วิจัยเผย ขวดนมพลาสติกปล่อยไมโครพลาสติกสู่ร่างกายเด็กล้านชิ้นต่อวัน! วอนเปลี่ยนวิธีล้าง-ชงนมผง พัฒนาการเคลือบภาชนะให้ปลอดภัย เร่งศึกษาผลกระทบสุขภาพ
วิจัยเผยเด็กทารกกลืนกินไมโครพลาสติกกว่า 1 ล้านอนุภาคต่อวัน ชี้เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาและทำความเข้าใจการปนเปื้อนของพลาสติกขนาดเล็กในร่างกายมนุษย์
นักวิทยาศาสตร์พบว่าขบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนสูงตามคำแนะนำ (Sterilize) และการเตรียมชงนมผง (formula milk preparation) ทำให้ขวดพลาสติกนั้นปล่อยไมโครพลาสติกกว่าล้านชิ้น และนาโนพลาสติกหลายล้านล้านอนุภาค
ขวดนมทั่วโลกนั้นส่วนใหญ่นั้นเป็นประเภทพลาสติกพอลิโพรไพลีน Polypropylene (PP) 82% และขวดยมแบบแก้วนั้นเป็นอีกทางเลือกหลัก โดยพลาสติกพอลิโพรไพลีนถูกใช้อย่างแพร่หลายมาก
ซึ่งจากการทดสอบขั้นต้นโดยนักวิทยาศาสตร์เผยว่ากาน้ำ และภาชนะอาหารก็ปล่อยไมโครพลาสติกหลายล้านชิ้นต่อลิตรของของเหลว (Per litre of liquid)
ไมโครพลาสติกนั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปนเปื้อนในอาหาร และน้ำดื่มของมนุษย์ แต่การศึกษานี้เผยให้เห็นว่าการเตรียมอาหารในภาชนะพลาสติกนั้นจะนำไปสู่การปนเปื้อนของพลาสติกที่มากกว่าหลายพันเท่า
แม้ผลกระทบทางสุขภาพยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่นักวิจัยเผยว่ามันมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะสำหรับทารก นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้สร้างคู่มือการฆ่าเชื้อเพื่อลดการปล่อยไมโครพลาสติก
Prof John Boland จาก Trinity College Dublin เผยว่าตัวเลขไมโครพลาสติกในขวดนมนั้นเป็นสิ่งที่น่าตกใจอย่างมาก การศึกษาปีที่แล้วโดย WHO ประเมินว่าผู้ใหญ่บริโภคกว่า 300-600 ไมโครพลาสติกต่อวัน แต่การประเมินของเขาคาดว่าตัวเลขไมโครพลาสติกนั้นเป็นนับล้าน หรือหลายล้านชิ้น เขาเผยว่าเราต้องศึกษาด้านสุขภาพเพื่อทำความเข้าใจผลกระทบ
เขาชี้ว่าอนุภาคส่วนใหญ่จะถูกขับถ่ายออกมา แต่การศึกษาเพิ่มเติมว่ามีไมโครพลาสติกที่ถูกซึมซับเข้าไปสู่กระแสเลือด และในอวัยวะต่างๆของร่างกายเท่าไหร่นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก "ฉันเลิกใช้ภาชนะเหล่านั้นหมดแล้ว และหากฉันมีลูกฉันจะเปลี่ยนแปลงวิธีการเตรียมชงนมผง"
Philipp Schwabl จาก the Medical University of Vienna ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้เผยว่าการค้นพบนี้เป็น Milestone สำคัญ ซึ่ง Scale ของการปนเปื้อนไมโครพลาสติกที่พบในวิจัยนี้ทำให้เห็นภัยคุกคาม แต่การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพนั้นจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม Prof Oliver Jones จาก RMIT University ใน Melbourne เผยว่าการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกนั้นเป็นเพียงการคาดการณ์ ไม่ใช่การชี้วัด ดังนั้นผู้ปกครองไม่ควรรู้สึกแย่ในการใช้ขวดพลาสติก แต่การศึกษานี้ก็เผยให้เห็นว่าปัญหาไมโครพลาสติกนั้นอาจใหญ่กว่าที่เราคิด และเป็นสิ่งที่ทำให้เราคิดว่าควรทำอะไรบางอย่าง
หลายการศึกษาเผยให้เห็นว่าผู้คนบริโภคไมโครพลาสติกผ่านอาหาร และน้ำ รวมถึงอากาศที่หายใจ อาทิ ถุงชาที่มีส่วนวัสดุทำจากพลาสติก และขวดน้ำดื่มพลาสติก ได้รับการค้นพบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ นักวิจัยมีความกังวลว่าไมโครพลาสติกจะปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีพิษเข้าสู่ร่างกาย
ไมโครพลาสติกยังตกค้างเป็นมลพิษไปทั่วโลกทั้งในหิมะอาร์กติก ดินในเทือกเขาแอลป์ จนกระทั่งจุดลึกสุดของมหาสมุทร แต่ Prof Liwen Xiao จาก Trinity College เผยว่าการศึกษาของเราชี้ว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกนั้นเป็นแหล่งสำคัญของไมโครพลาสติก หมายความว่าเส้นทางการปนเปื้อนในร่างกายนั้นใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด
การศึกษานี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Food พวกเขาได้ทำการทดสอบขวดนม 10 ประเภท และทำการฆ่าเชื้อตามขั้นตอนคำแนะนำสากล โดยการล้างฆ่าเชื้อในน้ำร้อน 95 องศา และเขย่าผสมนมผงในขวดด้วยน้ำ 70 องศา
ซึ่งผลพบว่าทั้งในการล้างฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน และการเขย่าผสมนมผงนั้นสร้างไมโครพลาสติกมหาศาล โดยไมโครพลาสติกนั้นมีความกว้างที่เล็กกว่าผมมนุษย์ และนาโนพลาสติกนั้นเล็กมากเกินกว่าที่จะนับ โดยนักวิทยาศาสตรืได้คาดการณ์ว่ามันจะมีจำนวนมากกว่าล้านล้านชิ้นต่อลิตรของของเหลวเลยทีเดียว
นักวิจัยได้ประกอบข้อมูลที่ทดสอบเข้ากับขวดนม และนมผงใน 48 พื้นที่ ที่ครอบคลุม 3 ใน 4 ของประชากรโลก โดยเฉลี่ยแล้วเขาพบว่าเด็กทารกได้รับพลาสติก 1.6 ล้านอนุภาคต่อวันจากการดื่มนมจากขวดพลาสติก โดยสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และยุโรป เป็นกลุ่มประเทศที่พบว่ามีระดับไมโครพลาสติกสูงที่สุด ซึ่งมากกว่า 2 ล้านอนุภาคต่อวัน
นักวิจัยได้แนะนำวิธีเพิ่มเติมในการลดไมโครพลาสติกที่เกิดขึ้นระหว่างการเตรียมชงนมผง โดยการต้มน้ำฆ่าเชื้อในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก และล้างในน้ำเย็น 3 ครั้งหลังล้างฆ่าเชื้อ และให้ชงนมผงในภาชนะที่ไม่ใช่พลาสติก หลังจากนั้นปล่อยให้เย็นลง แล้วค่อยรินลงในขวดสะอาด
Boland เผยว่าขั้นตอนนี้จะช่วยลดจำนวนไมโครพลาสติกได้มาก และอยากให้ผู้กำหนดนโยบายออกคำแนะนำใหม่เกี่ยวกับขั้นตอนการเตรียมชงนมผงในขณะการใช้ขวดนมพลาสติก
นอกจากนี้วิธีอื่นที่สามารถทำได้คือการเปลี่ยนมาใช้ขวดนมแบบแก้ว แต่มันจะหนักกว่าสำหรับเด็กๆในการถือ และสามารถแตกได้ หรือการพัฒนาการเคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันไม่ให้พลาสติกหลุดออกมาจากขวด
Boland ชี้ว่าพลาสติกนั้นเป็นวัสดุที่ดีและมีประโยชน์มากมาย แต่สิ่งสำคัญในปัจจุบันคือเราต้องทำให้มันปลอดภัยมากขึ้น
ที่มา
https://www.nature.com/articles/s43016-020-00171-y
https://www.theguardian.com/environment/2020/oct/19/bottle-fed-babies-swallow-millions-microplastics-day-study
https://phys.org/news/2020-10-high-microplastics-infant-bottles-formula.html
ร่มธรรม ขำนุรักษ์
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「trinity study 2020」的推薦目錄:
- 關於trinity study 2020 在 LG and Friends Facebook 的最佳貼文
- 關於trinity study 2020 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於trinity study 2020 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於trinity study 2020 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於trinity study 2020 在 Updated Trinity Study For 2021 - More Withdrawal Rates! 的評價
- 關於trinity study 2020 在 Global at Leeds Trinity University - Home | Facebook 的評價
- 關於trinity study 2020 在 Trinity Study FULLY Explained PART II (Is It Still Valid Today!?) 的評價
- 關於trinity study 2020 在 Releases · trinityrnaseq/trinityrnaseq - GitHub 的評價
trinity study 2020 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
trinity study 2020 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
trinity study 2020 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
trinity study 2020 在 Global at Leeds Trinity University - Home | Facebook 的推薦與評價
Welcome to the Global @ Leeds Trinity University Facebook Page, the facebook ... Nominations from partners for Study Abroad at LTU in 2020/21 are open now! ... <看更多>
trinity study 2020 在 Trinity Study FULLY Explained PART II (Is It Still Valid Today!?) 的推薦與評價
... <看更多>
trinity study 2020 在 Updated Trinity Study For 2021 - More Withdrawal Rates! 的推薦與評價
Jan 18, 2020 - Updated Trinity Study Results for 2021, with data from 1871 to 2020. Find out if the 4% rule still holds and the best withdrawal rate for ... ... <看更多>