สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง “กางกลยุทธ์ พิชิตหุ้นสหรัฐฯ”
BBLAM x ลงทุนแมน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา คงไม่มีตลาดหุ้นไหนสามารถทำผลงานได้โดดเด่น อย่างตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ที่ทำให้นักลงทุนสัมผัสได้ถึงความร้อนแรง จนเกิดคำถามว่า หลังจากนี้ โอกาสของหุ้นสหรัฐอเมริกาจะเป็นอย่างไร ?
เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ลงทุนแมน ร่วมพูดคุยกับ 2 ผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนบัวหลวง
คือ คุณพูนสิน เพ่งสมบูรณ์ AVP, Portfolio Solutions
และ คุณนวรัตน์ เจียมกิจรุ่ง SVP, Product Development
ถึงประเด็นสำคัญในการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงเวลานี้
เรื่องราวสำคัญที่นักลงทุนควรรู้ จะมีอะไรบ้างนั้น ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟังเป็นข้อ ๆ แบบเข้าใจง่าย
1. ภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ?
ความร้อนแรงของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
- นโยบายการเงินการคลัง ที่สามารถส่งต่อไปยังภาคธุรกิจ และภาคการบริโภคได้จริง
- การกลับมาของภาคธุรกิจ ทั้งจากกลุ่มธุรกิจที่เติบโต และกลุ่มธุรกิจที่ฟื้นตัวจากปีก่อน
ประเด็นที่ต้องจับตาต่อจากนี้คือ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle ซึ่งแปลว่า เราอาจจะไม่ได้เห็นการปรับตัวขึ้นแรง ๆ ของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาเหมือนในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนจากนี้ไป จึงต้องมีการคัดเลือกหุ้นรายตัว รายกลุ่มอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
2. ความน่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ตรงไหน ?
ย้อนกลับไปช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกาพบปัญหาระหว่างทางมาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็น สงครามการค้ากับจีน หรือผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 ประกอบกับการเติบโตของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาที่เริ่มตั้งแต่ปี 2009 ก็ดูเหมือนจะจบรอบไปแล้วในปีที่ผ่านมา
ถ้าดูตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ปี 2020 ออกมา -30% แต่ที่น่าสนใจก็คือ สหรัฐอเมริกาฟื้นตัวกลับมาได้ค่อนข้างเร็ว โดยเห็นได้จาก GDP ไตรมาส 3 ปี 2020 ปรับตัวขึ้นกลายเป็น +33%
และถ้าหากสังเกตดัชนี S&P 500 ก็ยิ่งฟื้นตัวแรงไม่แพ้กัน
โดยใช้เวลาฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แค่ 1 เดือนเท่านั้น และก็ยังทำ New High ต่อเนื่อง อย่างในปี 2021 นี้ก็ +20% จากต้นปีอีกด้วย
ซึ่งต่างไปจากวิกฤติซับไพรม์ปี 2007 ที่ต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวกว่า 18 เดือน แต่เมื่อฟื้นตัวกลับมาได้ ก็ไปต่อได้ดีเช่นกัน
ดังนั้น จุดที่น่าสนใจของตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา เมื่อสังเกตจาก 2 วิกฤติที่ผ่านมาก็คือ เมื่อสหรัฐอเมริกาประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจแล้ว มักจะกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว และก็ดีกว่าเดิมเสมอ
3. แล้วจุดขับเคลื่อนสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟื้นตัวได้เร็ว คืออะไร ?
ปัจจัยที่ 1 คือ อำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ผ่าน 2 เครื่องมือสำคัญ นั่นคือ
- นโยบายทางการเงิน ที่จะช่วยให้ตลาดการเงินของสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินต่อไปได้ โดยการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ในตลาด เพื่อพยุงราคาไม่ให้ถูกเทขาย
เช่น พันธบัตรรัฐบาล, Mortgage-Backed Securities (ตราสารทางการเงินที่มัดรวมสินเชื่อบ้านเข้าด้วยกัน โดยมีสถาบันการเงินเป็นคนกลางจับคู่ระหว่างผู้กู้ยืมและนักลงทุน), หุ้นกู้ในกลุ่ม Fallen Angels ที่ถูกปรับลดระดับเครดิตต่ำกว่า BBB (Non-Investment Grade)
- นโยบายการคลัง ที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
เช่น การอัดฉีดเงินกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐไปให้ชาวอเมริกันที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงาน
เนื่องจากโครงสร้าง GDP สหรัฐอเมริกามาจากภาคการบริโภค 70%
ดังนั้น หากชาวอเมริกันกลับมาบริโภคได้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจก็จะกลับคืนมาด้วย
แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทั้ง 2 นโยบายที่ว่านี้ คงจะมีแต่สหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่สามารถทำได้
หากเป็นประเทศอื่น ๆ เราคงเห็นปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ประเทศไทยที่มีสัดส่วนการบริโภคแค่ 1 ใน 4 ถ้าหากเราอัดฉีดเม็ดเงินเช่นนั้นก็จะเกิดปัญหาค่าเงินบาทอ่อนหรือปัญหาเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นแรง เป็นผลมาจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจที่มากเกินไป
โดยเหตุผลที่สหรัฐอเมริกาสามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะความเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจโลกครองสัดส่วน 1 ใน 4 ของมูลค่า GDP โลก และเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังเป็นเงินสกุลหลักของการค้าระหว่างประเทศ
ปัจจัยที่ 2 คือ โครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งและหลากหลาย ส่งผลให้ภาพรวมฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
หากสังเกตดัชนี S&P 500 จะพบว่า Market Cap. ของกลุ่มเทคโนโลยี 27% สูงเป็นอันดับที่ 1 ถัดมาจะเป็นกลุ่ม Health Care 13% และกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12% ล้วนเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต
ที่น่าสนใจคือ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา เข้ามามีบทบาทในชีวิตของเราขึ้นเรื่อย ๆ เสมือนเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิตคนเรา และหลากหลายกลุ่มเทคโนโลยีอนาคตอย่าง Innovation, FinTech, Digital Advertising ยังมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย
นอกจากนี้ วิกฤติโควิด 19 ยังเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของสินค้าเทคโนโลยี และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เช่น การช็อปปิงออนไลน์, การดูวิดีโอสตรีมมิงแทนการเข้าโรงภาพยนตร์
ขณะที่ภาคธุรกิจเอง ก็หันมาให้ความสนใจ Digital Advertising มากกว่าป้ายบิลบอร์ดเดิม ๆ ส่งผลให้ลดต้นทุน, ลดขั้นตอน Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทั้งหมดนี้ จึงทำให้เชื่อว่า หุ้นเทคโนโลยีสหรัฐอเมริกาจะยังเติบโตตามผลประกอบการต่อไปได้
4. หลังจากการฟื้นตัว ก้าวต่อไปคือการเข้าสู่ Mid Cycle ?
เมื่ออัตราการว่างงานลดลง ซึ่งคาดว่า 8-10 เดือนข้างหน้า ก็จะสามารถกลับเข้าสู่ระดับปกติก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 ได้ ขณะเดียวกัน Fed ก็เริ่มส่งสัญญาณถอนคันเร่งมาตรการกระตุ้น ด้านสวัสดิการว่างงานก็เริ่มลดลง สะท้อนได้ว่า สหรัฐอเมริกากำลังเข้าสู่ช่วง Mid Cycle
ดังนั้น เราน่าจะไม่ได้เห็นสภาพคล่องท่วมตลาดเหมือนอย่างเคยอีกต่อไป
กลยุทธ์การลงทุนในช่วง Mid Cycle จึงต้องเลือกลงทุนหุ้น Growth เช่น หุ้นเทคโนโลยี
หรือลงทุนหุ้นที่จะได้รับผลประโยชน์จากนโยบายภาครัฐ ในโครงการที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน กำลังผลักดันอยู่ในขณะนี้ เช่น
- American Rescue Plan วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นสวัสดิการชดเชยการว่างงาน
- Infrastructure Bill วงเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศ
- American Families Plan วงเงิน 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมนุษย์
- American Jobs Plan วงเงิน 2.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน, Health Care, อุตสาหกรรม EV, พลังงานสะอาด
- U.S. Innovation and Competition Act วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อแข่งขันกับจีน
หากโครงการเหล่านี้ได้รับการอนุมัติทั้งหมด จะกลายเป็นเม็ดเงินพัฒนาเศรษฐกิจที่เยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ที่จะช่วยพัฒนาประเทศระยะยาว 5-10 ปี เลยทีเดียว
5. ตอนนี้ Master Fund ระดับโลก มองการลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาอย่างไร ?
หลังจากที่กองทุนบัวหลวงได้พูดคุยกับผู้จัดการกองทุน J.P. Morgan หนึ่งใน Master Fund ระดับโลก
พบว่า หากเป็นการลงทุนระยะกลาง J.P. Morgan กำลังพุ่งเป้าไปที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเศรษฐกิจหลังจากผ่านวิกฤติโควิด 19 เช่น
- กลุ่มธุรกิจ Reopening ที่เชื่อว่าจะกลับมาฟื้นตัว และได้รับประโยชน์จากความต้องการซื้อที่อัดอั้นมาจากวิกฤติโควิด 19 เช่น การจองโรงแรม, การเช่ารถ, ร้านอาหาร
- กลุ่ม Health Care ทั้งในแง่ของการรับมือกับโควิด 19, การพัฒนาวัคซีน, การวิจัยเชื้อกลายพันธุ์ และพฤติกรรมพร้อมจ่ายของคนเราเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง จึงมองว่ากลุ่มยา และกลุ่ม Biotech ยังเติบโตได้ดี
- กลุ่มพลังงานสะอาด จากการผลักดันนโยบาย EU Green Deal ขณะที่ต้นทุนของพลังงานลม และพลังงานโซลาร์เซลล์ ที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับพลังงานดั้งเดิม รวมทั้งกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์กักเก็บพลังงานก็น่าสนใจ
ขณะเดียวกัน หากเป็นการลงทุนระยะยาว J.P. Morgan กำลังจับตากลุ่มธุรกิจที่สอดรับกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า
ซึ่งนอกจาก 3 กลุ่มข้างต้นแล้ว ก็ยังมีกลุ่มเครื่องจักรอัตโนมัติ หรือกลุ่ม Smart ต่าง ๆ เช่น Smart Home, Smart TV ที่กำลังเติบโตตามโลกอนาคต อีกด้วย
6. กลยุทธ์การลงทุนหุ้น Growth ในช่วงเวลานี้ ?
กลยุทธ์การวิเคราะห์ลงทุนหุ้น Growth ของ J.P. Morgan จะออกเป็น 2 รูปแบบ นั่นคือ
- รูปแบบ Bottom Up คือการวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นหลัก
- รูปแบบ Micro Focus คือการวิเคราะห์ลงรายละเอียดเล็ก ๆ เพราะเชื่อว่าจุดเล็ก ๆ จะนำไปสู่ความแตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น Facebook ที่กำลังได้รับประโยชน์จากโฆษณาออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายคือ การค้นหาหุ้นสหรัฐอเมริกาที่กำลังเติบโตมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ภายใต้ 3 ลักษณะสำคัญคือ
- ธุรกิจที่มีผลต่อการบริโภค หรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
- ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มีกำไรที่แข็งแกร่ง
- ธุรกิจที่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น (Momentum) ทิศทางเชิงบวก ดังนั้นต้องรู้จักทำใจให้นิ่งเพื่อรอจังหวะ Momentum ที่ดีได้
อีกหนึ่งกลยุทธ์การลงทุนที่สำคัญก็คือ การปรับพอร์ตลงทุนอยู่เสมอ โดยจะลดน้ำหนักหุ้นที่มีราคาปรับตัวขึ้นมานานหลายปี และตลาดรับรู้ข่าวทั้งหมดแล้ว
เช่น กลุ่มเทคโนโลยีชั้นนำอย่าง Microsoft, Apple ถูกลดสัดส่วนตั้งแต่ปีที่แล้ว เพื่อนำเงินไปลงทุนหุ้นที่จะเป็น “Big Winner” ตัวต่อไป แต่ก็ไม่ได้ขายหมดทั้งพอร์ต เพราะยังมองว่าเป็นธุรกิจที่ดีระยะยาว
นอกจากนี้ ด้วยความเป็นกองทุนแบบ Active ของ J.P. Morgan ยังมองเห็น 2 กลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจคือ
- กลุ่มการเงิน โดยจะลงทุนทั้งสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และกลุ่ม Online Payment
- กลุ่มเทคโนโลยี 5G และ EV โดยที่มองลงลึกไปถึง “ทองแดง” ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของกลุ่มเทคโนโลยี จึงเข้าไปลงทุนบริษัท Freeport-McMoRan หนึ่งในธุรกิจเหมืองแร่ทองแดงที่ใหญ่ที่สุดในโลก
7. ตัวอย่างธุรกิจที่เข้าข่ายหุ้น Growth ที่น่าสนใจ ?
ธุรกิจในกลุ่ม Digital Advertising เช่น Snap Inc. เจ้าของแอปพลิเคชัน Snapchat ที่มียอดผู้ใช้งานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ยังมีการขยายฐานผู้ใช้งานไปยังประเทศอินเดีย ทำให้มีโอกาสเติบโตในเรื่องของเม็ดเงินโฆษณาได้อีกมาก ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา รายได้ของ Snapchat ก็เติบโตเฉลี่ยปีละ 46%
ธุรกิจในกลุ่มต่อมาก็คือ Online Payment เช่น PayPal ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ชีวิตในยุค New Normal และตอบโจทย์ในการชำระเงินยุคใหม่
ซึ่งจากผลการดำเนินงานในไตรมาสล่าสุด PayPal มีจำนวนบัญชี Active User เติบโต 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่จำนวนธุรกรรมเติบโต 40% จากปีก่อนหน้า
ธุรกิจในกลุ่มสุดท้ายก็คือ ธุรกิจนอกกลุ่มเทคโนโลยี เช่น John Deere ผู้ผลิตและจำหน่ายรถแทรกเตอร์ อุปกรณ์การเกษตรที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับการเกษตร ตอบโจทย์การเกษตรสมัยใหม่และเทรนด์ความยั่งยืน
หากสหรัฐอเมริกามีการเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงกับ John Deere
ซึ่งหุ้น 3 ตัวนี้ ก็เป็นหุ้นที่ J.P. Morgan ลงทุนเป็น Top Holding อีกด้วย
8. ตอนนี้หุ้น Growth แพงไปหรือยัง ?
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวง คิดว่าหุ้น Growth ยังไม่แพงเกินไป ถึงแม้ว่าจะผ่านช่วงสูงสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสเติบโตได้อยู่
โดยหากมาดูในส่วนของค่ากลางของ P/E Ratio S&P 500 พบว่า อยู่ที่ 20 เท่า สะท้อนให้เห็นว่า ยังมีโอกาสที่เรายังสามารถหาหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตในราคาที่สมเหตุสมผลได้อยู่
และที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ P/E ทยอยปรับลดลง ซึ่งมีสาเหตุมาจากกำไรของบริษัทเติบโตอย่างรวดเร็ว
โดยในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทใน S&P 500 จะโต 60% ในขณะที่ในปี 2022 S&P มีการคาดการณ์ว่ากำไรจะโตต่ออีก 15% จากปี 2021
จากตรงนี้ก็จะเห็นได้ว่า ยังมีอีกหลายธุรกิจที่ผลการดำเนินงานยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อยู่
9. ผลตอบแทนการลงทุน ด้วยกลยุทธ์แบบ J.P. Morgan เป็นอย่างไร ?
จากกลยุทธ์ Active Management ที่เน้น Micro Focus ทำให้กองทุน JPM US Growth ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกา มีผลการดำเนินงานที่ค่อนข้างดีมาอย่างต่อเนื่อง
หากเรามาดูผลการดำเนินงานของกองทุน JPM US Growth จะพบว่า ถ้าดูย้อนหลังไป 3 ปี เฉลี่ยต่อปีแล้ว ผลตอบแทนจะเท่ากับ 27% สูงกว่าเมื่อเทียบกับ Benchmark ที่เป็น Russell 1000 ที่เน้นเฉพาะหุ้นเติบโต ซึ่งถ้าย้อนหลัง 5 ปี ผลการดำเนินงานก็ดีกว่าเช่นกัน
เมื่อมาดูการจัดอันดับของ Morningstar พบว่ากองทุน JPM US Growth อยู่ใน First Quartile คือเป็นหนึ่งในกองทุนที่ทำผลการดำเนินงานได้ดีอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในกลุ่มอีกด้วย
หากมาดูด้าน Valuation ของกองทุน JPM US Growth จะเห็นว่า กองทุนนี้มี P/E Ratio ที่ต่ำกว่า Benchmark แต่มีอัตราการเติบโตของกำไร (%EPS Growth) สูงกว่า Benchmark และ S&P 500
10. เราจะลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกาในรูปแบบกองทุน ได้อย่างไร ?
กองทุน B-USALPHA เป็นกองทุน Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JP Morgan US Growth Fund ไม่ต่ำกว่า 80%
ซึ่ง JP Morgan US Growth Fund เป็นกองทุนแนว Active Management เน้นลงทุนในหุ้นที่เติบโตสูงกว่าที่ตลาดมองไว้
และในส่วนที่เหลือผู้จัดการกองทุนของบัวหลวง ก็อาจลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาที่น่าสนใจเป็นรายตัว
ซึ่งน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีระยะยาวได้ เหมือนที่ทำกับ B-FUTURE และ B-CHINE-EQ
กองทุนนี้ ยังมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล เพราะปัจจุบันอยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ลงทุนส่วนใหญ่จึงหันมาหาสินทรัพย์เสี่ยง หรือหุ้น กันมากขึ้น การจ่ายเงินปันผลจะช่วยให้ผู้ลงทุนมีเงินระหว่างทาง ไม่ต้องคอยดูจังหวะการขายทำกำไร และสามารถลงทุนได้นานขึ้น
11. สุดท้ายแล้ว แนวทางของกองทุน B-USALPHA จะช่วยบริหารพอร์ตการลงทุนภาพรวมของคุณได้อย่างไร ?
ในมุมมองการจัดพอร์ตลงทุน การกระจายสินทรัพย์เสี่ยงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
ในมุมมองของกองทุนบัวหลวงคือ การจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยง ทั้งในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงต่ำและเสี่ยงสูง
ในส่วนสินทรัพย์เสี่ยงสูงที่เป็นหุ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การเอามาเป็นแกนหลักของพอร์ต (Core Port) กับเอาเป็นตัวเร่งในแต่ละธีม (Thematic) โดยส่วนที่เป็นแกนหลัก ควรที่จะให้มีการกระจายหลายประเทศ และหลายกลุ่มอุตสาหกรรม
แล้วควรลงทุนในหุ้นสหรัฐอเมริกาเท่าไร ? หากอ้างอิงจาก MSCI Index มีสัดส่วนบริษัทในสหรัฐอเมริกา กว่า 58% อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความชอบ ความเสี่ยงที่รับได้ และความเข้าใจของแต่ละคนด้วย
เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่พัฒนาแล้ว มีผลการดำเนินงานดีที่สุดใน 10 ปีที่ผ่านมา คือปีละ 14% และมีความผันผวนต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
สรุปได้ว่า การลงทุนหุ้นสหรัฐอเมริกา ถือว่าเป็นของต้องมีในพอร์ต และกลยุทธ์การลงทุนแบบ Active ในหุ้นเติบโต ย่อมมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย นั่นเอง..
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過149的網紅ConnieDesirae,也在其Youtube影片中提到,All my life, I thought the grass was greener elsewhere. I was born and bred in Kuala Lumpur, but spent the past four years in the United States. I lo...
「u.s. infrastructure」的推薦目錄:
u.s. infrastructure 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US
ลงทุนแมน x BBLAM
ถ้าพูดถึงตลาดการลงทุน ที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ก็แน่นอนว่าต้องเป็น “สหรัฐอเมริกา”
ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนแบบนี้
คนที่สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา ก็ยิ่งต้องติดตามหลายประเด็นในโลกการลงทุน ทั้งภาพรวมเศรษฐกิจที่ผ่านมา รวมไปถึงสัญญาณเศรษฐกิจต่าง ๆ
อังคารที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ ดร.มิ่งขวัญ ทองพฤกษา Chief Economist จากกองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยกันเกี่ยวกับสถานการณ์ของเศรษฐกิจและสถานการณ์ของตลาดการลงทุนในสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อเรื่อง “สรุป 4 สัญญาณ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตามหาจังหวะลงทุนหุ้น US”
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ตอนนี้เป็นอย่างไร
แล้วลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกา เราต้องดูอะไรบ้าง ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง
มาเริ่มกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจโลกช่วงที่ผ่านมา
บรรดาประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและยุโรป ดูจะรับมือกับโควิด 19 ได้ดี ด้วยความพร้อมเรื่องวัคซีน และความพร้อมทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ที่ดี
สำหรับสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวดี เนื่องมาจากมีการอัดฉีดทั้งในนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินแบบจัดหนัก
ในไตรมาส 2 การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 7.7% ส่วนการนำเข้า-ส่งออกสุทธินั้นติดลบ ซึ่งหักลบกันแล้ว GDP ไตรมาส 2 สหรัฐอเมริกา เติบโต 6.5% ดีต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1
อย่างไรก็ตาม GDP ในไตรมาส 3 ของสหรัฐอเมริกา อาจจะชะลอความร้อนแรงในการเติบโตลง
โดยมี 3 ปัจจัยที่กดดัน ได้แก่
1. โควิด 19 สายพันธุ์ Delta ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น
2. ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (FED) น่าจะเริ่มส่งสัญญาณเข้มงวดทางการเงินมากขึ้น
3. ราคาสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงทองคำมีแนวโน้มปรับตัวลดลง กดดันตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ
คำถามสำคัญก็คือ จบปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าอ้างอิงจากการประมาณการล่าสุดของ IMF เมื่อ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา IMF คงประมาณการว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2021 จะเติบโต 6% เช่นเดียวกับการประเมินครั้งก่อนหน้า
แต่ที่น่าสนใจก็คือ IMF ปรับประมาณการ GDP สหรัฐอเมริกา จะเติบโตในอัตราสูงขึ้น จากเดิมที่ 6-6.5% มาเป็น 7% ขณะที่ฝั่งเอเชียหลาย ๆ ประเทศรวมถึงจีน โดนปรับลดประมาณการการเติบโตลง
สาเหตุเพราะ IMF มองว่าสหรัฐอเมริกาควบคุมโควิด 19 ได้ดีขึ้น และสภาคองเกรสสามารถอนุมัตินโยบายสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นปัจจัยผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นได้เร็ว
เราเห็นภาพรวมเศรษฐกิจโลก และตัวเลข GDP ของสหรัฐอเมริกาช่วงที่ผ่านมากันแล้ว
คำถามสำคัญสำหรับผู้สนใจลงทุนในตลาดสหรัฐอเมริกาก็คือ
ในมุมของการลงทุน เรามองแค่ GDP ได้หรือไม่ ?
เพื่อตอบคำถามนี้ เราต้องลองมาดูความสัมพันธ์ระหว่าง GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 ที่ถือเป็นตัวแทนตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เราจะเห็นว่า ตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา GDP สหรัฐอเมริกา กับดัชนี S&P 500 เริ่มมีการเคลื่อนไหวต่างทิศทางกัน ไม่เหมือนช่วงก่อนหน้านั้น
ตัวแปรสำคัญที่ส่งผลให้เป็นแบบนี้ ก็มาจากปัจจุบันหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีครองสัดส่วนใน S&P 500 เกือบ 30% แต่เทียบกับ GDP กลุ่มเทคโนโลยีมีสัดส่วนใน GDP ประมาณ 6% เท่านั้น
นอกจากนั้นกลุ่มการแพทย์ กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีน้ำหนักมากรองลงจากกลุ่มเทคโนโลยี ในดัชนี S&P 500 ก็ไม่ได้มีสัดส่วนมูลค่าที่สูงนักใน GDP ของสหรัฐอเมริกา เพราะ GDP ของสหรัฐอเมริกาถูกขับเคลื่อนด้วยน้ำหนักของกลุ่มการเงิน
เพราะฉะนั้น สรุปคือ GDP อาจไม่สามารถอธิบายตลาดหุ้นได้เสียทีเดียว หรืออธิบายไม่ได้ทั้งหมด เพราะน้ำหนักหรือสัดส่วนของเซกเตอร์ใน GDP กับตลาดหุ้น มีความแตกต่างกัน
คำถามต่อมาก็คือ เมื่อดูเพียง GDP ไม่ได้ แล้วต้องดูอะไรบ้าง ?
ก็จะมี สัญญาณสะท้อนเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา “4 ตัว” ซึ่งเราสรุปเป็นประเด็นต่าง ๆ ได้ก็คือ
1. นโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา หรือ FED
หลังเกิดวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในสหรัฐอเมริกา ปี 2008 ก็มีการเปลี่ยนประธานธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ FED บ่อยขึ้น ทำให้เริ่มเห็นว่าท่าทีของนโยบายการเงิน มีเรื่องของปัจจัยทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง
จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากวิกฤติปี 2008 คือนโยบายการเงินสหรัฐอเมริกา มีความสุดโต่งขึ้นมาก มีการทำ QE อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจผ่านการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ อย่างหนัก จนสภาพคล่องล้นเข้ามาอยู่ในตลาดทุน
จึงเป็นที่มาว่า ทำไมนักลงทุนควรติดตามนโยบายของ FED ว่าจะปรับขึ้นหรือลดดอกเบี้ยตอนไหน และจะเพิ่มหรือชะลอการอัดฉีดเงินเข้าสู่สินทรัพย์ต่าง ๆ ช่วงไหนบ้าง
2. อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐอเมริกา
ปกติแล้ว FED จะพยายามคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ 2%
แต่ตอนนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกากำลังมีความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มสูงมาก จากการที่คนกลับมาจับจ่ายใช้สอยกันหลังเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น
ซึ่งประธาน FED ก็ชี้แจงว่า เงินเฟ้อที่ดีดสูงในช่วงนี้ เป็นเพียงปรากฏการณ์ระยะสั้น และเป็น “เรื่องชั่วคราว” ที่ต้องปล่อยให้เกิดไป เพราะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่มาจากความอัดอั้นของการบริโภคช่วงก่อนหน้านี้
3. ตัวเลขอัตราการว่างงาน และการจ้างงาน
ตัวเลขการจ้างงานและอัตราการว่างงาน ถือเป็น Lagging Indicator หรือก็คือ “ตัวชี้วัดตาม” ที่จะสะท้อนว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ขยายตัวได้ดีจริง ๆ แล้วหรือยัง
โดย FED ต้องการให้ตัวชี้วัดนี้ ฟื้นตัวให้เต็มที่ก่อน แล้วค่อยคิดเรื่องปรับดอกเบี้ยขึ้น
ตัวเลขที่น่าสนใจติดตามคือ U.S. Nonfarm Payrolls หรือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐอเมริกา ที่จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน
สำหรับตัวเลขที่ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา U.S. Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้นมา 9 แสนกว่าตำแหน่ง ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์
ถ้าฟื้นตัวในอัตราเท่านี้ต่อไป ก็คาดว่าในอีก 8-10 เดือน การจ้างงานของสหรัฐอเมริกาจะกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19
เมื่อการจ้างงานกลับไปที่เดิม เราจะเริ่มเห็นอะไร ? เราก็อาจจะเริ่มเห็นการปรับนโยบายการเงินให้เข้มงวดขึ้น เช่น ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น ชะลอการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ
ดังนั้นหลังจากนี้ ก็ต้องจับตาว่า FED จะเริ่มให้ความชัดเจนเรื่องปรับนโยบายการเงินในช่วงไหน ซึ่งคาดว่าปลายปีนี้ FED อาจต้องเริ่มพูดแล้ว
อย่างไรก็ตาม การทำ QE Tapering หรือที่แปลว่าการชะลอหรือดูดสภาพคล่องออกจากระบบเศรษฐกิจนั้น ไม่ได้แปลว่าต้องลดการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบในทันที
เพราะคำว่า Tapering หมายความถึงการ “คงระดับ” การอัดฉีดไว้ ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ก็ได้เช่นกัน
และถ้าเราลองเปิดดูข้อมูลย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมา กว่าที่ FED จะเริ่ม “ลด” การอัดฉีดสภาพคล่องลง ก็จะต้องรอให้อัตราดอกเบี้ยค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไประยะหนึ่งก่อน
สรุปคือ กว่าที่ FED จะทำการ “ลดการอัดฉีด” เงินเข้าสู่ระบบนั้น มันก็มีขั้นมีตอนในการทำ และต้องอาศัยเวลาพอสมควร ไม่ใช่ทำได้ในทันทีที่ประกาศ
ตลาดหุ้นก็อาจจะตอบสนองไปก่อนแน่นอน หลังจากรู้สัญญาณการปรับนโยบายของ FED
อีกประเด็นที่น่าสนใจเรื่องการจ้างงานก็คือ
ถ้า Supply ของแรงงานปรับตัวไม่ทันความต้องการของตลาด เช่น ทักษะแรงงานไม่เหมาะสมกับความต้องการของนายจ้าง แรงงานอาจเติมเต็มในระบบได้ช้าลง ตัวเลขการว่างงานอาจจะสูงต่อไปอีกระยะ
เพราะฉะนั้นถ้าเกิดมีประเด็นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือทำ QE Tapering ก็อาจขยับเวลาออกไปก่อน เพราะนโยบายการเงินที่ดี ควรรอให้ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ขยายตัวให้ครบก่อน
4. ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ในแต่ละนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา นำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน นั้น ต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองสภาคือ สภาผู้แทนราษฎร (House) และ วุฒิสภา (Senate)
ซึ่งนโยบายล่าสุดที่ได้รับการอนุมัติไปก็คือ The American Rescue Plan Act นโยบายต่อสู้กับวิกฤติโควิด 19 ที่มีงบประมาณกว่า 63 ล้านล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีนโยบายอีกหลายตัวของฝั่งรัฐบาลไบเดนที่น่าจับตามอง
ก็คือ United States Innovation and Competition Act ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการแข่งขันของประเทศโดยจะเน้นไปที่ กลุ่มของเซมิคอนดักเตอร์
และอีก 2 นโยบาย ที่กำลังผลักดันก็คือ Infrastructure Investment and Jobs Act ที่สนับสนุนในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยล่าสุดได้ผ่านการอนุมัติจากทางฝั่งวุฒิสภาเรียบร้อยแล้ว และ American Family Act ที่สนับสนุนด้านการศึกษา ที่กำลังรอการพิจารณาต่อไป
ซึ่งหากนโยบายทั้ง 3 นี้ผ่านหมด จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้ประโยชน์ เช่น กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มก่อสร้าง
และยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมย่อย ที่จะได้รับผลประโยชน์ และจะสามารถช่วยกระตุ้นการจ้างงานได้อีกมาก จากนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้
ทั้งหมดนี้ จึงกลายเป็นการสรุปภาพรวม 4 สัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ที่เราควรต้องติดตามกันก็คือ
- นโยบายการเงินของ FED
- อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขอัตราการว่างงานและตัวเลขการจ้างงาน
- ความคืบหน้าของการผ่านร่างนโยบายการคลัง
ท่ามกลางวิกฤติทั่วโลก หนึ่งในประเทศที่มีการฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วก็คือ สหรัฐอเมริกา
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า 4 สัญญาณสำคัญนี้ของสหรัฐอเมริกา จะเป็นไปในทิศทางไหนต่อไป..
u.s. infrastructure 在 Eric's English Lounge Facebook 的精選貼文
[時事英文新聞] 電腦安全 Cybersecurity
無論同學是關心經濟 (economics)、財經 (finance)、科技 (technology)、政治 (politics),或是軍事 (military)發展,電腦安全 (cybersecurity) 在這些議題當中都扮演關鍵的角色! 希望我們的媒體可以多關注資安相關新聞。
相關英文詞彙:
Search the following terms on Google News for more information.
•cybersecurity 網路安全
•information security 資訊安全
•geopolitical conflict 地緣政治衝突
•launch cyber attacks 發起網路攻擊
•be hit by cyberattacks 受到網路攻擊
•hacker teams 駭客團隊
•white hat 白帽駭客: https://bit.ly/3CRPfrp
•black hat(電腦)駭客 / 黑帽駭客: https://bit.ly/3AD6Tgp
•data breach 數據洩漏
•cyber espionage 網路諜報、網路情蒐、網路間諜
•ransomware 勒索軟體
•cripple operations 癱瘓運作
•disable (v.) 使發生故障,使失靈,使無法正常工作
•critical infrastructure 重要的基礎設施、維生管線
•cyber preparedness 資安準備度
•cyberwarfare and electronic warfare capabilities 網路戰與電子作戰能力
•economic espionage 經濟間諜
•operation security 行動安全
•end-to-end encryption 端到端加密
•end-user education 終端使用者的教育
•increase awareness 增強意識
相關報導:
📌 U.S. Taps Amazon, Google, Microsoft, Others to Help Fight Ransomware, Cyber Threats
https://www.wsj.com/articles/u-s-taps-amazon-google-microsoft-others-to-help-fight-ransomware-cyber-threats-11628168400
📌 LINE accounts of 100 Taiwan officials hacked in mass breach
https://asia.nikkei.com/Business/Technology/LINE-accounts-of-100-Taiwan-officials-hacked-in-mass-breach
📌 Food, Farms and Cyber Security: Agriculture Faces a Growing Problem
https://www.techopedia.com/food-farms-and-cyber-security-agriculture-faces-a-growing-problem/2/34551
📌 Cyber preparedness could save America's 'unsinkable aircraft carrier'
https://thehill.com/opinion/cybersecurity/567069-cyber-preparedness-could-save-americas-unsinkable-aircraft-carrier
📌 Why Cyber Security Stocks Have Rallied Over The Last Month
https://www.forbes.com/sites/greatspeculations/2021/08/09/why-cyber-security-stocks-have-rallied-over-the-last-month/?sh=27dbc0b843bd
📌 A Cybersecurity Stop Sign: CISA Introduces Bad Practices
https://www.forbes.com/sites/forbestechcouncil/2021/08/12/a-cybersecurity-stop-sign-cisa-introduces-bad-practices/?sh=264cd77e42d6
u.s. infrastructure 在 ConnieDesirae Youtube 的最佳解答
All my life, I thought the grass was greener elsewhere.
I was born and bred in Kuala Lumpur, but spent the past four years in the United States. I loved it, and wanted so badly to stay — but alas, the U.S. government had different plans.
Upon returning to KL, I had difficulty re-integrating myself into our way of life. What had previously been second nature became a whole different creature. I missed the people, the infrastructure, the abundance of American living.
But then I took another look, and I realized my home had so many other things going for it. I bought a drone, picked up videography, and tried to show you what I see.
After 21 days of traveling, filming and editing, I present to you – Kuala Lumpur from above.
Playing tourist in my own city helped me see it through new eyes. We have so much untapped potential: The natural resources. The gorgeous skyscrapers. The rich heritage that is reflected in every building we see.
The grass isn’t greener elsewhere; we just need to see it from a different perspective.
I hope this video gives you just that.
Special thanks to Mark Lee for driving me all around KL, and Gwen Yi for helping me express this through words.
Selamat Hari Malaysia. ❤??
----
Disclaimer: Due to work and time constraints, I wasn’t able to feature all of KL’s architectures. But through this video and many to come next, I hope to bring the “Cuti-cuti Malaysia” tagline all over the world.
Malaysia deserves to be noticed.
Music credit:
Tales of Neverland by J.T Peterson
Places featured:
Batu caves
Bukit Jalil National Stadium
Downtown KL
Jamek Mosque
KLCC
KL Tower
KLCC Park
Merdeka Square
Perdana Petra
Putra Mosque
River of life (Where KL started)
Seri Wawasan Bridge
Tun Razak Exchange
Follow me on Social Media:
FACEBOOK
https://www.facebook.com/connie.desirae
INSTAGRAM
https://www.instagram.com/conniedesirae/
EMAIL
Like what you see? Let’s work together: conniedesiraelee@gmail.com
Gadgets used:
DJI Mavic Air
Canon M50
Canon G7X Mark ii
u.s. infrastructure 在 America's Infrastructure Is Crumbling - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>