สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
robotics คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
ทำไม ญี่ปุ่น จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมเกม ? /โดย ลงทุนแมน
ความเป็นอมตะของเกม Super Mario ที่พบได้ในทุกเครื่องเล่นเกมของ Nintendo
หรือความสนุกจากกราฟิกที่สมจริงในเครื่องเล่น PlayStation ของ Sony
คงไม่มากเกินไปนัก หากจะบอกว่า “ญี่ปุ่น” คือหนึ่งในประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมเกม
ชาวญี่ปุ่นมีพรสวรรค์ในการถ่ายทอดจินตนาการอันล้ำเลิศมาสู่การสร้างโลกเสมือน ที่รองรับเหล่าเกมเมอร์ทั่วทุกมุมโลกผู้เหนื่อยล้าจากโลกแห่งความเป็นจริง
มูลค่าตลาดของอุตสาหกรรมเกมในญี่ปุ่นอยู่ที่ปีละ 467,000 ล้านบาท
และมีแนวโน้มเติบโตต่อไปเรื่อย ๆ แม้ประเทศแห่งนี้จะประสบปัญหากับประชากรวัยเด็กที่ลดลง
เส้นทางของอุตสาหกรรมเกมญี่ปุ่น เป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม ญี่ปุ่น จึงเป็นประเทศแห่ง อุตสาหกรรมเกม ?
เอกลักษณ์ของคนญี่ปุ่นประการหนึ่งก็คือ “อีโทะโกะโดะริ (いいこと通り)”
หรือ การรับเอาแต่สิ่งดี ๆ..
นับตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวญี่ปุ่นมักจะรับเอาสิ่งที่มีประโยชน์จากต่างชาติ
นำเข้ามาปรับและสร้างใหม่ในแบบฉบับของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเชื่อ ปรัชญา วัฒนธรรม ไปจนถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยี
ทำให้เมื่อถึงยุคปฏิวัติเมจิในช่วงศตวรรษที่ 18 ชาวญี่ปุ่นจึงสามารถเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่จากชาวตะวันตกได้อย่างรวดเร็ว แล้วนำองค์ความรู้ต่าง ๆ แปลเป็นตำรับตำราภาษาญี่ปุ่น เพื่อต่อยอดสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมจนประสบความสำเร็จเป็นชาติแรกของทวีปเอเชีย
เมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นถูกปกครองโดยสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลาหนึ่ง
ความก้าวหน้าทางวิทยาการต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา ก็กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม
คนญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยเดินทางไปสหรัฐอเมริกา แล้วนำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กลับมาพัฒนาและเจริญรอยตาม
ในช่วงเวลานั้น มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา นำโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย กำลังพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ นั่นคือ “อิเล็กทรอนิกส์”
องค์ความรู้ด้านอิเล็กทรอนิกส์ เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์สื่อสารมากมาย สหรัฐอเมริกาจึงมีอุปกรณ์สื่อสารที่ก้าวหน้ากว่าประเทศอื่น ๆ และความก้าวหน้าครั้งใหม่ ก็เกิดขึ้นมากับสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า “ทรานซิสเตอร์”
ทรานซิสเตอร์ ถูกประดิษฐ์จากห้องทดลอง Bell Labs ของบริษัท AT&T มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ หรือ Semiconductor ทำให้ปล่อยสัญญาณไฟฟ้าที่อ่อนกว่า และควบคุมสัญญาณของอุปกรณ์สื่อสารได้ดีกว่า ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง และสื่อสารไปได้ไกลกว่าเดิม
การประดิษฐ์ครั้งนี้ดึงดูดความสนใจจากผู้คนทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ ชายชาวญี่ปุ่นผู้มีชื่อว่า “Akio Morita”
Akio Morita เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท วิศวกรรมโทรคมนาคมแห่งโตเกียว ตั้งแต่ปี 1946
ที่เริ่มขายผลิตภัณฑ์อย่างหม้อหุงข้าว ก่อนจะหันมาพัฒนาเครื่องบันทึกเทป
จนกลายเป็นสินค้าขายดีและสร้างชื่อเสียงให้กับบริษัท
Morita เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา และได้ซื้อลิขสิทธิ์ทรานซิสเตอร์กลับมาพัฒนาผลิตภัณฑ์
จนกลายเป็นบริษัทผู้ผลิตวิทยุทรานซิสเตอร์แห่งแรกของญี่ปุ่น ในปี 1955
พร้อม ๆ กับพบว่า ชื่อบริษัทนั้นยาวเกินไปและไม่เป็นสากล จึงดัดแปลงคำจากภาษาละตินว่า Sonus ซึ่งแปลว่าเสียง จนกลายเป็นชื่อบริษัทใหม่ในปี 1958 ว่า “Sony Corporation”
ผลิตภัณฑ์ของ Sony จัดได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น
เพราะหลังจากนั้นก็มีการพัฒนาโทรทัศน์สี เครื่องบันทึกเทปวิดีโอ (VCR) อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องมือสื่อสารอีกมากมาย
ความใส่ใจในตัวสินค้า ทำให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่น ค่อย ๆ ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ
เมื่อรวมกับค่าแรงของชาวญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 1960 ที่ถูกกว่าค่าแรงของชาวยุโรปและอเมริกัน สินค้าของญี่ปุ่นที่มีทั้งคุณภาพและราคาถูก ก็ตีตลาดไปทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1970
แต่สำหรับอุตสาหกรรมเกม ผู้เริ่มต้นกลับไม่ใช่ Sony
เพราะมีหนึ่งบริษัทที่ก้าวไปก่อนหน้า ที่มีชื่อว่า “Nintendo”
บริษัท Nintendo มีจุดเริ่มต้นมาจากบริษัทผลิตไพ่ตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
ก่อนจะก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนสำคัญในปี 1975
ช่วงทศวรรษ 1970 เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ของสหรัฐอเมริกาก้าวไปอีกขั้น เมื่อมีการพัฒนาแผ่นซิลิคอนที่สามารถวางทรานซิสเตอร์จำนวนมากไว้ในแผ่นเดียว และเรียกว่า แผงวงจรรวม
ก่อนจะนำแผงวงจรรวมจำนวนมากไว้ในแผ่นเดียว และเรียกว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์”
การเกิดขึ้นของไมโครโพรเซสเซอร์ เปิดทางให้การผลิตคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง และต้นทุนการผลิตถูกลงมาก จนคนทั่วไปสามารถมีไว้ครอบครองได้ รวมถึงนำมาใช้ในสินค้าเพื่อความบันเทิงอย่าง “เครื่องเล่นวิดีโอเกมคอนโซล” ที่เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ชาวอเมริกัน
Hiroshi Yamauchi ผู้นำของ Nintendo ได้ฟังเรื่องราวของเครื่องเล่นเกมในสหรัฐอเมริกา
และคิดว่าน่าจะนำมาพัฒนาอุตสาหกรรมเกมในญี่ปุ่นได้
จึงร่วมมือกับบริษัท Mitsubishi เพื่อคิดค้นและพัฒนาสินค้า หลังจากใช้เวลา 2 ปี ในปี 1977 Nintendo ก็สามารถวางขายวิดีโอเกมคอนโซลเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า “Color TV-Game”
ในช่วงปี 1980 เกมตู้หยอดเหรียญ หรือเกม Arcade ได้รับความนิยมสูงในสหรัฐอเมริกา
Nintendo ก็ได้เริ่มให้บริการตู้เล่นเกมเป็นครั้งแรก
แต่ภายหลังทางบริษัทได้พบว่าเกมเหล่านี้มักได้รับความนิยมสูงแค่ช่วงที่เริ่มเปิดตัวเท่านั้น ทำให้ต้องคอยพัฒนาเกมใหม่อย่างรวดเร็ว เพราะเกมเหล่านี้ ไม่มีแครักเตอร์ที่โดดเด่น หรือ Story ที่น่าสนใจให้ชวนติดตาม
นำมาสู่การพัฒนาเกมอมตะของ Nintendo ที่มีการใส่ “แครักเตอร์” และ “Story” เข้าไปในเกม
ของนักพัฒนาที่มีชื่อว่า Miyamoto Shigeru
ชาวญี่ปุ่นมีชื่อเสียงในเรื่องการสร้างแครักเตอร์มานาน
ทั้งการตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนที่เรียกว่า “มังงะ” มาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19
และการนำมังงะมาฉายบนจอโทรทัศน์ที่เรียกว่า “อานิเมะ” ในช่วงทศวรรษ 1960
Miyamoto ได้สร้างตัวละครขึ้นมา 3 ตัว ทำหน้าที่เป็นพระเอก นางเอก และตัวร้ายในเกม
พระเอกเป็นผู้ชายมีหนวด ใส่หมวก และใส่กางเกงสีแดงตัดกับเสื้อสีน้ำเงิน ชื่อว่า Mario
นางเอกมีชื่อว่า Pauline ส่วนตัวร้ายเป็นคิงคอง ซึ่งชื่อของตัวร้ายก็ได้ถูกนำมาใช้
เป็นชื่อเกมเพื่อเปิดตัวที่สหรัฐอเมริกาว่า “Donkey Kong”
เกม Donkey Kong ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม ซึ่งต่อมาก็ได้นำตัวพระเอกอย่าง Mario
มาใช้ในเกมอีกนับสิบเกม และพัฒนาจนกลายเป็นเกม Super Mario ที่ได้รับความนิยม
จนกลายเป็นเกมในตำนานที่สร้างรายได้มหาศาลให้กับ Nintendo มาจนถึงปัจจุบัน..
อย่างไรก็ตาม การผลิตเกมคอนโซลในสมัยนั้น มีจุดอ่อน นั่นก็คือทุกครั้งที่จะสร้างเกมใหม่ บริษัทก็ต้องผลิตเครื่องเล่นเกมชนิดใหม่ตามไปด้วย
ทีมวิศวกรและนักออกแบบของ Nintendo จึงได้ช่วยกันระดมความคิดว่าแทนที่จะพัฒนาหนึ่งเกมต่อหนึ่งเครื่อง กลายมาเป็นเกมคอนโซลเครื่องเดียวที่สามารถเปลี่ยนแผ่นเกมเล่นได้หลากหลาย
นำมาสู่การเป็นพาร์ตเนอร์กับบริษัท Ricoh เพื่อออกแบบและผลิตชิปให้โดยเฉพาะ และในปี 1983 Nintendo ก็ได้เปิดตัวเกมคอนโซลเปลี่ยนตลับเกมได้
ชาวญี่ปุ่นจะรู้จักในชื่อว่า “Famicom”
ส่วนชาวอเมริกันจะรู้จักในชื่อ “NES” หรือ Nintendo Entertainment System
ซึ่งก็ทำรายได้ให้ Nintendo ได้มากที่สุดตั้งแต่บริษัทเริ่มก่อตั้งมา
ช่วงต้นทศวรรษ 1990 Nintendo ก้าวสู่จุดสูงสุดของอุตสาหกรรมเกม
ด้วยยอดขายสูงที่สุดในญี่ปุ่น ตอกย้ำความสำเร็จด้วยการสร้าง “Game Boy”
เครื่องเล่นเกมขนาดพกพา ที่เปลี่ยนแผ่นเกมได้หลากหลาย
ความรุ่งเรืองของ Nintendo ทำให้อุตสาหกรรมเกมของญี่ปุ่นคึกคัก มีการจัดตั้งองค์กร CESA
หรือ Computer Entertainment Supplier’s Association ในปี 1996 เพื่อส่งเสริมศักยภาพและโปรโมตอุตสาหกรรมเกมของญี่ปุ่น โดยจะมีการจัดงาน Tokyo Game Show เป็นประจำทุก ๆ ปี
บริษัทเกมอื่น ๆ ในญี่ปุ่นต่างก็มุ่งมั่นพัฒนาเครื่องเล่นเกมมาแข่งกับ Nintendo หนึ่งในนั้นคือบริษัท SEGA
ถึงแม้ SEGA จะเพิ่งเข้าสู่ตลาดเกมในปี 1986 แต่ก็สามารถพัฒนาเครื่องเล่นเกมที่มีกราฟิกสวยสดใส เสียงเพลงประกอบยอดเยี่ยม และความจุที่โดดเด่น เครื่องเล่นนี้ถูกตั้งชื่อว่า Mega Drive
หรือวางขายในสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อ Genesis
ในปี 1991 SEGA ก็ได้พัฒนาแครักเตอร์ที่โดดเด่นไม่แพ้กับ Mario
แต่คราวนี้เป็นสัตว์ที่มีหนามแหลมอย่างเม่น ที่คนทั่วโลกรู้จักกันในชื่อ “Sonic the Hedgehog”
เม่นความเร็วสูงที่มีรองเท้าสุดเท่ มั่นใจในความเร็วของตัวเอง และพร้อมจะผจญภัยในทุกที่
การต่อสู้ยิ่งดุเดือดเข้าไปอีก เมื่อ SEGA ได้พัฒนาเกมคอนโซลที่ใช้ CD-ROM
โดยเป็นอุปกรณ์เสริมให้กับ Mega Drive ในชื่อ Mega-CD
ทำให้ Nintendo ต้องพัฒนาเครื่องเล่นเกมที่สามารถเล่นได้ด้วยแผ่น CD-ROM เช่นกัน
CD-ROM ถือเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถเข้ามาเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมเกมคอนโซลแบบก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการแสดงผล ความจุของแผ่นซีดี
รวมถึงน้ำหนักที่เหมาะกับการพกพา สิ่งเหล่านี้ CD-ROM ทำได้ดีกว่าตลับเกมอย่างชัดเจน
Nintendo จึงต้องมาจับมือกับยักษ์ใหญ่แห่งวงการอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นอย่าง Sony
เพื่อร่วมกันผลิตอุปกรณ์เสริมที่ทำให้เครื่องเกม Super Famicom สามารถเล่นเกมได้ด้วยแผ่นซีดี ถูกตั้งชื่อว่า Nintendo PlayStation
แต่ด้วยปัญหาของสัญญาระหว่าง 2 บริษัทที่ไม่ลงตัว ทำให้ Nintendo ประกาศยกเลิก
สัญญาอุปกรณ์เสริมและเครื่องเกมทั้งหมดกับ Sony และไปประกาศเป็นพันธมิตรกับ Philips ที่เป็นอีกบริษัทผู้นำด้านซีดีรายใหญ่แทน
เมื่อถูกทิ้งไว้กลางทาง ทำให้ Sony ต้องหันมาพัฒนาเครื่องเล่นเกมที่อ่านข้อมูลจากแผ่น CD-ROM ของตัวเอง ด้วยการนำของนักสร้างเกมชื่อ Ken Kutaragi จนในที่สุดก็ได้พัฒนาเครื่องเกม PlayStation ขึ้นมาได้สำเร็จ ในปี 1994
PlayStation ของ Sony นับว่าเป็นการเปิดโลกใหม่ให้กับอุตสาหกรรมเกม ทั้งการประมวลภาพแบบ 3 มิติ และยังมีเกมให้เลือกเล่นได้มากกว่าเดิม
จากบริษัทที่เกือบจะเป็นพันธมิตรกัน กลับกลายเป็นว่า Nintendo ได้คู่แข่งสำคัญเพิ่มมาอีกราย และรายนี้ก็เป็นคู่แข่งที่ยาวนานและน่ากลัวที่สุด..
เพราะหลังจากที่ PlayStation ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม
มียอดจำหน่ายกว่า 100 ล้านเครื่อง Sony ก็พัฒนาคอนโซลรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง
จนเป็น PlayStation 2 ในปี 2000 ที่ใช้เทคโนโลยีอ่านข้อมูลจากแผ่น DVD
ซึ่งเป็นสิ่งที่ใหม่มากในช่วงเวลานั้น ทำให้ PS2 กลายเป็นเครื่องเล่นเกมที่ขายดีที่สุด
เป็นประวัติการณ์กว่า 150 ล้านเครื่อง!
ความท้าทายของอุตสาหกรรมเกมญี่ปุ่นในช่วงทศวรรษ 2000 ไม่ใช่แค่เพียงบริษัทเกมในประเทศเท่านั้น การถือกำเนิดของคู่แข่งจากอีกซีกโลก คือ Xbox จาก Microsoft
ทำให้วงการนี้ยิ่งดุเดือดเข้าไปอีก ซึ่งสมรภูมิแข่งขันที่ร้อนระอุนี้เอง ทำให้ SEGA ต้องถอนตัวจากวงการผลิตเครื่องเล่นเกม และหันไปเอาดีด้านการพัฒนาเกมเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม Sony ก็ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายมาเป็น PlayStation 4 ที่เปิดตัวในปี 2013
ซึ่งเป็นคอนโซลที่เปลี่ยนการใช้งานจากฐานของแผ่นเกม มาสู่การทำงานแบบดิจิทัลมากขึ้นโดยให้มีการดาวน์โหลดเกมทางออนไลน์ได้ ซึ่ง PlayStation 4 ก็ได้รับความนิยมอย่างถล่มทลายเหมือนเดิม
ส่วน Nintendo ถึงแม้จะล้มลุกคลุกคลานมาตลอดเกือบ 2 ทศวรรษ แต่ก็พลิกฟื้นกลับมาได้ในปี 2017 ด้วยการพัฒนาเกมคอนโซลที่รวมจุดเด่นของคู่แข่งและของตัวเองไว้ด้วยกัน
เครื่องเกมคอนโซลแบบไฮบริด ที่สามารถเป็นได้ทั้งเครื่องเล่นเกมในบ้าน เหมือนอย่าง PlayStation 4 รวมกับคุณสมบัติเด่นของ Nintendo คือเกมที่สามารถพกพาไปเล่นที่ไหนก็ได้ เครื่องนี้มีชื่อว่า “Nintendo Switch”
แม้ว่าปัจจุบัน สมรภูมิอุตสาหกรรมเกมยังคงดุเดือด ทั้งการแข่งขันของบริษัทญี่ปุ่นเอง
การแข่งขันกับบริษัทจากประเทศสหรัฐอเมริกา
และการแข่งขันระหว่าง เกมคอนโซล กับเกมออนไลน์มากมายที่เล่นได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ และสมาร์ตโฟน ซึ่งในช่วงหลังบริษัทจากประเทศจีน เช่น Tencent ก็สามารถพัฒนามาเป็นคู่แข่งสำคัญเช่นกัน..
แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเกมก็ยังเป็นตัวแทนความคิดสร้างสรรค์ของชาวญี่ปุ่น
ที่กลั่นกรองออกมาเป็นแครักเตอร์ยอดนิยม รวมถึงความพยายามพัฒนาสินค้าอย่างมุ่งมั่น
การประยุกต์รับเอาแต่สิ่งดี ๆ ของผู้อื่น มาปรับปรุงและพัฒนา จนเกิดเป็นแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง โดยมี Nintendo กับ Sony เป็นผู้นำ
Nintendo เป็นแบรนด์ที่โฟกัสในเรื่องเกมสำหรับครอบครัว และมีแครักเตอร์อมตะอย่าง Mario
ที่ไม่ว่าจะนำมาผลิตเป็นเกมกี่ครั้ง ก็ยังขายดีแทบทุกครั้ง
ในขณะเดียวกัน Sony PlayStation ที่ออกมาถึง PS5 ก็กลายมาเป็นแบรนด์เครื่องเล่นเกมระดับโลก ที่มาพร้อมเกมที่มีกราฟิกสมจริง และเนื้อหา Story ที่ซับซ้อน
ส่วนบริษัทเกมญี่ปุ่นอื่นอีกหลายบริษัทก็มีส่วนช่วยเติมเต็ม ให้โลกจินตนาการทั้งหมดสมบูรณ์แบบมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
- Konami ที่เป็นต้นฉบับของเกมวินนิง หรือ PES มหากาพย์เกมฟุตบอลที่ทุกคนรู้จักกันดี
- Capcom ที่เป็นเจ้าของซีรีส์เกมชื่อ Resident Evil ที่ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์หลายภาค และเกม Street Fighter ที่เคยโด่งดังในอดีต
- Square Enix ที่เป็นผู้นำเกมแนว Role-Playing Game อย่าง Final Fantasy ที่ออกมาแล้วถึง 15 ภาค และมีภาค Remake อีกหลายภาค
- Bandai Namco เจ้าของหุ่นยนต์ Gundam ที่เป็นตำนาน และเกม Dragon Ball Z ที่มีหลายคนต้องปล่อยพลังคลื่นเต่าไปกับเกมนี้
สำหรับโลกของเกม ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่รออยู่ข้างหน้า
โดยเฉพาะเทคโนโลยี Virtual Reality ที่จะทำให้โลกเสมือนในเกมสมจริงยิ่งกว่าที่เป็นมา
ตราบเท่าที่โลกเสมือนของการเล่นเกมยังคงมีอยู่ เพื่อปลอบประโลมจิตใจของมนุษย์
สมรภูมิของอุตสาหกรรมเกม ก็ยังคงไม่สิ้นสุดลงง่าย ๆ และประเทศญี่ปุ่นก็น่าจะยังมีบทบาทสำคัญในโลกเสมือนแห่งนั้น..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.statista.com/statistics/1024411/japan-gaming-market-size/
-https://medium.com/everything-japan/iitoko-dori-adopting-systems-for-success-53b3320f7626
-https://www.businessinsider.com/history-of-nintendo-130-years-video-games-super-mario-zelda-2019-9
-https://www.isc.hbs.edu/Documents/resources/courses/moc-course-at-harvard/pdf/student-projects/Final%20paper%20-%20Japan%20gaming%20cluster%20vfinal.pdf
-https://edition.cnn.com/2017/11/12/asia/future-japan-videogame-landmarks/index.html
-https://www.videogameschronicle.com/news/playstation-founder-ken-kutaragi-has-started-a-new-career-in-robotics/
-https://www.gamingdose.com/feature/playstation
-https://www.ditp.go.th/contents_attach/577320/577320.pdf
robotics คือ 在 Facebook 的最佳解答
ขอชวนทุกคนมาชมสัมมนาออนไลน์ ARI Developer Conference โดย NIA ตอนสุดท้ายในซีรี่ส์นี้แล้วค่ะ! ทางเพจ iT24Hrs ไอที24ชั่วโมง by ปานระพี กันนะคะ
พบกันสดๆ วันพฤหัส ที่ 26 ส.ค.64 เวลา 16.00-17.30 น. ค่ะ
(ซึ่งเราออกอากาศสดแบบ Full HD ให้ท่านสามารถเลือกรับชมแบบคมชัด Full HD ได้ โดยเลือกตั้งค่าการรับชมเป็น 1080p ค่ะ)
A-R-I
A คือ Artificial Intelligence (AI)
R คือ Robotics
I คือ Immersive and IoT
พลาดไม่ได้กับเรื่องเทคโนโลยี Deep Tech + Health Tech จะมาช่วยเรารอดพ้นจาก c 0 \ / | d ได้อย่างไร
กับวิทยากรทั้ง 5 ท่าน
1. คุณจักร โกศัลยวัตร , นายกสมาคมเฮลท์เทคไทย
2. ดร.ประภาศรี เบญจศิริลักษณ์ / ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ศูนย์เร่งรัดวิจัยและนวัตกรรมเอกชน เครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล
3. พญ.พิชชาพร ธนาพงศธร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โรงพยาบาลวิมุต
4. คุณพงษ์ชัย เพชรสังหาร, Dietz.asia
5. คุณพรชัย แสนชัยชนะ
และหากท่านใดมีคำถาม สามารถเขียนคำถามที่ช่องคอมเมนต์เพื่อถามวิทยากรกันสดๆได้เลยนะคะ (ช่วงท้ายมี Q&A ค่ะ)
อย่าลืมกด follow กันไว้ จะได้ไม่พลาดการอัพเดตนะคะ ขอบคุณค่ะ 💙