*** พบบันทึกเรขาคณิต 3,700 ปี เก่าแก่กว่าพีทาโกรัส ***
นักคณิตศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ศาสตราจารย์ แดเนียล แมนส์ฟิลด์ แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ค้นพบบันทึกที่ใช้หลักการทางเรขาคณิตแบบเดียวกับ “ทฤษฎีสามจำนวนพีทาโกเรียน” สลักอยู่บนแผ่นหินสมัยบาบิโลนอายุ 3,700 ปี
“ทฤษฎีสามจำนวนพีทาโกเรียน” คือ 3 อันดับของจำนวนเต็มบวก ตามสมการ “c กำลังสอง = a กำลังสอง + b กำลังสอง” โดยผลจะออกมาเป็นชุดตัวเลข เช่น (3,4,5) หรือ (6,8,10) สามารถนำไปประโยชน์ได้หลายทาง เช่นใช้เขียนแบบ วัดขนาดที่ หรือคำนวณค่าทางวิศวกรรม
จากการตรวจสอบ แผ่นหินรหัส Si.427 มาจากบาบิโลนยุคเก่า ช่วง 1,900 - 1,600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคของพีทาโกรัสถึง 1,000 ปี สอดคล้องกับทฤษฎีสมัยใหม่ที่ว่า แท้จริงทฤษฎีเรขาคณิตดังกล่าวมีมานานแล้ว เพียงแต่พีทาโกรัสทำให้มันดังเพราะเป็นผู้นำทฤษฎีมาใช้เป็นคนแรกหมู่ชาวกรีกอย่างเป็นรูปธรรม
แผ่นหิน Si.427 ถูกขุดขึ้นครั้งแรกในศตวรรษที่ 19 ก่อนเก็บกรุอยู่ในพิพิธภัณฑ์โบราณคดีอิสตันบูลโดยไม่ได้รับการศึกษาใดๆ จน ศ.แมนส์ฟิลด์ไปพบเข้า และได้แปลงความหมายออกมา
ก่อนหน้านี้ในปี 2017 ศาสตราจารย์แมนส์ฟิลด์และคณะเคยถอดรหัสแผ่นหินบุคบาบิโลน และพบการบันทึกทฤษฎีตรีโกณมิติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมาแล้ว ทำให้เขาเชื่อว่า ต้องมีแผ่นหินจากยุคเดียวกันที่บันทึกทฤษฎีทางเรขาคณิตอยู่อีก จึงได้พยายามออกตามหา และได้พบกับ Si.427 ในที่สุด
ศาสตราจารย์ให้สัมภาษณ์ว่า Si.427 ทำจากดินเหนียว เขียนข้อความด้วยแท่งไม้ เป็นบันทึกของนักประเมินที่ดิน ในแผ่นหินมีการระบุถึงลานกว้าง, บึง, ลานนวดข้าว ฯลฯ รวมถึงส่วนที่ขายออกไปแล้ว คล้ายกับบันทึกของนายหน้าค้าที่สมัยนี้ ทำให้เราได้รู้ว่า ระบบซื้อขายที่อยู่ที่กินมีมานานหลายพันปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้จะไขความหมายบนแผ่นหินได้แทบทั้งหมด ยังมีตัวเลขคู่หนึ่งอยู่ด้านหลัง เขียนว่า 25:49 ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าเลขอื่น ซึ่งศ.แมนส์ฟิลด์ยังไขไม่ได้ว่ามันหมายความว่าอะไรกันแน่ จะเป็นเวลา เป็นการคำนวณขนาดหรืออะไร เราคงต้องตามดูต่อไป
::: อ้างอิง :::
- youtu (ดอต) be/8C6IbJJ-mhM
- news (ดอต) unsw (ดอต) edu (ดอต) au/en/australian-mathematician-reveals-oldest-applied-geometry
- theguardian (ดอต) com/science/2021/aug/05/australian-mathematician-discovers-applied-geometry-engraved-on-3700-year-old-tablet
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過34萬的網紅Petssy Channel,也在其Youtube影片中提到,เมื่อหนุ่มฝรั่งยังไม่รู้ตัวว่าต้องเจอ กับ เจ้าถิ่น ที่หิวตลอดเวลา ยินดีต้อนรับสู่ช่อง เพรชชี่ แชนแนล,petssy channel นี้คือป้าเพรชชี่ และ ในช่องของป้...
บึง คือ 在 The Ghost Radio Facebook 的最佳解答
Back to the ghost radio #ย้อนรอยเรื่องเล่า
#เรื่องภูติพรายน้ำ #คุณมานะ
#เล่าเรื่องหลอน #ฟังเรื่องผี #อ่านเรื่องย้อนรอย
________________________________________
•
เรื่องภูติพรายน้ำ
เล่าโดย : คุณมานะ
https://youtu.be/nYpuIRsJP70
•
เรื่องราวที่เกิดขึ้นในเรื่องเล่านั้น
ต้องย้อนกลับไปถึง 30 ปี
เป็นการเจอเรื่องราวหลอนของชาวบ้าน
ที่มีวิถีชีวิตอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
โดยชาวบ้านต่างลงความเห็นว่า
สิ่งที่พบเจอนั้นคือ...ผีพรายน้ำ
สามารถรับชม รับฟัง ได้ที่ 👇🏻
https://youtu.be/nYpuIRsJP70
•
________________________________________
ตำนานเล่าขานต่อๆกันมาว่า ดวงวิญญาณผีพรายนั้น
เป็นผีจำพวกเดียวกันกับนางไม้ นางตะเคียน
มักจะปรากฏตัวให้ผู้คนเห็นเป็นรูปร่างผู้หญิง
ใส่ชุดสีขาวหรือเป็นดวงไฟเรืองแสง
ผีพรายจะชื่นชอบการอาศัยอยู่ในคลอง หนอง
บึง แม่น้ำ หรือในบ่อน้ำที่มักมีคนเสียชีวิตบ่อยครั้ง
ผีพราย มี 2 ชนิด คือ
1 ผีพรายน้ำจืด จะอยู่ตามห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ
2 ผีพรายทะเล ตามชื่อเลยค่ะ อาศัยอยู่ในทะเล
ผีพรายทะเล..ถ้าอาละวาดจะก่อให้เกิดคลื่นลมพายุ
ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วน ชาวเรือมีวิธีแก้ด้วยการบูชา
แม่ย่านางไว้ที่หัวเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้ผีพรายทะเล
มารบกวน
ช่วงเวลาในการปรากฎตัวของผีพรายคือ
( หกโมงเช้า เที่ยงวัน หกโมงเย็น และเที่ยงคืน )
ความดุร้ายของผีพราย...
ถ้าไปต้องตาเหยื่อรายใดที่กำลังว่ายอยู่ในน้ำ
จะทำให้คนๆนั้นจมน้ำตาย โดยใช้วิธีดึงขา
ให้เกิดเป็นตะคริว หรือใช้เส้นผมที่ยาวไปพันขา
แล้วลากลงไปในน้ำ
เมื่อเหยื่อเสียชีวิตจะนำศพไปซ่อนเอาไว้
จึงทำให้เกิดกรณีคนจมน้ำแล้วหาร่างไม่พบ
จนทำให้ต้องมีการขอขมาเจ้าที่เจ้าทางผีพราย
ที่อาศัยอยู่ใต้น้ำ ถึงจะค้นพบร่างอันไร้วิญญาณ
ผีพราย...หากปลิดชีวิตใครได้
คนๆนั้นก็ต้องกลายมาเป็นตัวตายตัวแทน
เพื่อวิญญาณของผีพรายจะได้ไปผุดไปเกิด
ผีพราย จะชื่นชอบการทานของเซ่นไหว้
และการสวดมนต์อุทิศส่วนบุญกุศล
________________________________________
•
( เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 )
เจ้าหน้าที่ได้รับแจ้งเหตุมีผู้สูญหาย
จมหายไปขณะที่ไปงมหาหอยที่แม่น้ำปราจีนบุรี
บริเวณสะพานเพรชเอิม จ.ปราจีนบุรี
เจ้าหน้าที่จัดนักประดาน้ำจำนวน 5 นาย
ลงค้นหาบริเวณจุดที่จมน้ำ ที่มีความลึก 4-5 เมตร
ความกว้างของแม่น้ำประมาณ 40-50 เมตร
ท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลแรงและเย็น
เป็นการยากแก่การค้นหา
ขณะนั้น...บนสะพานได้มีชาวบ้านจำนวนมาก
มามุงดูเจ้าหน้าที่ทำการค้นหา
ภรรยาของผู้เคราะห์ร้าย
ร้องไห้ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ
พร้อมกับกอดขาเทียมของสามีที่ถอดออก
กองไว้กับเสื้อผ้าที่เหลือไว้ให้ดูต่างหน้า
ก่อนที่จะลงไปงมหอย
จากการสอบถามภรรยา...ได้ความว่า
วันที่เกิดเหตุเป็นวันหยุดจึงชวนกันมาตกปลา
งมหอย มาด้วยกันทั้งหมด 3 คน
เมื่อมาถึงบริเวณสะพาน สามีบอกว่า
“ งมหอยดีกว่า “
จากนั้นได้ถอดขาเทียมและเสื้อผ้าออก
เดินลงไปใต้สะพาน ขณะที่เดินลงไปในแม่น้ำ
ตรงบริเวณตอหม้อที่ 2 โดยไม่รู้ว่าบริเวณนั้น
เป็นล่องน้ำลึกและไหลแรง จึงลื่นไหลไปกับกระแสน้ำ
และไหลออกไปกลางแม่น้ำ ได้ร้องขอความช่วยเหลือ
เนื่องจากว่ายน้ำไม่เป็นและขายังพิการ
เพื่อนที่มาด้วยกันได้รีบลงไปช่วย
แต่เนื่องจากเพื่อนก็ว่ายน้ำไม่เป็นและใกล้จะหมดแรง
จึงปล่อยให้ผู้เคราะห์ร้ายจมน้ำหายไปต่อหน้าต่อตา
เจ้าหน้าที่ใช้เวลานานนับชั่วโมง
ยังไม่พบร่างผู้เคราะห์ร้ายแต่อย่างใด
•
ชาวบ้านเพชรเอิม กล่าวว่า
บริเวณสะพานเพชรเอิม
มักจะมีผู้สูญหายภายในน้ำบ่อยครั้ง
และก่อนหน้านี้ เมื่อประมาณ 2 ปีที่ผ่านมา
ก็มีหญิงสาวมาพร้อมกับสามี มางมหอย
และจมน้ำหายไป
นอกจากนี้ก็ยังมีพระสงฆ์ที่อยู่วัดเพชรเอิม
เดินลงหายไปในแม่น้ำอย่างไม่ทราบสาเหตุ
จนกระทั่งมาเป็นรายล่าสุด ที่มางมหอย
และจมน้ำเสียชีวิต
2 วัน กับการค้นหาผู้สูญหาย
ที่ทั้งทีมค้นหามีทั้งความเหนื่อยล้าและท้อใจ
จนกระทั่ง...มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง
ได้ทำกระทงเสี่ยงทาย และปล่อยลอยไป
จนกระทงได้ลอยมาหยุดบริเวณกอไผ่
ที่จมอยู่ใต้น้ำ 3 กอ และยังมีต้นยางใหญ่
ที่จมอยู่ใต้น้ำตรงบริเวณนั้นอีกด้วย
จากนั้นพระเกจิอาจารย์ ได้ให้ภรรยาผู้สูญหาย
ทำกระทงที่มีหุ่นคนและเครื่องไหว้ไปวางไว้
ตรงบริเวณท่าน้ำที่วัด พร้อมจุดธูปขอขมาลาโทษ
เจ้าที่เจ้าทาง และผีพรายที่อยู่ใต้น้ำ
พร้อมกับนำมะนาวโยนลงไปในน้ำ
โดยเชื่อว่าเป็นการล้างอาถรรพณ์
แต่ก็ยังไม่พบศพและยังมีการค้นหาอีกต่อไป
จนกระทั่งหน่วยกู้ภัยที่ค้นหา ได้ถอนกำลังกลับที่ตั้ง
เหลือแต่ภรรยาและญาติพี่น้องของผู้สูญหาย
เวลาต่อมาเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง
พบศพผู้เสียชีวิต บริเวณท่าน้ำของวัด
ตรงจุดวางกระทงและโยนมะนาว
สร้างความประหลาดใจกับผู้คนเป็นอย่างยิ่ง
ว่าบริเวณดังกล่าวมีสิ่งเร้นลับ จึงปิดบังศพ
ไม่ให้ค้นหาเจอ
จากนั้นเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยได้นำศพขึ้นจากน้ำ
รอการชันสูตร เพื่อมอบให้ญาตินำไปบำเพ็ญกุศล
ตามประเพณีต่อไป
•
พระเกจิอาจารย์กล่าวว่า
“ ตรงใต้สะพานมีผีพราย หรือผีใต้น้ำ
ลักษณะคล้ายตะไคร่น้ำสีเขียวเข้ม
ส่วนอาตมาเองได้สวดมนต์อุทิศส่วนกุศล
ให้ผีพรายทุกวันแต่เอาไม่อยู่ และได้เอาชีวิตคน
ปีต่อปี ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนต่างถิ่นที่มางมหอย “
โดยมีความเชื่อว่า..หลังจากที่ภรรยาได้จุดธูปขอขมา
ผีพรายน้ำ ผีพรายจะปล่อยศพขึ้นมาจากใต้น้ำ
หลังจากที่จุดธูปไม่นาน ศพก็โผล่ขึ้นจากน้ำ
ซึ่งเป็นไปตามที่พระเกจิอาจารย์บอก
________________________________________
ทีมงาน The ghost radio
ต้องขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว
ของผู้เสียชีวิต ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ 🙏
•
ทีมงาน The ghost radio 👻
ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม
#ย้อนรอยเรื่องเล่า #Theghostradio
•
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
ข้อมูลที่นำเสนอ มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อ
ซึ่งแต่ละบุคคล อาจมีความเชื่อที่แตกต่างกัน
ขอให้ท่านผู้อ่าน ใช้ดุลยพินิจและวิจารณญาณ
ในการรับสารข้อมูล และหากมีมุมมองที่แตกต่าง
โปรดแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ความรู้อีกแง่มุม
โดยไม่กล่าวล่วง ความเชื่อความศรัทธาของผู้ใด
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
•
ขอบคุณแหล่งอ้างอิงและภาพประกอบจาก
- https://www.amorerana.com/articles/detail/70
- https://www.thairath.co.th/news/local/east/1695783
บึง คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
การใช้กฎหมายกฎหมายมหาชน
กฎหมายเป็นข้อบังคับหรือกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในสังคม กฎหมายนั้นไม่ว่าจะมีหลักประกันในการให้ความเป็นธรรมดีเพียงใด การรับรองสิทธิเสรีภาพ และจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแค่ไหน มีถ้อยคำรัดกุมสวยงามเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่มีการใช้บังคับหรือใช้อย่างไม่ถูกต้อง การปรับใช้กฎหมายก็ไม่มีความหมายใด ๆ ในสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายมหาชนให้ถูกต้อง เราสามารถพิจารณาได้ 2 กรณี คือ การปรับใช้กฎหมายในทางทฤษฎี กับ การปรับใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ ดังนี้
1.1 การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี
การใช้กฎหมายในทางทฤษฎี (Theoretical Application of Law) หมายถึง การที่จะนำกฎหมายมหาชน ไปใช้แก่บุคคล ในเวลา สถานที่ หรือตามเหตุการณ์หรือเงื่อนไข เงื่อนเวลาหนึ่งๆ การใช้กฎหมายในทางทฤษฎีนี้สัมพันธ์กับการจัดทำกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ เพราะเมื่อมีการ จัดทำกฎหมายลายลักษณ์อักษรขึ้น ผู้จัดทำกฎหมายมหาชน ()จะต้องถามผู้ประสงค์จะจัดให้มีกฎหมายนั้นขึ้นก่อนเสมอว่ากฎหมายนี้จะใช้กับใคร ที่ไหนเมื่อไรนั้น มีข้อจำกัดในทางทฤษฎีนั้นเองอยู่ ด้วยข้อจำกัดการใช้กฎหมายมหาชนดังกล่าวนี้ เกิดจากหลักการใน “ระบอบประชาธิปไตย” (Democracy) หรือ “หลักสิทธิมนุษยชน” (Human Rights) หรือ “หลักกฎหมายระหว่างประเทศ” (International Law) หรือตาม “หลักนิติรัฐ” (Legal State) และ “หลักนิติธรรม” (The Rule of Law) เป็นต้น ดังนี้
1.1.1 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
หลักในการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล คือ หลักที่ว่าจะใช้บังคับกับใครบ้าง มีข้อพิจารณา ดังนี้
1.1.1.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
โดยหลักทั่วไปกฎหมายใช้ได้กับบุคคลทุกคนที่อยู่ในอาณาจักรของประเทศนั้น ๆ ดังนั้น กฎหมายมหาชนจึงใช้บังคับกับทุกคนโดยไม่มีการยกเว้นไม่ว่าเป็นผู้มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือไม่ก็ตาม ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายภาพหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้ มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ
1.1.1.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคล
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่าประเทศไทยได้วางหลักการบังคับใช้กฎกฎหมายมหาชน (Public law) ที่เกี่ยวกับบุคคลทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย แต่มีข้อยกเว้นอยู่บ้างในกรณีที่เกิดขึ้นตามกฎหมายภายในหรือยกเว้นตามกฎหมายภายนอก ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายในจะพบว่า อยู่ในกฎหมายที่สำคัญ คือ ยกเว้นตามรัฐธรรมนูญกับข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ไม่ใช้บังคับกับบุคคลบางคนดังต่อไปนี้
1) ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายมหาชน เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้ยกเว้นการบังคับใช้กับบุคคลดังต่อไปนี้
(1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้และผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตริย์ในทางหนึ่งทางใดมิได้เพราะฉะนั้นจึงเกิดหลักสำคัญในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ หลักที่ว่า “The King can do no wrong” ซึ่งหมายความว่า การกระทำของพระมหากษัตริย์ ไม่เป็นความผิดไม่มีผู้ใดสามารถฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางแพ่งหรือทางอาญา ไม่มีผู้ใดจะวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ในทางการเมืองได้
(2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดกล่าวถ้อยคำใดๆ ในทางแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็น “เอกสิทธิ์คุ้มครอง” ผู้ใดจะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้เอกสิทธิ์นี้ย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และผู้โฆษณารายงานการประชุมตามข้อบังคับของวุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณีและคุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภาทางวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธาน แห่งสภานั้นด้วยโดยอนุโลม หากถ้อยคำที่กล่าวในประชุมไปปรากฏนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาแห่งนั้นย่อมไม่ได้คุ้มครอง
เอกสิทธิ์ดังกล่าวนี้คุ้มครองไปถึงการปฏิบัติงานของคณะกรรมาธิการสามัญและกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆเช่น ออกคำสั่งเรียกเอกสารจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาและลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นในกิจการที่กระทำหรือในเรื่องที่พิจารณาสอบสวนหรือศึกษาอยู่นั้นได้ เป็นต้น เหตุผลที่ให้เอกสิทธิ์ดังกล่าว ก็เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองแก่บรรดาบุคคลเหล่านั้น ให้สามารถทำหน้าที่ ได้เต็มความสามารถด้วยความสุจริตใจ โดยไม่ต้องเกรงกลัวว่าอาจจะได้รับผลร้ายแก่ตน
2) ข้อยกเว้นตามกฎหมายอื่น ๆ ที่ยกเว้นไม่ใช้บังคับแก่บุคคลบางคน ได้แก่
(1) พระราชกฤษฎีกา ที่ออกตามความแห่งประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นหลักกฎหมายมหาชน ยกเว้นภาษีให้องค์การต่าง ๆ เช่น สถานเอกอัคราชฑูต สถานกงศุล องค์การสหประชาชาติ และองค์การผู้จัดหารายได้ อันเป็นสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
(2) กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 เช่น กฎกระทรวงกำหนดบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2548 ยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้า และพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ผู้มีกานพิการเดินไม่ได้หรือเป็นใบ้หรือตาบอดทั้ง 2 ข้างหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศและไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลตามกฎหมายมหาชนภายนอก ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศหรือ เรียกว่า “กฎหมายมหาชนภายนอก” มีการยกเว้นการปรับใช้กฎหมายกับบุคคล ได้แก่ ประมุขของรัฐต่างประเทศ บุคคลในคณะทูตและบริวารที่ติดตามและเจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
1.1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
การใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ มีข้อพิจารณา คือ หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ กับ ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ ดังนี้
1.1.2.1 หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
หลักทั่วไปการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งอำนาจของรัฐนั่นก็คือ “ดินแดนแห่งรัฐ” หรือ “อาณาจักร” เราเรียกอำนาจนี้ว่า “อำนาจบังคับเหนือดินแดน” หมายถึง อำนาจบังคับเหนือบริเวณหรือสิ่ง ต่าง ๆ ดังนี้
1. อำนาจเหนือแผ่นดินและเกาะต่าง ๆ
2. อำนาจเหนือดินแดนพื้นน้ำภายในเส้นเขตแดนของรัฐ คือ บรรดาน่านน้ำทั้งหมด เช่น อ่าว แม่น้ำ ลำคลอง ห้วยหนอง คลอง บึง เป็นต้น
3. อำนาจเหนือพื้นน้ำ “ทะเลอาณาเขต” (Territorial sea) ของรัฐชายฝั่ง ถือเกณฑ์ความกว้าง 12 ไมล์ทะเลนับจากจุดที่น้ำทะเลลดลงต่ำสุด แต่อีกหลายประเทศมีเกณฑ์ความกว้างของทะเลต่างไปจากนี้ และยังไม่สามารถตกลงกันได้ในเกณฑ์กลางที่จะใช้ร่วมกันทุกประเทศ
อนึ่ง ประเทศต่าง ๆ สามารถออกกฎหมายมาบังคับใช้เหนือน่านน้ำทะเลอาณาเขต แต่มีข้อแตกต่างจากน่านน้ำภายในประเทศอยู่ประการหนึ่ง คือ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศรัฐต้องยอมให้ผู้อื่นใช้ทะเลอาณาเขตได้อย่างเสรี โดยยึดถือหลักสุจริต แต่สำหรับน่านน้ำภายในนั้นรัฐจะปิดกั้นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละประเทศ
4. อำนาจในห้วงอากาศ ได้แก่ บริเวณท้องฟ้าที่ยังมีบรรยากาศเหนือดินแดนตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ อยู่ในชั้นบรรยากาศที่สูงเกินกว่ารัฐจะใช้อำนาจอธิปไตยของตนตามปกติไปถึงแล้ว ต้องถือเป็นแดนเสรีที่ทุกชาติเป็นเจ้าของหรือมีสิทธิ์ใช้ร่วมกัน
1.1.2.2 ข้อยกเว้นการใช้กฎหมายมหาชนในส่วนที่เกี่ยวกับสถานที่
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงการใช้กฎหมายเกี่ยวกับสถานที่ หลัก คือ ต้องใช้บังคับทั่วอาณาจักร แต่ในบางกรณีกรณีได้ยกเว้นการบังคับใช้ ด้งนี้
1.ข้อยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายมหาชนในบางพื้นที่เพื่อความมั่นคงของประเทศ เช่น ในกรณีของประเทศไทย การประกาศใช้บังคับพระราชกำหนดพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 กล่าวคือ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร โดยระบุว่า โดยที่ปรากฏว่ามีบุคคลหลายกลุ่มได้เชิญชวน ปลุกระดม และดำเนินการให้มีการชุมนุม สาธารณะโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ ขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการและช่องทางต่าง ๆ ก่อให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายและความไม่สงบเรียบร้อยของประชาชน มีการกระทำที่กระทบต่อขบวนเสด็จพระราชดำเนิน มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล อันมิใช่การชุมนุมโดยสงบที่ได้รับการรับรองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งยังกระทบโดยตรงต่อสัมฤทธิผลของมาตรการควบคุมการะบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศที่อยู่ในภาวะเปราะบาง กรณีจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการเร่งด่วน เพื่อแก้ไขกรณีดังกล่าวให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงทีเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและรักษาความสงบเรียบร้อยและประโยชน์ส่วนรวมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 นายกรัฐมนตรีจึงให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
2. ข้อยกเว้นการใช้อำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน ยังมีอีก 2 กรณี ที่ถือเสมือนว่ารัฐมีอำนาจเหนือดินแดน เหนือสิ่งต่อไปนี้ ทั้งที่ไม่เป็นดินแดนของรัฐแต่เป็นเรื่องที่ถือเอาเพื่อใช้กฎหมายอาญา (Criminal Law) ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนของรัฐขยายไปถึง แต่ไม่รวมถึงการขยายอำนาจหรือการใช้กฎหมายเอกชน (Private Law) ดั้งนั้นเรือหรืออากาศยานไทยที่ถือสัญชาติไทย คือ เรือไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชนและอากาศยาน ไม่ว่าจะเป็นของทางราชการหรือของเอกชน ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในโลก ก็ถือว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามหลักกฎหมายอาญา
1.1.3 การใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา
การใช้กฎหมายมหาชน (Public law) ในส่วนที่เกี่ยวกับเวลา หมายถึง กำหนดวันเวลาประกาศใช้กฎหมายมหาชน เมื่อได้ประกาศโฆษณาหรือเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบแล้วมิใช่ว่าจะปรับใช้กฎหมายนั้นได้ทันที จึงต้องดูข้อความในตัวบทกฎหมายนั้นเองว่าจะประสงค์จะให้ใช้บังคับได้เมื่อใด
สำหรับกฎหมายของประเทศไทยนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและได้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็ต้องดูว่ากฎหมายมหาชนนั้นจะบังคับได้เมื่อใด ซึ่งปกติแล้วหลักเกณฑ์ในการปรับใช้บังคับกฎหมายมหาชนเริ่มมีผลทางกฎหมายหลายรูปแบบ ดังนี้
1. ให้ใช้ย้อนหลังขึ้นไปก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา การใช้กฎหมายที่มีผลย้อนหลังไปบังคับการกระทำที่เกิดขึ้น ก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่ากฎหมายย้อนหลัง ในทางปฏิบัติไม่ค่อยใช้วิธีนี้ เพราะโดยปกติกฎหมายย่อมจะบัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับในอนาคต กล่าวคือ กฎหมายจะใช้บังคับ แก่กรณีที่เกิดขึ้นในอนาคต นับตั้งแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย เป็นต้นไป กฎหมายจะไม่บังคับแก่การกระทำที่เกิดขึ้นก่อนวันใช้บังคับแก่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า “กฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง” ตามหลักการถือว่าการออกกฎหมายให้มีผลบังคับย้อนหลังไม่อาจทำได้เนื่องจากไม่เป็นธรรมกับผู้กระทำ ซึ่งในขณะที่กระทำนั้นยังไม่ทราบว่าการกระทำของตนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายกำหนดว่าเป็นการกระทำความผิด ขณะนั้นผู้กระทำจึงมีสิทธิที่จะกระทำได้อยู่ การลงโทษ หรือตัดสิทธิบุคคลหนึ่งบุคคลใดสำหรับการกระทำ ซึ่งขณะที่กระทำนั้นชอบด้วยกฎหมายเป็นการสั่นสะเทือนความเป็นธรรมของสังคม
ข้อสังเกต ในกรณีของประเทศไทยยังมีปัญหาในเรื่องการการตรากฎหมายมหาชนย้อนหลังได้หรือไม่โดยมีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ 3 – 5 /2550 เรื่องอัยการสูงสุดขอให้มีคำสั่งยุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย ลงวันที่ 30 พฤษภาค 2550 ว่า ในทางกฎหมายมหาชนที่ไม่ใช่กฎหมายอาญานั้นสามารถออกกฎหมายมาบังคับย้อนหลังได้ ซึ่งมีมุมมองทางกฎหมายออกไป 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเพราะเห็นว่าการลงโทษเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นสามารถทำได้ เนื่องจากไม่ได้เป็นโทษทางอาญา การใช้กฎหมายย้อนหลังในคดีนี้โดยใช้อำนาจประกาศ คปค.ฉบับที่ 27 จึงไม่ขัดต่อหลักกฎหมายอาญาทั่วไป
กลุ่มที่ 2 เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือว่าขัดต่อหลักกฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ (Legal State) และหลักนิติธรรม (The Rule of Law)
อย่างไรก็ตามเป็นที่เข้าใจว่าการใช้กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังนั้น เพราะเหตุว่า ไม่เป็นธรรมแก่บุคคลผู้ถูกกฎหมายนั้นบังคับใช้ แต่ถ้าเป็นเรื่องการออกกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายปกครอง กฎหมายงบประมาณ หรือแม้แต่กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณ เช่น ยกเลิกความผิด หรือยกโทษแล้ว แม้จะเป็นการย้อนหลังก็ทำได้ไม่ขัดต่อหลักใด ๆ เช่น ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 10 พฤศจิกายน 2514 กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ ย้อนหลังไปมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2514 เป็นต้น
2. กฎหมายที่มีผลใช้บังคับในวันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อไม่ต้องการให้มีการเตรียมตัวหาทางเลี่ยงกฎหมายเป็นกรณีกะทันหันรีบด่วน ไม่ต้องการให้ประชาชนรู้ล่วงหน้าเพื่อหาแนวทางหลีกหนีการบังคับใช้กฎหมายฉบับดังกล่าว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นต้น
3. กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายส่วนใหญ่มีผลบังคับใช้ในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยใช้คำว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป” การใช้บังคับเช่นนี้มีผลดี คือ ให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไป เป็นต้น
4. กฎหมายที่กำหนดเวลาให้ใช้บังคับในอนาคต คือ กรณีที่กฎหมายประกาศในราชกิจานุเบกษาแล้ว แต่ระบุให้เริ่มใช้เป็นเวลาในอนาคตโดยกำหนดวันใช้บังคับเป็นเวลาล่วงหน้าหลายๆ วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น หรือเพื่อให้ทางราชการเองมีโอกาสตระเตรียมเครื่องมือ เครื่องใช้ แบบพิมพ์ ฝึกหัดอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น กำหนดเวลาให้ใช้กฎหมายในอนาคตนี้ อาจแยกได้เป็น 4 กรณี ดังนี้
1) กฎหมายที่กำหนดเป็นวัน เดือน ปี ให้ใช้กฎหมายที่แน่นอนมาให้ เช่นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 เป็นต้นไป
2) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุเป็นวันเดือนปี แต่กำหนดเป็นระยะเวลากี่วัน กี่เดือน หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้ เช่น พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2543 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3) กฎหมายที่กำหนดให้ใช้ในอนาคตโดยไม่ระบุวัน เดือน ปี หรือ ระยะเวลาที่แน่นอน แต่กำหนดไว้กว้าง ๆ ว่าจะให้ใช้กฎหมายบังคับเมื่อไร จะประกาศออกมาเป็น “กฎหมายลำดับรอง” (Subordinate Legislation) หรือ เรียกว่า “กฎ” เช่น พระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงจะกำหนดสถานที่และวันใช้บังคับให้เหมาะสมแก่สภาพท้องที่ และให้เวลาแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่จะเตรียมการไว้ให้เรียบร้อยก่อนที่กฎหมายจะใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 กำหนดว่าการดำเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
4) กฎหมายที่กำหนดให้แต่บางมาตรา ให้ใช้ต่างเวลาออกไป โดยออกเป็นบทเฉพาะกาลไว้ท้ายกฎหมายนั้น เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ให้มีผลใช้บังคับได้ในวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่บางมาตรามีบทเฉพาะกาลให้งดใช้จนกว่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
1.2 การใช้กฎหมายมหาชนในทางปฏิบัติ
การใช้กฎหมายในทางปฏิบัติ (Practical Application of Civil law) หมายถึง การนำบทบัญญัติแห่ง “กฎหมายมหาชน” (Public Law) ไปใช้ปรับแก่คดีหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงเพื่อหาคำตอบหรือเพื่อวินิจฉัยพฤติกรรมบุคคลในเหตุการณ์หนึ่ง ดังที่เราเรียกกันว่า “การปรับบทกฎหมาย” ผู้ใช้กฎหมายนั้นจึงมิใช่ผู้จัดทำกฎหมาย หรือผู้ปฏิบัติงานทางฝ่ายนิติบัญญัติ หากแต่อาจเป็นใครก็ตามที่จะต้องเปิดดูตัวบทบัญญัติแห่งกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี เพื่อปรับบทกฎหมายนั้นให้เข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น อนึ่งการปรับใช้กฎหมายเอกชนกับกฎหมายมหาชนนี้จะอธิบายถึงการปรับใช้ในระบบกฎหมายวิวิลลอว์ (Civil Law System) ที่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายและระบบวิธีพิจารณาคดี เพราะระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law System) ไม่มีการแบ่งแยกประเภทของกฎหมายที่ชัดเจน
ดังนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงซึ่งมีขั้นตอนการใช้กฎหมายมหาชนในระบบกฎหมาย ซิวิลลอว์ (Civil Law) เป็นหลัก ดังนี้
1.2.1 การค้นหาข้อเท็จจริง
การค้นหาข้อเท็จจริง เป็นการตรวจสอบว่าข้อเท็จจริงในคดีเกิดขึ้นจริงดังข้อกล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งจะต้องพิสูจน์ด้วยพยานหลักฐานต่าง ๆ ตามระบบวิธีพิจารณาของแต่ละศาล กล่าวคือ การปรับใช้กฎหมายมหาชนใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบไต่สวน” (Inquisitorial System) ซึ่งศาลเป็นผู้มีอำนาจในการแสวงหาพยานหลักฐานในการปรับใช้แก่คดี แต่อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นในกรณีของกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชนแต่จะใช้ “ระบบวิธีพิจารณาแบบกล่าวหา”
1.2.2 การค้นหาบทกฎหมาย
เมื่อได้ข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติแล้ว จะต้องค้นหาบทบัญญัติแห่งกฎหมายมหาชนที่ตรงกับข้อเท็จจริงมาปรับบทกฎหมายมหาชนแล้วแต่กรณี
1.2.3 การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริง
การปรับบทกฎหมายให้เข้ากับข้อเท็จจริงเป็นการวินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงในคดีนั้นปรับได้กับข้อเท็จจริงที่เป็นองค์ประกอบในบทบัญญัติของกฎหมายมหาชนหรือไม่แล้วแต่กรณี
1.2.4 ผลในทางกฎหมาย
การปรับใช้แก่คดีในกฎหมายมหาชนได้ให้ชี้ว่ามีผลทางกฎหมายอย่างไร หากกฎหมายกำหนดผลทางกฎหมายไว้หลายอย่างให้เลือก ผู้ใช้กฎหมายมหาชนจะต้องใช้ดุลพินิจเลือกผลทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่งให้เหมาะสมกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น คือ การใช้อำนาจผูกพันกับอำนาจดุลพินิจ
บึง คือ 在 Petssy Channel Youtube 的最佳解答
เมื่อหนุ่มฝรั่งยังไม่รู้ตัวว่าต้องเจอ กับ เจ้าถิ่น ที่หิวตลอดเวลา
ยินดีต้อนรับสู่ช่อง เพรชชี่ แชนแนล,petssy channel
นี้คือป้าเพรชชี่ และ ในช่องของป้าเพรชชี่ ป้าเพรชชี่จะนำเสนอว่า ป้าเพรชชี่ชอบทำ อาหาร / กิน และ พูดคุย ตลอด 55555 :D เพราะป้าชอบพูด ถึงจะไม่มีคนฟัง ป้าก็ยังจะพูดต่อไป 5555 ;D
และในคลิป หรือ vdo ของป้า จะเป็นแบบทำอาหารเสร็จ ก็กินโชว์เลย คือ เราไม่สามารถรอให้อาหารของเราเย็นได้ 5555 ;D
เริ่มต้นคลิปของป้าเพรชชี่ก็จะบอกว่าเมนูที่จะทำวันนี้มีส่วนผสมของอะไรบ้าง บางที่อาจจะมีส่วนผสมที่แฟนทางบ้านไม่ชอบก็สามารถปรับเปลี่ยนได้นะคะ และ ตามมาด้วยการลงมือทำอาหารเมนูของวันนี้อย่างไร ??
และ หลังจากที่ป้าเพรชชี่ทำอาหารสำหรับเมนูวันนี้เสร็จ ป้าเพรชชี่ ก็ จะมานั่งกินกับ ลุงคริส ด้วยกัน ปรกติ ลุงคริส จะชอบอาหารที่ป้าทำ แต่ บ้างเมนูที่มี ปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ หรือ พวกอาหารกลิ่นแรงๆ ลุงคริส จะไม่ค่อย ปลื่มเท่าไร นอกจากป้าเพรชชี่จะหลอกให้ลุงกิน 55555 ;D
ก็ขอเชิญชวนทุกคนมากินข้าวเย็นไปพร้อมๆ กับป้าเพรชชี่ และ ลุงคริส นะคะ :)
ป้าหวังว่าทุกคนจะชอบ petssy channel นะคะ ขอขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ :D
อย่าลื่ม กดติดตาม และ กด รูปกระดิ่ง ไว้นะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาด คลิปใหม่ๆจาก ป้าเพรชชี่ กับ ลุงคริส ค่ะ :D https://www.youtube.com/channel/UClUI47CK4RBtHyGA5km0RUg?sub_confirmation=1
นี้คือเพส facebook ของป้าเพรชชี่ ค่ะ https://www.facebook.com/petssychannel
Petssy Channel
บึง คือ 在 Petssy Channel Youtube 的精選貼文
วันนี้ ลูกเขยสวิส พาแม่ยาย มากินข้าว ข้างห้วยข้างบึง จะมีเมนูอะไรบ้างน้อ :)
ยินดีต้อนรับสู่ช่อง เพรชชี่ แชนแนล,petssy channel
นี้คือป้าเพรชชี่ และ ในช่องของป้าเพรชชี่ ป้าเพรชชี่จะนำเสนอว่า ป้าเพรชชี่ชอบทำ อาหาร / กิน และ พูดคุย ตลอด 55555 :D เพราะป้าชอบพูด ถึงจะไม่มีคนฟัง ป้าก็ยังจะพูดต่อไป 5555 ;D
และในคลิป หรือ vdo ของป้า จะเป็นแบบทำอาหารเสร็จ ก็กินโชว์เลย คือ เราไม่สามารถรอให้อาหารของเราเย็นได้ 5555 ;D
เริ่มต้นคลิปของป้าเพรชชี่ก็จะบอกว่าเมนูที่จะทำวันนี้มีส่วนผสมของอะไรบ้าง บางที่อาจจะมีส่วนผสมที่แฟนทางบ้านไม่ชอบก็สามารถปรับเปลี่ยนได้นะคะ และ ตามมาด้วยการลงมือทำอาหารเมนูของวันนี้อย่างไร ??
และ หลังจากที่ป้าเพรชชี่ทำอาหารสำหรับเมนูวันนี้เสร็จ ป้าเพรชชี่ ก็ จะมานั่งกินกับ ลุงคริส ด้วยกัน ปรกติ ลุงคริส จะชอบอาหารที่ป้าทำ แต่ บ้างเมนูที่มี ปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ หรือ พวกอาหารกลิ่นแรงๆ ลุงคริส จะไม่ค่อย ปลื่มเท่าไร นอกจากป้าเพรชชี่จะหลอกให้ลุงกิน 55555 ;D
ก็ขอเชิญชวนทุกคนมากินข้าวเย็นไปพร้อมๆ กับป้าเพรชชี่ และ ลุงคริส นะคะ :)
ป้าหวังว่าทุกคนจะชอบ petssy channel นะคะ ขอขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ :D
อย่าลื่ม กดติดตาม และ กด รูปกระดิ่ง ไว้นะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาด คลิปใหม่ๆจาก ป้าเพรชชี่ กับ ลุงคริส ค่ะ :D https://www.youtube.com/channel/UClUI47CK4RBtHyGA5km0RUg?sub_confirmation=1
นี้คือเพส facebook ของป้าเพรชชี่ ค่ะ https://www.facebook.com/petssychannel
Petssy Channel