#เรื่องของเปรต #ไททัน
#ทำกรรมอะไรไว้จึงกลายเป็นเปรต
เปรต มี 12 ประเภท แต่ละประเภททำกรรมไว้ต่างกัน โดยส่วนใหญ่เกิดจากกรรมจากความโลภ และเห็นแก่ตัว ตระหนี่ขี้เหนียว
🔸1.วันตาสาเปรต
เปรตเหล่านี้เห็นมนุษย์ถ่มเสลด น้ำลายออกมา ต่างตื่นเต้นดีใจรีบตรงไปดูดเอาโอชะเสลดเป็นอาหาร กินแล้วยังหิวโหยเช่นเดิม จนกว่าจะสิ้นกรรมที่ทำไว้ จึงจะไปเกิดในภูมิอื่น
ชาติก่อนเป็นคนตระหนี่ขี้เหนียว เห็นผู้ใดอดอยากมาขออาหาร ก็พาลโกรธถ่มน้ำลายใส่ด้วยความรังเกียจ หรือเข้าไปในสถานที่ที่ควรเคารพบูชา เช่น โบสถ์ วิหาร ลานพระเจดีย์ แล้วไม่มีความเคารพต่อสถานที่ ได้ถ่มเสลดน้ำลายลงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์นั้น เมื่อตายแล้วก็มาเกิดเป็นเปรตในประเภทนี้
🔸2.กุณปขาทาเปรต
ชอบซอกซอนหาซากศพสัตว์อึดเน่าเหม็นกินเป็นอาหารด้วยความหิวโหย
ชาติที่เป็นมนุษย์มีความตระหนี่ เมื่อมีผู้มาขอบริจาคทาน ก็แกล้งให้ของที่ไม่ควรให้ ด้วยความปรารถนาจะแกล้งประชด ไม่เคารพในทาน จึงมาเกิดเป็นเปรตประเภทนี้
🔸3.คูถขาทาเปรต
เปรตชนิดนี้ชอบเที่ยวแสวงหาอุจจาระของสิ่งมีชีวิตกินเป็นอาหาร
ตอนเป็นมนุษย์ มีความตระหนี่จัด เมื่อหมู่ญาติที่ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้คนมาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ ขอข้าว ขอน้ำดื่ม จะเกิดอาการขุ่นเคืองขึ้นมาทันที แล้วยังขับไล่ไสส่งให้ไปกินมูลสัตว์ ด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย ตายแล้วจึงไปเกิดเป็นเปรตชนิดนี้
🔸4.อัคคิชาลมุขาเปรต
เปรตประเภทนี้ มีรูปร่างผอมโซ มีเปลวไฟแลบออกมาจากปากตลอดเวลา ทั้งกลางวันกลางคืน ไฟไหม้ปากไหม้ลิ้นเจ็บแสบเจ็บร้อน ครั้นทนไม่ได้ก็วิ่งร้องไห้ครวญครางไปไกลถึงร้อยโยชน์ พันโยชน์
ตอนเป็นมนุษย์ มีความตระหนี่ขี้เหนียวอย่างมาก เมื่อมีใครมาขอ ครั้นจะไม่ให้ก็กลัวคนอื่นดูแคลน จึงแกล้งให้สิ่งของร้อนๆ เพื่อหวังจะแกล้งให้ผู้รับเข็ดหลาบ จะได้เลิกมาขอ เพราะไม่เห็นอานิสงส์ของการทำทาน
🔸5.สุจิมุขาเปรต
เปรตประเภทนี้ มีเท้าทั้งสองใหญ่โต คอยาวมาก แต่ปากเท่ารูเข็ม จะได้อาหารมาบริโภคแต่ละครั้งก็ไม่พออิ่ม อาหารไม่อาจจะผ่านช่องปากเข้าไปได้ง่ายๆ อยากกินแต่กินไม่ได้ ต้องทุกข์ทรมานแสนลำบาก ร่างกายผอมโซดำเกรียม
ตอนเป็นคนตระหนี่ในชาติที่เป็นมนุษย์ เมื่อมีใครมาขออาหาร ก็ไม่อยากให้ และไม่มีศรัทธาที่จะถวายทานแก่ผู้มีศีล มีจิตหวงแหนทรัพย์สมบัติ
🔸6.ตัณหาชิตาเปรต
เปรตเหล่านี้จะเดินตระเวนท่องเที่ยวไปเรื่อยๆ เพื่อหาอาหาร เมื่อมองไปเห็นสระ บ่อ ห้วย หนอง ก็ตื่นเต้นดีใจ รีบวิ่งไปโดยเร็ว แต่ครั้นไปถึงแหล่งน้ำนั้น กลับกลายเป็นสิ่งอื่น
ตอนเป็นคนหวงข้าวหวงน้ำ เที่ยวปิดสระ ปิดบ่อ ปิดหม้อ ไม่ให้คนอื่นได้ดื่มกิน
🔸7.นิชฌามักกาเปรต
เปรตประเภทนี้ มีรูปร่างเหมือนต้นเสาหรือต้นไม้ที่ถูกไฟไหม้ มีกลิ่นเหม็นเน่า มือและเท้าเป็นง่อย ริมฝีปากด้านบนห้อยทับริมฝีปากด้านล่าง ฟันยาว มีเขี้ยวออกจากปาก ผมยาวพะรุงพะรัง ยืนทื่ออยู่ที่เดิมไม่ท่องเที่ยวไปไหนเหมือนเปรตชนิดอื่น
ตอนเป็นมนุษย์ เป็นคนใจหยาบ เห็นผู้มีศีลก็โกรธเคือง มีอกุศลจิตคิดว่า ท่านเหล่านั้นจะมาขอของตน จึงแสดงกิริยาอาการเยาะเย้ยถากถาง ขับไล่คนเหล่านั้นให้ได้รับความอับอาย หรือเห็นพ่อแม่เป็นคนแก่คนเฒ่า เกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเพราะความชรา แกล้งให้ท่านตกใจจะได้ตายไวๆ ตัวเองจะได้ครอบครองสมบัติ
🔸8.สัพพังคาเปรต
เปรตประเภทนี้ มีร่างกายใหญ่โต เล็บมือเล็บเท้ายาวคมเหมือนมีดเหมือนดาบและงอเหมือนตะขอ ก้มหน้าก้มตาตะกายข่วนร่างกายตนเองให้ขาดเป็นแผลด้วยเล็บ แล้วกินเลือดเนื้อของตนเองเป็นอาหาร
ตอนเป็นมนุษย์ชอบขูดรีดชาวบ้าน เอาเปรียบผู้อื่น หรือบางครั้งชอบรังแกหยิกข่วนบิดามารดา หรือทำร้ายคู่ครองของตนเอง
🔸9.ปัพพตังคาเปรต
เปรตประเภทนี้ มีร่างกายใหญ่เหมือนภูเขา เวลากลางคืนสว่างไสวด้วยเปลวไฟ กลางวันเป็นควันล้อมรอบกาย ถูกไฟเผาคลอก นอนกลิ้งไปมาทุรนทุรายเหมือนขอนไม้ที่กลิ้งอยู่กลางไร่กลางป่า โศกเศร้าร้องไห้ตลอดเวลา
ครั้งเป็นมนุษย์ได้เอาไฟเผาบ้าน เผาโรงเรียน เผากุฏิ วิหาร เป็นต้น
🔸10.อชครเปรต
เปรตประเภทนี้ มีรูปร่างคล้ายกับสัตว์เดียรัจฉาน เช่น มีรูปร่างเป็นงูเหลือม เป็นเสือ เป็นม้า เป็นวัว เป็นควาย เป็นต้น แต่จะถูกไฟเผาไหม้ทั่วร่างกายทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดเวลา
ครั้งเป็นมนุษย์เป็นคนตระหนี่ เมื่อเห็นผู้มีศีลมาเยือน ก็ด่าเปรียบเปรยท่านว่า เหมือนเป็นสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ เพราะไม่อยากให้ทาน หรือแกล้งล้อเลียนเป็นรูปสัตว์ต่างๆ
🔸11.เวมานิกเปรต
เปรตประเภทนี้จะมีสมบัติ คือ วิมานทองอันเป็นทิพย์ บางตนจะเสวยสุขราวเทวดาในเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนจะเสวยทุกข์ที่เกิดจากความตระหนี่ในทรัพย์ บางตนเสวยสุขเฉพาะในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะเสวยทุกข์ ตามสมควรแก่กรรม
ครั้งเป็นมนุษย์มีศรัทธาทำบุญกุศลไว้มาก แต่ไม่รักษาศีล ไม่รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ หรือเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาได้รักษาศีลเพียงอย่างเดียว แล้วไม่มีศรัทธาในการสร้างบุญกุศลอื่น และมีความสงสัยในเรื่องบุญเรื่องบาป แม้รักษาศีลก็รักษาแบบเสียไม่ได้ หรือไม่ตั้งใจรักษา
🔸12.มหิทธิกาเปรต
เปรตประเภทนี้ เป็นเปรตที่มีฤทธิ์และรูปงามดุจเทวดา แต่ว่าอดอยากหิวโหยอาหารอยู่ตลอดเวลา เหมือนเปรตชนิดอื่นๆ จะเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ เมื่อพบมูลสัตว์ หรือของสกปรกก็จะดูดกินเป็นอาหาร
ครั้งเป็นมนุษย์ บวชเป็นพระภิกษุสามเณร พยายามรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ จึงมีรูปงามผุดผ่องราวเทวดา แต่ไม่ได้บำเพ็ญธรรม มีใจเกียจคร้านต่อการบำเพ็ญธรรมตามวิสัยของบรรพชิต จิตใจจึงมากไปด้วย โลภะ โทสะ โมหะ
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過34萬的網紅Petssy Channel,也在其Youtube影片中提到,วันนี้ ลูกเขยสวิส พาแม่ยาย มากินข้าว ข้างห้วยข้างบึง จะมีเมนูอะไรบ้างน้อ :) ยินดีต้อนรับสู่ช่อง เพรชชี่ แชนแนล,petssy channel นี้คือป้าเพรชชี่ และ ใ...
「ห้วย คือ」的推薦目錄:
- 關於ห้วย คือ 在 Facebook 的最佳貼文
- 關於ห้วย คือ 在 Tak Bongkod Bencharongkul Facebook 的精選貼文
- 關於ห้วย คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ห้วย คือ 在 Petssy Channel Youtube 的最讚貼文
- 關於ห้วย คือ 在 ที่มาของคำว่า "หวย" | Highlight ศัพท์หนุกศัพท์หนาน | ONE ... 的評價
- 關於ห้วย คือ 在 ห้วยตึงเฒ่าคืออะไร.......ห้วย คือ ทางน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา คำว่า ... 的評價
- 關於ห้วย คือ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): หน้าหลัก 的評價
ห้วย คือ 在 Tak Bongkod Bencharongkul Facebook 的精選貼文
“การฟื้นฟู ดูแล รักษา ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
คือ สุดยอดแห่งบุญกุศล”
ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม มีคุณต่อมนุษย์และส่ำสัตว์สุดพรรณนา แต่บางยุค บางสมัย ผู้คนก็มีความเข้าใจผิดคิดว่า ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง ไม่ทันสมัย ในยุคเริ่มต้นการพัฒนาประเทศของไทย ผู้นำบางคนถึงกับสั่งให้โค่นต้นไม้ใหญ่ในวัด ในโรงเรียนทิ้ง เพื่อให้โปร่งโล่งเพราะมีทัศนคติว่า ต้นไม้ไพรพงเป็นสัญลักษณ์ของความล้าหลัง โดยเรียกสภาพล้าหลังเช่นนั้นว่า “บ้านป่า เมืองเถื่อน” ซึ่งที่ถูกนั้น ตัวการและตัวคนที่ทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมต่างหากที่กำลังแสดงความป่าเถื่อนล้าหลังและไม่พัฒนาออกมา
ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ของสิ่งแวดล้อม
คือ สัญลักษณ์ของความเจริญ ของความทันสมัยของความมีการศึกษา และของความเป็นอารยชนผู้มีอารยธรรมที่สูงส่ง บ้านเมืองที่เจริญแล้วจริงๆประชาชนจะช่วยกันรักษาธรรมชาติ รักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกสวน ปลูกป่า รักษาระบบนิเวศให้อุดมสมบูรณ์
คำสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นชุดคำสอนที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือเป็นคำตรัสสอนเมื่อกว่า ๒๕๖๓ ปีมาแล้ว (+๔๕ ปี ก่อนปรินิพพาน)
ยังชี้ให้เห็นเลยว่า การเสริมสร้าง รักษา ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์ เป็นบุญ คือ เป็นความดีงาม เป็นหนทางที่ควรดำเนิน เป็นประโยชน์
เป็นต้นธารแห่งความร่มเย็นเป็นสุขทั้งคืนทั้งวัน ข้อความใน “วนโรปสูตร” กล่าวถึงทัศนะอันแสนทันสมัยนี้ไว้ว่า
เทวดาทูลถามว่า
บุญย่อมเจริญ ทั้งกลางวันและกลางคืน
ตลอดกาลทุกเมื่อ แก่ชนเหล่าไหน
ชนเหล่าไหนดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ชนเหล่าใดปลูกสวนอันน่ารื่นรมย์
ปลูกป่า สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ บ่อน้ำ
และให้ที่พักอาศัย
บุญย่อมเจริญแก่ชนเหล่านั้น
ทั้งกลางวันและกลางคืนตลอดกาลทุกเมื่อ
ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีลแล้ว
ย่อมไปสู่สวรรค์อย่างแน่นอน
การศึกษา การสื่อสาร การเมืองการปกครองในยุคสมัยของเรา ควรจะต้องส่งเสริม สนับสนุน แนะนำให้ประชาชนทั้งคนรุ่นเก่า รุ่นใหม่ เกิดความตระหนักรู้ว่า ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ห้วย หนอง คลองบึง ผืนดิน ผืนน้ำ ผืนฟ้า ผืนป่า ขุนเขา อากาศบริสุทธิ์ แร่ธาตุ ทรัพยากร พืชพันธุ์ธัญญาหาร ที่อยู่ในผืนโลกประดามีนั้น มีคุณค่า มีความสำคัญต่อสรรพชีวิต
ต่อระบบห่วงโซ่อาหาร และต่อโลกของเรา อย่างเป็นองค์รวมชนิดแยกออกจากกันไม่ได้
ชีวิตความเป็นอยู่ ชะตากรรมของมวลมนุษยชาติและสรรพชีวา ล้วนวางรากฐานอยู่บนสัมพันธภาพอันไม่อาจแบ่งแยกจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ แยกคนออกจากธรรมชาติ หรือ แยกธรรมชาติออกจากคนเมื่อไหร่ หายนภัยอันใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นตามมาทันที
การศึกษาที่เป็นสัมมาศึกษาจะต้องมีส่วนสนับสนุนอย่างแข็งขันให้คนสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ฉันกัลยาณมิตรไม่คิดพิชิต ฉกชิง ปล้นฆ่าเอาจากธรรมชาติอย่างไม่ปรานีปราศรัย แท้ที่จริงนั้น การศึกษามีหน้าที่โดยตรงในการทำให้คนกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม อยู่ร่วมกันอย่างเป็นเอกภาพ มีสัมพันธภาพต่อกันในเชิงเกื้อกูลรักษา เห็นคุณค่า ความดีงาม คุณูปการ ของกันและกัน เชิดชูบูชาคารวะกันในฐานะเป็นองค์รวมแห่งชีวิตที่เป็นหนึ่งเดียว
เพราะหากกล่าวอย่างถึงที่สุดแล้ว
โลกนี้ไม่มีสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสรรพสิ่งดำรงอยู่อย่างอิงอาศัยซึ่งกันและกัน แนวคิดที่ว่า โลกนี้มีสิ่งแวดล้อมแยกต่างหากจากมนุษย์ คือแนวคิดที่ผิด เพราะเป็นการมองสรรพสิ่งโดยเอาตัวมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
หากกล่าวตามหลักความจริงที่เป็นสากลแล้ว
“สรรพสิ่งล้วนอิงอาศัยกัน” (อิทัปปัจจยตา)
ตามหลักการนี้ โลกนี้จึงไม่มีสิ่งแวดล้อม
โลกนี้ทั้งโลก ทั้งเอกภพ ทั้งจักรวาล คือระบบแห่งการพึ่งพาอาศัยอย่างเป็นองค์รวม การทำลายสิ่งหนึ่งจะส่งผลกระทบถึงอีกสิ่งหนึ่งเสมอไป
การทำลายสิ่งแวดล้อม จึงมีค่าเป็นการทำลายระบบนิเวศ ระบบชีวิตของสรรพสัตว์ทั้งโลก ในทางกลับกัน การอยู่ร่วมกันด้วยไมตรีจิตมิตรภาพด้วยความตระหนักในคุณค่า เคารพในทุกปฏิสัมพันธ์ของกันและกัน ระหว่างคน ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม จะทำให้คน สัตว์ สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ อยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็นเป็นสุข สันติภาพและสันติสุขที่ยั่งยืนจะยังเป็นไปได้ ภายใต้ระบบสัมพันธภาพแบบพึ่งพาอาศัยกัน
การปลูกป่า การรักษา การฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อม
เป็นสุดยอดแห่งบุญกุศลชนิดหนึ่งที่เราควรร่วมกันทำได้ในที่ทุกสถานและในกาลทุกเมื่อ
... พระเมธีวชิโรดม
ต้นนี้ ถวายบุญทิศบุญให้เเม่ตั๊กค่ะ เเม่เล็ก🙏🏻🙂 ใครไป ปฏิบัติธรรมอย่าลืมนำบุญที่เดินจงกรมอุทิศให้แม่ตั๊กด้วยนะคะ🙏🏻🙂
ห้วย คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องทรัพย์สินการได้มาซึ่งในทรัพย์ในบรรพ 4 นั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายทรัพย์สิน ทรัพย์ ลักษณะของทรัพย์เสียก่อน
1.ความหมายทรัพย์สิน
ในทางกฎหมายได้ให้ความหมายของทรัพย์สิน คือ
1.1 ความหมายของทรัพย์และทรัพย์สิน
ทรัพย์ คือ วัตถุมีรูปร่าง เช่น รถยนต์ ปากกา เสื้อผ้า ธนบัตร สิ่งไม่เป็นรูปร่างไม่เป็นทรัพย์แต่อาจเป็นทรัพย์สิน
ทรัพย์สิน มีความหมายกว้างกว่า ทรัพย์ คือเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่ต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น พลังงาน กระแสไฟฟ้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์และทรัพย์สินมีลักษณะสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ
1.ทรัพย์ คือ วัตถุที่มีรูปร่าง ส่วนทรัพย์สิน คือ วัตถุที่มีรูปร่างก็ได้หรือไม่มีรูปร่างก็ได้
2.วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างนั้นต้องอาจมีราคาได้และต้องอาจถือเอาได้
1.2 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์และทรัพย์สิน
เมื่อทราบถึงความหมายและลักษณะของทรัพย์และทรัพย์สิน แล้วยังมีคำที่เกี่ยวข้องที่ขยายความหมายทรัพย์และทรัพย์สินที่ต้องอธิบาย คือ คำว่า “วัตถุมีรูปร่าง” “วัตถุไม่มีรูปร่าง” “อาจมีราคาได้” “อาจถือเอาได้”
1.2.1 วัตถุมีรูปร่าง
วัตถุมีรูปร่าง หมายถึงสิ่งเห็นได้ด้วยตา จับสัมผัสได้ เช่น หนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรือน รถ เรือ ม้า ลา เป็นต้น
ข้อสังเกต กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่มีมีรูปร่าง จึงน่าเป็นทรัพย์สิน มิใช่ทรัพย์นั้น ได้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 877/2501 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่าการลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 334หรือ 335 แล้วแต่กรณี
1.2.2 วัตถุไม่มีรูปร่าง
วัตถุไม่มีรูปร่าง นั้นหมายถึง สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น แก๊ส กำลังแรงธรรมชาติ พลังน้ำตก พลังปรมาณู เป็นต้น และยังได้แก่สิทธิต่างๆ อันเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภารจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นดิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ จำนำ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
1.2.3 อาจมีราคาได้
ราคา หมายถึง คุณค่าในตัวของสิ่งนั้นเอง ซึ่งมีความหมายตรงกับ Value ในภาษาอังกฤษมิใช่ราคาที่ตรงกับ Price ในภาษาอังกฤษ สิ่งบางอย่างอาจซื้อขายด้วยราคามิได้ แต่อาจมีคุณค่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทางเศรษฐกิจ หรือประโยชน์ทางจิตใจอยู่ เช่น จดหมายติดต่อระหว่างคู่รัก ประกาศตั้งชื่อสกุล เป็นต้น
ข้อสังเกต สลากกินแบ่งรัฐบาลก็เป็นทรัพย์สินซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ แม้สลากที่มีถูกรางวัลแล้วซื้อขายกันไม่ได้ต่อไป ก็อาจมีราคาได้ ถ้าเจ้าของยังหวงแหนเก็บรักษาไว้เป็นที่ระลึก
1.2.4 อาจถือเอาได้
คำว่าอาจถือเอาได้ หมายความว่า เพียงแต่อาจถือเอาได้นั้นก็เพียงพอแล้ว ฉะนั้นคำว่าถือเอาได้ จึงหมายถึงอาการเข้าหวงกันเพื่อตนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ายึดถือจับได้อย่างจริงจัง เช่น ปลาในโป๊ะ แม้เจ้าของโป๊ะจะยังไม่ทันจับปลาก็เรียกได้ว่าเจ้าของโป๊ะอาจถือเอาได้แล้ว เพราะมีการกั้นโป๊ะแสดงการหวงกันไว้เพื่อตนเอง
2.ประเภทของทรัพย์
ประเภทของทรัพย์ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ
2.1 อสังหาริมทรัพย์
อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นที่ดินทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ ทรัพย์สิทธิต่างๆ คือ ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
เมื่อวิเคราะห์ความหมายคำว่าอสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.1.1 ที่ดิน
ที่ดิน คือ พื้นดินทั่วๆไป แต่ย่อมหมายถึงดินที่ขุดมาแล้ว เพราะที่ดินที่ขุดมาจากพื้นดินแล้วไม่เป็นที่ดินต่อไป จึงเป็นเพียงสังหาริมทรัพย์เท่านั้น นอกจากนี้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้ความหมายของคำว่าที่ดินว่า หมายถึงพื้นดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย แต่ความหมายตามประมวลที่ดินนี้เป็นเพียงความหมายที่ใช้ในประมวลกฎหมายที่ดินเท่านั้น จะนำความหมายทั้งหมดมาใช้กับคำว่าที่ดินในประมวลหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ เช่น ลำน้ำและทะเลสาบ เป็นต้น ย่อมไม่เป็นที่ดินตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.1.2 ทรัพย์อันติดกับที่ดิน
ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่
1.ทรัพย์ที่เกิดหรือติดกับที่ดินโดยธรรมชาติ เช่น ไม้ยืนต้น ซึ่งต้องเป็นไม้ยืนต้นมีอายุยืนกว่า 3 ปี รวมไปถึงต้นพลูด้วย ส่วนไม้ล้มลุก ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์อันติดกับที่ดินที่อยู่ในความหมายในอสังหาริมทรัพย์
2.ทรัพย์ที่ติดกับที่โดยมีผู้นำมาติด เช่น บ้าน ตึกแถว สะพาน อนุสาวรีย์ เจดีย์ หอนาฬิกาและฮวงซุ้ย เป็นต้น แต่การนำมาติดกับที่ดินเช่นนี้ ต้องเป็นการติดในลักษณะตรึงตราแน่ถาวร แต่ไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับที่ดินตลอดกาล อาจจะปลูกสร้างติดอยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น อาคารที่ปลูกในงานมหกรรมสินค้า เสร็จแล้วก็รื้อถอนไป ก็ยังเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินชั่วระยะเวลาที่มีงานนั้น ตรงกันข้ามทรัพย์ที่เพียงวางอยู่บนที่ดิน แม้จะช้านานเท่าใด ก็มิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดิน จึงมิใช่อสังหาริมทรัพย์ เช่น ร้านแผงลอยถือว่าโดยสภาพมิใช่ทรัพย์ที่ติดกับที่ดินในลักษณะตรึงตราถาวรจึงเป็นสังหาริมทรัพย์
2.1.3 ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน คือ ทรัพย์ที่เป็นส่วนรวมหรือประกอบเป็นพื้นดิน เช่น แม่น้ำ ลำธาร แร่ธาตุ กรวดทราย ซึ่งอยู่ในธรรมชาติหรือซึ่งมนุษย์นำมารวมไว้กับที่ดินจนกลายเป็นส่วนของพื้นดินตามธรรมชาติ แต่ไม่หมายความรวมถึงสังหาริมทรัพย์ที่ซ่อนฝังหรือตกหล่นหมกดินทรายอยู่ เพราะทรัพย์เหล่านี้มิได้ปรกอบเป็นพื้นดินตามธรรมชาติ หากมนุษย์นำไปฝังหรือทิ้งไว้ และยังไม่กลายเป็นส่วนของพื้นดิน ผิดกับดินทรายที่บุคคลนำไปถมบ่อคู เมื่อถมแล้วก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินทันที จึงถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือคอนกรีต ยางมะตอยนำมาทำถนน เมื่อเป็นถนนแล้วย่อมถือว่าเป็นทรัพย์ที่ประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.1.4 สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน
สิทธิที่เกี่ยวกับทรัพย์สินในที่ดิน อาจแบ่งได้เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรงและสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม
1.สิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางตรง ได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอยและได้ซึ่งดอกผล สิทธิอาศัย ภารจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เหล่านี้จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.สิทธิเกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม คือ สิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น ซึ่งติดอยู่กับที่ดินอีกทอดหนึ่ง เช่น บ้านที่ปลูกบนที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์ หากเจ้าของบ้านเอาไปจำนอง สิทธิจำนองนั้นก็เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินด้วย จัดเป็นสิทธิที่เกี่ยวกับที่ดินโดยทางอ้อม จึงเป็นอสังหาริมทรัพย์
2.2 สังหาริมทรัพย์
สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ อาจถือเอาได้
จากความหมายข้างต้นสามารถพิจารณาศัพท์ตามความหมายของสังหาริมทรัพย์ จึงได้แก่
2.2.1 ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้
ทรัพย์ที่อาจเคลื่อนจากที่แห่งหนึ่งไปอีกแห่งหนึ่งได้ ซึ่งหมายถึงทรัพย์ที่ขนเคลื่อนย้ายไปได้โดยไม่เสียรูปทรงหรือรูปลักษณ์ของตัวทรัพย์นั้น เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย รถยนต์ โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น แต่ที่ดิน บ้านเรือน แม้จะขุดรื้อไปได้ตามก็ตาม แต่สิ่งที่ขุดรื้อไปนั้น หาใช่ดินหรือบ้านเรือนไม่ เป็นเพียงดิน แผ่นไม้ แผ่นสังกะสี แผ่นกระเบื้องเท่านั้น ที่ดินและบ้านเรือนจึงจะอ้างว่าเป็นสังหาริมทรัพย์ เพราะอาจขนเคลื่อนได้ จึงไม่ถูกต้อง แต่ร้านแผงลอยอาจขนเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เสียรูปทรงจึงเป็นสังหาริมทรัพย์ ตู้โทรศัพท์สาธารณะหรือป้อมยามตำรวจที่ยกเคลื่อนย้ายได้ ก็เป็นสังหาริมทรัพย์
2.2.2 กำลังแรงแห่งธรรมชาติ
กำลังแรงแห่งธรรมชาติที่จะถือว่าเป็นสังหาริมทรัพย์นี้จะต้องอาจถือเอาได้และอาจมีราคาได้ด้วย กำลังแรงแห่งธรรมชาติได้แก่ พลังน้ำตก พลังไอน้ำ แก๊ส เป็นต้น
2.2.3 สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์
สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ สิทธิที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นี้ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในสังหาริมทรัพย์ อย่างสิทธิที่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งไม่เป็นอสังหาริมทรัพย์สิทธิใดๆที่เกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ย่อมเป็นสังหาริมทรัพย์ทั้งสิ้น เช่น กรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในสังหาริมทรัพย์ บุริมสิทธิพิเศษชนิดที่เป็นบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ จำนำ สิทธิในหุ้นส่วน สิทธิยึดหน่วง ลิขสิทธิ์และสิทธิในเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
2.3 ทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
2.3.1 ทรัพย์ที่แบ่งได้
ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึง ทรัพย์ที่อาจแยกออกจากกันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมีรูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน เป็นต้น
2.3.2 ทรัพย์แบ่งไม่ได้
ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึง ทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก อาคาร เสื้อผ้า นาฬิกา เป็นต้น และทรัพย์ที่ไม่อาจแบ่งสภาพได้โดยอำนาจตามกฎหมาย เช่น หุ้นของบริษัทจำกัด ทรัพย์ส่วนควบหรือสิทธิจำนอง เป็นต้น
2.3.3 ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้
ประโยชน์ในการแบ่งทรัพย์ที่แบ่งได้และทรัพย์แบ่งไม่ได้นั้น มีประโยชน์ก็เพื่อใช้ในการแบ่งทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม คือ ถ้าเป็นทรัพย์ที่แบ่งได้ก็ไปตามส่วนแห่งการเป็นเจ้าของรวมว่าจะตกลงกันอย่างไร ถ้าเป็นทรัพย์แบ่งไม่ได้ก็ต้องแบ่งไปโดยวิธีที่กฎหมายกำหนดไว้ คือ ใช้วิธีประมูลกันระหว่างเจ้าของรวมหรือวิธีขายทอดตลาด
2.5 ทรัพย์นอกพาณิชย์
ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์นอกพาณิชย์อาจเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ทรัพย์นอกพาณิชย์ มี 2 ประการ
2.5.1 ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้
ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ ความจริงสิ่งใดที่ไม่อาจมีราคาได้หรือไม่อาจถือเอาได้ย่อมมิใช่ทรัพย์สิน เช่น สายลม แสงแดด ก้อนเมฆ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
2.5.2 ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ทรัพย์ที่ไม่สามารถโอนกันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งจะนำมาจำหน่ายจ่ายโอน ดังเช่นทรัพย์สินทั่วๆไป เช่นนี้จึงถือว่าอยู่นอกพาณิชย์ คือ นอกการการหมุนเวียนเปลี่ยนมือ ทรัพย์นอกพาณิชย์ประเภทนี้อาจจะมีการห้ามโอนโดยกฎหมายพิเศษ เช่น ห้ามโอนพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งในวัดใดวัดหนึ่งโดยเฉพาะพระพุทธรูปนั้นก็กลายเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ไปหรืออาจมีการห้ามโอนโดยกฎหมายที่กำหนดห้ามโอนไว้ทั่วๆไป ก็ได้ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 กำหนดว่า “ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นห้ามโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา” เช่น ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 34 กำหนดว่า “ที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จะโอนกรรมสิทธิ์ก็ได้แต่พระราชบัญญัติ และห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับวัดในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นที่ของวัดและที่ธรณีสงฆ์ ฉะนั้นที่วัดและที่ธรณีสงฆ์จึงเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ เป็นต้น
3. ส่วนประกอบของทรัพย์
ส่วนประกอบของทรัพย์ ได้แก่
3.1 ส่วนควบ
3.1.1 ความหมายของส่วนควบ
ส่วนควบ หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพไป เช่น ประตู หน้าต่าง ย่อมเป็นส่วนควบของบ้าน ล้อรถยนต์ย่อมเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบเหล่านั้น รวมทั้งไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย
3.1.2 ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์
ลักษณะที่สำคัญของส่วนควบของทรัพย์มีดังต่อไปนี้ คือ
1.ส่วนควบต้องเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์ใหม่นั้น เช่น เลนส์แว่นตาย่อมเป็นสาระสำคัญในความเป็นแว่นตาของแว่น ใบพัดและหางเสือเรือย่อมเป็นสาระสำคัญของเรือยนต์ เป็นต้น
2.ส่วนควบต้องมีสภาพไม่อาจแยกออกจากันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรง เช่น บ้านย่อมประกอบด้วย เสา ฝา หลังคา ประตู หน้าต่าง เหล่านี้เราไม่อาจแยกจากตัวบ้านได้ เว้นแต่จะรื้อทำลาย หรือ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่อาจแยกเอาขาโต๊ะ ขาเก้าอีออกมาได้ เว้นแต่จะทำให้บุบสลายไป เป็นต้น
3.การรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์นั้นนั้นอาจเป็นการกระทำของบุคคลก็ได้ เช่น บ้านเรือน โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ เป็นต้น หรืออาจเป็นการรวมสภาพที่เป็นส่วนควบของทรัพย์โดยธรรมชาติก็ได้ เช่นที่งอกริมตลิ่ง มูลแร่ที่ไหลไปตกกองอยู่พื้นดินจนกลายสภาพเป็นส่วนหนึ่งของพื้นดินตามธรรมชาติ เป็นต้น
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดแม้จะเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่แห่งทรัพย์ แต่ถ้าไม่มีการวมสภาพกันจนแยกไม่ได้แล้วก็หาใช่ส่วนควบไม่ เช่น ช้อนกับซ่อมไม่ถือว่าช้อนเป็นส่วนควบของซ่อม ฉิ่งกับฉาบไม่ถือว่าฉิ่งเป็นส่วนควบของฉาบ น้ำมันกับรถยนต์ไม่ถือว่าน้ำมันเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น ในทำนองกลับกันทรัพย์ใดแม้จะรวมสภาพจนไม่อาจแยกกันได้ แต่ถ้าทรัพย์นั้นไม่เป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของตัวทรัพย์ก็มิใช่ส่วนควบ เช่น ฝากั้นห้องแม้มีสภาพไม่อาจแยกออกจากตัวบ้านและหากรื้อจะทำให้บุบสลายไปก็ตาม แต่ตามปกติย่อมไม่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของตัวบ้าน เว้นแต่จะนำสืบให้เห็นว่าจารีตประเพณีเช่นนั้น ฉะนั้นฝากั้นห้องมิใช่ส่วนควบของตัวบ้าน
3.1.3 ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์
ทรัพย์ใดแม้เข้าลักษณะที่จะเป็นส่วนควบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังมี
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์มีดังนี้
1.ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี เช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง กล้วย อ้อย เป็นต้น
2.ทรัพย์อันติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวงใน ระหว่างงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
ข้อสังเกต ข้อยกเว้นข้อนี้ใช้บังคับเฉพาะทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเป็นการชั่วคราวเท่านั้น ถ้าเป็นทรัพย์ที่ติดกับสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นนี้
3.โรงเรือนหรือการปลูกสร้างอย่างอื่น ซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นได้ใช้สิทธิปลูกสร้างทำไว้ เช่น ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินคนในที่ดินของผู้อื่นได้ปลูกสร้างบ้านเรือนหรือต้นไม้ลงไป บ้านและต้นไม้ย่อมมิใช่ส่วนควบของที่ดินและผู้ทรงติดเหนือพื้นดินมีสิทธิรื้อถอนไปได้
3.2 อุปกรณ์
3.2.1 ความหมายของอุปกรณ์
อุปกรณ์ หมายถึง สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น แม่แรงประจำรถ กลอนประตูหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ของบ้าน เป็นต้น
3.2.2 ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์
ลักษณะสำคัญของเครื่องอุปกรณ์ คือ
1.ต้องมีสังหาริมทรัพย์ เฉพาะที่เป็นวัตถุมีรูปร่าง ไม่รวมถึงสิทธิต่างๆ เช่น ซื้อตู้เลี้ยงปลามาใส่ปลาเป็นทรัพย์ประธาน ตู้เลี้ยงปลาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ส่วนคอกวัวที่สร้างติดกับที่ดินในลักษณะถาวร คอกวัวเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีลักษณะคล้ายตู้เลี้ยงปลา ซึ่งเป็นเครื่องอุปกรณ์ของปลาก็ตาม คอกวัวหาใช่เครื่องอุปกรณ์ของวัวไม่
2.ต้องมีทรัพย์เป็นประธานเสมอ เช่น แม่แรงยกรถย่อมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นทรัพย์ประธาน และทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น มุ้งลวดเป็นเครื่องอุปกรณ์ของบ้าน ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธานหรือทรัพย์ประธานนั้นจะเป็นสังหาริมทรัพย์ก็ได้ เช่น ล้ออะไหล่รถยนต์เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์ ซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์และเป็นทรัพย์ประธาน
3.ต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับกับทรัพย์เป็นประธานอาจิณ โดยปกตินิยมเฉพาะถิ่น เช่น เครื่องมือประจำรถ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของรถยนต์หรือโดยเจตนาชัดแจ้งของผู้เป็นเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น พายซึ่งเจ้าของใช้ประจำอยู่กับเรือ เป็นเครื่องอุปกรณ์ของเรือ
4.เพื่อประโยชน์ในการจัดการดูแลหรือใช้สอย หรือรักษาทรัพย์เป็นประธาน เช่น ผ้าคลุมเป็นเครื่องอุปกรณ์ของโต๊ะ เพราะเป็นของที่จัดไว้เพื่อรักษาโต๊ะ อันเป็นทรัพย์เป็นประธานมิให้เปรอะเปื้อนหรือกระจกแว่นตาเป็นส่วนควบของแว่นตา ส่วนประกอบแว่นหรือผ้าเช็ดแว่นตาเป็นเครื่องอุปกรณ์ ล้อรถยนต์เป็นส่วนควบของรกยนต์แต่ล้ออะไหล่เป็นเครื่องอุปกรณ์ เป็นต้น
5.ต้องเป็นสิ่งที่เจ้าของทรัพย์ได้นำมาเป็นเครื่องใช้ประกอบกับตัวทรัพย์เป็นประธาน เพราะถ้าเป็นของผู้อื่นฝากไว้หรือยืมจากผู้อื่นมาใช้ชั่วคราวไม่ถือว่าทรัพย์นั้นเป็นเครื่องอุปกรณ์
ข้อสังเกต ทรัพย์ใดเป็นเครื่องอุปกรณ์แล้ว แม้จะแยกจากทรัพย์เป็นประธานชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานนั้น เช่น เครื่องมือซ่อมรถ แม้จะแยกไว้ต่างหากหรือให้เพื่อนยืมไปชั่วคราวก็ยังเป็นอุปกรณ์ของรถ เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการแยกอย่างเด็ดขาดไปเลย ก็ขาดจากการเป็นเครื่องอุปกรณ์ของทรัพย์เป็นประธานไปทันที การแยกเด็ดขาดหรือไม่ต้องดูจากเจตนาและพฤติการณ์ต่างๆ ของเจ้าของทรัพย์เป็นประธาน เช่น นำเครื่องอุปกรณ์ไปขายหรือให้ผู้อื่นไปเลย ซึ่งตามธรรมดาเครื่องอุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์เป็นประธาน กล่าวคือ เมื่อโอนทรัพย์เป็นประธานไปให้ผู้ใด ผู้รับโอนย่อมได้เครื่องอุปกรณ์ไปด้วย แม้ว่าขณะโอนทรัพย์เป็นประธานนั้นเครื่องอุปกรณ์จะแยกอยู่ต่างหากจากทรัพย์เป็นประธานก็ตาม
3.3 ดอกผล
ดอกผล หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์โดยสม่ำเสมอ แยกออก 2 ประเภทคือ
3.3.1 ดอกผลธรรมดา
ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ นมสัตว์ ลูกสัตว์ เป็นต้น
3.3.2 ดอกผลนิตินัย
ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา เป็นครั้งคราว แก่เจ้าของทรัพย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย เป็นต้น
3.3.3 ผู้มีสิทธิในดอกผล
หลักทั่วไป คือ เจ้าของทรัพย์มีสิทธิในดอกผลของทรัพย์นั้น หรือเจ้าของรวมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนในทรัพย์สิน หรือดอกผลเกิดแก่ทรัพย์สินที่ฝาก ผู้รับฝากต้องคืนดอกผลให้แก่ผู้ฝากหรือทายาทของผู้ฝาก หรือเงินและทรัพย์สินอื่นที่ตัวแทนรับไว้ในฐานะตัวแทนต้องส่งให้ตัวการทั้งสิ้น เป็นต้น
ตัวอย่าง คำพิพากษาของศาลฎีกา ที่ 187/2490 เมื่อศาลสั่งยึดทรัพย์แล้ว ย่อมครอบคลุมถึงดอกผลนิตินัย เช่าค่าเช่าทรัพย์
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 67/2506 เงินค่าประมูลกรีดยาง ซึ่งกรณีพิพาทกันในชั้นบังคับคดีและได้นำมาวางศาล ถือเป็นดอกผลนิตินัยของสวนยางที่ถูกนำยึด
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่ 967/2506 สัญญาเช่าที่ดินย่อมครอบคลุมไปถึงต้นไม้ที่อยู่ในที่ดินที่เช่าด้วย ถ้าผู้ให้เช่ามีความประสงค์จะสงวนไว้ใช้สอยเก็บสินส่วนตัว ก็ชอบที่จะระบุไว้สัญญาเช่าให้ชัดแจ้งมิฉะนั้นผู้เช่าย่อมมีสิทธิเก็บผลไม้อันเป็นดอกผลตามธรรมชาติของต้นไม้ เป็นต้น
4.การได้มาซึ่งทรัพย์สิน
การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในเรื่องของทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น มีหลักกฎหมายที่สำคัญที่ควรทราบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4คือ การได้มาและการสิ้นไปซึ่งทรัพย์สิทธิอัน หมายถึง สิทธิเหนือทรัพย์สิทธิโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีทรัพย์สิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์แล้ว บุคคลอื่นต้องยอมรับนับถือในสิทธินั้นคือมีหน้าที่ในสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
4.1 กรรมสิทธิ์
กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วจะมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
1)สิทธิครอบครองและยึดถือ
2)สิทธิใช้สอย
3)สิทธิจำหน่ายจ่ายโอน
4)สิทธิได้ดอกผล
5)สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้อื่น
6)สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
4.2 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แยกได้เป็นกรณี คือ
4.2.1 การได้มาซึ่งนิติกรรม
การได้มาซึ่งนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น
4.2.2 การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม
การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น ได้มาในเรื่องของส่วนควบ การได้มาโดยเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ การได้มาทางมรดก หรือการได้มาโดยคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
4.3 กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม
กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีกรรมสิทธิ์รวมกันในทรัพย์สินสิ่งใด ผู้เป็นของรวมคนหนึ่งมีสิทธิ เรียกให้แบ่งทรัพย์ได้เพื่อแต่ละคนจะได้มีกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนตามส่วนแบ่งของตน
4.4 สิทธิครอบครอง
สิทธิครอบครอง คือการที่บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนบุคคลนั้น ได้สิทธิครอบครองแต่บุคคลจะให้ผู้อื่นยึดถือทรัพย์สินแทนตนก็ได้ การมีสิทธิครอบครองเป็นทางทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
4.5 การครอบครองปรปักษ์
การครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบกำหนด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์และ 5 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์แล้วผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เจ้าของทรัพย์สินสิ้นสิทธิในทรัพย์สินนั้น เพราะถือว่านอนหลับทับสิทธิ เป็นการทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดย “อายุความ”
4.6 ทางจำเป็น
ทางจำเป็น คือ ทางที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยทางที่ผ่านนั้นจะต้องทำทางที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจต้องเสียค่าทดแทนจากการใช้ทางผ่านได้
4.7 ทรัพย์สิทธิ
ทรัพย์สิทธิ คือสิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สินที่เรียกสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่
4.7.1 ภาระจำยอม
ภาระจำยอม คือ ที่อสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ทำให้เจ้าของทรัพย์ต้องยอมรับกรรมหรือรับภาระหรืองดเว้น การให้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์
4.7.2 สิทธิอาศัย
สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การให้สิทธิอาศัยจะกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ซึ่งถ้ามีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี แต่ต่ออายุได้ สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไปยังผู้อื่นไม่ได้
4.7.3 สิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเหนือพื้นดิน คือการที่เจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น การใช้สิทธิต้องจดทะเบียนมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดินหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้
4.7.4 สิทธิเก็บกิน
สิทธิเก็บกิน คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
4.7.5 ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ คือการที่อสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ หรือได้ใช้แล้วถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
ห้วย คือ 在 Petssy Channel Youtube 的最讚貼文
วันนี้ ลูกเขยสวิส พาแม่ยาย มากินข้าว ข้างห้วยข้างบึง จะมีเมนูอะไรบ้างน้อ :)
ยินดีต้อนรับสู่ช่อง เพรชชี่ แชนแนล,petssy channel
นี้คือป้าเพรชชี่ และ ในช่องของป้าเพรชชี่ ป้าเพรชชี่จะนำเสนอว่า ป้าเพรชชี่ชอบทำ อาหาร / กิน และ พูดคุย ตลอด 55555 :D เพราะป้าชอบพูด ถึงจะไม่มีคนฟัง ป้าก็ยังจะพูดต่อไป 5555 ;D
และในคลิป หรือ vdo ของป้า จะเป็นแบบทำอาหารเสร็จ ก็กินโชว์เลย คือ เราไม่สามารถรอให้อาหารของเราเย็นได้ 5555 ;D
เริ่มต้นคลิปของป้าเพรชชี่ก็จะบอกว่าเมนูที่จะทำวันนี้มีส่วนผสมของอะไรบ้าง บางที่อาจจะมีส่วนผสมที่แฟนทางบ้านไม่ชอบก็สามารถปรับเปลี่ยนได้นะคะ และ ตามมาด้วยการลงมือทำอาหารเมนูของวันนี้อย่างไร ??
และ หลังจากที่ป้าเพรชชี่ทำอาหารสำหรับเมนูวันนี้เสร็จ ป้าเพรชชี่ ก็ จะมานั่งกินกับ ลุงคริส ด้วยกัน ปรกติ ลุงคริส จะชอบอาหารที่ป้าทำ แต่ บ้างเมนูที่มี ปลาร้า ปลาจ่อม กะปิ หรือ พวกอาหารกลิ่นแรงๆ ลุงคริส จะไม่ค่อย ปลื่มเท่าไร นอกจากป้าเพรชชี่จะหลอกให้ลุงกิน 55555 ;D
ก็ขอเชิญชวนทุกคนมากินข้าวเย็นไปพร้อมๆ กับป้าเพรชชี่ และ ลุงคริส นะคะ :)
ป้าหวังว่าทุกคนจะชอบ petssy channel นะคะ ขอขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ :D
อย่าลื่ม กดติดตาม และ กด รูปกระดิ่ง ไว้นะคะ เพื่อจะได้ไม่พลาด คลิปใหม่ๆจาก ป้าเพรชชี่ กับ ลุงคริส ค่ะ :D https://www.youtube.com/channel/UClUI47CK4RBtHyGA5km0RUg?sub_confirmation=1
นี้คือเพส facebook ของป้าเพรชชี่ ค่ะ https://www.facebook.com/petssychannel
Petssy Channel
ห้วย คือ 在 ห้วยตึงเฒ่าคืออะไร.......ห้วย คือ ทางน้ำที่ไหลลงมาจากภูเขา คำว่า ... 的推薦與評價
คำว่า “ตึง” เป็นภาษาเหนือหมายถึง เป็นชื่อย่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “ตองตึง” เฒ่า คือ แก่ มีอายุ มารวมกันเรียกว่า “ห้วยตึงเฒ่า” อันหมาย ... ... <看更多>
ห้วย คือ 在 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน): หน้าหลัก 的推薦與評價
ยังจำได้ไหม ว่าเราผ่านอะไรร่วมกันมาบ้าง ตั้งแต่วันนั้นที่มีวิกฤต มาจนถึงวันนี้ เราอยู่เคียงข้างคนไทย และ พร้อมที่จะพาคนไทยไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และ อนาคตที่ยั่งยืน เพราะทุกคนคือพลัง ... ... <看更多>
ห้วย คือ 在 ที่มาของคำว่า "หวย" | Highlight ศัพท์หนุกศัพท์หนาน | ONE ... 的推薦與評價
ดูฟรี คมชัด ทั่วประเทศ ชม Online ได้ทาง : https://www.one31.net/live ดูย้อนหลังที่แรกทาง : https://www.one31.net ติดตามข่าวสารจากช่อง one ... ... <看更多>