ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
同時也有75部Youtube影片,追蹤數超過2,210的網紅DJ Macky Suson,也在其Youtube影片中提到,My Covid19 Swab Test Experience in Singapore. I showed symptoms like coughing and blocked nose after visiting Lucky Plaza in Singapore where there wa...
「national singapore university」的推薦目錄:
- 關於national singapore university 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於national singapore university 在 Scholarship for Vietnamese students Facebook 的精選貼文
- 關於national singapore university 在 外交部 Ministry of Foreign Affairs, ROC(Taiwan) Facebook 的最讚貼文
- 關於national singapore university 在 DJ Macky Suson Youtube 的最讚貼文
- 關於national singapore university 在 Shawniez Youtube 的最佳解答
- 關於national singapore university 在 Ghib Ojisan Youtube 的精選貼文
- 關於national singapore university 在 National University of Singapore - Home | Facebook 的評價
- 關於national singapore university 在 NUS vs NTU - Best University in Singapore? 的評價
national singapore university 在 Scholarship for Vietnamese students Facebook 的精選貼文
SINH VIÊN MỘT TRƯỜNG DANH TIẾNG ĐÃ NGHĨ GÌ KHI QUYẾT ĐỊNH THI LẠI ĐẠI HỌC VÀO NĂM 3?
Chị mới xem video “Ranh giới” của VTV và tình cờ đọc được bài dịch rất hay bên dưới nên cũng muốn tâm sự một chút với cả nhà. Gần đây, tình hình dịch bệnh căng thẳng, việc khỏe mạnh, được đi học, đi làm, được ở cạnh người thân đã là hạnh phúc lắm rồi đúng không cả nhà?
Hàng ngày, chị vẫn nhận được inbox của nhiều bạn lo lắng, stress tâm sự với chị là em mông lung lắm, em không biết mình phù hợp với gì cả, em không biết du học nên chọn trường gì, nên chọn trường theo fame trường, theo ranking, theo ngành, theo bạn thân hay như thế nào cả … Uhm, thực ra là sẽ chẳng có một ai biết rõ câu trả lời chính xác cho những câu hỏi đó ngoài em cả. Đáp án cuối cùng sẽ quay trở về câu hỏi “Em thực sự muốn gì?”, lên kế hoạch cẩn thận, rồi thử. Và nếu lần thử đó chưa thành công, thì dũng cảm từ bỏ và thử lại 🙂. Cuộc sống mà, mình chỉ sống 1 lần duy nhất thôi, chị chúc các Schofans sẽ thật khỏe mạnh và dũng cảm để lựa chọn và sống theo cách mà mình muốn, như nhân vật trong bài dịch bên dưới nha ❤
Join group @scholarship hunters của page nha.
-----------------
Tôi - một sinh viên năm 3 đã từ bỏ cơ hội có được tấm bằng đại học danh giá mà hàng ngàn người mơ ước để THI LẠI.
- Năm 2014: Đại học Quốc gia Singapore.
(National University of Singapore (NUS) là trường đại học công lập danh giá hàng đầu Singapore. Vào thời điểm bấy giờ- NUS đứng vị trí số 1 Châu Á và xếp thứ 22 trong Top 100 trường đại học tốt nhất thế giới theo QS Ranking.)
- Năm 2017: Thôi học.
- Năm 2018: 20 tuổi, bắt đầu học lại ở Đại học Bắc Kinh.
Năm ấy khi quyết định xa nhà đến Singapore du học tôi hoàn toàn không nghĩ ngợi nhiều. Cả nhà chẳng ai biết lấy một chữ Tiếng Anh, tôi vẫn ôm ấp một niềm tin mãnh liệt, tin rằng bản thân có thể học tốt mọi thứ. Lúc chọn chuyên ngành cũng chẳng buồn cân nhắc nghĩ ngợi, lập tức chọn Kỹ thuật Y Sinh( Biomedical Engineering) chỉ vì nó ngầu, thế thôi.
Trong suốt 3 năm ấy, tôi đã là một sinh viên xuất sắc, học tập hết mình, phỏng vấn tại một số công ty lớn và có cho mình một kỳ thực tập tuyệt vời. Đã tổ chức vô số hoạt động cũng như làm cầu nối cho câu lạc bộ trong trường liên kết với hầu hết các công ty hàng đầu trong các lĩnh vực có liên quan tại Singapore. Đã thắng thật nhiều cuộc thi, thua cũng thật nhiều.
Ngoài ra tôi còn tranh thủ thời gian rảnh để làm thêm các công việc như thủ thư, gia sư, nhân viên bán hàng, phục vụ tại cửa hàng bán thức ăn nhanh qua đêm, và thậm chí là phát tờ rơi. Nhờ vào số tiền tiết kiệm, tôi tự thưởng cho bản thân những tháng ngày rong ruổi khắp nơi đến Malaysia, Indonesia, Úc, Thái Lan, Macao và hơn 20 tỉnh thành trải dài từ Nam chí Bắc ở quê nhà.
Không một chút hối tiếc! Bất cứ khi nào mọi người hỏi về khoảng thời gian này, tôi luôn trả lời: không hối tiếc. Đã không hối tiếc vậy tại sao lại chọn ra đi?
Phải- không đúng chuyên ngành. Còn nhớ khi xưa tôi chọn nó chỉ vì cái tên nghe thật kêu, thật ngầu ấy chứ? Mọi thứ hoàn toàn khác so với tưởng tượng. Cố thêm 1 năm để lấy tấm bằng ư? Cũng được thôi nhưng đó là với người khác, còn tôi thì không! Nhìn bạn bè xung quanh không ngừng cố gắng, dốc hết tâm sức biến đam mê thành động lực, từng bước từng bước một chạm đến giấc mơ. Rồi nhìn lại mình, hoá ra tôi chẳng hề tài giỏi như mình nghĩ. Tôi cũng có thể nỗ lực được như họ, cũng có thể phấn đấu vì một ước mơ như họ. Chỉ khác là họ có niềm vui có động lực, tôi lại không. Tôi nào muốn sống một cuộc sống tẻ nhạt như vậy. Nghĩ đến niềm đam mê văn học từ tấm bé vẫn luôn âm ỉ trong lòng như ngọn lửa chưa bao giờ tắt, tôi hạ quyết tâm. Tôi đã biết mình phải làm gì.
- 2017 trở về nước. Trong tay con số 0 bắt đầu lại mọi thứ.
- 2018, bao nỗ lực được đền đáp. Giờ đây tôi- một cô gái nhỏ nhắn với tính cách sôi nổi, trẻ con một lần nữa được trở lại làm sinh viên năm nhất. Nhưng là ngành* Văn học cổ điển Đại học Bắc Kinh*. Đàn anh, đàn chị trong trường chăm sóc tôi rất tốt, dần dà chẳng còn gánh nặng của tuổi tác.
Có người hỏi rằng: “Vậy công sức trước kia đều lãng phí hết sao?”
Chắc chắn là không. Ba năm ấy không chỉ đơn thuần là kỷ niệm. Khoảng thời gian học tập và sinh sống ở Singapore đã mang đến cho tôi những trải nghiệm khó quên, giúp tôi tích luỹ được vô số kĩ năng, kinh nghiệm quý giá cũng như có được những người bạn thật tuyệt vời.
Có người lại cho rằng tôi là kẻ thua cuộc. Có lẽ vậy- tôi thua trong mắt họ thật nhưng tôi thắng được chính mình. À, đúng rồi để tôi kể bạn nghe một câu chuyện nhé:
Trước đây có một con thỏ muốn leo núi, mấy con thỏ khác thấy vậy lập tức chê bai chỉ trỏ:
"Nhìn con thỏ ngốc kia đi , núi cao như vậy, leo sao nổi mà leo."
"Coi nó kìa, thể nào cũng ngã chết cho mà xem!"
"Chắc mẩm rồi sẽ thất bại thôi!"
Tuy nhiên, cuối cùng con thỏ vẫn leo lên được đỉnh núi.
Tại sao ư?
Tai của nó bị điếc.
Nguồn: Hằng Trần
👉 Lớp học bổng HannahEd các bạn được học cách viết Cv, bài luận xin học bổng.. Tháng 9,10 có lịch khai giảng rùi ha ☺️
http://tiny.cc/HannahEdClass
Link thông tin về lớp:
https://hannahed.co/lop-tim-va-nop-hoc-bong/
📌Bạn nào đã xác định được học bổng hoặc đang apply rùi thì nhắn chị Review hồ sơ, Mentor học bổng, Mock interview hay Research/Phd vẫn mở nữa nhé. Đội ngũ Mentor ở mọi nơi trên thế giới với những học bổng khủng luôn sẵn sàng nha.
Thắc mắc gì cứ email [email protected] hoặc inbox mình thoải mái page/ Hoa Dinh
❤ Like page, tag và share cho bạn bè cả nhà nhé ❤
#HannahEd #duhoc #hocbong #sanhocbong #scholarshipforVietnamesestudents
national singapore university 在 外交部 Ministry of Foreign Affairs, ROC(Taiwan) Facebook 的最讚貼文
【2021 亞太安全對話 隆重登場】
台灣位處第一島鏈的戰略位置
是印太地區安全與繁榮的關鍵
外交部與 遠景基金會 共同舉辦 #凱達格蘭論壇2021亞太安全對話,將於8月31日以 #線上會議 方式隆重登場。
來自美、日、韓、法、澳、印、越、菲及新加坡等國16位政要及學者將聚焦 #台海、 #東海 及 #南海情勢,並關注 #全球供應重組 等議題, #最愛台灣黑熊的 美國前駐聯合國常任代表Kelly Craft將發表開幕專題演講!
論壇有4場次
1️⃣ 台海情勢與印太自由秩序
2️⃣ 四方安全對話(QUAD)的發展
3️⃣ 灰色地帶脅迫
4️⃣ 後疫情時代的經濟前景
馬上手刀報名凱達格蘭論壇安全對話
→連結請見留言
美國 The Project 2049 Institute主席薛瑞福、日本自民黨眾議員 牧島かれん / Karen Makishima、韓國前副總理玄旿錫、越南外交部前副部長范光榮等重量級人物都將出席
This year’s #KetagalanForum: Asia-Pacific Security Dialogue will take place on August 31 online! The opening keynote speech will be delivered by former #US Ambassador to the United Nations Kelly Craft, followed by a series of panels.
A distinguished range of political figures, scholars, and experts from #Taiwan, the #UnitedStates, #Japan, #France, #Australia, #India, #Singapore, #SouthKorea, #Vietnam, and the #Philippines will discuss regional security issues in the panel sessions, including Taiwan Strait developments, prospects for the Quadrilateral Security Dialogue, gray zone coercion, and the postpandemic economic outlook.
Panelists include Randall Schriver, Chairman of the Project 2049 Institute, Makishima Karen, Member of the Japanese House of Representatives, Peter Jennings, Executive Director of the Australian Strategic Policy Institute, Hyun Oh-seok, former Deputy Prime Minister of the Republic of Korea, Pham Quang Vinh, former Vietnamese Deputy Minister of Foreign Affairs and Bert Hofman, Director of the East Asia Institute of the National University of Singapore.
As the forum is taking place online this year due to the ongoing pandemic, MOFA and our co-host the Prospect Foundation are inviting you to take part. For more details on how to register, click the link in the comments section!
national singapore university 在 DJ Macky Suson Youtube 的最讚貼文
My Covid19 Swab Test Experience in Singapore.
I showed symptoms like coughing and blocked nose after visiting Lucky Plaza in Singapore where there was a positive case of Covid19 visited the mall at 12:00-12:55 PM. I also visited the mall late afternoon for lunch. I got so paranoid by my experience did not go so well.
Public Places Visited by Cases in the Community during Infectious Period
List of public places that confirmed cases had visited for more than 30 minutes
These public places had been visited for more than 30 minutes by the confirmed cases in the community. Those who had been identified as close contacts of confirmed cases would already have been notified by MOH.
If you have been at these locations1 during these specified timings you should:
monitor your health closely for 14 days from the date of visit,
see a doctor promptly if you develop symptoms of acute respiratory infection (such as cough, sore throat and runny nose), as well as fever and loss of taste or smell, and
inform the doctor of your exposure history.
There is no need to avoid places where confirmed cases of COVID-19 have been, as the venues have been thoroughly disinfected.
https://www.gov.sg/article/covid-19-public-places-visited-by-cases-in-the-community-during-infectious-period
national singapore university 在 Shawniez Youtube 的最佳解答
One for the memories! Singapore has always been one of my dream places to visit just because its so pretty, though it can actually burn a whole in my wallet. Not much vlogging done but this video offers a glimpse of the 5 days that we spent in the land itself.
@nigelzhen shows off his new camera and roasts my vlogging skills. We visited Eusoff Hall @ National University of Singapore (NUS) and we had a great #throwback time.
national singapore university 在 Ghib Ojisan Youtube 的精選貼文
今回は在校生のジョーくんのご協力を得て、アジアNo.1の大学『シンガポール国立大学(National University of Singapore)』に潜入!
?チャンネル登録: http://urx3.nu/HTUJ
?シンガポールが日本に占領されていた時代を歩く:https://www.youtube.com/watch?v=BWt583l-xWU
普通に中身お見せしても面白くないので、日本の大学と比較しつつ、粗を探すという企画です。結果は、動画の最後の方でお確かめください!
ジョーくんご協力ありがとうございました!
この動画が少しでも面白かったらぜひグッドボタン&チャンネル登録お願いします!隣のベルマークを押せば動画更新時に通知がいきます。みなさんからのコメントもすべて読んでいますのでお気軽に^^
シンガポール観光情報サイトオープン!
▶https://nekkyo-singapore.com/
-----
スポンサーさま
★株式会社テイクシータ ルームランプLED専門店
https://item.rakuten.co.jp/senmontentt/hed01k5s0sr1h0/
★なかがわ野菊の里 https://www.youtube.com/user/nogikunosato
★宮古島ジョージ https://www.youtube.com/channel/UCVp87gDAL4SOoRMGCoDXfDA
楽器スポンサーさま
★YAMAHA Singapore FGX5 https://sg.yamaha.com/index.html
スポンサーにご興味ある方は https://www.ghib-oji.com/contact/ よりご連絡ください。
-----
シンガポールの観光チケットが最大60%OFF
▶https://www.govoyagin.com/ja/things-to-do/singapore/tickets?acode=ghibli-ojisan
ジブリおじさんに仕事を依頼する
▶https://www.ghib-oji.com/service/
究極の飯テロ!旅するグルメチャンネル『Taberu Travel』
▶https://www.youtube.com/c/TaberuOjisan
ジブリおじさんの撮影機材
▶https://www.ghib-oji.com/my-equipment/
使用音楽
▶https://www.epidemicsound.com/referral/y1s93n/
#シンガポール
━━━━━━━━━━━━
✔️チャンネル登録!(subscribe)
http://urx3.nu/HTUJ
━━━━━━━━━━━━
?SNS・ブログ
・Instagram → https://www.instagram.com/ghibli_ojisan/
・Twitter → https://twitter.com/ghibli_ojisan
・Blog→ https://www.ghib-oji.com/
━━━━━━━━━━━━
?おすすめ動画3選!
・台湾・九份で「いつも何度でも」を弾いてみた
https://youtu.be/WudKhqj_Na8
・イタリアでトトロ弾いた結果…
https://youtu.be/3NptDf229nk
・サマルカンドでザナルカンドを弾いてみた
https://youtu.be/_jhMSsAFKPQ
━━━━━━━━━━━━
?自己紹介
会社を辞め、ギターを持って旅に出たGhibli Ojisan(ジブリおじさん)です。11ヶ月で27カ国訪れ、世界各地でジブリのインストや叩き系ギターを弾いてきました。
2018年8月にYouTube公式「急上昇クリエイター」として選出されたことをキッカケに、海外旅行やシンガポールについての動画もアップし始めました。
世界旅行後は台湾1ヶ月プチ移住、ノルウェー3ヶ月生活(農業ボランティア)など経験し、2019年1月にシンガポールに拠点を移しました。
音楽系・旅系の動画をアップしていますので、よろしければチャンネル登録と各種SNSのフォローお願いします!
→チャンネル登録 http://urx3.nu/HTUJ
━━━━━━━━━━━━
▼お問い合わせ
お仕事のご依頼・お問い合わせはコチラ→ https://www.ghib-oji.com/contact/
3〜5日以内に返信いたしますが、返信ない場合はTwitter/InstagramのDMにてお願いします
national singapore university 在 National University of Singapore - Home | Facebook 的推薦與評價
NUS Law students have done the faculty proud again with their recent triumphs in mooting and negotiation competitions.Samuel Wee, Karthik Vyas and Nguyen Minh ... ... <看更多>