หลักกฎหมายว่าด้วยมรดก
เมื่อบุคคลใดตายและมีการพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินแล้วปัญหาแรกที่จะต้องนำมาพิจารณาก็คือว่า ข้อพิพาทนั้นเกี่ยวเนื่องกับมรดกหรือกองมรดกหรือไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องของมรดกในบรรพ 6 มรดก ไว้ดังนี้คือ
1. ความหมายมรดก
มรดก คือ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ความรับผิดต่างๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
จากความหมายดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ ลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า ค่าแห่งความนิยมที่ถือว่าเป็นทรัพย์สิน หุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท สิทธิเรียกร้องอันมีค่าหรือราคาเป็นเงินได้ หน้าที่และความรับผิด ในกรณีที่เจ้ามรดกเป็นหนี้เกี่ยวกับทรัพย์สินเช่นนี้ เมื่อเจ้ามรดกตายเจ้าหนี้ก็ฟ้องทายาทได้ เช่น คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 1512/2519 สิทธิการเช่าร้านค้าเป็นทรัพย์สินต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายและสัญญา แม้ผู้เช่าโอนไม่ได้โดยผู้ให้เช่าไม่ยินยอมก็แบ่งสิทธินั้นกันได้ เป็นต้น
ส่วนกรณีไม่เป็นมรดกได้แก่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆซึ่งตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวผู้ตายโดยแท้ เช่น สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกินภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
2.ทายาท
ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ทายาทโดยธรรมกับทายาทโดยพินัยกรรม
2.1 ทายาทโดยธรรม
ทายาทโดยธรรมหมายถึง บุคคลที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามกฎหมายในเวลาที่เจ้ามรดกตาย นอกจากนี้ทาโดยธรรมจะต้องเป็นบุคคลธรรมดา ทายาทโดยธรรม ได้แก่บุคคลที่เป็นญาติของผู้ตายที่กฎหมายระบุไว้ว่าได้แก่บุคคลใดบ้าง เพื่อให้ผู้นั้นมีสิทธิได้รับมรดกมี 6 ลำดับ คือ
2.1.1 ผู้สืบสันดาน
ผู้สืบสันดาน หมายถึง ผู้สืบสายโลหิตโดยตรงลงมาของเจ้ามรดก ได้แก่ บุตร หลาน เหลนและสืบต่อกันเรื่อยไปจนขาดสายโดยมีข้อจำกัดเพียงแต่ว่า ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นที่สนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่ นอกจากนี้ผู้สืบสันดานดังกล่าวต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นผู้สืบสันดานชั้นบุตรได้แก่
1.บุตรที่เกิดจากบิดมารดาที่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย
2.บุตรที่เกิดจากบิดาได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าเป็นบุตรก่อนบิดาตาย
3.บุตรที่ศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรของบิดาก่อนตาย
4.บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้แสดงรับรองว่าเป็นบุตร
5.บุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1598/27
ข้อสังเกต การรับรองบุตรนอกกฎหมายต้องกระทำโดยบุคคลผู้เป็นบิดาโดยตรงหรือโดยพฤติการณ์ที่แสดงออกว่าได้รับรองเด็กนั้นว่าเป็นบุตรแล้ว การรับรองของบิดาดังกล่าวสามารถรับรองบุตรนอกกฎหมายที่อยู่ในครรภ์มารดาได้ด้วย
2.1.2 บิดามารดา
บิดามารดา หมายถึง บิดามารดาที่เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายและหมายความรวมถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรภายหลังจากการเกิด ให้ถือว่าบิดามารดาที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร แต่อย่างไรก็ตามบิดาจะรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายหรือบุตรที่รับรองแล้วไม่ได้รวมทั้งไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม
2.1.3 พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน
พี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน หมายถึง พี่น้องตามความเป็นจริงซึ่งต่างเป็นบุตรของบิดามารดาเดียวกัน โดยบิดาจะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ไม่สำคัญ
2.1.4 พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน
พี่น้องร่วมบิดา หรือมารดาเดียวกัน หมายถึงพี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน เช่น พี่น้องต่างบิดาหรือมารดา แต่มีมารดาหรือบิดาเดียวกัน เป็นต้น
2.1.5 ปู่ย่า ตายาย
ปู่ย่า ตายาย หมายถึง บุพการีโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ ปู่ คือบิดาของบิดา ย่า คือ มารดาของบิดา ตา คือ บิดาของมารดา ยาย คือ มารดาของมารดา
2.1.6 ลุง ป้า น้า อา
ลุง ป้า น้า อา หมายถึง ลุง ป้า น้า อา โดยไม่จำกัดว่าเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมแต่มารดาของบิดามารดาเจ้ามรดก ก็มีสิทธิเท่าเทียมกันกับพี่น้องร่วมบิดามารดาของเจ้ามรดก ถือว่าเป็นลำดับชั้นเดียวกันหมด
ข้อสังเกต คู่สมรส คือสามีภรรยาที่มีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรมในชั้น (1) และ (2)
2.2 พินัยกรรม
พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนากำหนดการเพื่อความมั่นคงในเรื่องทรัพย์สิน หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อบุคคลนั้นถึงแก่ความตายการทำพินัยกรรมให้กับทายาทโดยพินัยกรมได้ 6 แบบ ผู้ตายเลือกทำแบบใดก็ได้ คือ
2.2.1 พินัยกรรมแบบทั้งฉบับ
พินัยกรรมแบบทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมเขียนด้วยลายมือตนของทั้งฉบับ ลงวัน เดือน ปี และลงลายมือชื่อของตนเอง ไม่จำเป็นต้องมีพยานลงลายมือชื่อในพินัยกรรม แยกพิจารณาดังนี้
1.ต้องทำเป็นหนังสือจะเขียนหรือพิมพ์ก็ได้
2.ต้องลง วัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น
3.ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน พร้อมกัน หรือจะพิมพ์นิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนในขณะนั้น
4.พยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมลงชื่อต่อหน้านั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น พยาน 2 คนนี้ อาจเป็นพยานคนเดียวกับที่รับรองลายพิมพ์นิ้วมือผู้ทำพินัยกรรมก็ได้
5.การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมนั้น
2.2.2 พินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือตนเอง
พินัยกรรมแบบเขียนด้วยลายมือตนเองทั้งฉบับ มีข้อกำหนดตามกฎหมายไว้ดังนี้
1.ต้องทำเป็นหนังสือ
2.ต้องลงวัน เดือน ปี
3.ผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียนข้อความทั้งหมดด้วยมือตนเอง จะพิมพ์แทนการเขียนไม่ได้
4.ต้องลงลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรม จะใช้ตรา พิมพ์นิ้วมือหรือแกงไดแทนการลงลายมือชื่อไม่ได้
5.การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะทำด้วยมือตนเองและลงลายมือชื่อกำกับไว้
2.2.3 พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง คือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำพินัยกรรมให้ อธิบายได้ดังนี้
1.ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมแก่นายอำเภอต่อหน้าพยานอีก อย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
2.นายอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบลงไว้แล้วอ่านข้อความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
3.เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานเห็นว่าข้อความที่จดตรงกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมแล้ว ก็ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้
4.ให้นายอำเภอลงลายมือชื่อและวันเดือนปี พร้อมทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่า พินัยกรรมนั้นทำถูกต้องตาม 1-3 แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
5.การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยานและนายอำเภอได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
2.2.4 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ กฎหมายกำหนดให้ทำดังนี้
1.ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม ซึ่งพินัยกรรมจะเขียนอย่างก็ได้ ขอให้มีข้อความเป็นพินัยกรรมก็ใช้ได้ ไม่ต้องสมบูรณ์ตามแบบพินัยกรรม
2.ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
3.ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกไปแสดงต่อกรมการอำเภอและพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรมนั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนาของผู้เขียนให้ทราบด้วย
4.เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรมและวันเดือน ปี ที่นำพินัยกรรมมาแสดงไว้บนซองนั้น และประทับตราตำแหน่งแล้วให้กรมการอำเภอผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อบนซองนั้น
5.การขูดลบ ตก เติม หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
2.2.5 พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาปกติแล้วพินัยกรมต้องทำเป็นหนังสือจะทำด้วยวาจาไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่ามีพฤติการณ์พิเศษ เช่น ตกอยู่ในอันตราย ใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม โดยจะต้องทำดังนี้
1.ผู้ทำพินัยกรรมต้องกล่าวข้อความที่เป็นพินัยกรรมด้วยวาจา
2.ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน ซึ่งอยู่พร้อมหน้ากัน ณ ที่นั้น
3.พยาน 2 คน ต้องไปแสดงต่อนายอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวันเดือนปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ด้วย
4.นายอำเภอต้องจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยาน 2 คน นั้นต้องลงลายมือชื่อไว้หรือพยานจะพิมพ์ลายนิ้วมือก็ได้ แต่ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ 2 คน
2.2.6 พินัยกรรมตามแบบต่างประเทศ
พินัยกรรมตามแบบต่างประเทศ กฎหมายกำหนดให้คนไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ จะทำตามแบบซึ่งกฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมกำหนดไว้หรือจะทำตามแบบในกฎหมายไทยก็ได้ ถ้าพินัยกรรมทำตามแบบกฎหมายไทย กฎหมายให้อำนาจและหน้าที่ของนายอำเภอในการทำพินัยกรรมตกอยู่กับ
1.พนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทยกระทำการตามขอบอำนาจของตน
2.พนักงานใดๆซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของประเทศนั้นที่จะบันทึกข้อแจ้งความไว้เป็นหลักฐานได้
ข้อสังเกต ผู้เป็นพยานในการทำพินัยกรรมนั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
ก. ต้องไม่เป็นผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้
ความสามารถ
ค. ต้องไม่เป็นบุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง
ง. พยานและคู่สมรสของพยานจะเป็นผู้รับพินัยกรรมไม่ได้
3.การกำจัดมิให้รับมรดก
การกำจัดมิให้รับมรดก มีได้ 2 กรณี คือ
3.1 การถูกกำจัดฐานยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก
ทายาทคนใดยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก ทายาทคนนั้นถูกกำจัดมิให้รับมรดก เป็นการกระทำที่เกิดขึ้นภายหลังเจ้ามรดกตายแล้ว ต้องประกอบด้วย 2 ประการ คือ
1.ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกและ
2.การยักย้ายหรือปิดบังนั้นกระทำโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้ทายาทอื่นเสื่อมเสียประโยชน์
3.2 การถูกกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควร
ทายาทอาจถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกฐานะเป็นผู้ไม่สมควรรับมรดก ซึ่งอาจเกิดก่อนหรือหลังเจ้ามรดกตายแล้วก็ได้ ผู้สืบสันดานของผู้ถูกกำจัดมีสิทธิรับมรดกแทนที่ได้ผู้ไม่สมควรได้รับมรดก ดังนี้
1.ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่า ได้เจตนากระทำหรือพยายามกระทำให้เจ้ามรดกหรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
2.ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่ากระทำผิดโทษประหารชีวิตและตนเองกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จหรือพยานเท็จ
3.ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนาแต่มิได้นำข้อความขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทางที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบ 16 ปีบริบูรณ์หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือบุพการีหรือผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
4.ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำหรือเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม แต่บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกหรือไม่ให้กระทำการดังกล่าวนั้น
5.ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
ข้อสังเกต ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้นได้รับมรดกหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วการถูกกำจัดมิให้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของทายาทผู้กำจัดจึงสืบมรดกของเจ้ามรดกต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว
4.การตัดมิให้รับมรดก
การตัดมิให้รับมรดก เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดเพื่อมิให้รับมรดกก็ได้โดยแสดงเจตนาชัดแจ้งด้วยการทำพินัยกรรมหรือโดยทำเป็นหนังสือมอบให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การตัดมิให้รับมรดกมีหลักเกณฑ์ดังนี้
1.ต้องแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งและระบุตัวทายาทผู้ถูกตัดไว้ให้ชัดเจน
2.การตัดมิให้รับมรดกต้องทำตามแบบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
1) โดยพินัยกรรม การตัดทายาทโดยพินัยกรรมจะต้องระบุตัวทายาทให้ชัดแจ้งโดยต้องทำตามแบบมิฉะนั้นเป็นโมฆะ
2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ คือมอบต่อนายอำเภอ ซึ่งทำการระบุตัวทายาทให้ชัดแจ้ง
ผลของการตัดมิให้รับมรดก เป็นการตัดทั้งสายจะรับมรดกแทนที่กันไม่ได้ การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้ โดยการถอนโดยพินัยกรรมในกรณีการตัดทายาทโดยพินัยกรรมหรือทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
5.การสละมรดก
การสละมรดก ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกจะสละมรดกไม่รับมรดกตามสิทธิของตนก็ได้ รวมทั้งผู้รับพินัยกรรมที่เป็นทายาทโดยพินัยกรรมจะไม่รับมรดกตามพินัยกรรมก็ได้ โดยทำเป็นหนังสือไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การสละมรดกห้ามสละมรดกในภายหน้า และยังห้ามจำหน่ายจ่ายโอนซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการสืบมรดกของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย ซึ่งหมายถึงการ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ สัญญาประนีประนอมยอมความหรือสัญญาอื่นที่มีผลให้โอนไปซึ่งสิทธิในการจะรับมรดกของทายาทด้วย
การสละมรดกจะกระทำได้หลังจากเจ้ามรดกตายแล้ว และผู้สละเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นด้วย หากเจ้ามรดกยังไม่ตายก็ย่อมจะไม่มีมรดกตกทอดเพื่อให้ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกได้นอกจากนี้การที่ทายาทสละมรดกนั้นมีให้ผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตายด้วย
การสละมรดกมีผล เช่น การสละมรดกนั้นจะถอนเสียมิได้ การที่ทายาทสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย เป็นต้น
6. พระภิกษุ
พระภิกษุ หมายความถึง บุคคลที่อุปสมบทในศาสนาพุทธ ไม่รวมถึงแม่ชีและสามเณร พระภิกษุจะเรียกร้องหรือฟ้องร้องเรื่องมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เช่น คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 470/2535 โจทก์ฟ้องว่าหลังจาก ห. ตาย โจทก์และ ล. ได้รับมรดกพิพาทและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยก ต่อมาโจทก์ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุและ ล.ตาย จำเลยซึ่งเป็นบุตรของ ล.ไม่ขออก น.ส.3 ก.เป็นของตนฝ่ายเดียว ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยแบ่งที่พิพาทให้ เป็นกรณีโจทก์ฟ้องในฐานะที่โจทก์เป็นเจ้าของรวมมิใช่ฐานะเป็นทายาทโดยธรรม เว้นเสียแต่จะได้สึกจากสมณะเพศ และพระภิกษุเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
ส่วนทรัพย์สินของพระภิกษุ ถ้าได้มาระหว่างที่อยู่ในสมณะเพศจะตกกับวัด เช่น คำพิพากษาของศาลฎีกาที่3712/2526 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ ผ.จดทะเบียนยกให้พระภิกษุ ฮ. ระหว่างเวลาที่อยู่สมณะเพศ เมื่อพระภิกษุ ฮ. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสมบัติของวัดโจทก์ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ ฮ.
แต่ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนการสมณะเพศไม่ตกอยู่กับวัดแต่ตกอยู่กับทายาท เช่นคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 273/2475 พระภิกษุได้รับมรดกที่ดินก่อนอุปสมบท แต่มาโอนใส่ชื่อในโฉนดเมื่ออุปสมบทแล้ว เมื่อพระภิกษุมรณะลงที่ดินหาตกเป็นของอารามไม่
7.ผู้จัดการมรดก
ผู้จัดการมรดก คือ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายเพื่อนำมาแบ่งให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย โดยผู้ตาย ทำพินัยกรรมตั้งผู้จัดการมรดกไว้ หรือทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียได้ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
บุคคลที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้นั้น ได้แก่
1.ผู้นั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ
2.บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
3.บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นล้มละลาย
การจัดตั้งผู้จัดการมรดกแยกพิจาณาได้ดังนี้คือ
8.อายุความมรดก
อายุความมรดก คือ กำหนดอายุความฟ้องขอแบ่งมรดกในฐานะที่มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม หรือเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่จะต้องฟ้องร้องภายในอายุความ มิฉะนั้นอาจถูกยกฟ้องเพราะคดีขาดอายุความ ส่วนการฟ้องเกี่ยวกับความรับผิดของผู้จัดการมรดก การรอนสิทธิ การขอเพิกถอนพินัยกรรมก็ต้องใช้อายุความในเรื่องนั้นๆ อายุความมรดกแยกพิจารณาได้ดังนี้
1.ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายมีกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
2.ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มีกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
3.เจ้าหนี้ตาย มีกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
「ทายาทโดยธรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於ทายาทโดยธรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ทายาทโดยธรรม คือ 在 การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส | มาตรา ... 的評價
- 關於ทายาทโดยธรรม คือ 在 การรับมรดกที่ดิน ใครมีสิทธิบ้าง ทายาทโดยธรรมคือใคร ... 的評價
- 關於ทายาทโดยธรรม คือ 在 กรมที่ดิน - วิธีการรับมรดกของทายาทโดยธรรม - YouTube 的評價
- 關於ทายาทโดยธรรม คือ 在 มรดกคืออะไร และใครบ้างมีสิทธิรับมรดก #มรดก #คืออะไร - YouTube 的評價
ทายาทโดยธรรม คือ 在 การรับมรดกที่ดิน ใครมีสิทธิบ้าง ทายาทโดยธรรมคือใคร ... 的推薦與評價
การรับมรดกที่ดิน ใครมีสิทธิบ้าง ทายาทโดยธรรมคือ ใคร... ♀️ #มรดก #รับมรดก #กรมที่ดิน #กระทรวงมหาดไทย #ที่ดิน #ความรู้ #เรียนรู้ #สิทธิ #ค... ... <看更多>
ทายาทโดยธรรม คือ 在 กรมที่ดิน - วิธีการรับมรดกของทายาทโดยธรรม - YouTube 的推薦與評價
การรับมรดกที่ดิน : วิธีการรับมรดกของ ทายาทโดยธรรม #รับมรดกที่ดิน #กรมที่ดิน #ทายาทโดยชอบธรรม. ... <看更多>
ทายาทโดยธรรม คือ 在 การแบ่งทรัพย์มรดก ทายาทโดยธรรม ,กฎหมายมรดก คู่สมรส | มาตรา ... 的推薦與評價
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรม มีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา ... <看更多>