ไต้หวัน ประเทศที่น่าจับตา และมีความสำคัญมากกับทั้งโลก /โดย ลงทุนแมน
นิตยสาร The Economist ฉบับวันที่ 1 พฤษภาคม 2021
พาดหัวข่าวว่า “The Most Dangerous Place on Earth”
หรือ “สถานที่อันตรายที่สุดในโลก” พร้อมรูปประกอบเป็นแผนที่ไต้หวันในจอเรดาร์
เนื้อหาส่วนหนึ่งในนิตยสาร ยังพูดถึงสถานการณ์ความตึงเครียดในทะเลจีนใต้
ระหว่างไต้หวันและจีน ที่อาจก่อให้เกิดสงครามได้ทุกเมื่อ
รายละเอียดของเรื่องนี้เป็นอย่างไร
ทำไมที่ที่อันตรายที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างไต้หวัน ถึงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ไต้หวัน หรือชื่อทางการคือ “สาธารณรัฐจีน”
ขึ้นชื่อว่ามีความขัดแย้งกันทางอุดมการณ์ทางการเมือง
กับจีนแผ่นดินใหญ่มาเป็นเวลานาน
เดือนมีนาคมที่ผ่านมา พลเรือเอก Philip S. Davidson
อดีตผู้บัญชาการกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งปลดประจำการจากการปฏิบัติหน้าที่ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก เมื่อเดือนเมษายน 2021 ที่ผ่านมา
กล่าวต่อรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา ว่าทางการจีนกำลังเพิ่มอิทธิพลในทะเลจีนใต้ และมีความเป็นไปได้ว่าภายในปี 2027 จีนจะบุกเข้ายึดเกาะไต้หวัน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญในพื้นที่แห่งนี้
ซึ่งถ้าหากว่าเรื่องนี้เกิดขึ้นจริง ก็มีการคาดการณ์กันว่า จะเกิดผลกระทบไปทั่วโลกโดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ
เนื่องจากไต้หวัน เป็นที่ตั้งของบริษัท TSMC ที่มีเทคโนโลยีในการผลิตชิปที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน
และถือเป็นฐานการผลิตหัวใจของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อย่างชิปเซต รายสำคัญของโลก
ซึ่งแน่นอนว่าท่าทีของสหรัฐอเมริกา ที่เป็นคู่ฟัดคู่เหวี่ยงของจีน
จะต้องป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
และในขณะที่อุณหภูมิทางการเมืองโลกกำลังร้อนระอุขึ้น
บทบาทของไต้หวันในเวทีการค้าโลก ก็เพิ่มความสำคัญมากขึ้นทุกทีด้วยเช่นกัน
สงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกาที่ร้อนระอุ
ทำให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาออกนโยบาย
ให้บริษัทสัญชาติอเมริกัน ตัดความสัมพันธ์ทางการค้ากับจีน
ทำให้บริษัทไต้หวันที่รับผลิตและประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์เทคโนโลยีให้แบรนด์สินค้าอเมริกัน อย่าง Foxconn, Pegatron และ Wistron ต้องเลือกตัดความสัมพันธ์กับบริษัทจีน และบางส่วนทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีนไปประเทศอื่น หรือกลับมาลงทุนในไต้หวัน
ในช่วงเวลาเดียวกันบริษัทเทคโนโลยีอเมริกันหลายแห่ง
ก็เริ่มมาลงทุนในเกาะไต้หวัน ยกตัวอย่างเช่น
- AWS (Amazon Web Services)
ได้มาจัดตั้งสถานที่วิจัยทดลอง Internet of Things
หรือ AWS IoT Lab แห่งแรกในเอเชียที่ไต้หวัน
- Google
ลงทุนกว่า 260,000 ล้านบาท ในการตั้งศูนย์วิจัยพัฒนางานด้านต่าง ๆ รวมถึงก่อสร้าง Data Center แห่งที่ 5 ในเอเชีย และเป็นแห่งที่ 3 ในไต้หวัน
- Microsoft
ได้ลงทุนในไต้หวันมากที่สุดในรอบ 31 ปี ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 369,000 ล้านบาท
จัดตั้ง Microsoft Azure Data Center ธุรกิจให้บริการเก็บข้อมูล ที่ทาง Microsoft คาดว่าจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อีกมากในอนาคต
ปัจจัยอีกหนึ่งข้อ ที่ทำให้ไต้หวัน สำคัญกับเศรษฐกิจโลกมากในเวลานี้
ก็เพราะเกาะแห่งนี้ โดดเด่นเรื่องเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน มีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 65%
ซึ่งนอกจาก บริษัท TSMC ที่เราจะคุ้นหูกันแล้ว
ก็ยังมีบริษัทผลิตชิปอีกหลายบริษัทที่มีความสำคัญ และมีศักยภาพในการผลิตระดับแนวหน้าของโลก
เช่น United Microelectronics Corporation (UMC) และ Powerchip Technology Corporation (PSMC)
จุดเด่นอีกข้อของเกาะไต้หวัน คือมีขนาดพื้นที่เพียงแค่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเพียงแค่ไม่ถึง 1 ใน 10 ของพื้นที่ประเทศไทย
ซึ่งด้วยพื้นที่ที่เล็ก ทำให้บริษัทในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอุตสาหกรรมอื่น ๆ มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันค่อนข้างมาก
ไต้หวันยังเป็นไม่กี่ประเทศ ที่เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา ที่มีวิกฤติโรคระบาด
โดย GDP ของไต้หวันในปี 2020 เติบโต 2.98%
ซึ่งอัตราการเติบโตนี้ สูงกว่าประเทศจีนที่ GDP โต 2.27% เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
โดยปัจจัยที่ทำให้ GDP ของไต้หวันยังคงเติบโตได้ในปีที่ผ่านมา สวนทางกับหลายประเทศทั่วโลก
ก็เกิดมาจากหลายปัจจัย ยกตัวอย่างเช่น
1. ความต้องการชิป ชิ้นส่วน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มากขึ้นตามกระแส Work From Home และการเริ่มใช้งานระบบ 5G
ซึ่งไต้หวันที่เป็นที่ตั้งของบริษัทผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ก็แน่นอนว่าได้ประโยชน์จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในส่วนนี้
2. การขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ทำให้มีความต้องการชิ้นส่วนประกอบจากบริษัทในไต้หวันมากขึ้น
อย่างเช่น Tesla หนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ที่ใช้บริการบริษัทผลิตชิ้นส่วนจากบริษัทของไต้หวันหลายสิบแห่ง เช่น
- Quanta Computer ผู้ผลิตอุปกรณ์ชาร์จไฟที่ใช้ในแท่นชาร์จไฟฟ้ารถ Tesla
- Innolux Corporation ผู้ผลิตจอแสดงผลที่ใช้ภายในตัวรถ
- Pegatron ผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมการทำงานทุกอย่างของรถ
- Delta Electronics บริษัทแม่ของเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ที่รับผลิตระบบควบคุมไฟฟ้าให้รถยนต์หลายแบรนด์
3. ความต้องการในชิ้นส่วนข้อ 1 และข้อ 2 ส่งผลให้ธุรกิจขนส่งทางทะเลและทางอากาศ พลอยได้รับ
อานิสงส์ไปด้วย
แม้ว่าตั้งแต่กลางปี 2020 จะมีเครื่องบินจากกองทัพจีน
บินเข้าเขตน่านฟ้าไต้หวันอยู่เป็นประจำ
และทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภาวะสงครามกันอยู่เป็นระยะ
แต่ในเวลานี้ ไต้หวันเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ให้กับชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทำให้คาดการณ์ได้ว่าทั้ง 2 ประเทศคงไม่ปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงกับเกาะไต้หวัน
สรุปแล้วถ้าดูจากปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และการเมือง
ไต้หวัน ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ ที่อันตรายสุดในโลก
แต่ในขณะเดียวกัน ประเทศนี้ก็ถือเป็นหนึ่งสถานที่ ที่มีความสำคัญกับทั่วโลกมากด้วยเช่นกัน
โดยเฉพาะความสำคัญกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
ที่ไต้หวันมีส่วนแบ่งตลาดกว่า 65% ของตลาดโลก
ซึ่งหากจีนแลกหมัดทำสงครามกับไต้หวันและพันธมิตรจริง ๆ
ก็แทบไม่ต้องคิดเลยว่า ผลกระทบต่อทั่วโลก จะหนักหนาสาหัสขนาดไหน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://udn.com/news/story/122145/5427194
-https://www.techbang.com/posts/85731-us-japan-semiconductor-alliance-us-japan-semiconductor
-https://ec.ltn.com.tw/article/paper/1414454
-https://www.digitimes.com.tw/iot/article.asp?cat=130&cat1=40&id=0000555123_1ae2ekyv1tz1xu4lbxoy2
-https://technews.tw/2021/01/15/microsofts-largest-investment-in-taiwan-in-31-years/
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210416000185-260202
-https://money.udn.com/money/story/5599/5377117
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20210130000104-260202?chdtv
-https://www.chinatimes.com/newspapers/20180119000241-260202?chdtv
-https://www.cw.com.tw/article/5101653?template=transformers
-https://finance.technews.tw/2021/03/13/the-secret-of-deltas-stock-price-surge/
-https://www.storm.mg/article/3412487?mode=whole
-https://www.bnext.com.tw/article/60272/taiwan-aviation-industry-finacial-lost-q3
-https://ctee.com.tw/news/stock/453874.html
-https://www.bbc.com/zhongwen/trad/chinese-news-56814382
-https://heho.com.tw/archives/172810
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「spotify stock price」的推薦目錄:
- 關於spotify stock price 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於spotify stock price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於spotify stock price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於spotify stock price 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於spotify stock price 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於spotify stock price 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於spotify stock price 在 Spotify (SPOT) Stock Price Hits an All-Time Low | #shorts 的評價
spotify stock price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
TradingView ธุรกิจกราฟ ที่อยู่ในแอปซื้อขายหุ้นและคริปโททั่วโลก /โดย ลงทุนแมน
การลงทุนในทุกสินทรัพย์ทางการเงิน นอกจากเรื่องของปัจจัยพื้นฐานแล้ว
สิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่นิยมใช้ประกอบการตัดสินใจ ก็คือกราฟเชิงเทคนิค
และในช่วงหลังมานี้ ก็มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการกราฟราคาสินทรัพย์
ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นและถูกใช้กันเป็นวงกว้างมากขึ้น
ในกลุ่มนักลงทุน นั่นคือแพลตฟอร์มที่มีชื่อว่า “TradingView”
ซึ่งนอกจากช่องทางของบริษัทเองแล้ว
รู้หรือไม่ว่า TradingView ก็ยังให้บริการกราฟอยู่บน
Streaming, Investing.com, Seeking Alpha หรือแม้แต่ Bitkub อีกด้วย
แล้ว TradingView มีความเป็นมาอย่างไร
ใครเป็นคนสร้าง ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
TradingView เป็นแพลตฟอร์มที่ให้บริการฐานข้อมูลของการลงทุน
ซึ่งเน้นไปที่ปัจจัยเชิงเทคนิเกิล หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเอาไว้ดูกราฟนั่นเอง
และนอกจากความนิยมของ TradingView ในกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศแล้ว
ในช่วงปีที่ผ่านมา จะสังเกตได้ว่าในประเทศไทย
TradingView ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
แล้วอะไรที่ทำให้ TradingView เป็นที่นิยม ?
จุดเด่นอย่างแรกก็คือ TradingView เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลได้ครอบคลุมมากที่สุด
ซึ่งนอกจากราคาหุ้นแล้ว ก็ยังมี Futures, ETFs, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราแลกเปลี่ยน, สินค้าโภคภัณฑ์นานาชนิด ไปจนถึงคริปโทเคอร์เรนซี
และก็ไม่ได้มีแต่ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศในแถบยุโรปเท่านั้น
แต่ยังครอบคลุมไปทั่วทุกภูมิภาค รวมถึงของประเทศไทยด้วย
หรือเรียกได้ว่า ทุกอย่างที่มีกราฟราคา สามารถหาข้อมูลได้ใน TradingView
จุดเด่นอย่างที่สองก็คือ เรื่องการใช้งาน
ทั้งเรื่องที่ออกแบบมาให้ใช้งานสะดวก
อย่างเช่นการปรับมุมมองกราฟได้ตามใจชอบ หรือสำหรับสินทรัพย์ตัวที่ดูบ่อย
ก็สามารถจับใส่ Watchlist ไว้ หรือจะจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการก็ได้
และยังสามารถตั้งเตือน เมื่อเกิดสัญญาณทางเทคนิคตามที่เราวางแผนไว้ได้ด้วย
ที่สำคัญก็คือ ได้รวบรวมเครื่องมือทางเทคนิเกิลไว้ให้ใช้แบบนับไม่ถ้วน
อย่างเช่น Price Pattern หรือ Fibonacci ที่มีให้เลือกใช้ไปถึงรูปแบบขั้นสูง
นอกจากนี้ ยังมีอินดิเคเตอร์ที่เป็นข้อมูลในเชิงลึก และมีเฉพาะใน TradingView
อย่างที่นิยมใช้กันก็เช่น VPVR ที่เอาไว้ดูโวลุมสะสมย้อนหลังในแต่ละช่วงราคา
หรือ MCDX SmartMoney ที่ใช้ดูว่าการเคลื่อนไหวของราคา
มาจากเม็ดเงินของนักลงทุนสถาบัน หรือมาจากนักลงทุนรายย่อย
จุดเด่นอย่างที่สามก็คือ TradingView ไม่ได้ใช้เพื่อดูกราฟเท่านั้น
แต่ถูกสร้างให้เป็นสังคมออนไลน์ของเหล่านักลงทุนทั่วโลก
ซึ่งผู้ใช้งานสามารถโพสต์มุมมองกราฟของตัวเอง เพื่อแชร์ไอเดียการลงทุน
และยังให้คนอื่นมาแสดงความคิดเห็นหรือแลกเปลี่ยนไอเดียกันได้
หรือจะเลือกกดติดตามคนที่ชื่นชอบก็ยังได้ คล้ายกับ Twitter นั่นเอง
แล้วใครเป็นคนสร้าง TradingView ?
TradingView ก่อตั้งโดยคุณ Stan Bokov, Denis Globa และ Constantine Ivanov
โดยแต่เดิม ทั้ง 3 คนนี้ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า MultiCharts มาก่อน
ซึ่งให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการลงทุน ทั้งระบบการซื้อขาย กราฟเทคนิค และฐานข้อมูล
ให้กับโบรกเกอร์และฟินเทคชื่อดัง อย่างเช่น Interactive Brokers รวมถึง Binance
จนกระทั่งในปี 2011 หรือราว 10 ปีก่อน
ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คน ก็ได้ร่วมกันสร้างแพลตฟอร์มที่ชื่อว่า TradingView
โดยตั้งใจจะให้เป็นทั้งสังคมออนไลน์และแหล่งรวบรวมข้อมูลและเครื่องมือทางเทคนิคเชิงลึก
สำหรับใครก็ตามที่สนใจการลงทุน ไม่จำกัดว่าต้องเป็นระดับมืออาชีพ
ซึ่งก็ถือได้ว่าสังคมออนไลน์แห่งนี้
กลายเป็นชุมชนที่เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด
จากปีแรก มีผู้ใช้งานประมาณ 6 หมื่นบัญชีต่อเดือน
จนปัจจุบัน ได้ขยายมาเป็น 10 ล้านบัญชีต่อเดือน จาก 150 ประเทศทั่วโลก
สำหรับผู้ใช้งาน TradingView ก็จะมีตั้งแต่ใช้บริการได้ฟรี
หรือแบบเสียค่าบริการเป็นรายเดือนหรือรายปี
ซึ่งก็มีราคาตามแต่ละแพ็กเกจ 3 ระดับ
โดยราคาที่เพิ่มขึ้น ก็จะครอบคลุมอินดิเคเตอร์ที่หลากหลายและมีความซับซ้อนมากขึ้นนั่นเอง
นอกจากกลุ่มลูกค้ารายบุคคลแล้ว
TradingView ยังให้บริการลูกค้าที่เป็นองค์กร
ด้วยการเป็นฐานข้อมูลกราฟตามเว็บไซต์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ
อย่างเช่นใน investing.com, Investopedia และ Seeking Alpha
และที่ใกล้ตัวที่สุด ก็คือกราฟเทคนิคใน Streaming
หรือแม้แต่ Bitkub แพลตฟอร์มซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีในบ้านเราก็ใช้บริการบริษัทแห่งนี้
วิธีสังเกตว่ากราฟที่เราเห็นมาจาก TradingView หรือไม่
ก็คือในหน้ากราฟราคาสินทรัพย์จะมีโลโกของทางบริษัทวางอยู่
บริเวณมุมซ้ายล่าง นั่นเอง
ปัจจุบัน TradingView ระดมทุนถึง Series B ด้วยเงินลงทุนรวม 1,300 ล้านบาท
และยังคงมีแผนจะระดมทุนไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มและขยายฐานลูกค้า
ซึ่งการเติบโตของ TradingView ในอนาคต ก็นับว่าน่าจับตามอง
เพราะปัจจุบัน นักลงทุนทั่วโลกต่างมีช่องทางในการลงทุนที่สะดวก
และเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงค่าธรรมเนียมการซื้อขายที่ถูกลงกว่าแต่ก่อนมาก
ซึ่งก็เป็นผลมาจากการพัฒนาและเติบโตของฟินเทค
นอกจากนี้ กระแสของคริปโทเคอร์เรนซี ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยดึงดูด
ให้นักลงทุนและนักเก็งกำไร หันมาสนใจการดูกราฟ
การดูความเห็นก่อนตัดสินใจเข้าไปลงทุนจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ ด้วยตัวเองกันมากขึ้น
สรุปได้ว่ายิ่งมีนักลงทุนหันมาสนใจลงทุนด้วยตัวเองมากเท่าไร
ก็ยิ่งจะทำให้ TradingView เติบโต มากขึ้นเท่านั้น..
╔═══════════╗
ร่วมติดตามข่าวสารคริปโทเคอร์เรนซี จากมุมมองหลายเพจ ได้ในแพลตฟอร์ม Blockdit ลองอ่านตัวอย่างได้ที่ www.blockdit.com/explore/cryptocurrency
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://techcrunch.com/2012/02/24/tradingview-european-watch-list/?_ga=2.78930324.1088731433.1620667082-1510083956.1620667082
-https://techcrunch.com/2016/07/28/tradingview-a-community-for-chart-obsessed-investors-moves-into-new-markets/
-https://techcrunch.com/2018/05/21/cryptocurrency-and-a-stock-market-boom-pushes-tradingview-to-37-million-in-new-funding/
-https://techcrunch.com/2019/04/02/tradingview-acquires-tradeit-to-add-instant-trading-apis-to-its-investor-toolkit/
-https://www.crunchbase.com/organization/tradingview
-https://techtycoons.com/stan-bokov/
-https://www.multicharts.com
-https://www.tradingview.com
spotify stock price 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุป 5 วิธีประเมินมูลค่า คริปโทเคอร์เรนซี /โดย ลงทุนแมน
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2564 บิตคอยน์ได้ทำราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.9 ล้านบาท ต่อเหรียญ
คิดเป็นมูลค่าตลาดรวมถึง 35.8 ล้านล้านบาท และถือเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับที่ 8 บนโลก
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายคนก็ได้ตั้งคำถามว่ามูลค่าของบิตคอยน์ ถึงจุดสูงสุดแล้วหรือยัง และเราจะประเมินมูลค่าของสินทรัพย์นี้อย่างไร ?
และเมื่อไม่นานมานี้ CFA หรือสถาบันที่รับรองคุณวุฒิด้านวิชาชีพนักการเงินทั่วโลกได้ตีพิมพ์เอกสารที่กล่าวถึงเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ด้วย
โดยวิธีการประเมินมูลค่าดังกล่าวเป็นการรวบรวมโดยคุณ Hougan และ คุณ Lawant ที่อยู่ในเอกสารเผยแพร่ของทาง CFA ซึ่งไม่ได้เป็นความเห็นจากสถาบันอย่างเป็นทางการ
วันนี้ เรามาดูกันว่ามีแนวทางประเมิน
มูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้ อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนหน้านี้ การประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีถือเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ได้สร้างกระแสเงินสดขึ้นมา
จึงทำให้ยากต่อการประเมินมูลค่าอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม CFA ก็ได้ระบุว่ามี 5 แนวทางในการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซี
ซึ่งก็ต้องบอกว่าแต่ละแนวทางมีสมมติฐานและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน
เรามาเริ่มกันที่แนวทางที่ 1 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาแทนที่ทองคำ”
วิธีนี้จะเป็นการประเมินมูลค่าในลักษณะของการเปรียบเทียบ
ระหว่างมูลค่าตลาดของสกุลเงินคริปโทเคอร์เรนซี กับมูลค่าของทองคำ
โดยเราต้องคาดการณ์ว่าคริปโทเคอร์เรนซีนั้นจะมาแทนทองคำเป็นสัดส่วนเท่าใด
เช่น หากเราคาดการณ์ว่าบิตคอยน์จะมาแทนที่ทองคำได้ราว 10%
ปัจจุบัน ทองคำ มีมูลค่าตลาด 342 ล้านล้านบาท
บิตคอยน์ มีมูลค่าตลาด 32 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 9.4% เมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดทองคำ ก็จะดูสมเหตุสมผลกับที่เราคาดการณ์
แต่สำหรับใครที่คิดว่าบิตคอยน์จะมาแทนที่ทองคำได้ในสัดส่วน 5%
บิตคอยน์ ก็จะถือว่ามีมูลค่าที่สูงเกินไปแล้ว นั่นเอง
แนวทางที่ 2 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาแทนที่สกุลเงินทั่วไป”
แนวทางนี้จะเป็นวิธีเดียวกับการประเมินมูลค่าของเงินตราทั่วไปแบบดั้งเดิม
ที่ประเมินจากปริมาณและรอบหมุนของเงินในระบบ
โดยเราจะมี 4 ตัวแปรหลักที่สำคัญ แบ่งออกเป็น
- Money Supply (M) คือ มูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซีที่เราสนใจ
- Velocity of Money (V) คือ ความถี่ของการใช้คริปโทเคอร์เรนซีในรอบ 1 ปี
- Price Level (P) คือ มูลค่าเฉลี่ยของธุรกรรมการใช้คริปโทเคอร์เรนซีที่เกิดขึ้น
- Quantity of Goods and Services (Q) คือ จำนวนธุรกรรมที่เกิดขึ้น
โดยสมการที่ได้ก็อยู่ในรูปแบบของ M x V = P x Q
ยกตัวอย่างเช่น หากบิตคอยน์มีปริมาณธุรกรรม 1 แสนล้านครั้ง ต่อปี (Q)
ในขณะที่มีการใช้จ่ายด้วยบิตคอยน์ราว 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อธุรกรรม (P)
หมายความว่า P x Q หรือ มูลค่าธุรกรรมทั้งหมดจะมีมูลค่าราว 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อปี
ทีนี้ หากว่าบิตคอยน์ ถูกเปลี่ยนมือ (V) เฉลี่ยราว 5 ครั้ง ต่อปี
เราก็สามารถคำนวณมูลค่าตลาดของคริปโทเคอร์เรนซี หรือ M ที่ควรจะเป็นได้ โดย M = P x Q / V
ซึ่งเท่ากับ 20 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นั่นเอง
หลังจากนั้น เราก็สามารถนำมูลค่าตลาดคริปโทเคอร์เรนซีที่คำนวณได้
มาเทียบได้ว่าสูงหรือต่ำกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมากน้อยขนาดไหน
แนวทางที่ 3 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นระบบเครือข่าย”
ปกติวิธีนี้จะนิยมใช้วัดมูลค่าสำหรับกลุ่มธุรกิจแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์
เช่น Facebook, Instagram หรือ Twitter
โดยมูลค่าของบริษัทเหล่านี้จะเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะขึ้น
ในขณะที่ หากแพลตฟอร์มไม่มีผู้ใช้งาน บริษัทก็จะมีมูลค่าเท่ากับ “0”
โดยสมการของการประเมินมูลค่าเบื้องต้น
ก็คือ นำจำนวนผู้ใช้งานบนคริปโทเคอร์เรนซียกกำลังด้วย 2
อย่างไรก็ตาม ทาง CFA ก็ได้ระบุว่ามีข้อจำกัดเรื่องคุณภาพของผู้ใช้งาน
เพราะการได้มาของผู้ใช้งานในบางครั้ง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการสร้างเครือข่าย
แต่เกิดมาจากการโฆษณา จึงทำให้วิธีนี้ ไม่ถูกนำมาพูดถึงมากนัก
แนวทางที่ 4 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นเสมือนสินค้าโภคภัณฑ์”
สินค้าโภคภัณฑ์คือ สินค้าที่มีลักษณะเหมือนกันทั่วโลก
ยกตัวอย่าง เช่น น้ำมันดิบ, ยางพารา, ถ่านหิน, ข้าว, น้ำตาล
วิธีการประเมินมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
จะคำนวณจากต้นทุนในการผลิตเพื่อให้ได้สินค้า
โดยต้นทุนหลักสำหรับคริปโทเคอร์เรนซี ก็คือ ค่าไฟฟ้า ค่าเซิร์ฟเวอร์ และค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการขุด
ซึ่งมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีที่ควรจะเป็นไม่ควรต่ำกว่าต้นทุนทั้งหมดนี้
แนวทางที่ 5 เมื่อเรามองว่า “คริปโทเคอร์เรนซีเป็นสินทรัพย์ที่มีจำนวนจำกัด”
วิธีนี้จะคำนวณด้วยโมเดลที่เรียกว่า Stock-to-Flow
ซึ่งวิธีดังกล่าวมักจะถูกนำมาคำนวณหามูลค่าของสินทรัพย์ที่หายาก เช่น ทองคำและเงิน
ทั้งนี้ Stock-to-Flow ถูกออกแบบมาใช้กับบิตคอยน์โดยเฉพาะ เนื่องจากบิตคอยน์มีลักษณะคล้ายกันกับทองคำและเงิน คือ มีอยู่อย่างจำกัด และมีความสามารถในการกักเก็บความมั่งคั่งเอาไว้ได้
โดยโมเดล Stock-to-Flow จะเป็นการเทียบสัดส่วนระหว่าง
มูลค่าบิตคอยน์ที่มีอยู่ทั้งหมดบนโลก หารด้วยมูลค่าที่ผลิตขึ้นใหม่ได้ในแต่ละปี
ซึ่งแน่นอนว่าในแต่ละปี มูลค่าของบิตคอยน์ทั้งหมดบนโลกจะเพิ่มขึ้น
ในขณะที่บิตคอยน์ก็จะผลิตยากขึ้นเพราะในทุก ๆ สี่ปีจะเกิดกระบวนการ Halving
หรือการลดผลตอบแทนจากการผลิตบิตคอยน์ลงครึ่งหนึ่ง
อีกความหมายหนึ่งก็คือ ขุดได้ยากขึ้น นั่นเอง
นั่นจึงทำให้การประเมินมูลค่าบิตคอยน์ด้วย Stock-to-Flow จะมีลักษณะเป็นเทรนด์ขาขึ้นตลอดเวลา
ซึ่ง CFA ก็ได้ระบุว่าโมเดลนี้เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางประเมินมูลค่า แต่ไม่ได้เห็นด้วยกับวิธีนี้ เพราะดูเหมือนว่าการเกิดขึ้นที่น้อยลงของบิตคอยน์ได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวแล้ว ซึ่งถ้าใช้วิธีนี้ในการประเมินมูลค่าก็จะไม่มีวันที่มูลค่าลดลงเลย มีแต่จะเพิ่มขึ้นไปตลอดกาล
ซึ่งไม่สมเหตุสมผลเหมือนวิธีอื่น ที่มูลค่าที่เหมาะสมจะขึ้นลงตามปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
ถึงตรงนี้ เราก็คงพอจะรู้แล้วว่ามีวิธีอะไรบ้าง
ที่เราจะนำมาใช้เพื่อหามูลค่าของคริปโทเคอร์เรนซี
แม้ว่าจะมีแนวทางการประเมินมูลค่าคริปโทเคอร์เรนซีที่หลากหลาย
แต่ตอนนี้ก็ต้องยอมรับว่ายังไม่มีโมเดลไหนที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย
อย่างไรก็ตาม แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญสำหรับการประเมินมูลค่า
เพราะถ้าหากเราไม่รู้มูลค่าที่เหมาะสมของสินทรัพย์ที่จะลงทุนเลย
การซื้อครั้งนั้น ก็อาจจะเรียกว่าเป็นการเก็งกำไร มากกว่าการลงทุน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://coinmarketcap.com/currencies/บิตคอยน์/
-https://www.cfainstitute.org/-/media/documents/article/rf-brief/rfbr-cryptoassets.ashx
-https://saylordotorg.github.io/text_developing-new-products-and-services/s04-12-there-is-power-in-numbers-netw.html
spotify stock price 在 Spotify (SPOT) Stock Price Hits an All-Time Low | #shorts 的推薦與評價
Spotify stock price fell hard on the news Wednesday hitting an all-time low. The Stockholm-based company added 2 million subscribers in the ... ... <看更多>