ยักษ์อย่างไมโครซอฟต์มีหรือจะไม่ตื่นมาต้อนรับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แบบนี้
Add to basket ไว้ก่อน :)
MICROSOFT ยักษ์หลับที่พึ่งตื่น? กว่า 14 ปีที่อยู่นอกสายตานักลงทุน
Satya Nadella ซีอีโอปัจจุบันที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้พลิกฟื้น Microsoft เรื่มด้วยการเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในบริษัทให้เหมือนครั้งที่ก่อตั้ง Microsoft คือทำงานโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทีมมีขนาดเล็กลง โดยใช้เครื่องมีที่บริษัทมีเพื่อสร้างโลกเป็นดิจิทัลให้ทุกคนสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา และสามารถสั่งงานผ่าน การพูด การมอง การเคลื่อนไหว ฯลฯ ให้พลังแก่ทุกคน และทุกบริษัทบนโลก เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้
MICROSOFT จะเป็นคอมเพิวเตอร์ของคนทั้งโลก คือสิ่งที่ Satya ใช้เป็นเป้าหมายเพื่อให้ MICROSOFT กลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
MICROSOFT คือบริษัท SOFTWARE ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นเช่นนั้นมาตลอด การที่จะให้ตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ของโลกย่อมสมเหตุสมผลกับสิ่งที่บริษัทเป็น ความพยายามที่จะเปลี่ยนทุกบริษัทบนโลกให้ใช้ระบบดิจิทัล และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตของทุกคนจะทำให้ต้องใช้ SOFTWARE มหาศาล และจะต้องมีโปรแกรมใหม่ๆเกิดขึ้นจำนวนมากซึ่งบริษัทมีความได้เปรียบกว่าบริษัทอื่นๆ เนื่องจากปัจจุบันมีคนใช้โปรแกรมของบริษัทหลักพันล้านคน และความหลากหลายของโปรแกรม ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการถึงโปรแกรมใช้งานสำเร็จรูป ทำให้เกิด ECOSYSTEM ขนาดมหาศาลขึ้น รวมถึงข้อมูลผู้ใช้งานทั่วโลกที่อยู่ในมือบริษัท จำนวนเงินด้านการวิจัย และพัฒนารวมถึงการซื้อบริษัทต่างๆชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า MICROSOFT เน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ และการจัดการฐานข้อมูลต่างๆเป็นหลัก
เทคโนโลยีสำคัญๆมีอะไรบ้างสำหรับคอมพิวเตอร์ของคนทั้งโลกมาดูกัน!!!
AI
ในมุมมองของ Satya AI คือโปรแกรมที่จะต้องมีในอุปกรณ์ทุกตัวที่มีการประมวลผลไม่ต่างจากระบบปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน การบริหารจัดการ และการทำงานอัตโนมัท
Intelligent cloud and intelligent edge
นี่คือ ระบบเก็บข้อมูล และประมวลผลแบบไร้สายที่มี AI ในระบบสามารถทำให้อุปกรณ์ทุกชนิดที่มีอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทำงานต่อเนื่องกันได้ รวมทั้งยังทำให้การควบคุมอุปกรณ์จำนวนมาก การส่งผ่านข้อมูล การประมวลผมเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
งบการเงิน
งบกำไรขาดทุน
ปี 2016-2018 บริษัทได้แบ่งหมวดธุรกิจใหม่เป็น 3 หมวด
1. Productivity and Business Processes เช่น Office 365, Skype for Business, Dynamics 365, LinkedIn, Outlook.com และ OneDrive
2. Intelligent Cloud เช่น Azure, Server Products และ Cloud Services
3. More Personal Computing เช่น Windows, Surface, เกมส์ และเว็บค้นหา(bing)
จากรูป จะเห็นได้ว่า More Personal Computing มีรายได้ 42 B$ โตกว่าปีที่แล้ว 8% ซึ่งในส่วนนี้เป็นธุรกิจหลักดังเดิม Productivity and Business Processes มีรายได้ 36 B$ โตกว่าปีที่แล้ว 20% และ Intelligent Cloud มีรายได้ 32 B$ โตกว่าปีที่แล้ว 18% ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ และธุรกิจที่พัฒนาขึ้นมา จากแนวโน้มการเติบโตแล้ว อีกไม่กี่ปีข้างหน้ารายได้จากธุรกิจใหม่จะเป็นตัวขับเคลื่อนกำไรของบริษัทแทน
จากงบการเงินรวม
จะเห็นได้ว่าปี 2018 บริษัทมีกำไรสุทธิลดลง จาก 3.25$ เหลือ 2.13$ ต่อหุ้นลดลงประมาณ 30% ซึ่งเกิดจากกฏหมาย ลดภาษี และเพิ่มการจ้างงานที่ประกาศใช้ ซึ่งเป็นผลทางบัญชีไม่มีผลต่อกระแสเงินสด หรือผลการดำเนินงานจริง ถ้าตัดผลกระทบนี้ไป จะได้กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 3.88$ เติบโต 19.38% จากปีที่แล้ว
และยังคงสามารถรักษาอัตราส่วน
ค่าใช้จ่ายในการวิจัย และพัฒนา อยู่ที่ 13% ของยอดขาย
ค่าใช้จ่ายในการขาย การตลาด และบริหาร อยู่ที่ 20% ของยอดขาย ซึ่งเป็นเป้าหมายในระยะยาวได้
งบดุล
สินทรัพย์
สภาพคล่องสูงมากมีเงินสด และสินทรัพย์เทียบเท่าเงินสดถึง 133.7b$
สินค้าคงคลัง สิ่งปลูกสร้าง และสินทรัพย์เช่าดำเนินการต่ำ รวม 38.7b$
ส่วน goodwill คือส่วนที่เกิดจากซื้อบริษัทแพงกว่ามูลค่าทางบัญชีต้องทยอยหักออกจากรายได้ในหลายปีข้างหน้า 35.6b$ ถ้าคิดลด 5 ปี จะเท่ากับประมาณ 7% ของรายรับปีปัจจุบันทำให้กำไรต่อหุ้นอาจลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่เป็นผลทางบัญชีไม่มีผลต่อกระแสเงินสด หรือฐานะการเงินบริษัท
หนี้สิน
เมื่อพิจารณาหนี้ระยะสั้น-ยาวกับหนี้การค้า ประมาณ 120b$
โดยหัก Short-term unearned revenue และ Long-term income taxes
และส่วนผู้ถือหุ้น 82.7b$
แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของงบการเงินบริษัท ความสามารถชำระหนี้ที่สูง
งบกระแสเงินสด
- กระแสเงินสดจากรายได้ 16.571 b$ ลดลงถึง 35% จากปีที่แล้ว เนื่องจากใช้เงินในการปรับโครงสร้างการขาย และ ปิดส่วนโทรศัพท์มือถือ แต่ได้กระแสเงินสดจากภาษี 18.183 b$ me.shกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงาน 43.884b$ เพิ่มขึ้น 11.08%
- กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน 2 ปีที่ผ่านมามีการกู้รวมกันถึง 58b$ น่าจะมาจากการเข้าซื้อ LINKIN และ GITHUB เป็นหลัก และยังมีการซื้อหุ้นคืน และ จ่ายปันผล 23 b$ โดยเฉลี่ย
- กระแสเงินสดจากการจัดหาเงิน บริษัทมีการลงทุนในบริษัทถึง 11.632 b$ เติบโตขึ้นสอดคล้องกับยอดขาย มีการลงทุน และขายทำกำไรในสัดส่วนใกล้เคียงกันสอดคล้องกับงบดุลที่ว่ามีการลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องสูง
จากงบกระแสเงินสดแสดงให้เห็นถึงความเข้งแข็งด้านการเงินของบริษัทที่มีการซื้อหุ้นคืน และจ่ายเงินปันผล และยังแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องกันระหว่าง งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด กับการอธิบายการดำเนินงาน และการใช้เงินที่ได้อธิบายไว้ในงบการเงิน
สิ่งที่ไม่ได้บอกในงบการเงิน
- ส่วนผู้ถือหุ้น หรือมูลค่าบริษัทอาจสูงกว่านี้เนื่องจากการลงบัญชี เช่นพวกบริษัทที่ซื้อมา การพัฒนาหน่วยงาน หรือผลิตภัณฑ์ของบริษัทเอง ไม่ได้ประเมินเป็นมูลค่าปัจจุบันทั้งหมด อย่างจะแสองในรูปของต้นทุนการบริงานที่ลดลง หรือกระแสเงินสดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
- ร่ายจ่ายที่คาดไม่ถึง เป็นธรรมชาติของบริษัทเทคโนโลยีที่จะล้มเหลวในการพัฒนา การปิดส่วนธุรกิจ คู่แข่งมีผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คาดไม่ถึง หรือซื้อบริษัทอื่นมา แล้วปรับโครงสร้าง รวมไปถึงการซื้อบริษัทอื่น แพงเกินจริง
แนวโน้มการเติบโตของบริษัท
เมื่อย้อนกลับไปดูรายงานประจำปีตั้งแต่ปี 2010 -2014 ในช่วงที่ Steve Ballmer บริหารงานอยู่แม้ว่าราคาหุ้นจะไม่ไปไหนเลยตลอด 14 ปี พบว่า กระแสเงินสดของบริษัทมีความแข็งแกร่งมากอยู่แล้ว มีการซื้อหุ้นคืน 40 b$ ตั้งแต่ปี 2008 มีการจ่ายปันผลมาตลอด เทคโนโลยีใหม่ที่ทำกำไรให้บริษัทในปัจจุบันส่วนใหญ่มีอยู่แล้วในบริษัท เช่น cloud computing มีใช้ตั้งแต่ก่อนปี 2000 และบริษัทก็พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆมากมาย รวมถึงการเข้าซื้อธุรกิจอื่น แต่ด้วยความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่รับส่งต่อมาจาก Bill Gate อาจเป็นตัวฉุดรั้งการพัฒนาของบริษัท โดย 10 กว่าปีที่ดำรงค์ตำแหน่ง Steve เลือกที่จะเน้นพัฒนา software โดยเฉพาะ WINDOWS ต่อ และเลือกเข้ามาแข่งขันด้านการสร้างอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แล็ปท๊อป แข่งกับ บริษัท APPLE เพื่อสร้างุรกิจใหม่ และขยาย ECOSYSTEM ของผลิตภัณฑ์แต่ไม่สำเร็จ
จนกระทั่ง Satya Nadella เข้ามาเป็นซีอีโอ ปรับโครงสร้างองกรณ์ใหม่ และเลือกที่จะพัฒนา Cloud computing ของบริษัทที่มีอยู่แล้วแทน สิ่งที่ผมเห็นคือ วัฒนธรรมของ MICROSOFT มีความเข้มแข็งมาก Steve Ballmer ก็ทำหน้าที่ได้อย่างดี บอกได้เลยว่า MICROSOFT มาถึงตรงนี้ก็เพราะเขา แต่สิ่งที่ผมคิดว่า Steve พลาดคือ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองกรณ์ไม่ทันยุคที่เปลี่ยนไป และวิศัยทัศน์ ที่เปลี่ยนไม่ทันโลก
แต่นี่คือสิ่งที่ Satya มี การที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของคนทั้งโลก การเข้าสู่ตลาดเกมส์ การที่ต้องการเปลี่ยนบริษัททั้งโลก ให้กลายเป็นดิจิทัล ล้วนเป็นกระแสโลก เป็นตลาดที่มีการเติบโตสูง เม็ดเงินมหาศาลที่ไหลเวียน สิ่งเหล่านี้ล้วนเอื้อประโยชน์ให้แก่ MICROSOFT ทั้งผลิตภัณฑ์เก่าที่สามารถพัฒนาต่อได้ ความชำนาญที่บริษัทมี รวมถึงความน่าเชื่อถือของคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ที่บริษัทต่างๆทั่วโลกยอมรับ
ทำให้น่าสนใจอย่างยิ่งว่าบริษัทจะสามารถใช้แต้มต่อเหล่านี้ สู้กับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว คู่แข่งเทคยักษ์ทั่วโลก หรือแม้แต่ START UP ใหม่ๆเพื่อกลับมาเป็นบริษัทอันดับหนึ่งของโลกได้อีกหรือเปล่า
รายได้ 90% ของบริษัทมาจากลูกค้าที่เป็นองกรณ์
“บริษัทอย่าง MICROSOFT ไม่ใช่บริษัทที่จะไปตามกระแสโลก MICROSOFT เป็นผู้ออกแบบอนาคต ” Satya Nadella CEO of Microsoft Corp
สรธร
Search
unearned revenue 在 Unearned Revenue - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>