ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of Law) นับว่าเป็นทฤษฎีที่แสดงออกถึงแนวคิดของคนที่ออกกฎหมายมาเพื่อผลประโยชน์และปกป้องผลประโยชน์ของพวกที่มีอำนาจปกครอง หรือ เป็นแนวคิดที่ว่า “กฎหมายเป็นเครื่องมือที่ออกกฎหมายมาเพื่อชนชั้นสูงที่มีอำนาจออกกฎหมาย” ดังนั้น เพื่อให้เข้าใจแนวคิดนี้มากขึ้น จำต้องเข้าใจถึงพื้นฐานชีวิตของผู้ก่อตั้งสำนักนี้และแนวคิดนี้พัฒนาขยายความต่อมาอย่างไร ดังนี้
1.1 แนวคิดผู้ก่อตั้งทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (คาร์ลมาร์ก (Karl Marx): 1818 – 1883)
คาร์ล มาร์ก เกิดเมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1818 ที่ปรัสเซีย พ่อเป็นทนายความเชื้อสายยิวที่มีฐานะดี มาร์ก จบปริญญาเอกด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเจนาในช่วงวัยหนุ่มนั้น มาร์ก จะมีแนวความคิดอิทธิพลของกฎหมายธรรมชาติในตัว มาร์ก แต่เมื่องานหนังสือพิมพ์ของ มาร์ก โดนเซ็นเซอร์ทำให้แนวความคิดของเขาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลปรัสเซีย
งานเขียนของมาร์ก ในช่วงวัยหนุ่มสัมผัสกับความเชื่อถือศรัทธาใน “แนวคิดมนุษย์นิยม” (Humanism) และ “ธรรมชาตินิยม” (Naturalism) อันทำให้เรามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบกฎหมายบ้านเมืองหรือปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism) และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ของ ซาวิญยี่ (Savingy) ซึ่งเขาเห็นว่ากรณี ปฏิฐานนิยมทางกฎหมายเป็นความคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมาย โดยมาร์กให้ความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็น “บรรทัดฐานเชิงคุณค่า” (Normative Approach to law) ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่า “กฎหมายอันแท้จริง” (True Law) จะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายใน “ชีวิตทางสังคมของมนุษย์” (Man’s social being) และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่ง “ความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง” (Truly human activities)
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ชีวิตและพัฒนาการทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นตามวัยของ มาร์ก ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ตลอดจนได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป็นจริงต่างๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวคิดทางปรัชญาและการเมืองของมาร์กในระยะหลังเปลี่ยนแปลงไปเข้าสู่ลักษณะความคิดแบบ “สสารธรรม” (Materialism) โดยเน้นการเข้าสู่ปัญหาในแง่ “รูปธรรมทางเศรษฐกิจ” มากกว่า “การวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญา” แบบเดิม
1.2 วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
จากข้อเขียนงานเขียนต่าง ๆ ของมาร์กซิสต์ ต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งได้วิเคราะห์สรุปความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายออกอยู่ 3 ประการ คือ กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนและในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด ดังนี้
1.2.1 กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความ “ทฤษฎีสสารธรรมประวัติศาสตร์” ของ มาร์ก ซึ่ง สสารธรรมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย,ศีลธรรม,การเมือง,อุดมการณ์) เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตเป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนฐาน (ส่วนล่าง) ของสังคม” (Infrastructure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่าง ๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิตหรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าว เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
จากแนวคิดที่ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ผู้เขียนมองว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริงของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย” กฎหมายในแง่นี้จึง “ไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ” ซึ่งโต้แย้งกฎหมายธรรมชาติ “ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ” โต้แย้งแนวคิดปฏิฐานนิยมของ จอห์น ออสติน ในฐานะผู้มีอำนาจออกกฎหมาย แต่ “เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจ” อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีข้อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร ส่วนความคิดปฏิฐานนิยม นั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฐาธิปัตย์, อำนาจรัฐ, ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฐาธิปัตย์ คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล แต่ของ มาร์กซิสต์ นั้นจะพยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา “แบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ” (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่า “เงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง” จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า “กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ” ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
1.2.2 กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตนหรือกฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง
ความคิดนี้เป็นที่เชื่อยอมรับในหมู่ของพวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม (ซึ่งเป็นข้อสรุปค่อนข้างแข็งกร้าว) บทกวีสำคัญของนาย “ภูติ” ที่ว่า “…ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อประโยชน์ของชนชั้นนั้น…” ซึ่งเป็นบทกวีที่คุ้นหูต่อบุคคลหรือนักกฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยม และน่าเชื่อถือว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจัง ในข้อสรุปหรือบทกวีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามมิได้มีการสืบค้นหาความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง
การที่กลุ่มมาร์กซิสต์ ได้สรุปจากถ้อยคำของ มาร์ก ที่กล่าวสั้นๆ ในเชิงข้อสังเกตหรือวิจารณ์กฎหมายของฝ่ายนายทุน ทำให้เกิดข้อสรุปทางทฤษฎีกฎหมายจากนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ทั่วไปว่า “กฎหมาย คือ เครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือกฎหมายเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของชนชั้นปกครองมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงร่วม หรือเจตจำนงทั่วไปของประชาชน” กฎหมายในลักษณะเช่นนี้ คือ ผลผลิตหรือเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ซึ่งล้วนถูกประทับตราแห่งชนชั้นผู้ปกครองสังคมทั้งสิ้น อุดมการณ์เช่นนี้จึงมีปัญหาว่ากฎหมายจะมีบทบาทรับใช้ใครหรือมีเนื้อหาอย่างไร ในทรรศนะคติของ มาร์ก จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1. ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมายก็ออกกฎหมายเพื่อชนชั้นนั้น
2. เงื่อนไขทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเช่นใดหรืออีกนัยหนึ่งระบบเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นระบบอะไร
อย่างไรก็ตาม มีข้อน่าสังเกตนักทฤษฎีกฎหมายของรัสเซีย อาทิ P.I. Stucka, Eugene Pashukanis กล่าวยืนยันบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือเป็นกลไกเพื่อการข่มขู่บังคับและสร้างความแปลกแยกต่อชีวิตในสังคม ท่าทีและข้อสรุปเช่นนี้ต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงพลิกผันไปในยุคสตาลิน (Stalin) ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมือง “ในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อการลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติกฎหมาย”
แนวคิดของ มาร์ก ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตัว (ค.ศ.1956) กลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีน ซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค (มิใช่เจตจำนงของคนทั่วไป) คือ “วิญญาณของกฎหมาย” (Policy is the soul of Law) แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยึดติดกับข้อสรุปเดิม ๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใด ๆ โดยมีการสรรเสริญแซ่ซ้องภาวะการไม่มีกฎหมาย (Law lessness) กันอย่างมาก หลังจาก เหมา เจ๋อ ตุง (ค.ศ.1893 – 1976) ได้เสียชีวิตและการหมดอำนาจของกลุ่มผู้นำ บทบาทของกฎหมายได้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศจีน ในยุคสมัย เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง “ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน” โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยปกป้องมิให้เกิดเหตุอันสะพรึงกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้ ตามแนวคิดของมาร์กซิสต์
พัฒนาการทางกฎหมายหรือความผันผวนของการตีความบทบาทของกฎหมายในค่ายสังคมนิยม ที่เริ่มจากภาพลักษณ์ของกฎหมายในเชิงลบและเปลี่ยนมาในเชิงบวกมากขึ้น คือ การยอมรับคุณค่าทางกฎหมายหรือเน้นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ในทางทฤษฎีจะได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับคุณค่าหรือบทบาทของกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติกลไกบริหารของรัฐสังคมนิยมจะผูกมัดตัวเองกับแนวคิดใน “เชิงหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยม” (Socialist Legality) เพียงใด เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสังคมนิยม เช่น ประเทศจีน พม่า เป็นต้น ดังมีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสังคมนิยม จากองค์การนิรโทษกรรมสากล ที่มีการเรียกร้องให้ใช้หลัก “การปกครองแบบนิติรัฐ” (Legal State) กับ “การปกครองแบบนิติธรรม” (The Rule of Law) อยู่ทุกปี
1.2.3 ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
ประเด็นข้อสรุปนี้ ความจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ในอนาคตที่มี “แนวความคิดแบบอภิปรัชญาในเชิงศาสนา” อยู่มาก ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญาหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของ มาร์ก ในอนาคต ที่โลกจะอยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภารดรภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการปกครองแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกลไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบและไม่มีกฎหมายที่ออกมาควบคุมสังคม จะทำให้สังคมคอมมิวนิสต์มีความสมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過53萬的網紅วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB,也在其Youtube影片中提到,?แจกหนังสือฟรี?" เงิน มา ง่ายๆ" เขียนโดย อ.วรัทภพ รชตนามวงษ์ มีเนื้อหามากถึง 357 หน้า รับหนังสือฟรี! แอดไลน์ @warattapob (มี@ นำหน้า) หรือกดลิงก์นี้เพ...
「เจ๋อ คือ」的推薦目錄:
- 關於เจ๋อ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於เจ๋อ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於เจ๋อ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於เจ๋อ คือ 在 วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB Youtube 的最讚貼文
- 關於เจ๋อ คือ 在 โพสต์ของ โรงเรียนสอนภาษาพรรัตน์ สอนภาษาจีน ติวสอบ แปล ล่าม ... 的評價
- 關於เจ๋อ คือ 在 เจ๋อโบ กวนจีน คืออะไร|เจ๋อโบ กวนจีน 哲哲X波波 - YouTube 的評價
- 關於เจ๋อ คือ 在 เปิดปูม "หาวเจ๋อ ตู้" นายทุนจีน พปชร.เขาคือใคร? - YouTube 的評價
เจ๋อ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
อิทธิพลของแนวคิดมาร์กซิสต์ที่มีต่อประเทศไทยในกรณี 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519
ขบวนการต่อสู้ของนักศึกษา 14 ตุลาคม 2516 เป็นขบวนการสามัคคีอย่างกว้างขวางชนะด้วยยุทธศาสตร์และยุทธวิธี และมิใช่ไร้การจัดตั้งแต่ประการใด ขณะเดียวกันหัวขบวนหรือแกนขบวนเคลื่อนไหวหลายด้าน เช่น งานข่าวกรอง งานพิธีกรรมและตั้งขบวน งานฟันเฟือง งานส่งกำลังบำรุง และงานกองหน้าในการเคลื่อนขบวนผสมกับการประเมินสถานการณ์และมีการทำ วิเคราะห์ทางเลือก โดยทำกันชนิดวันต่อวัน นาทีต่อนาทีก็ว่าได้ในรูปแบบการสื่อสาร อำนาจรัฐตัดตอนการสื่อสารได้ระยะหนึ่ง นำไปสู่การ กล่าวหา ขบวนในพื้นที่เคลื่อนไหว เริ่มลังเล ตามมาด้วยฝ่ายอำนาจรัฐ รุกตีนักศึกษาโดยอาศัยการข่าวการสื่อสารระหว่างที่กลุ่มขบถ 13 คน
ขณะเดียวกันมีการวิเคราะห์ว่าขบวน 6 ตุลาคม 2519 เป็นขบวนที่พ่ายแพ้ แต่นั่นมิใช่ความจริงทั้งหมด ตามสภาพของเหตุการณ์นั้น ฝ่ายถูกปิดล้อมในธรรมศาสตร์ทราบข่าวล่วงหน้าแล้วว่า ควรออกจากพื้นที่ก่อนการปิดล้อมใหญ่ แล้วกลับมาวางเครือข่ายนอกพื้นที่ และกระจายตัว เคลื่อนไหวในที่ตั้งและเป็นไปในจังหวัดใหญ่ ความวิบัติเกิดขึ้น เพราะมีการแยกขั้วการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์และการปลุกระดมผ่านวิทยุเป็นเครือข่ายจัดตั้งทำให้ กำลังปิดล้อมเคียดแค้น นำไปสู่การเสียเลือดเนื้อ บางส่วนเข้าไปสมทบกับพวกในป่าอยู่แล้ว กระแส 14 ตุลาคม 2516 เป็นกระแสแนวร่วมประชาธิปไตยและกระแส 6 ตุลาคม 2519 เป็นกระแสสังคมนิยมในลักษณะสุดขั้ว ผู้เขียนไม่ได้เห็นด้วยกับความคิดที่ว่าขบวนใดแพ้หรือขบวนการใดชนะ แต่สนใจในประเด็นความต่อเนื่องของการลงสู่ชนบท 2 ครั้ง
การลงสู่ชนบทหลัง 14 ตุลาคม 2516 เป็นไปภายใต้อำนาจรัฐใหม่ซึ่งใช้ทบวงมหาวิทยาลัยและจัดงบประมาณทัศนะผิดพลาดตรงที่ให้นิสิตนักศึกษาไปสอนแนวคิดประชาธิปไตย ซึ่งการประเมินผลพบว่านักศึกษา ไปเรียนรู้ จากชนบท โดยเห็นการกดขี่ขูดรีด ทั้งภาครัฐ และเอกชน ความคับแค้นทางจิตใจและเห็นการเติบโตทางวัตถุถูกกุมโดยกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่นซึ่งต่อมาเข้าสู่ขบวนการ ทางการเมือง เมื่อมีการเลือกตั้งผ่านพรรคการเมืองสองพรรค คือ พรรคพลังใหม่ ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย ส่วนอีกพรรคหนึ่งเป็นพรรคสังคมนิยมโดยขยายผลการจัดตั้งในชนบทหลายพื้นที่ในจำนวนนี้มีเครือข่าย ชาวนาภาคเหนือ กลุ่มภาคใต้ และกลุ่มมวลชนในอีสานใต้
เป็นที่น่าสังเกตว่าสองพรรคมีนักวิชาการที่เคลื่อนไหวก่อนและระหว่าง 14 ตุลาคม 2516 รวมอยู่ด้วย แต่พรรคสังคมนิยมมีงานมวลชน และมีลักษณะเข้าไปมีส่วนต่อการเผยแพร่ความคิด ซ้ายจัด รวมอยู่ด้วยขณะเดียวกัน ที่มีวรรณกรรมฝ่ายซ้ายออกมาโดยมีการตีพิมพ์ความคิด มาร์ก เลนิน, เห๋มา เจ๋อ ตุง อย่างแพร่หลาย แม้ยอดพิมพ์จะนับหมื่นนับแสน แต่ก็เป็นไปในรูปลัทธิคัมภีร์มากกว่า มองสภาพจากสังคมไทยเวลานั้น
เมื่อพิจารณาความคิดของ มาร์กนั้น เน้นไปในทางวิภาษวิธีและความรู้จากการวิภาษวิธีที่เรียกว่า "ไดอะเลคติค" เป็นชุดความรู้ ซึ่งมีคุณลักษณ์ ประมาณการ เพราะภาววิสัยประกอบด้วยความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อน ไม่ง่ายหรือตรงแบบที่เรียกว่า "เถรตรง" แต่ประการใด ระบบโครงสร้างจิตสำนึกนั้น ภาววิสัยเป็นส่วนที่มีเหตุปัจจัยที่องค์ประกอบไม่กลมกลืนกัน ตรงกันข้ามกลับมีความหลากหลายยิ่ง และเต็มไปด้วยรูปธรรมซึ่งไม่มีวันยุติแต่เป็นขบวนการต่อเนื่อง ผกผันและมีปริมณฑลกว้างขวางมาก
แม้ว่าโดยทั่วไปเราวัดเอาโครงสร้างจิตสำนึกทางภาววิสัยว่า "เป็นเจตจำนงเชิงปรัชญา" หรือเป็นทฤษฎีความรู้โดยทั่วไปไม่ได้แต่ภาววิสัยก็เป็นส่วนกำหนดอัตวิสัยของช่วงกระแสเฉพาะกาลเวลา หนึ่ง แต่เมื่อเปลี่ยนไปอีกกาลเวลาหนึ่งรูปธรรมและนามธรรมเปลี่ยนไป มันจึงเป็นขบวนการวิวัฒนาการ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เคยใช้คำ "ปฏิวัฒนาการ" ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าถูกต้อง คือ "มันหมุนเหตุการณ์เป็นวัฏฏะก็จริงแต่ก็เป็นวัฏฏะที่พัฒนาการก้าวขึ้นไปเรื่อยๆ" ในทัศนะของ ดร.เสกสรรค์นี้ คาร์ล ปอปเปอร์ เคยกล่าวว่า ทฤษฎีความรู้นี้ เชื่อมต่อวิวัฒนาการ ปัญหาเบื้องต้นคือ ทุกชีวิตต่อสู้เพื่อความอยู่รอด ปฏิกิริยาต่อความเคลื่อนไหวอยู่กับภาววิสัยที่เป็นปัจจัยปลุกเร้าต่างกัน
ผู้เขียนเห็นว่านี่เป็นจุดที่เราต้องเข้าใจว่าทำไมการปฏิวัติทางโครงสร้างจิตสำนึกแบบเอเชีย จึงต่างไปจากโครงสร้างจิตสำนึกแบบตะวันตก ศาสนาและทุนเดินไปชนิดเป็นเนื้อหน่อเดียวกัน การส่งทูตศาสนาและหมอสอนศาสนาไปยังพื้นที่ต่างๆ ตามมาด้วยกลุ่มอาณาจักรและลงท้ายด้วยกลุ่มศาสนาเข้าไปเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐที่ยังไม่พัฒนาหรือกลายเป็นกลุ่มให้ความรู้เชิงปฏิปักษ์ แต่ไม่ถึงขั้นปฏิวัติให้คนลุกฮือ แต่ใช้ค่านิยมเมตตาธรรม แม้ว่าจะโดนต่อต้านมีการฆ่าหมอสอนศาสนาในหลายพื้นที่ แต่ขบวนการศาสนาเพื่อสังคมก็จะกระทำสำเร็จ เช่นในฟิลิปินส์ และในพื้นที่อื่นๆ
นักประวัติศาสตร์อินเดียมองว่า ในช่วงปฏิวัติการค้ายุคแรก คือ ก่อนศาสนาพระพุทธเจ้า วรรณะเป็นค่านิยมทางโครงสร้างจิตสำนึก ศาสนาอย่างพระพุทธเจ้าทรงสอนโดยถึงรากเหง้าความเป็นมนุษย์ ออกมาเสียก่อนคือ ทรงประกาศว่ามนุษย์ทุกคนทัดเทียมเท่ากันตามชาติกำเนิด แต่มองไปที่ไหนมนุษย์เหล่านั้นถูกตรึงไว้ด้วยโซ่ตรวนแห่งกรรม และมีกรรมกำกับเจตนา มีโลภ โกรธ หลง การติดยึดและอัตตา
นี่เป็นที่มาของภาววิสัยตะวันออก ที่เน้นการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณ และการให้ทานทางวัตถุต่างไปจากตะวันตก ที่พยายามดิ้นรนแย่งชิงทางวัตถุแล้วปลดปล่อยด้วยความมั่งคั่ง ส่วนที่แบ่งปันให้กระทำผ่านโบสถ์ และเรียนรู้เมตตาธรรมจากนักบุญ ภาววิสัยของมาร์กซิสต์ไทย จึงมีเหง้าความคิดแตกต่างกันมาก
เจ๋อ คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (The Marxist Theory of Law)
(สรุป จาก จรัญ โฆษณานันท์ "นิติปรัชญา" มหาวิทยาลัยรามคำแหง"
1.แนวคิดผู้ก่อตั้งทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์ (คาร์ลมาร์ก (Karl Marx) : 1818 – 1883)
มาร์กเกิดเมื่อ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1818 ที่ปรัสเซีย พ่อเป็นทนายความเชื้อสายยิวที่มีฐานะดีและรู้จักกับ วอร์แตร์ กับ รุสโซ เป็นอย่างดี คาร์ล มาร์ก จบปริญญาเอกด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยเจนาในช่วงวัยหนุ่มนั้น มาร์ก จะมีแนวความคิดอิทธิพลของกฎหมายธรรมชาติในตัว มาร์ก แต่เมื่องานหนังสือพิมพ์ของ มาร์ก โดนเซ็นเซอร์ทำให้แนวความคิดของเขาต่อต้านการกระทำของรัฐบาลปรัสเซีย
งานเขียนของมาร์ก ในช่วงวัยหนุ่มสัมผัสกับความเชื่อถือศรัทธาในแนวคิดมนุษย์นิยม (Humanism) และธรรมชาตินิยม (Naturalism) อันทำให้เรามีท่าทีต่อต้านความคิดแบบกฎหมายบ้านเมืองหรือปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Legal Positivism) และสำนักกฎหมายประวัติศาสตร์ของ ซาวิญยี่ (Savingy) ซึ่งเขาเห็นว่ากรณีปฏิฐานนิยมทางกฎหมายเป็นความคิดที่มุ่งเน้นแต่เรื่องประสิทธิภาพการทำงานของกฎหมายโดยมาร์กให้ความสำคัญของกฎหมายในแง่เป็นบรรทัดฐานเชิงคุณค่า (Normative Approach to law) ซึ่งเป็นลักษณะของการยอมรับความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่ากฎหมายอันแท้จริง (True Law) จะต้องมีลักษณะสากลที่สะท้อนถึงกฎเกณฑ์ภายในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ (Man’s social being) และความต้องการภายในของกิจกรรมแห่งความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง (Truly human activities)
อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ชีวิตและพัฒนาการทางปัญญาที่เพิ่มมากขึ้นตามวัยของ มาร์ก ประกอบกับการหันมาทุ่มเทความสนใจศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ ตลอดจนได้เข้าร่วมในปฏิบัติการที่เป็นจริง ต่าง ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสังคม แนวคิดทางปรัชญาและการเมืองของมาร์กในระยะหลังเข้าสู่ลักษณะความคิดแบบ สสารธรรม (Materialism) โดยเน้นการเข้าสู่ปัญหาในแง่รูปธรรมทางเศรษฐกิจมากกว่าการวิจารณ์หรือเข้าสู่ปัญหาในเชิงปรัชญาแบบเดิม
2.ข้อสรุปแนวคิดทฤษฎีกฎหมายของมาร์กซิสต์
จากข้อเขียนงานเขียนต่างๆดังกล่าวนี้เองต่อมาได้ทำให้นักทฤษฎีมาร์กซิสต์รุ่นหลังจำนวนหนึ่งสรุปความ เกี่ยวกับธรรมชาติหรือบทบาทของกฎหมายออกเป็นข้อสรุปสำคัญ 3 ประการ คือ
1.กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ
2. กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน
3. ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหายและสูญสิ้นไปในที่สุด
2.1 กฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข
ข้อสรุปนี้เป็นผลของการตีความทฤษฎี สสารธรรมประวัติศาสตร์ของ มาร์ก และ เองเกลส์ (สสารธรรมประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) หมายถึง การปรับใช้หลักสสารธรรมประติการเข้ากับการศึกษาพัฒนาการของสังคมหรือประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยถือว่า ความคิดของมนุษย์และบรรดาสถาบันต่าง ๆ ในสังคม (รวมถึงกฎหมาย, ศีลธรรม, การเมือง, อุดมการณ์) เป็นเสมือนโครงสร้างส่วนบนของสังคม (Super Structure of Society) ที่เป็นผลผลิตหรือถูกกำหนดโดยส่วนใหญ่จากรากฐาน ทางวัตถุและเทคโนโลยีซึ่งแน่นอน กล่าวคือ เศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ทางการผลิตซึ่งเป็นเสมือนโครงสร้างส่วนฐานของสังคม (Infra Structure of Society) และพลังจูงใจให้มีการเปลี่ยนแปลงสังคม (สังคมที่ยังเป็นรัฐหรือมีการปรากฏตัวของรัฐบาล) คือ การต่อสู้ของชนชั้นที่เป็นปรปักษ์กันอันเนื่องจากความขัดแย้งทางวัตถุหรือเศรษฐกิจ
โดยถือว่า บรรดารูปการทั้งหลายซึ่งเป็นเรื่องจิตสำนึกของมนุษย์ในเรื่องการเมือง สังคม ศาสนา วัฒนธรรม หรือกฎเกณฑ์ทางสังคมต่างๆ ล้วนถูกกำหนดโดยระบบการผลิต หรือระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ โดยที่รูปการของจิตสำนึกดังกล่าว เป็นเสมือน “โครงสร้างส่วนบนของสังคม” ซึ่งวางอยู่บนฐานของระบบเศรษฐกิจหรือ “โครงสร้างส่วนล่างหรือส่วนฐานของสังคม” ขณะเดียวกันก็ถือว่า กฎหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบนของสังคม โดยที่รูปแบบเนื้อหาหรือแนวความคิดทางกฎหมายจะเป็นผลสะท้อนของระบบเศรษฐกิจหรือการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตามข้อสรุปดังกล่าว เป็นการสะท้อนให้เห็นความเชื่อในปรัชญา แบบนิยัตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Determinism) หรือ “เศรษฐกิจกำหนด” อันเป็นปรัชญาความเชื่อว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือผลประโยชน์ของตัวเองในเชิงเศรษฐกิจ เป็นตัวกำหนดตัดสินการกระทำของปัจเจกชนในเรื่องการเมืองโดยตรง จากจุดนี้เองทำให้ข้อสรุปของแนวคิดที่มองลักษณะด้านเดียวว่า กฎหมาย (ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน) เป็นสิ่งที่ถูกกำหนด (ฝ่ายเดียว) โดยเศรษฐกิจ ซึ่งนับว่าเป็นจุดเปราะบางหรือจุดอ่อนของกลุ่มแนวคิดมาร์กซิสต์
จากแนวคิดข้อสรุปข้อที่ 1 ว่ากฎหมายเป็นผลผลิตหรือผลสะท้อนของโครงการสร้างทางเศรษฐกิจหรือเงื่อนไข ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว อาจสรุปได้ว่า
เป็นการมองว่าเงื่อนไขทางเศรษฐกิจเป็นตัวเข้ามากำหนดความเป็นไปหรือตัวธรรมชาติที่เป็นจริง ของกฎหมายในแต่ละยุคแต่ละสมัย กฎหมายในแง่นี้จึงไม่ใช่เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของเจตจำนงของรัฐาธิปัตย์ที่เป็นอิสระ แต่สิ่งที่เป็นเจตจำนงรัฐาธิปัตย์ที่ยังอยู่ภายใต้สิ่งที่เป็นเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ หรือโครงสร้างทางเศรษฐกิจอีกชั้นหนึ่ง
1. ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับความคิดแบบกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาตินั้นไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมหรือรูปธรรมเกี่ยวกับความเป็นจริงของสังคมว่าสัมพันธ์กับธรรมชาติของกฎหมายอย่างไร
2. ส่วนปฏิฐานนิยมนั้นอาจจะมองกฎหมายในแง่ข้อเท็จจริง คือ รัฐาธิปัตย์, อำนาจรัฐ, ระบบกฎหมาย แต่ไม่ได้มองว่าเบื้องหลังของรัฐาธิปัตย์คืออะไร เบื้องหลังของระบบกฎหมายมีอะไรเป็นตัวอิทธิพล แต่ของ มาร์กซิสต์ นั้นจะพยายามชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของเศรษฐกิจหรือโครงสร้างของเศรษฐกิจว่าเป็นตัวกำหนดที่สำคัญต่อ กฎหมาย
2.2 กฎหมายเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือหรืออาวุธที่ชนชั้นปกครองสร้างขึ้น เพื่อปกป้องอำนาจของตน / กฎหมายเป็นเครื่องมือกดขี่ของชนชั้นปกครอง
ข้อสรุป ความคิดนี้เป็นที่เชื่อยอมรับในหมู่ของพวกที่มีความคิดแบบสังคมนิยม (ซึ่งเป็นข้อสรุปค่อนข้างแข็งกร้าว) บทกวีสำคัญของนาย “ภูติ” ที่ว่า “…ชั้นใดเขียนกฎหมาย ก็แน่ไซร้เพื่อชั้น…” ซึ่งเป็นบทกวีที่คุ้นหูต่อบุคคลหรือนักกฎหมายที่สนใจแนวคิดแบบสังคมนิยม และน่าเชื่อถือว่ามีบุคคลจำนวนไม่น้อยที่ยึดมั่นอย่างจริงจัง ในข้อสรุปหรือบทกวีดังกล่าวโดยมิได้มีการสืบค้นหาความหมาย หรือพิสูจน์ความชอบธรรมของข้อสรุปนี้อย่างจริงจัง
การที่กลุ่มมาร์กซิสต์ ได้สรุปจากถ้อยคำของ มาร์ก ที่กล่าวสั้นๆ ในเชิงข้อสังเกตหรือวิจารณ์กฎหมายของฝ่ายนายทุน ทำให้เกิดข้อสรุปทางทฤษฎีกฎหมายจากนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ทั่วไปว่า “กฎหมาย คือ เครื่องมือกดขี่ทางชนชั้นหรือกฎหมายเป็นเพียงการแสดงออกซึ่งเจตจำนงของชนชั้นปกครองมิใช่เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงร่วม หรือเจตจำนงทั่วไปของประชาชน”
คำนิยามเช่นนี้จึงคือเป็นผลผลิตหรือเครื่องมือของฝ่ายปกครอง ซึ่งล้วนถูกประทับตราแห่งชนชั้น ซึ่งขึ้นมาเป็นผู้ปกครองสังคมทั้งสิ้น อุดมการณ์เช่นนี้ ปัญหาว่ากฎหมายจะมีบทบาทรับใช้ใครหรือมีเนื้อหาอย่างไร ? ในทรรศนะคติของ มาร์ก จึงหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องพิจารณาประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
1.ชนชั้นใดเป็นผู้ออกกฎหมายก็ออกกฎหมายเพื่อชนชั้นนั้น
2.เงื่อนไขทางเศรษฐกิจนั้นเป็นเช่นใดหรืออีกนัยหนึ่งระบบเศรษฐกิจในขณะนั้นเป็นระบบ
อะไร
อย่างไรก็ตามมีข้อน่าสังเกตนักทฤษฎีกฎหมายของรัสเซีย อาทิ P.I. Stucka,Eugene Pashukanis กล่าวยืนยันบทบาทของกฎหมายในฐานะเป็นเครื่องมือปกป้องผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือเป็นกลไกเพื่อการข่มขู่บังคับและสร้างความแปลกแยกต่อชีวิตในสังคม ท่าทีและข้อสรุปเช่นนี้ต่อมาถูกเปลี่ยนแปลงพลิกผันไปในยุค สตาลิน (Stalin) ที่หันมาเน้นบทบาทของกฎหมายอย่างเข้มข้นอีกครั้งในทางการเมืองในฐานะเป็นเครื่องมือเพื่อการลงโทษหรือถอนรากถอนโคนผู้เป็นปรปักษ์ต่อการปฏิวัติกฎหมาย
ข้อสังเกต แนวคิดของ มาร์ก ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตัว (ค.ศ.1956) กลับถูกต่อต้านคัดค้านอย่างมากจากรัฐสังคมนิยมอีกแห่งหนึ่ง คือ ประเทศจีน ซึ่งยืนยันว่านโยบายของพรรค (มิใช่เจตจำนงของคนทั่วไป) คือ วิญญาณของกฎหมาย (Policy is the soul of Law) แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายของจีนยังคงยึดติดกับข้อสรุปเดิม ๆ ของนักทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่มองกฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ไร้คุณค่าศักดิ์ศรีใดๆ โดยมีการสรรเสริญแซ่ซ้องภาวะการไม่มีกฎหมาย (Law lessness) กันอย่างมากจนหลังจาก เหมา เจ๋อ ตุง (ค.ศ.1893 – 1976) ได้เสียชีวิตและการหมดอำนาจของกลุ่มผู้นำคนสำคัญ 4 คนแล้วบทบาทของกฎหมายได้รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ในประเทศจีน ในยุคสมัย เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งหันมาตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้าง “ระบบกฎหมายสังคมนิยมที่มีลักษณะแบบจีน” โดยเริ่มมีความเชื่อว่าระบบกฎหมายเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งอาจช่วยปกป้องมิให้เกิดเหตุอันสะพึงกลัวที่เกิดขึ้นระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรมได้
ข้อสังเกต พัฒนาการทางกฎหมายหรือความผันผวนของการตีความบทบาทของกฎหมายในค่ายสังคมนิยม ที่เริ่มจากภาพลักษณ์ของกฎหมายในเชิงลบและเปลี่ยนมาในเชิงบวกมากขึ้น คือ การยอมรับคุณค่าทางกฎหมายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ในทางทฤษฎีจะได้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับคุณค่าหรือบทบาทของกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัติกลไกบริหารของรัฐสังคมนิยมจะผูกมัดตัวเองกับแนวคิดใน “เชิงหลักนิติธรรมแบบสังคมนิยม” (Socialist Legality) เพียงใด เนื่องจากปัญหาเรื่องความเป็นเผด็จการหรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสังคมนิยม เช่น ประเทศจีน พม่า เป็นต้น ดังมีรายงานละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐสังคมนิยมอยู่ทุกปีจากองค์การนิรโทษกรรมสากล
2.3 ในสังคมคอมมิวนิสต์ที่สมบูรณ์ กฎหมายในฐานะที่เป็นเครื่องมือของการควบคุมสังคมจะเหือดหาย (Withering away) และสูญสิ้นไป
ประเด็นข้อสรุปนี้ ความจริงเป็นเรื่องของการคาดการณ์ในอนาคตที่มีแนวความคิดแบบอภิปรัชญาในเชิงศาสนาอยู่มาก ในแง่ที่คล้ายกับการให้คำมั่นสัญญาหรือการยืนยันต่อภาวะที่คล้ายสมบูรณภาพของสังคมอุดมคติของ มาร์ก ในอนาคต ที่โลกจะอยู่กันอย่างสันติสุข มีแต่ความเป็นภารดรภาพระหว่างมนุษย์ด้วยกันเอง มีแต่ความเสมอภาคกันอย่างแท้จริง จนไม่ต้องมีการแบ่งแยกระหว่างการเป็นผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง ไม่ต้องมีรัฐในลักษณะกลไกของการข่มขู่บังคับให้คนต้องอยู่ในระเบียบและไม่มีกฎหมายที่ออกมาบังคับ กำหนดกฎเกณฑ์ให้คนต้องประพฤติตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้
เจ๋อ คือ 在 วรัทภพ รชตนามวงษ์ WARATTAPOB Youtube 的最讚貼文
?แจกหนังสือฟรี?" เงิน มา ง่ายๆ" เขียนโดย อ.วรัทภพ รชตนามวงษ์ มีเนื้อหามากถึง 357 หน้า รับหนังสือฟรี! แอดไลน์ @warattapob (มี@ นำหน้า) หรือกดลิงก์นี้เพื่อแอดไลน์ ? https://line.me/ti/p/~@warattapob
ที่ลี่เจียง ยังมีโบราณสถานหลายแห่งที่ผมยังไม่รู้จักอีกมากมาย ผมมีโอกาสได้มานอกเมืองลี่เจียงแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์จีน ทั้งเรื่องสะพานเชื่อมต่อกับเส้นทางสายไหม (Silk Road) ทั้งกลองหิน ของนักปราชญ์คนดังในยุคเหล่าสามก๊ก และผู้นำสร้างชาติจีน เหมา เจ๋อ ตุง
ผมเชื่อว่ายังมีอีกหลายแห่ง ที่ผมยังไม่รู้ในเรื่องโบราณสถานที่ยังไม่ได้ไป ถ้าผมมีโอกาสจะหาสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์มาให้ชมกันครับ
? พบกับวิดีโอใหม่ทุกวัน ? ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จและรวย "เร็วขึ้น"
จากประสบการณ์การทำธุรกิจไทย-จีน มาแล้ว 14 ธุรกิจของผม
? คลิกลิงก์แล้วกด “SUBSCRIBE - ติดตาม และกดกระดิ่งแจ้งเตือน ตอนนี้เลย!! ?
https://www.youtube.com/channel/UC6GkGouzOitA6vUzOEBEqwA?sub_confirmation=1
—
// ดูวิดีโอของ "วรัทภพ" ตามเพลย์ลิสต์
? คลิปใหม่ล่าสุด (มีคลิปใหม่ทุกวัน) https://bit.ly/2OCDdvb
========================
?ลงทุนอะไรดี https://bit.ly/2kH0Lm0
?วิธีขายของ LAZADA https://bit.ly/2TUxuRn
?วิธีขายของ SHOPEE https://bit.ly/2lJ5LHe
?วิธีสั่งสินค้าจากจีน https://bit.ly/2IERdmE
?วิธีสร้างรายได้บน YOUTUBE https://bit.ly/2NT8l8L
?การทำตลาดจีน และส่งออกจีน https://bit.ly/2GWdITq
?วิธีขายสินค้าแบบ ดรอปชิป https://bit.ly/2x2sOPf
?WARATTAPOB PODCAST https://bit.ly/2SBlrHR
?วิธีทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ https://bit.ly/2lRZuZn
?วิธีปลดหนี้ https://bit.ly/2PKNplE
========================
??VLOG IN CHINA ชีวิตในจีนของผม https://bit.ly/2AqaFNB
??VLOG IN THAILAND ชีวิตในไทยของผม https://bit.ly/2AUvnWf
========================
?แกะคำคม ข้อคิด นักปราชญ์ และนักธุรกิจ https://bit.ly/2SDzHjh
?5 นาที หาเงินแบบมหาเศรษฐี https://bit.ly/2k9oyuu
?รีวิวหนังสือที่ผมชอบ http://bit.ly/2lRZJnf
?วิธีเริ่มต้นธุรกิจ ในปัจจุบัน https://bit.ly/2ChCNT7
?ความรู้ หาเงิน เพิ่มรายได้ ที่จะทำให้คุณรวยเร็วขึ้น https://bit.ly/2CR2Jqc
?เคล็ดลับ การตลาดและการขาย https://bit.ly/2M8P7cV
?ไอเดียธุรกิจเงินล้าน https://bit.ly/2TrY2IT
?พัฒนาตัวเอง เพื่อความสำเร็จในด้านที่ต้องการ https://bit.ly/2LTPms2
?แรงบันดาลใจและกำลังใจ ในการใช้ชีวิต https://bit.ly/2TKQAbW
?รีวิว ธุรกิจจีนและเศรษฐกิจจีน https://bit.ly/2M8Phkx
?ความรู้ไทย-จีน อื่นๆ http://bit.ly/2kIZaMn
—
// วรัทภพ รชตนามวงษ์ คือ ใคร?
ผม "วรัทภพ รชตนามวงษ์" เป็นคนไทย เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่
เป็นผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจมาแล้ว 14 ธุรกิจ
ทั้งในประเทศไทย และ จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน
ผมตั้งใจทำสื่อเพื่อแบ่งปันความรู้และประสบการณ์
ให้คนรุ่นใหม่ที่อยากประสบความสำเร็จในชีวิตและรวย “เร็วขึ้น”
?คุณสามารถดูคลิปจากลิงก์ล่างนี้ ว่าผมมีประสบการณ์ธุรกิจอะไรบ้าง?
http://bit.ly/2kHDgt4
—
// ติดตาม วรัทภพ รชตนามวงษ์ เพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.warattapob.com
?SOCIAL
Instagram : https://www.instagram.com/warattapob_rachatanamwong
Facebook : https://fb.me/WarattapobRachatanamwong
YouTube: https://www.youtube.com/c/WarattapobRachatanamwong
Line official : http://line.me/ti/p/~@warattapob
Twitter : https://twitter.com/warattapob
Tiktok : https://www.tiktok.com/@warattapob
?PODCAST
--สำหรับ Android
Soundcloud : https://bit.ly/2QjfVYm
Spotify : https://spoti.fi/2Jcwh6Y
--สำหรับ iOS
Apple Podcast : https://apple.co/2QjW5fM
—
#WARATTAPOB #VLOGINCHINA #เที่ยวจีน
วิดีโอนี้เกี่ยวกับ เที่ยวจีน - เที่ยวจีน - เที่ยวชมสะพานเหล็ก กลองหินขงเบ้ง และเหมาเจ๋อตุง ในลี่เจียง จีน | VLOG IN CHINA EP186
LINK https://youtu.be/g-RW_aw05Ps
LINK https://youtu.be/g-RW_aw05Ps
เจ๋อ คือ 在 เจ๋อโบ กวนจีน คืออะไร|เจ๋อโบ กวนจีน 哲哲X波波 - YouTube 的推薦與評價
คลิปแนะนำช่อง เจ๋อ โบ กวนจีน มาดูว่า เจ๋อเจ๋อ โบโบเป็นอะไรกันแน่·Line - ถามตอบการเรียนจีนฟรีๆhttps://goo.gl/7HQH0n·Subscribe to เจ๋อ โบ ... ... <看更多>
เจ๋อ คือ 在 เปิดปูม "หาวเจ๋อ ตู้" นายทุนจีน พปชร.เขาคือใคร? - YouTube 的推薦與評價
นายทุนจีน#นักธุรกิจจีน#นายทุนพลังประชารัฐ#พลังประชารัฐรับชมวีดีโอที่คัดสรรจากเรา ... ... <看更多>
เจ๋อ คือ 在 โพสต์ของ โรงเรียนสอนภาษาพรรัตน์ สอนภาษาจีน ติวสอบ แปล ล่าม ... 的推薦與評價
บบ "打折(dǎzhé)(ต่าเจ๋อ)" ซึ่งเป็นการคิดราคาเต็มของสินค้าแบ่งเป็น 10 ส่วน "折(zhé)(เจ๋อ)" คือจำนวนราคาที่คนขายต้องการ ... ... <看更多>