สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
BBLAM x ลงทุนแมน
“การเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงความท้าทายทุกด้านของจีน
จะทำให้เราเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในการลงทุนหุ้นจีนได้อย่างชัดเจนที่สุด”
นี่คงเป็นประโยค ที่สรุปใจความสำคัญได้สมบูรณ์ที่สุด
หลังจากที่ คุณทีน่า สุภัททกิต เจตทวีกิจ, CFA จากลงทุนแมน
ได้พูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวงในห้อง Clubhouse ในหัวข้อ “เปิดความท้าทายของจีนยุคใหม่ ลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?” เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในจีนจากกองทุนบัวหลวงทั้ง 2 ท่าน ได้แก่
- คุณทนง ขันทอง Head of Strategic Communications กองทุนบัวหลวง
- คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, AVP, Portfolio Management กองทุนบัวหลวง
ความท้าทายและโอกาสของจีนในตอนนี้มีอะไรบ้าง แล้วลงทุนหุ้นจีนต้องดูอะไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
ความท้าทายที่ 1: สงครามการค้าและเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
เรื่องสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยี ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เป็นสิ่งที่นักลงทุนรับรู้เรื่องนี้ตลอดเวลาที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวลามีข่าวดี หุ้นจีนก็พร้อมวิ่งไปต่อ
นอกจากนั้น ความกังวลเรื่องสงครามการค้าและเทคโนโลยี
ยังทำให้มูลค่าของบริษัทเทคโนโลยีจีนมีราคาที่ถูกลง
ถ้าเราลองดูภาพรวมของหุ้นกลุ่มนี้ผ่าน MSCI China Technology กับ S&P Technology
จะเห็นว่า บริษัทเทคโนโลยีจีนที่แพงกว่าสหรัฐอเมริกามาตลอดหลายปี ถูกลด P/E ลงมา ทั้งที่ผลประกอบการไม่ได้แย่เลย ทำให้ P/E ของกลุ่มอยู่ที่ 25 เท่า สูงกว่า ค่าเฉลี่ย 15 ปีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ความท้าทายที่ 2: ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ
ล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน คุณ Yi Gang ก็ออกมาบอกว่าเงินเฟ้อของจีนในช่วงนี้ จะต่ำกว่า 2% และเงินเฟ้อฝั่งผู้บริโภคของจีนล่าสุดที่ออกมาอยู่ที่ระดับ 1.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ก็ช่วยให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่องเงินเฟ้อสูงไปตาม ๆ กัน
คุณมทินา ยังแนะนำเทคนิคดูการปรับตัวของหุ้นจีนแบบแม่น ๆ คือนอกจากดู “นโยบายการเงิน” ของธนาคารกลางจีนแล้ว ให้ดู “ยอดการระดมทุนรวมสุทธิของทั้งระบบ (Total Social Financing)” หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า TSF
TSF คือยอดการปล่อยสินเชื่อรวมในระบบ ที่สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบขณะนั้น ซึ่งถ้าเอาข้อมูล TSF มาพลอตเทียบกับ ตลาดหุ้น A-shares (ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่) ก็จะมีความสัมพันธ์สูง ไปในทิศทางเดียวกัน
อย่างเช่น ในช่วงที่ผ่านมา การเติบโตของ TSF ลดลง แสดงถึงสภาพคล่องในระบบที่ลดลง และสะท้อนไปยังราคาหุ้นของจีนที่ปรับตัวลดลงได้นั่นเอง
คำถามคือ สภาพคล่องของทั้งระบบเศรษฐกิจ จากการที่ TSF ที่ลดลงในช่วงที่ผ่านมา น่ากลัวไหม ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า “ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่คิด” เพราะการลดสภาพคล่องของจีน ค่อยๆ ทำอย่างระมัดระวังมาหลายเดือนแล้ว และตลาดก็ได้สะท้อนความกลัวนั้นไปมากแล้วก่อนหน้านี้
เพราะฉะนั้น ความเสี่ยงในด้านขาลงของหุ้นจีน (Downside Risk) ควรจะเริ่มจำกัดแล้วในตอนนี้
ความท้าทายที่ 3: ปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์
จีน มีปัญหาในเชิงการเมืองกับหลายฝ่าย ทั้งไต้หวัน ฮ่องกง และโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี บารัก โอบามา สหรัฐอเมริกา เน้นเข้ามามีบทบาทในเอเชียและตะวันออกกลางมากขึ้น เพื่อคานอำนาจของจีนที่เริ่มสานสัมพันธ์กับนานาประเทศในหลายภูมิภาค
ขณะที่สมัยประธานาธิบดี ทรัมป์ ก็เริ่มก่อสงครามการค้า สงครามเทคโนโลยีที่ชัดเจน และยกประเด็นต่าง ๆ ขึ้นมาโจมตีจีน เช่น เรื่องสิทธิมนุษยชนในเขตซินเจียง เรื่องการวางอำนาจของจีนในทะเลจีนใต้ ไปจนถึงเรื่องการเป็นต้นตอของวิกฤติโรคระบาดโควิด-19
คุณทนงเชื่อว่า ความเข้มข้นของเรื่องการเมืองโลกเหล่านี้ จะนำไปสู่การประนีประนอมในท้ายที่สุด อีกทั้งจะมีการปรับระเบียบโลกครั้งใหม่ สู่ระบบหลายขั้วผู้นำ (Multipolar) และจีนมีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอีกหนึ่งขั้วมหาอำนาจโลกได้
ความท้าทายที่ 4: การเติบโตระยะยาวของจีน ที่เริ่มแผ่ว
ล่าสุดทางการจีนออกมาประกาศ ตั้งเป้าการเติบโตของเศรษฐกิจลดลง จากเดิมที่โตเฉลี่ย 7-8% ต่อปี เหลือ 5-6% ต่อปี
เรื่องนี้ คุณทนงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ เพราะตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาจีนเติบโตเร็วมาตลอด พอฐานเศรษฐกิจเริ่มใหญ่ขึ้น 5-6% ก็ยังคงถือว่าไม่ได้แย่ ถึงแม้จะไม่ได้ร้อนแรงเหมือนเดิม
ส่วนคุณมทินา มองว่าสไตล์การดำเนินนโยบายการเงินของจีน จะทำให้จีนแข็งแกร่งได้ในระยะยาว
เพราะถ้าลองเทียบสไตล์การใช้นโยบายการเงินของธนาคารกลางจีนกับสหรัฐอเมริกา
ประการแรก - เราจะเห็นว่า สหรัฐอเมริกา จะใช้นโยบายทางการเงินที่จัดหนักจัดเต็ม มีการอัดฉีดเงินมูลค่ามหาศาลเข้ามาในระบบแบบไม่ยั้ง ขณะที่จีนค่อนข้างมีความรัดกุม เช่น เมื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบแล้วเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ก็จะรีบพยายามหาทางลดความร้อนแรง โดยการดูดเงินออกจากระบบทันทีที่มีโอกาส
ประการที่สอง - จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของจีนนั้น ไม่ได้ต้องการโฟกัสไปที่ตลาดหุ้น แต่ต้องการที่จะสร้างเสถียรภาพให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวม แตกต่างกับทางสหรัฐอเมริกา ที่จะเน้นที่การกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไปตามเป้าหมายในทันที
ซึ่งคุณมทินามองว่า สไตล์การใช้นโยบายทางการเงินของจีน จะทำให้ตลาดหุ้นจีนมีเสถียรภาพในอนาคต
ความท้าทายที่ 5: ความเข้มงวดของรัฐบาลจีน ต่อบริษัทเทคโนโลยีจีน
อย่างเช่น ที่หน่วยงานกำกับและดูแลตลาดจีน เคยสั่งปรับ Alibaba ในข้อหาผูกขาดตลาดและใช้นโยบายเอาเปรียบผู้บริโภค และเรียกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ในจีนหลายรายไปพูดคุย
เหตุการณ์เหล่านี้ กำลังทำให้หุ้นเทคโนโลยีจีนตอนนี้ถูก Discount หรือลดมูลค่าลงไปพอสมควร เพราะนักลงทุนกังวลว่า หลายบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการจัดระเบียบของทางการจีน
แต่ความเข้มงวดตรงนี้ ทางกองทุนบัวหลวงมองว่าเป็นผลดีในระยะยาว เพราะแม้เรื่องนี้ อาจกระทบบางบริษัท หรือทั้งกลุ่มเทคโนโลยีในระยะสั้น แต่ในระยะยาวจะทำให้เส้นทางการเติบโตของบริษัทเหล่านี้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมั่นคงในอนาคต
ความท้าทายที่ 6: ภาพลักษณ์ของจีน ที่ถูกมองว่าไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง
กองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะถ้าลองมาดูตัวเลขในเรื่องเหล่านี้จะเห็นว่า
- งบประมาณด้านเทคโนโลยีอยู่ในแผน 5 ปี และรัฐบาลจีนตั้งเป้า % งบวิจัยพัฒนาต่อ GDP ให้เทียบเท่ากับสัดส่วนของสหรัฐอเมริกา
- จำนวนการยื่นจดสิทธิบัตร อ้างอิงจาก World Intellectual Property จีนแซงหน้าสหรัฐอเมริกา, เยอรมนี ญี่ปุ่น ไปแล้ว
- จำนวนสตาร์ตอัป (สตาร์ตอัปมูลค่ามากกว่า 31,000 ล้านบาท) ในปักกิ่ง แซงหน้า San Francisco และ New York ไปแล้ว
ข้อมูลเหล่านี้ ทำให้เห็นว่ารัฐบาลจีนจริงจัง และให้ความสำคัญกับงบสนับสนุนด้านเทคโนโลยีมาก ๆ และจีนเองก็เป็นเจ้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากมายไม่แพ้ใคร
ซึ่งจากโอกาสและความท้าทายที่ว่ามาทั้งหมดนี้ ถ้าถามว่ากองทุนรวมแบบไหน ที่พร้อมยืดหยุ่นในการลงทุน และเติบโตไปกับโอกาสเหล่านี้
“B-CHINE-EQ” หรือ “กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นจีน” ที่บริหารจัดการโดยกองทุนบัวหลวง ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่มองข้ามไม่ได้
เพราะ B-CHINE-EQ ลงทุนทุกตลาดของจีน มีนโยบายการลงทุนที่ยืดหยุ่น แบ่งการลงทุนเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกใช้วิธีใช้ Outsource Fund Manager มอบหมายให้ Allianz Global Investors Asia Pacific Limited (AGI) เป็นผู้รับดำเนินการลงทุนในต่างประเทศ
ซึ่ง AGI เป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่ง มีความชำนาญในการค้นหาโอกาสเชิงรุก และเก่งเรื่องการคัดเลือกหุ้นรายตัว มีความรู้ ความเข้าใจ ในตลาดหุ้นจีนเป็นอย่างดี
โดยปัจจุบัน AGI นำเงินไปลงทุนใน 2 กองทุนหลัก คือ Allianz All China Equity และ Allianz China A-Shares โดยในส่วนที่ AGI ดำเนินการ ตามนโยบายหลักกำหนดไว้ที่ 80% ของ NAV
ส่วนที่สอง อีก 20% ที่เหลือเปิดให้กองทุนบัวหลวงพิจารณาเลือกลงทุนหุ้นจีนได้ด้วยตัวเอง ทำให้กองทุนหุ้นจีนของกองทุนบัวหลวงมีสไตล์ความเป็นกองทุนบัวหลวงจริง ๆ อยู่ในนั้น
เพราะการลงทุนในจีนนั้นเต็มไปด้วยความท้าทาย
แต่ความท้าทายที่มากนั้นก็หมายความว่า มีโอกาสที่แฝงอยู่มากตามไปด้วย
และ B-CHINE-EQ ก็คือหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด
สำหรับคนที่อยากเติบโตไปกับหุ้นจีนในตอนนี้ และอนาคต..
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過11萬的網紅ลงทุนแมน,也在其Youtube影片中提到,ลงทุนแมน วิจารณ์ผลประกอบการ Netflix ล่าสุด เพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 ปีที่แล้วออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ยอดผู้ใช้งานเติบโต 21.5% ทะลุ 200 ล้า...
clubhouse ล่าสุด 在 Fit & Flexible Eating Diary Facebook 的最讚貼文
สร้างวินัย อกล แบบบ้านๆ สไตล์เรียม 😁
🍀 คอ Series, Netflix, Podcast, YouTube, Clubhouse or etc. เลือกจัดเวลาให้ตัวเองได้ดูได้ฟังความบันเทิงและสาระในช่วงเวลา อกล เท่านั้น
มันเป็นการจัดตารางเวลาให้ตัวเองได้เบรค ผ่อนคลาย ในรูปแบบ 2in1 คือ ได้ อกล เพลินๆ พร้อม บันเทิงไปกับหนัง หรือ สาระความรู้ต่างๆ เข้าหูและบันทึกไปยังสมอง
ย้อนไปสมัยไฟในตัวฟู่ฟ่า เราจะติดฟังเพลงตอน อกล จนมีช่วงนึง เราเปลี่ยนมาฟังพวกสาระความรู้ต่างๆ หนังสือเสียง มันกลายเป็นว่า สมองเราลื่นไหล จับใจความเนื้อหาได้ดี และ การ อกล ก็ไปได้ราบรื่น เพลินไปยาวๆ
พอรอบนี้ที่ตั้งใจกลับมา อกล กู้หุ่น ก็เลย ตั้งกฎให้ตัวเองว่า สามารถเปิดฟังหนังสือเสียง Podcast, YouTube, CH or ซีรี่ย์ หนังต่างๆ ได้เฉพาะตอน อกล เท่านั้น (วันที่ไม่ได้ อกล ห้ามดูหนัง ซีรี่ย์ทุกเรื่อง ยกเว้นพวกช่องสาระความรู้)
ยก ตย ล่าสุด วันก่อน เรางอแง อกล มาก แต่ความซีรี่ย์ที่เราดู มันเหลืออีก 1 ตอนสุดท้าย เราก็เอาว่ะ, อีกนิดเดียว ฮึดหน่อย และ สุดท้ายเราก็ทำได้ตามเป้า อกล เสร็จสมบูรณ์ พร้อม ซีรี่ย์ที่จบแบบแฮปปี้เอนดิ้ง 😄
ฟังดูตลกช่ะ แต่ได้ผลกับเราจริงๆ เราจะเลือกเฉพาะซีรี่ย์ หนัง ที่เคยดูต้นฉบับมาแล้ว อาทิ #CoffeePrince #PrincessHours หรือ หนังที่มีคนเอามาแชร์ตามเพจต่างๆ ส่วนพวกหนังสือเสียง ก็หาฟังได้ตลอด มีเยอะมาก
✅ ข้อดี คือ ช่วยลดการแชตคุยได้ระดับหนึ่ง
✅ เพิ่มอรรถรสในการ อกล ได้มากขึ้น
มันเป็นแค่การเปลี่ยนแนวการฟังเท่านั้นเลยจริงๆ จากเพลงมาสู่สาระความรู้ หรือ สิ่งบันเทิงแนวอื่น และ จากนั่ง นอน ดูซีรี่ย์ แบบไม่ได้ทำไรจนหมดวัน ก็กลายเป็นได้ดูด้วย ได้ฟิตร่างด้วย 😉
ทุกคนมีพื้นฐานการ อกล การสร้างวินัยในตนเองอยู่แล้วหละ แต่เรียมผู้สาววัยใกล้เกษียณ ยังมีอาการโยเย งอแง เกียจคร้านในการขุดตัวเองมา อกล อยู่บ้างในบางวัน สูตรนี้โคตรง่าย และ เราทำแล้วได้ผล บรรลุเป้าในการ อกล ต่อ วีคได้สำเร็จ 🤩
ใครที่ยังหาทางกลับไม่ได้ ยังมีอาการงอแงอยู่ ลองวิธีดูได้นะ หรือ ใครมีวิธีเก๋ๆที่ได้ผล เอามาแบ่งปันกันบ้างนะะะะ ❤️
ขอบคุณ, สำหรับคนที่อ่านจบค่ะ 🙏
.
.
.
.
.
#tipsyisahealthygirl #laksh_fitwithtipsy #ออกกำลังกาย #ออกกำลังกายที่บ้าน #ชุดออกกำลังกายผู้หญิง #ชุดออกกำลังกาย #อุปกรณ์ออกกำลังกาย #homegym #dontgiveup #keepgoing #stayfit #fitasiangirls #สาระ #บอกต่อ #ลดน้ำหนัก #ลดความอ้วน #แท็กเพื่อนมาดู #วิถีคนจะผอม #ปั้นหุ่นแซ่บ #สร้างกล้ามเนื้อ #หุ่นดีสุขภาพดีแบบปลอดภัย #bodyweight #noexcuses #weighttraining #fit #ฟิต #ยิม #โควิด19
clubhouse ล่าสุด 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ปรากฏการณ์ Clubhouse ในประเทศไทย และจุดตายของแอปนี้ /โดย ลงทุนแมน
มีคนถามลงทุนแมนว่า ทำไมยังไม่เห็นเขียนเรื่อง Clubhouse
ลงทุนแมนได้ทดลองเล่นแอปนี้มาแล้วหลายวัน เล่นทั้งวันจนถึงดึกดื่น
หลังจากความคิดตกตะกอนแล้ว ก็ได้โอกาสที่จะมาเขียนและเล่าให้ฟังว่า
ทำไม Clubhouse ถึงเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นมาได้ และจุดตายของแอปนี้น่าจะมีอะไรบ้าง?
ถ้าพร้อมแล้วมาอ่านกัน
หลังจากที่อีลอน มัสก์ ได้ทำให้คนทั่วโลก
รู้จักกับ Clubhouse ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
มาวันนี้ Clubhouse ได้กลายมาเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชัน ที่ร้อนแรงที่สุดในประเทศไทย ที่ก้าวขึ้นติดอันดับแอปที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุดในกลุ่ม Social Network ชนะทั้ง TikTok, Facebook, Instagram
ร้อนแรงในระดับที่ว่านักธุรกิจ, นักลงทุน, นักทำคอนเทนต์, นักแสดง, นักร้อง
แม้แต่นักการเมืองในประเทศไทยที่เรารู้จักหลายคน รวมถึง “ตัวเราเอง”
ได้มีโอกาสเข้ามาอยู่ในวงสนทนาเดียวกัน
ซึ่งหลายคนก็อาจจะเห็นว่ามีทีมงานลงทุนแมนได้เข้าไปเล่นแอปนี้ด้วย
โดยพื้นฐานที่ทำให้แอปนี้เด่นขึ้นมาก็คือ ไม่ว่าเราจะเป็นใคร หากเราเป็นผู้ที่ถูกรับเชิญ
เราก็จะสามารถเข้าร่วมบทสนทนากับคนดัง หรือถ้าเราไม่ได้ถูกรับเชิญ เราก็สามารถยกมือเพื่อแสดงความคิดเห็นได้
ไม่ต่างอะไรไปจากการที่เรานั่งประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน
สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก Clubhouse
Clubhouse เป็นแอปพลิเคชันโซเชียล
ที่ไม่ได้ให้เราไถฟีดแบบเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และทวิตเตอร์
ไม่ใช่วิดีโอแบบยูทูบ และติ๊กต๊อก
แต่เป็นโซเชียล “เสียง” ที่แบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็นคลับ หรือเป็นห้อง
โดยในแต่ละห้องก็จะมีผู้ดำเนินรายการ ผู้พูด และผู้ฟัง เท่านั้น
นอกจากนี้ Clubhouse ได้ถูกออกแบบมาให้ไม่มีการบันทึกการสนทนา
นั่นจึงทำให้ยิ่งผู้พูดในคลับเป็นผู้มีชื่อเสียง และน่าดึงดูดมากเท่าไร
มันก็ยิ่งจูงใจให้เราหยุดทำอย่างอื่น และเปิด Clubhouse ฟังได้ตลอดทั้งวัน
ซึ่งก็ไม่กี่วันมานี้ หลายคนก็น่าจะโดนไปตั้งแต่เที่ยงวัน ยันเที่ยงคืน
ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับใครหลายคน ตอนนี้
คือ เรากลัว ที่เราจะพลาดอะไรไป..
นอกจากการที่เราไม่อยากพลาดแล้ว
อีกหนึ่งเรื่องที่ทำให้แอปนี้กลายมาเป็นที่ต้องการ
คือ การจำกัดสิทธิ์ ให้เฉพาะผู้ที่ถูกเชิญ เท่านั้น
ด้วยคอนเซปต์ของ Clubhouse ง่าย ๆ ก็คือ หากเราจะไปปาร์ตี้บ้านเพื่อน
เราก็สามารถชวนเพื่อนเราไปด้วย แต่ได้แค่เพียง 2 คน
บวกกับตอนนี้ Clubhouse มีให้ดาวน์โหลดเฉพาะบนสโตร์บน App Store
มันก็ยิ่งน่าจะทำให้ ผู้ที่อยากเล่น ยิ่งอยากเล่นมากกว่าเดิม
มากในระดับที่ว่าผู้ใช้งานแอนดรอยด์บางคน ต้องไปถอยไอแพดเครื่องใหม่
แต่ไม่ต้องห่วงว่าเราจะไม่ถูกเชิญเข้าเล่นแอปนี้
เพราะการที่หนึ่งคนสามารถเชิญได้ 2 คน แล้ว 2 คนนั้นที่ถูกเชิญไปเชิญอีก 2 คนใหม่ เท่ากับว่าการเชิญในรอบสองจะเป็นทวีคูณ คือ 4 คน ในรอบถัดๆไปก็คือ 8, 16, 32, 64, 128, 256 หรือเข้าสูตร 2 ยกกำลัง n
ถ้าการเชิญนี้ เชิญไป 30 รอบ ก็คือ 2 ยกกำลัง 30 ซึ่งคำตอบเราอาจตกใจ นั่นก็คือ “หนึ่งพันล้านคน”
ดังนั้นไม่ต้องกลัวเลยว่าเราจะไม่ได้ถูกเชิญ
สุดท้ายคนที่มีสิทธิ์เชิญจะมีมาก มากจนเราจะได้รับในที่สุดอยู่ดี ไม่ต่างอะไรจากการแพร่เชื้อของโควิด 19 ที่จากจุดเล็กๆ การแพร่เป็นทวีคูณจะทำให้คนติดเชื้อกันทั้งโลก
ดังนั้นเรื่องนี้เป็นแค่ลูกเล่นทางการตลาดของผู้ทำแอปพลิเคชันเท่านั้น
ทีนี้ หากเรามาดูในภาพที่ใหญ่ขึ้น
การเกิดขึ้นของ Clubhouse ซึ่งแน่นอนว่าเราก็น่าจะต้องติดตามไปอีกสักระยะ
ว่าเราจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในมุมไหนได้บ้าง
แต่สำหรับลงทุนแมนแล้ว มันมีทั้งข้อดี และข้อเสีย และบางข้ออาจเป็นจุดตายของแอปนี้
ข้อดี
1- แอปนี้จะทำให้เราได้รับรู้หัวข้อใหม่ๆ และการพูดสดของคนดัง ที่เราอาจจะไม่เคยมีโอกาสได้ฟังมาก่อน เพียงแค่เราติดตามเพื่อนที่เข้าห้องนั้น หรือเรากดปุ่ม follow คนดังคนนั้น และบางทีถ้าเรายกมือ คนที่เป็น Moderator ก็อาจเปิดโอกาสให้เราแสดงความคิดเห็นด้วย ซึ่งมันจะทำให้คนตัวเล็กๆได้ใกล้ชิดคนดังมากขึ้น
2- แอปนี้จะเป็นเวทีสำหรับคนที่มีทักษะในเรื่องการพูด เนื่องจากแอปใช้พูดและฟังเป็นหลัก เมื่อก่อนนี้มันไม่มีเวทีให้คนที่พูดเก่งเหล่านี้แสดงสู่สาธารณะ ถึงแม้ว่าการไลฟ์ยูทูบ ไลฟ์เฟซบุ๊ก หรือพอดแคสต์จะมีอยู่แล้ว แต่สำหรับการไลฟ์เสียงอย่างเดียว นี่เป็นแพลตฟอร์มแรกที่ทำมาเพื่อคนที่มีทักษะนี้
แต่สิ่งที่ลงทุนแมนสังเกตเห็นว่าเป็นข้อด้อยของแอป และเป็นจุดตายได้ก็คือ
1- เรื่องความเป็นส่วนตัวของแอปนี้ “จะเป็น 0” เพราะไม่ว่าเราจะเข้าไปฟังในห้องไหน มันก็จะไปแจ้งเตือนในเครื่องเพื่อนของเราทันทีว่า “เราเข้าไปฟัง” ทีนี้ตอนแรกๆมันก็โอเคอยู่ แต่พอไปเรื่อยเราจะเริ่มรู้สึกว่า “ไม่ใช่แล้ว” เราไม่ได้อยากให้เพื่อนของเราทุกคนรู้ว่า เราจะเข้าไปฟังอะไร บางหัวข้อเป็นเรื่อง Sensitive ที่เราอาจไม่ทันระวัง ช่วงหลังๆเราก็เลยไม่กล้าที่จะกดเข้าไปฟัง เพราะกลัวเพื่อนเรารู้
2- แอปนี้ทำให้เราติดจนเกินไป จนในบางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องใช้แอปนี้นานขนาดนั้น ทั้งนี้ก็เนื่องจากแอปนี้เราต้องเข้าร่วมห้องกับคนชื่อดัง และเนื่องจากแอปนี้ไม่สามารถบันทึกไว้ฟังคราวหลังได้ เราก็จะอยากฟังต่อไปเรื่อยๆ เพราะกลัวว่าเราจะพลาดอะไรไป แต่สุดท้ายเนื้อหาที่เราทนฟัง ก็ไม่คุ้มค่าพอกับเวลาที่เราเสียไปในแอปนี้ ชีวิตเรามีอะไรให้ทำอย่างอื่นอีกตั้งเยอะ
3- แอปนี้จะเป็นเวทีที่สำหรับคนที่พูดเก่งพูดเยอะ อยากได้หน้า และโฆษณา เนื่องจากแอปจะเปิดโอกาสให้คนต่างๆได้พูด ทำให้เราต้องรอแต่ละคนพูด ทีนี้ก็จะมีหลายคนที่เขาพูดเก่ง พูดไปเรื่อยๆ ทั้งที่เนื้อหาที่เขาพูดไม่ได้มีอะไร และเหมือนจะเป็นการโฆษณาผลงานที่เขาทำเสียมากกว่า และ Moderator เองก็อาจเกรงใจไม่เบรกคนพูด ก็เลยทำให้เรารำคาญ และไม่อยากเข้าแอปนี้อีก
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ ก่อนหน้านี้ คงไม่มีใครคิดว่าจะมีใครหน้าไหน
สามารถสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลได้ในยุคที่เฟซบุ๊กครองผู้ใช้งานทั่วโลกไปแล้ว 3 พันล้านบัญชี
และด้วยความที่มันฮิตขนาดนี้ เฟซบุ๊กเลยประกาศว่าจะสร้างฟีเจอร์ที่คล้ายกับ Clubhouse ขึ้นมาแล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าเฟซบุ๊กอาจจะตัดสินใจเข้าซื้อ Clubhouse ไปเลยก็เป็นได้
ล่าสุด Clubhouse มีมูลค่าประเมินอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
หรือราว 30,000 ล้านบาท ถือเป็นระดับสตาร์ตอัปยูนิคอร์น
ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำ เมื่อเทียบกับความฮิตที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ กับมูลค่าประเมินของแอปอื่น ๆ เช่น Kuaishou แอปวิดีโอสั้นคล้าย TikTok ที่มีผู้เล่นเฉพาะคนจีน เพิ่งเข้า IPO เมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ แต่ตอนนี้มีมูลค่าประเมินมากถึง 6.4 ล้านล้านบาท หรือมากกว่า Clubhouse ถึง 213 เท่า
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมันเกี่ยวกับการฟัง
ตลาดแห่งนี้มีมูลค่าที่ใหญ่มาก ซึ่งถ้าเราพูดถึงยักษ์ใหญ่ในธุรกิจนี้
คงหนีไม่พ้นบริษัท Spotify
ที่ผ่านมา หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตดีที่สุดของ Spotify คือธุรกิจพอตแคสต์
โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทมี 2.2 ล้านพอตแคสต์บนแพลตฟอร์ม และรายงานว่าผู้ใช้งานเล่นพอตแคสต์นานขึ้นเป็นเท่าตัว
นั่นจึงทำให้คิดได้ว่าปรากฏการณ์ของ Clubhouse ที่ถูกจุดติดขึ้นทั้งในประเทศไทย และทั่วโลก จะไป “แย่งหู” ผู้ใช้งานพอดแคสต์เดิมขนาดไหน
แต่ลงทุนแมนก็คิดว่าคงไม่ได้แย่งตลาดพอดแคสต์ไปเสียทั้งหมด
เพราะพอดแคสต์มีความรวบรัด ไม่เสียเวลา ได้เนื้อหาที่ต้องการฟังจริงๆ
Clubhouse จะเสียเวลามาก แต่ก็จะมีความเป็นกันเองมากกว่า มีการโต้ตอบกันมากกว่า
นอกเหนือจากในมุมของธุรกิจ
ผู้ที่เป็นสื่อ และคนทำคอนเทนต์ก็น่าจะต้องตามติดกระแสนี้ไว้ให้ดี
ซึ่งแน่นอนว่าตอนนี้แอปมันเพิ่งเริ่มฮิตในไทย
ยังไม่มีใครรู้ว่า ความฮิตระเบิดในตอนนี้มันจะมาแล้วก็ไป
หรือจะอยู่ทนนาน และกลายเป็นแอปโซเชียลประจำวันหรือไม่
แต่ถ้าถามตัวลงทุนแมน ว่า Clubhouse เป็นยังไง
จากที่เล่นมา 1 สัปดาห์ ก็ต้องบอกว่าตอนนี้รู้สึก เล่นแล้วเหนื่อย และขอหยุดพัก ไปใช้เวลากับโลกจริง จะดีกว่า..
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
clubhouse ล่าสุด 在 ลงทุนแมน Youtube 的最讚貼文
ลงทุนแมน วิจารณ์ผลประกอบการ Netflix ล่าสุด
เพิ่งประกาศผลประกอบการไตรมาส 4 ปีที่แล้วออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ยอดผู้ใช้งานเติบโต 21.5% ทะลุ 200 ล้านบัญชี ทำเอามูลค่ากิจการ Netflix เพิ่มขึ้น 8 แสนล้านบาททันที
รายละเอียดเรื่องนี้เป็นอย่างไร ชวนฟังการวิจารณ์ผลประกอบการ Netflix ล่าสุดจากลงทุนแมน
ลงทุนแมน ลงทุนในความรู้
การลงทุนในความรู้ไม่มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรกด Subscribe @ลงทุนแมน
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website -https://www.longtunman.com/
Blockdit - https://www.blockdit.com/longtunman
Facebook - http://facebook.com/longtunman
Twitter - http://twitter.com/longtunman
Instagram - http://instagram.com/longtunman
Line - http://page.line.me/longtunman
YouTube - https://www.youtube.com/longtunman
Spotify - http://open.spotify.com/show/4jz0qVn1...
Soundcloud - http://soundcloud.com/longtunman
Apple Podcasts - http://podcasts.apple.com/th/podcast/...
Clubhouse - @longtunman
#ลงทุนแมน #ห้องประชุมลงทุนแมน #ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง #BREAKTHROUGH #THEBRIEFCASE #longtunman #ลงทุนแมนORIGINALS #ลงทุนเกิร์ลTALK #ลงทุนเกิร์ล