งานยากและยากขึ้นจะกลายเป็นเรื่องปกติ ส่วนงานง่าย ๆ ก็น่าจะถูกมองข้ามไป หรือยอมให้พังไปก็ได้ไม่เป็นไร เพราะผลกระทบมันไม่ได้เยอะอะไรเมื่อเทียบกับที่ต้องมีคนไปทำ หรือมีคนไปติดตามว่าทำสำเร็จมั้ย เพราะฉนั้นก็ไม่แปลกถ้าเราจะเหนื่อยขึ้นกว่าเดิม
"ความไม่แน่นอน" คือเรื่องจริงเรื่องนึงในชีวิต แต่ก็นั้นแหละครับ เวลาที่เราเจอความไม่แน่นอน ไม่แปลกที่เราจะหัวเสีย ผมเองก็เป็นบ่อย ๆ คงไม่มีใครแฮปปี้กับความไม่แน่นอนหรอกมั้ง เอ๊ะ หรืออาจจะมี
มีไม่มีไม่ใช่ประเด็น ที่เป็นประเด็นคือ เมื่อเจอความไม่แน่นอนเกิดขึ้นแล้วเราจัดการมันยังไง อย่างแรกที่ต้องทำคือ หัวเสียซะให้เสร็จก่อน แล้วก็ตั้งสติซะ มี 2-3 เรื่องที่เราต้องทำเวลาที่เจอกับความไม่แน่นอน
ข้อแรก มองให้ออกว่าข้อดีข้อเสียของความไม่แน่นอนนั้นไปตกที่ตกไหนบ้าง ข้อดีที่เราจะได้จากสถานการณ์นั้น ข้อเสียที่เราจะเจอจากสถานการณ์นั้น แล้วมองไปที่คนอื่น ๆ ด้วย ใครจะได้เปรียบเสียเปรียบจากเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นบ้าง
ข้อสอง วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์ให้ออก คิดให้ได้ว่าเดี่ยวอะไรจะเกิดขึ้นก่อน แล้วอะไรจะตามมา ฝึกคิดและเรียงลำดับให้เป็น เพื่อที่เราเองจะได้ไปอยู่ได้ถูกที่ถูกทาง อย่างน้อยคือเสียเปรียบให้น้อยที่สุด อย่าทำตัวบังเอิญเหมือนในละคร ที่ความบังเอิญพาเราซวยซ้ำซวยซ้อน เพราะฉนั้น มองให้ออกและคิดให้เป็นระบบ
ข้อสาม ประเมินตัวเองหน่อย ข้อนี้ต้องบอกว่าบุญเก่าเรามีแค่ไหน ผลงานย้อนหลังเราน่าประทับใจหรือเปล่า แถวหน้า หรือกลาง ๆ หรือห้อยท้ายตาราง ไม่ได้หมายความว่าห้อยท้ายหรือแถวหน้าจะได้เปรียบเสียเปรียบเสมอไป แค่ประเมินให้รู้สถานะเราไว้ให้เรา Active อยู่ตลอด เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าคือ เรารู้มั้ยว่าความไม่แน่นอนที่เกิดขึั้นตอนนี้ ต้องการคนเก่งแบบไหน เรามีความเก่งนั้นอยู่หรือเปล่า ซึ่งก็แปลว่า ถึงเราจะห้อยท้ายตารางเดิมแต่เราเก่งเรื่องนี้อยู่นี่หว่า
เสนอตัวออกมาให้โลกรู้ซะ อย่านิ่งเงียบอยู่ท้ายตารางเฉย ๆ
ที่เขียนมานี่เหมือนง่ายนะ แต่ทำจริง ๆ ไม่ได้ง่ายหรอก ผมเจอความไม่แน่นอนแบบนี้มาหลายครั้ง ก็มีทั้งที่เอาตัวรอดได้ ทั้งที่แป้ก ผสม ๆ กันไป แต่อย่างน้อย ๆ เราก็ไม่ได้แป้กไปซะทุกรอบ
อย่างที่เรารู้กันดีว่าตอนนี้เรายังอยู่ในสถานการณ์ที่ยังงง ๆ งานที่เราเจอและเราต้องทำมันก็อาจจะยากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็นะ ยิ่งเก่งแค่ไหนเราก็จะยิ่งได้งานที่ยากมากขึ้นเท่านั้น ทีนี้ก็อยู่ที่ทัศนคติของเราด้วยเหมือนกันว่าเรามองความยากนั้นเป็นอะไร
จะมองว่า เฮ้ย ทำไมคนอื่นได้แต่งานง่าย ๆ มันก็มองได้ แต่เราก็อาจจะต้องรู้ผลที่เกิดขึ้นจากการมองและแสดงออกแบบนั้น เมื่อไปเทียบกับอีกคนที่มองว่าความยากคือความท้าทาย โยนมาเลยพี่ ผมพร้อมจะฟาดเต็มที่แล้ว
ส่วนบริษัท ผู้บริหาร และ HR สิ่งที่ต้องมี ต้องคิดและต้องทำให้วันที่งานยากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแรกคือความจริงใจ ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน สร้างแรงจูงใจที่ดีให้กับพนักงาน แล้วก็แบ่งสันปันส่วนของภาระงาน ความยากเหล่านั้นให้เหมาะสมด้วย
เตือนไว้ก่อนนะ คนเก่ง ๆ หลายคนท้อจนกลายเป็นคนไม่เก่งมาก็มาก เพราะโดนอัดงานยาก ๆ จนล้นมือ บริษัทจะเอาเปรียบเกินไปโดยไม่ยอมเสี่ยง ยอมพลาดในงานอะไรเลย คือ ไม่ยอมเอางานยากไปให้คนอื่นทำ แต่ก็ไม่ยอมจ้างคนเก่งมาเพิ่ม เพราะกลัวว่าต้องเสียเงินเพิ่มเข้าไปอีก
ยิ่งทำอย่างนี้ บริษัทจะเสี่ยงมากกว่าเดิมซะอีกนะ
#HRTheNextGen
#มนุษย์เงินเดือน #HR2021
「คนเก่ง คือ」的推薦目錄:
- 關於คนเก่ง คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的精選貼文
- 關於คนเก่ง คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於คนเก่ง คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的精選貼文
- 關於คนเก่ง คือ 在 นิยามของคำว่า “คนเก่ง” และ “คนดี” คืออะไรในมุมมองของ ... - Facebook 的評價
- 關於คนเก่ง คือ 在 5 คุณสมบัติของ 'คนเก่งและแตกต่าง' ในที่ทำงาน | Mission To The ... 的評價
คนเก่ง คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
บราซิล ประเทศที่เคยเติบโตสูง แต่ตอนนี้คนอยากย้ายออก /โดย ลงทุนแมน
หลายทศวรรษที่ผ่านมา บราซิล เคยได้รับการจับตามองว่า จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงประเทศหนึ่งของโลก เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างโดดเด่น
อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าในระยะเวลาไม่ถึง 10 ปีมานี้ ความหวังนั้นค่อย ๆ ริบหรี่ลงไปเรื่อย ๆ
เศรษฐกิจของบราซิลกลับเติบโตช้าลง จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น
เรื่องนี้ทำให้ชาวบราซิลจำนวนมาก เริ่มสิ้นหวังและตัดสินใจอพยพออกนอกประเทศ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “สมองไหล”
เรื่องนี้เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2000-2011 บราซิลมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ เร็วที่สุดประเทศหนึ่งในโลก โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว มากกว่า 5% ต่อปี
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในปี 2012 GDP ของบราซิลสูงถึง 86.2 ล้านล้านบาท ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า GDP ของสหราชอาณาจักร
และเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 6 ของโลก ณ เวลานั้น
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนบราซิล เพิ่มขึ้นจากราว 123,600 บาท ในปี 2000 มาอยู่ที่ราว 426,700 บาท ในปี 2011
จุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของบราซิลนั้นเกิดมา ตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 1990 บราซิลหันมาใช้นโยบายเปิดเศรษฐกิจ รับการค้า การลงทุนจากต่างประเทศ
ขณะที่ในปี 1995 บราซิลได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)
ทั้ง 2 ปัจจัย ทำให้มีการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศของบราซิลนั้นเพิ่มสูงขึ้น มูลค่าการค้าของประเทศที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการจ้างงานและการลงทุนต่าง ๆ ภายในประเทศเกิดขึ้นตามไปด้วย
การเปิดประเทศยังช่วยให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตในประเทศ
นอกจากนั้นแล้ว รัฐบาลบราซิลในตอนนั้น
ยังได้แสดงเจตจำนงในการชำระหนี้ที่กู้จากต่างประเทศ
ทำให้ภาระหนี้สินที่บราซิลกู้ยืมจากต่างประเทศ จากเดิมที่ประมาณ 59% ต่อ GDP ในปี 2003 ลดลงจนเหลือ 12% ต่อ GDP ในปี 2009
ภาระหนี้สินที่กู้จากต่างประเทศที่ลดลงจนเหลือสัดส่วนต่ำ ช่วยสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุนมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลให้โดดเด่นมากในเวลานั้น
จนบราซิลเคยถูกจับตามองว่า เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงทางด้านเศรษฐกิจ
บราซิล ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีชื่อว่า “BRIC” ซึ่งประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน ก่อนที่จะเพิ่มประเทศแอฟริกาใต้เข้ามาอีกในปี 2010 และใช้ชื่อว่า “BRICS” ในปัจจุบัน
แต่ใครจะรู้ว่า นับจากนั้นเศรษฐกิจของบราซิลก็เริ่มประสบปัญหา
GDP ของบราซิล ในปี 2020 ลดลงมาเหลือ 47.6 ล้านล้านบาท จากที่เคยสูงกว่า 86 ล้านล้านบาท ในช่วงพีกคือปี 2011
ถ้าถามว่าอะไรที่ทำให้อดีตประเทศดาวรุ่งอย่างบราซิล กลับต้องเข้าสู่ยุคแห่งความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ปัจจัยก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น
- ประสิทธิภาพในการผลิตที่ต่ำ สวนทางกับค่าจ้างแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น
ข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า ในช่วงปี 2003-2014 ค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศเพิ่มขึ้นกว่า 68% ในขณะที่อัตราการผลิตต่อคนงานเพิ่มขึ้นเพียง 21%
พูดง่าย ๆ คือ ต้นทุนค่าแรงของธุรกิจเพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพและผลผลิตนั้นเพิ่มขึ้นน้อยกว่ามาก ซึ่งการขาดผลิตภาพในการผลิตส่วนสำคัญเกิดมาจากการลงทุนในนวัตกรรมของประเทศที่ต่ำ
- ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
โดยเฉพาะท่าเรือ ถนน หนทาง ทำให้เกิดปัญหาในการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ข้อมูลของ World Bank ระบุว่า ความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของบราซิลนั้น ถูกจัดอันดับอยู่ที่ 56 จาก 160 ประเทศทั่วโลก
ขณะที่ข้อมูลจาก International Trade Administration ของสหรัฐอเมริการะบุว่า การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่ภายในบราซิลนั้นใช้รถบรรทุก ซึ่งเมื่อโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางไม่ค่อยมีความพร้อม ก็ทำให้เกิดต้นทุนค่าขนส่งที่สูง
- ปัญหาคอร์รัปชันในบราซิล ถือว่ารุนแรงไม่แพ้หลายประเทศในแถบอเมริกาใต้
ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index) ของประเทศนั้นได้คะแนนน้อยลงเรื่อย ๆ (ยิ่งน้อยลงคือยิ่งภาพลักษณ์ไม่ดีในเรื่องคอร์รัปชัน)
ปี 2012 บราซิลได้ 43 คะแนน และลดลงเหลือเพียง 38 คะแนนในปี 2020
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปัญหาการคอร์รัปชันในบราซิลไม่เพียงแต่ยังคงอยู่ แต่กลับเลวร้ายลงเรื่อย ๆ
ปัญหาคอร์รัปชัน มีผู้ที่เกี่ยวข้องหลายระดับ ไม่เว้นแม้แต่ผู้นำสูงสุดของประเทศอย่างประธานาธิบดี อย่างเช่น ในปี 2015 อดีตประธานาธิบดีลูอิซ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ที่ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
โดยเป็นการรับสินบนเพื่อแลกกับ การอนุมัติให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง เข้าไปรับงานก่อสร้างจากบริษัทน้ำมันแห่งชาติที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่อย่างปิโตรบาส รัฐวิสาหกิจน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ
ปัญหาคอร์รัปชันที่อื้อฉาวของนักการเมือง นักธุรกิจ สร้างความไม่พอใจให้แก่ชาวบราซิลจำนวนมาก
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่งชาวบราซิลใน 3 รัฐทางใต้ ที่ไม่พอใจการบริหารและเรื่องคอร์รัปชันของรัฐบาล ร่วมลงคะแนนประชามติเพื่อแสดงความต้องการแยกประเทศ ภายใต้แคมเปน “The South is My Country”
การประท้วง การก่อจลาจล และความไม่สงบเรียบร้อยทางการเมือง เกิดขึ้นบ่อยครั้งในบราซิล
ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้บราซิลที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว กลับสะดุด จนเหมือนกลายเป็นคนป่วยแห่งทวีปอเมริกาใต้ไปแล้วในตอนนี้
ความเปราะบางทางเศรษฐกิจแบบนี้ ยิ่งมาเจอผลจากการระบาดของโควิด 19 ก็ยิ่งทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย
ปี 2014 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 6.0 ล้านคน
ปี 2021 จำนวนผู้ว่างงานในบราซิลเท่ากับ 14.7 ล้านคน
จำนวนผู้ว่างงานสูง เศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้คนรุ่นใหม่จำนวนมากรู้สึกว่า ตนเองต้องการแสวงหาชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม
ข้อมูลจาก Migration Policy Institute (MPI) ระบุว่า นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา มีชาวบราซิลอพยพออกนอกประเทศเฉลี่ยปีละกว่า 100,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย และปัญหาความขัดแย้งมากมายในประเทศที่ดูไร้ทางออก
ประเด็นคือ ผู้ที่อพยพออกไป ได้รวมแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ จนทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Brain Drain” หรือสมองไหล
ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ประเทศหนึ่งกำลังสูญเสียคนเก่งไปจากประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นต้องการออกไปทำงานและอาศัยในประเทศที่ทำให้พวกเขามีรายได้สูงกว่า สภาพการทำงานที่ดีกว่า
ดังนั้น อนาคตของบราซิลหลังจากนี้ จึงเกิดเครื่องหมายคำถามตัวใหญ่ของคนในประเทศตามมาว่า แล้วประเทศจะพัฒนาและก้าวหน้าจากวันนี้ไปได้อย่างไร ?
คนเก่ง ๆ ที่หมดหวังกับประเทศและอพยพออกไป
ทำให้บราซิลกำลังมีบุคลากรแรงงานที่มีความรู้ ความสามารถ ยิ่งทำให้มีการสร้างสรรค์ความรู้ นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการพัฒนาประเทศ ลดน้อยลงเรื่อย ๆ
รู้ไหมว่า วันนี้ สัดส่วนนักวิจัยต่อประชากร 1 ล้านคนของบราซิล มีอยู่เพียง 700 คนเท่านั้น
ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจอื่น
- จีน 1,071 คน
- รัสเซีย 3,191 คน
- สหราชอาณาจักร 4,269 คน
- สหรัฐอเมริกา 4,663 คน
ตอนนี้ ยังไม่มีใครรู้ว่า ปัญหาสมองไหลที่บราซิลกำลังเจออยู่นั้น จะรุนแรงมากกว่านี้ในอนาคตหรือไม่
และรัฐบาลจะหาทางหยุดปัญหานี้ พร้อมทั้งแก้ไขปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ฝังลึกอยู่ในประเทศได้อย่างไร
แต่เรื่องนี้ ก็ถือเป็นกรณีศึกษา ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยควรต้องจับตามอง
ว่าประเทศที่เคยรุ่งเรือง เปี่ยมไปด้วยความหวัง
ทุกอย่างก็พังทลายลงได้ หากการบริหารจัดการไม่มีประสิทธิภาพ และเต็มไปด้วยปัญหาคอร์รัปชัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/country/BR
-https://en.wikipedia.org/wiki/BRIC
-https://ditp.go.th/contents_attach/81555/81555.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazil
-https://www.migrationpolicy.org/article/migration-brazil-making-multicultural-society
-https://en.wikipedia.org/wiki/Brazilian_diaspora
-https://www.worldbank.org/en/country/brazil/publication/brazil-how-resume-growth-keep-social-progress
-https://www.trade.gov/knowledge-product/brazil-infrastructure
-https://tradingeconomics.com/brazil/unemployed-persons
-https://www.if.org.uk/2020/07/06/politics-covid-brain-drain-in-brazil/
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/table/bra
-https://www.bbc.com/thai/international-41544397
-http://chartsbin.com/view/1124
คนเก่ง คือ 在 HR - The Next Gen Facebook 的精選貼文
QGEN - HR Practice Provider
แบบไหนที่เรียกว่า Talent คนเก่งที่องค์กรเราต้องการหน้าตาเป็นแบบไหน เราตอบคำถามนี้ได้ชัดเจนแล้วหรือยัง
หนึ่งในคำถามที่ผมเองจะถามกับผู้บริหารอยู่บ่อย ๆ เมื่อมีโอกาส ถ้าเราคิดเหมือนกันว่าเราอยากได้ Talent มาขับเคลื่อนองค์กร จะ Corporate จะ SME จะ StartUp ก็อยากได้ Talent และก่อนที่จะถอดใจว่า องค์กรแบบเราจะมี Talent ที่ไหนสนใจ ก็ต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า Talent ของเราเป็นแบบไหนกันแน่
แน่นอนว่าถ้า Talent ของเราซ้ำกับตลาด เราก็ต้องยอมรับให้ได้ว่าทั้ง Attract และ Retain เราต้องใช้ Budget ไม่น้อยเลยในการแข่งขัน แต่ก็นั่นล่ะครับ เอาให้ชัวร์ก่อนว่า Talent ที่เราอยากได้ซ้ำกับในตลาดหรือไม่ซ้ำกันแน่
คิดให้ดี บางทีเราอาจจะเจอมุมมองใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน
คำถามแรกที่ผมอยากจะให้ลองตอบดู เผื่อจะเป็นตัวช่วยให้เรากำหนดกลยุทธ์บริหารคนให้ชัดเจนขึ้น
Talent สำหรับองค์กรในแบบของเรา เป็นสิ่งที่คนคนนั้นต้องมีติดตัวมาตั้งแต่แรกแบบเต็มร้อยเลย หรือว่ามีให้เห็นแต่ซัก 20 % ที่เหลือพัฒนาได้
พอได้แนวทางที่จะไปทำอะไรต่อจากคำถามนี้มั้ยครับ
ถ้าองค์กรของเราเชื่อว่า Talent คือ Natural ต้องมีมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่มาพัฒนาเอาระหว่างที่เป็นพนักงาน นั่นหมายความว่า องค์กรควรจะต้องไปให้ความสำคัญกับ Talent Acquisition มากกว่า Talent Development การตอบคำถามเหล่านี้ให้ชัดเจน อย่างน้อยก็ช่วยทำให้เราเห็นว่ากลยุทธ์และการบริหารจัดการคนที่องค์กรทำอยู่ตอนนี้ สมเหตุสมผล และสอดคล้องกันอยู่หรือเปล่า
Talent Acquisition / Talent Development / Talent Management / Talent Pool เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ Talent ซึ่งทั้งหมดนี้ ผู้บริหาร Leader และ HR น่าจะพอคุ้นเคยกันอยู่บ้าง หรืออาจจะไม่คุ้นเคยที่มันเรียกชื่อว่าแบบนี้ แต่ในความเป็นจริงผมค่อนข้างมั่นใจว่าถ้าลองไปหาข้อมูลดู หลายองค์กรอาจจะได้ลองดำเนินการไปแล้ว โดยที่อาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันมีชื่อเรียก
อย่ายึดติดกับชื่อเรียก สนใจที่ Process และผลลัพธ์จะดีกว่า ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าองค์กรใหญ่ที่มีพร้อมเท่านั้นถึงจะสร้างความได้เปรียบในกลยุทธ์บริหารคนได้
สิ่งที่ผมอยากจะชวนคุยกันก็คือ เครื่องมือ Talent ต่าง ๆ ที่ผมกล่าวถึง อาจจะไม่มีประโยชน์เลย หรือเดินหน้าไปแบบผิดเพี้ยน ถ้าหากเราไม่กำหนดนิยาม Talent หรือ คนเก่ง ให้ชัดเจน แล้วถ้าเรานิยามไม่ชัด เราก็จัดกลุ่มไม่ได้ กลุ่มไหน Talent กลุ่มไหน Average
แล้วทำไมต้องจัดกลุ่ม เพราะองค์กรมีทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินอยู่จำกัด ถ้าจำเป็นต้อง Focus คนเก่งก็จะเป็นกลุ่มคนแรก ๆ ที่องค์กรต้องลงไปทำอะไรซักอย่างในแต่ละสถานการณ์ เช่น ถ้าองค์กรต้องลดขนาด Talent คือกลุ่มคนที่องค์กรจะพยายามอย่างมากให้อยู่กับองค์กรต่อไป
ถามอีกรอบ Talent ในความหมายขององค์กรของเราเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากองค์กรอื่น
ถ้ายังนึกไม่ออก หรือยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจน ผมมีหลักการมาเป็นแนวทางให้ 2 หลักการ
หลักการแรกเป็นการให้นิยามของ Dave Ulrich ซึ่งบอกว่า Talent ว่ามีองค์ประกอบของ 3C คือ Competency คือทักษะ ความรู้ความสามารถ ทัศนคติที่องค์กรต้องการ, Commitment คือมีความพยายามที่จะทำให้ได้อย่างที่รับปากไว้ และ Contribution คือทำงานแบบที่สนใจความก้าวหน้าขององค์กรก่อนความก้าวหน้าของตนเอง
อีกหนึ่งหลักการของ QGEN ซึ่งมี 3C เช่นกันคือ มี Character และ Capability ที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กระ และมีนิสัยหรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาสอดคล้องกับ Design Culture ขององค์กร
แค่สองหลักการทั้ง Dave Ulrich และ QGEN มีสิ่งที่จะต้องกระทุ้งผู้บริหารอยู่บ่อย ๆ ก็คือ คนเก่งหรือ Talent ยังเป็นคนเดิมอยู่มั้ย นี่คือที่มาว่าทำไมเราควรจะ Review ความหมายของ Talent กันในทุกครั้งที่องค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลง
ถ้าความเก่งหรือ Talent ไม่คงที่ นั่นก็หมายความว่าคนที่เคยเป็น Talent อาจจะไม่ใช่ Talent อีกต่อไป แล้วกระบวนการในการบริหารหรือ Talent Management สอดคล้องกับนิยามของคำว่า Talent แค่ไหน รวมไปถึงการประเมินเพื่อชี้ให้ชัดด้วยว่าใครคือ Talent จะทำอย่างไร ลองดูง่าย ๆ จาก 2 แนวทาง เราจะเห็นว่าไม่ได้ใช้ตัววัดที่เป็น Numeric เท่านั้น แต่มีหลักการในเรื่องของพฤติกรรมด้วย
อีกหนึ่งคำถามที่น่าสนใจและคำตอบที่ได้ก็ควรระบุไว้ในเพื่อเป็นเงื่อนไขในการกำหนดกระบวนการบริหาร Talent
จำเป็นมั้ยที่ทุกระดับ หรือทุกตำแหน่งต้องมี Talent ?
ไม่ใช่เรื่องผิดเลยถ้าองค์กรเราจะกำหนดว่า Talent ขององค์กร คือพนักงานในระดับผู้จัดการที่มีได้ผลงานดี โดยวัดจากการที่ได้ A ต่อเนื่องไม่น้อยกว่า3 ปี หรืออาจจะเป็น พนักงานในระดับ Supervisor ขึ้นไปที่มีคะแนน TOEIC ไม่ต่ำกว่า 800 คะแนน
ไม่มีอะไรผิดสำหรับการนิยาม แต่น่าจะผิดถ้าหากไม่นิยามให้ชัดเจน
ก่อนจะเริ่มพัฒนา หรือรักษา Talent ต้องทำให้ชัดก่อนว่า Talent Definition ของเราคืออะไร
#QGEN
#TalentManagement #PeopleStrategy
#HRTheNextGen
คนเก่ง คือ 在 5 คุณสมบัติของ 'คนเก่งและแตกต่าง' ในที่ทำงาน | Mission To The ... 的推薦與評價
5 คุณสมบัติของ ' คนเก่ง และแตกต่าง' ในที่ทำงาน | Mission To The Moon Remaster EP.71. Mission To The Moon. ... <看更多>
คนเก่ง คือ 在 นิยามของคำว่า “คนเก่ง” และ “คนดี” คืออะไรในมุมมองของ ... - Facebook 的推薦與評價
คืออะไรในมุมมองของคนสรรหา คำว่า “ คนเก่ง ” คือ คนที่มีทั้งความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ในตัวเองที่ตรงกับตำแหน่งงานที่สรรหา ส่วนคำว่า “คนดี ... ... <看更多>