย่างมหาศาล
ซึ่งเหตุการณ์ที่น่ากลัวนี้เองได้เกิดขึ้นกับ Guerin ในที่สุด
เมื่อตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเผชิญกับวิกฤติช่วงปี 1973-1974
เนื่องจากนโยบายด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Richard Nixon
ไม่สามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ ซ้ำร้ายยังเจอ OPEC ร่วมกันงดส่งออกน้ำมันไปยังสหรัฐอเมริกา
ส่งผลให้ในปี 1973 และ 1974 นักลงทุนต่างพากันวิตกกังวลและเทขายหุ้น
ดัชนี S&P จึงลดลงถึง 14.8% และ 26.4% ตามลำดับ
และด้วยความที่ Guerin ใช้มาร์จินเพื่อทวีคูณผลตอบแทน
แต่พอผิดทาง ผลตอบแทนของกองทุน Pacific Partners จึงติดลบหนักกว่าตลาด
ปี 1973 อัตราผลตอบแทนของ Pacific Partners อยู่ที่ -42%
ในขณะที่ปีต่อมา อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ -34.4%
หากใครลงทุนเมื่อต้นปี 1973 ด้วยเงินจำนวน 1,000,000 บาท
สิ้นสุดปี 1974 จะเหลือเพียง 382,800 บาทเท่านั้น
จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้ Guerin โดนบังคับต้องขายหุ้นบางส่วนที่มีออกมา
เพื่อปิดสถานะการขาดทุนที่ถือเอาไว้
ซึ่งหนึ่งในหุ้นที่ขายออกมานั้นคือ Berkshire Hathaway
เรื่องนี้เอง ได้ทำให้ความเป็นพาร์ตเนอร์ของเขากับ Buffett และ Munger สิ้นสุดลง
โดยเขาได้ขายหุ้น Berkshire Hathaway คืนให้กับ Buffett ในราคาที่ต่ำกว่า 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
ซึ่งถ้าเรามาดูราคาหุ้น Berkshire Hathaway ในปัจจุบัน
อยู่ที่ประมาณ 419,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
หมายความว่าถ้า Guerin ไม่ได้ขายหุ้นออกไป การลงทุนของเขาก็เติบโตเป็น 10,475 เท่าในระยะเวลา 28 ปีหลังจากนั้น หากคิดอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยจะสูงถึง 21% ต่อปี
นอกจากพอร์ตที่ย่ำแย่แล้ว เรื่องนี้ก็ส่งผลต่อชื่อเสียงของ Guerin อีกด้วย
นักลงทุนและหุ้นส่วนหลายคนสูญเสียศรัทธาเช่นเดียวกับ Buffett และ Munger
อย่างไรก็ตามหลังจากนั้น 2 ปีเขาก็สามารถฟื้นฟูผลตอบแทนกลับมาคืนทุนได้อีกครั้ง
ตั้งแต่ 1965 ถึง 1983 กองทุน Pacific Partners สร้างผลตอบแทนถึง 222 เท่า
คิดเป็นอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 33% ต่อปี
แต่ด้วยความที่ Guerin ไม่ได้มีส่วนร่วมใน Berkshire Hathaway อีกต่อไป
นั่นจึงทำให้ชื่อเสียงของเขานั้นค่อย ๆ จางลงและเลือนหายไปในที่สุด
ปิดท้ายด้วยข้อความที่ Buffett เคยกล่าวไว้ว่าตนและ Munger
รู้อยู่เสมอว่าจะกลายเป็นคนที่มั่งคั่งอย่างไม่น่าเชื่อ
พวกเขาจึงไม่รีบร้อนที่จะรวยให้เร็ว
ซึ่งต่างจาก Guerin ที่รีบร้อนเกินไป จึงทำให้เขาพลาดโอกาส ครั้งสำคัญ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.valuewalk.com/rick-guerin/
-https://www.usatoday.com/story/money/2020/03/21/stock-market-collapse-how-does-todays-compare-others/2890885001/
-https://finance.yahoo.com/news/case-study-fall-rick-guerin-170021290.html
-https://www.lutz.us/nobody-talks-about-rick-anymore/
-https://www.jpguerin.com/obituary
-https://finance.yahoo.com/news/why-warren-buffetts-blue-chip-164748907.html
-หนังสือ Damn Right! Behind the Scenes with Berkshire Hathaway Billionaire Charlie Munger โดย Janet Lowe
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過40萬的網紅我要做富翁,也在其Youtube影片中提到,繼上集介紹了最強收息藍壽股後,今集 #美股分享 會趁年末將近,為你介紹幾隻跑贏指數的狗股!還會教你如何洞悉狗股走勢,看後就知哪隻才是「最狗」狗股!如要支持我們分享免費資訊,請給我們一個"Like",亦請"Share"給有興趣投資美股的朋友。如你對今集內容有任何意見,歡迎在下面留言,和我們交流一下 :...
ibm stock 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
“ลิซ่า ซู” ผู้พลิก AMD ให้มูลค่าบริษัทโต 53 เท่า ใน 7 ปี /โดย ลงทุนแมน
หากพูดถึงบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดจอ
หลายคนคงนึกถึงบริษัท Nvidia ขึ้นมาเป็นอันดับแรก
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน
ชื่อว่า Advanced Micro Devices หรือ AMD
ที่ตอนนี้ ก็เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้ผลิตการ์ดจอที่ใหญ่ที่สุดในโลก เช่นกัน
แต่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ AMD ผ่านอุปสรรคมาเยอะพอสมควร
และเมื่อ 7 ปีก่อนบริษัทแห่งนี้มีมูลค่าเพียง 56,000 ล้านบาท
แต่ภายหลังจาก “ลิซ่า ซู” ขึ้นแท่นมาเป็น CEO ของบริษัท
เธอก็ได้ทำให้ AMD กลับมาเติบโตแบบก้าวกระโดด จนปัจจุบันมีมูลค่ามากถึง 3 ล้านล้านบาท
มูลค่าเพิ่มขึ้น คิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี
เธอคนนี้ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ปัจจุบัน Advanced Micro Devices หรือ AMD เป็นบริษัทที่พัฒนาชิปประมวลผล, การ์ดจอ
โดยมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมให้กับนักเล่นเกมไปจนถึงธุรกิจองค์กร
โดยองค์กรที่ว่านี้ ยกตัวอย่างเช่น Google, Amazon, Microsoft, Tencent และ Oracle
แต่หากเราย้อนกลับไปในช่วงปี 2012 ถึง 2015
บริษัท AMD ประสบปัญหารายได้ลดลงและขาดทุนติดต่อกันถึง 4 ปี
นั่นจึงทำให้ในปี 2014 มูลค่าบริษัท AMD เหลือเพียง 56,000 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นหุ้นร่วงลงกว่า 40% ในปีเดียว
ย้อนกลับไป หลายคนก็น่าจะคาดการณ์กันว่า AMD น่าจะกลับเข้ามาแข่งขันได้ยาก
เพราะทั้งไม่เติบโตแถมยังขาดทุนต่อเนื่อง
แต่ ลิซ่า ซู ผู้บริหารที่เข้ามารับไม้ต่อขึ้นแท่น CEO กลับไม่ได้คิดแบบนั้น
แล้วเธอคือใคร ?
ลิซ่า ซู เป็นชาวอเมริกัน เชื้อสายไต้หวัน
เธอเกิดที่เมืองไถหนาน ประเทศไต้หวัน
แต่ภายหลังได้ย้ายมาอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันเธออายุ 51 ปี
เธอจบการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจาก Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT
หลังจากจบการศึกษา เธอได้ร่วมงานกับบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย
ไม่ว่าจะเป็น Texas Instruments, IBM, Freescale Semiconductor
แน่นอนว่าทุกงานล้วนเกี่ยวกับชิปเซต
จนกระทั่งในปี 2012 เธอได้เข้ามารับตำแหน่งรองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปของ AMD
แต่พอบริษัทเข้าสู่ยุคตกต่ำ เธอก็ได้รับเลือกขึ้นมารับตำแหน่ง CEO เพื่อพลิกวิกฤติตั้งแต่ปี 2014
แม้ในช่วงแรกผลดำเนินงานของ AMD จะยังคงแย่อยู่ แต่ผ่านไปเพียง 3 ปี หรือในปี 2017
เธอก็ได้ทำให้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานกลับมาเป็นบวกได้ครั้งแรกในรอบ 6 ปี
สิ่งที่เธอเข้ามาเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ มี 2 อย่าง
- การปรับโครงสร้างทางด้านค่าใช้จ่าย
- การหาจุดโฟกัสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต
และในปีเดียวกันนั้นเอง AMD ก็ได้เปิดตัว “Zen Architecture”
ซึ่งถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าคืนชีพบริษัทแห่งนี้ให้กลับเข้ามาแข่งขันได้อีกครั้ง
Zen Architecture เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท AMD ที่ใส่เข้าไปในชิปประมวลผล
หรือที่ใครหลายคนเรียกกันว่า CPU
เทคโนโลยีดังกล่าวก็ได้ทำให้ตัวชิปประมวลผลของทางบริษัท
มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกับชิปของ Intel ซึ่งเป็นคู่แข่งคนสำคัญ
นอกจากนั้น AMD ยังได้พัฒนาชิปประมวลผล EPYC อ่านว่า อี-พิก
ซึ่งถือเป็นชิปเซตเพื่อใช้สำหรับการประมวลผลของเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ
และมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นบริษัทที่ให้บริการคลาวด์
ตัวอย่างสินค้าหรือบริการที่เรารู้จักกันดีอย่างเช่น AWS, Google Cloud หรือ Alibaba Cloud เองก็เลือกผลิตภัณฑ์ AMD EPYC ของทางบริษัท เช่นกัน
หรือแม้แต่คู่แข่งตลอดกาลในวงการคอนโซลเกม Playstation 5 และ XBOX series X/S ล้วนแล้วแต่ใช้ทั้งซีพียูและการ์ดจอของ AMD ทั้งคู่
ในขณะที่ฟากธุรกิจการ์ดจอ ทางบริษัทก็มีแบรนด์ Radeon และ Radeon PRO
ที่เป็นคู่แข่งกับ GeForce ของบริษัท Nvidia ที่กำลังอยู่ในเมกะเทรนด์
ทั้งในเชิงของวงการเกมมิงและการนำไปประมวลผลคริปโทเคอร์เรนซี
นอกจากจะเปิดตัวสินค้าตัวใหม่แล้ว อีกสิ่งสำคัญที่เธอทำก็คือ
การประกาศ Roadmap ที่ชัดเจนของตัวสินค้าในอนาคต
เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ที่หายไปตั้งแต่ขาดทุนหนัก ให้ฟื้นกลับมาอีกครั้ง
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา AMD ภายใต้การบริหารของลิซ่า ซู
ก็สามารถทำได้ดีตามที่เคยประกาศเอาไว้อย่างไม่มีปัญหา
จนสินค้าของบริษัทก็ได้กลับมาแย่งส่วนแบ่งเจ้าตลาดได้สำเร็จ
จากปี 2014 ที่ส่วนแบ่งธุรกิจ CPU เป็นของ Intel 75% และ AMD 25%
ปัจจุบันกลายมาเป็น Intel 60% และ AMD 40%
ถึงขนาดที่ว่าในปี 2020 ทางบริษัทคู่แข่งอย่าง Intel ถึงกับออกมา
ยอมรับว่าตัว CPU ของทางบริษัทตามหลังคู่แข่งอย่าง AMD เลยทีเดียว
ทีนี้ เราลองมาเปรียบเทียบผลประกอบการระหว่าง
ปีก่อนและหลังจากที่ ลิซ่า ซู เข้ามาดำรงตำแหน่ง CEO
ปี 2014 รายได้ 171,787 ล้านบาท ขาดทุน 12,573 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 304,605 ล้านบาท กำไร 77,688 ล้านบาท
จะเห็นได้ว่าจากการปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจไม่เพียงแต่สร้างการเติบโตเป็นเท่าตัว
ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี แต่ยังทำให้บริษัทพลิกกลับมากำไรมหาศาล
จุดนี้ ก็ได้สะท้อนไปยังมูลค่าบริษัทที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท
เพิ่มขึ้นคิดเป็น 53 เท่า ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี
หมายความว่าหากเรานำเงินไปลงทุนกับ AMD ในวันที่ ลิซ่า ซู เข้ามาเป็นผู้บริหาร 10,000 บาท
วันนี้ เงินก้อนนั้นจะมีมูลค่ามากถึง 530,000 บาท เลยทีเดียว
แล้วเรื่องนี้ให้ข้อคิดอะไรกับเรา ?
ในมุมของผู้บริหารธุรกิจ
หากเราคิดว่าผลิตภัณฑ์ของเรากำลังจะไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว
ในบางครั้ง เราก็ต้องกล้าตัดสินใจและทำทันที โดยอาจจะเริ่มจากการดูจุดแข็งของเรา
ว่าเรามีอะไร ตลาดต้องการอะไร และลงมือทำ
อย่างในกรณีของ AMD ที่ได้คิดค้น “Zen Architecture” ขึ้นมา
ในเชิงของบริษัท
จะเห็นได้ว่าจริง ๆ แล้ว ลิซ่า ซู เป็นลูกหม้อที่ทำงานในบริษัทอยู่แล้ว
หากบริษัทจำเป็นที่จะต้องเลือกผู้นำในยามวิกฤติ
การมองหาพนักงานที่มีศักยภาพภายในบริษัท
ก็อาจจะเป็นอีกตัวเลือกที่ดี ไม่แพ้การไปว่าจ้างผู้บริหารมืออาชีพจากบริษัทอื่น
ในเชิงของ CEO และมูลค่ากิจการ
จริงอยู่ว่าผู้บริหารสามารถประกาศอะไรต่อสาธารณะก็ได้
ตั้งแต่ Roadmap ที่สวยหรูไปจนถึงการคาดการณ์ผลประกอบการที่โตระเบิด
สิ่งสำคัญที่สุด มันจะไม่ใช่ทั้งคำจินตนาการถึงอนาคตและตัวเลขที่จำลองขึ้นมา
แต่เป็นผลลัพธ์ที่ “ทำได้จริง” ซึ่งมันส่งผลต่อความเชื่อมั่นของทั้งตัวผู้บริโภค รวมถึงนักลงทุน เหมือนอย่างที่ คุณลิซ่า ซู ทำกับ AMD ได้สำเร็จ..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/Advanced_Micro_Devices
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lisa_Su
-https://www.cpubenchmark.net/market_share.html
-https://edition.cnn.com/2020/03/27/tech/lisa-su-amd-risk-takers/index.html
-AMD annual report 2012,2014,2020
-https://www.jitta.com/stock/nasdaq:amd/factsheet
ibm stock 在 貓的成長美股異想世界 Facebook 的最佳解答
🌪
最近颶風襲美. 目前這邊可能受到外環影響, 也在下大雷雨. 希望美國的讀者安然無恙.
颶風季節, 有甚麼公司可以考慮?
https://www.thestreet.com/streetlightning/stock-picks/jim-cramer-hurricane-season-is-an-opportunity-for-these-stocks
🌻
忙碌的上週終於結束! 本周發表財報的公司, 我大概只會看一下FarFetch(FTCH), 還有之前研究過的加拿大鵝Canada Goose(GOOS)(聽說他們在台灣開店了.)
(看這兩家, 主要是想要了解一下非必須民生消費品的狀況)
我前陣子有寫過FTCH的初步研究:
https://makingsenseofusastocks.blogspot.com/2020/07/farfetchcom-ftch_29.html
股東們要注意的是, 奢侈品的銷售量是否還在. 這是最近的一篇新聞. 建議做點調查後, 評估一下.
健康第一!疫情傷精品業 消費者不再炫耀高檔奢侈品
https://bit.ly/3ktSITO
一年多前寫過GOOS介紹文: https://bit.ly/2F1BLj6
🌻
個案研究: Alteryx (AYX)
(註: 下面只是我根據簡單的財務數字去做的思考推理. 請投資人再仔細看過財報結果.)
財報後個股的大跌, 到底能不能避掉? 或是要不要避掉? 這其實一直在我想要研究的清單裡--因為若是買成長股, 尤其是高速成長股, 這是一個必經的過程.
而很多人說, 有著訂閱制商業模式的雲端類股, 很抗景氣衰退, 很resilient. 真的是這樣嗎?
Alteryx(AYX)一直是軟體類股裡的模範生, 上周也因為財報後大跌. 雖然現在把這寫出來, 有點晚了, 但我希望藉由這樣的練習, 來拋磚引玉, 來看看自己的思考邏輯有沒有錯. 如果說的有理的話, 那我們大家都可以學到一課(p.s. 這家之前在社群的討論度高, 又是模範生, 所以我follow了一下.)
首先, AYX在Q1/2020的營收成長幅度, 就大幅縮水了. 然後這季的成長繼續下滑: 75%(Q4/2019)-->47%(上季)-->17%(本季).
當投資人在上一季成長"大幅度"往下掉時, 就應該要有警覺心了. 畢竟營收這樣的狂掉, 不能只用業務受到疫情影響來簡單解釋.
上次高層是說, 訂閱制費用只有6%是從疫情受災產業(旅遊, 航空) 的中小企業而來. 這次營收成長幅度更慘, 應該表示範圍擴大了.
而如果營收成長能一次少這麼多, 我能想到的有兩種可能:
1. 是不是可能跟中小客戶佔比有關? 我看到不少財報, 公司都有讓中小企業暫時不用付費.
2. 業主需要做取捨. 而數據分析並不是業務上一定需要. 尤其是, 其他雲端類股, 成長有加速. 而即使沒有加速, 成長萎縮幅度也沒有那麼多.
而IBM在七月底公布財報的時候, 有提到有些公司對於科技上的採購, 因為疫情的影響, 開始有保守心態:
https://www.wsj.com/articles/ibm-earnings-falter-as-coronavirus-accelerates-turnaround-push-11595276624
而後來有看到CIO還是CTO(科技執行長)在調查中有訪問, 會對企業採購上做排序(當初關於美國這邊的資料我沒有留下來, 不過有找到印度的(請見下圖). 記得美國這邊的資料也類似, 就是資安方面的支出不會縮減, 而關於data方面的會.)
從這例子看起來, 軟體業跟民生消費產業一樣, 有些是staples(必需品), 有些是discretionary(非必需品). 有staples特質的公司, 才真的是resilient, or recession-proof.
也就是, non-essential (非必須) vs. mission-critical(任務關鍵--這個字也常出現在這兩季的財報裡).
供參.
🌻
這次疫情概念股之一的Twilio(TWLO), 上週發表財報了. 或許這家公司很多讀者很熟悉. 或許有人不知道. 週四我會簡單來說說我認識的Twilio.
Have a nice week.
Pictures來源:
EarningsWhispers; 網路
ibm stock 在 我要做富翁 Youtube 的最佳解答
繼上集介紹了最強收息藍壽股後,今集 #美股分享 會趁年末將近,為你介紹幾隻跑贏指數的狗股!還會教你如何洞悉狗股走勢,看後就知哪隻才是「最狗」狗股!如要支持我們分享免費資訊,請給我們一個"Like",亦請"Share"給有興趣投資美股的朋友。如你對今集內容有任何意見,歡迎在下面留言,和我們交流一下 :)
======================
1) Jackie美股分享會&試堂Online:
https://edu.money-tab.com/activity-reg-c?jackus=yt
2) 我要做股神APP下載:http://onelink.to/mtapp
3) 緊貼我們社交平台,不錯過任何免費分析/教學:
訂閱YouTube頻道: https://youtube.com/channel/UCdWNwPuaS1o2dIzugNMXWtw?sub_confirmation=1
讚好Facebook專頁:https://facebook.com/203349819681082
ibm stock 在 IBM Watson Studio - Predicting ANY STOCK price with AI 的推薦與評價
IBM Watson used for predicting the stock market. In this tutorial we will learn how to use IBM Watson to predict the stock market. ... <看更多>
ibm stock 在 IBM Stock Trader - GitHub 的推薦與評價
Org containing a repository per microservice in the IBM Stock Trader cloud-native sample application - IBM Stock Trader. ... <看更多>