DAY 36: ยิ่งเงินน้อย ยิ่งต้องวางแผนการเงิน
ทุกวันนี้ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดในเรื่องของ “การวางแผนการเงิน” และความเข้าใจผิดอันดับ 1 ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ “การวางแผนการเงินเป็นเรื่องของคนมีเงินเยอะ” หรือ “ต้องมีเงินเหลือให้วางแผน” ส่วนคนเงินน้อยหรือเงินไม่ค่อยพอใช้นั้นหมดสิทธิ์
โดยส่วนตัวแล้ว ผมคิดเห็นตรงกันข้ามเลยครับ ผมคิดว่า ยิ่งมีเงินน้อยนั่นแหละ ยิ่งต้องวางแผน และต้องวางแผนให้ละเอียดด้วย
เวลาเราพูดถึงคำว่า วางแผนการเงิน เอาเข้าจริงมันมีหลายเรื่องแตกย่อยไปได้อีกมากมาย ตั้งแต่การวางแผนสภาพคล่อง (การใช้จ่าย) การวางแผนจัดการความเสี่ยง การวางแผนภาษี การวางแผนการลงทุน การวางแผนเกษียณ การวางแผนมรดก รวมไปถึงอื่นๆ ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคล
แต่ไม่ว่าจะวางแผนเรื่องอะไร หลักของคำว่า “วางแผน” ก็เหมือนกันหมด นั่นคือ “มองไปข้างหน้า กำหนดเป้าหมาย แล้วย้อนกลับมานั่งคิดเตรียมการในปัจจุบัน”
หลักมันง่ายๆ แค่นี้เองครับ ...
ยกตัวอย่างการวางแผนเกษียณ โดยหลักมันก็คือการมองไปข้างหน้าในวันที่เราหยุดทำงาน ว่าเมื่อถึงเวลานั้นรายได้จากการทำงานของเราอาจจะหายไป เพราะเลิกทำงาน แต่รายจ่ายในชีวิตหลายอย่างยังคงอยู่ อาจลดลงบ้าง (เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ กรณีผ่อนหมดแล้ว) บางรายการอาจเพิ่มขึ้น (เช่น ค่ารักษาพยาบาล)
การวางแผนเกษียณก็จะเริ่มต้นจากตรงนั้น ก็คือ กะเกณฑ์ค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในวันเกษียณ แล้วถอยกลับมาคิดมาวางแผนในวันนี้ ว่าต้องเก็บเงินเท่าไหร่ อย่างไร เก็บในรูปเงินก้อนดี หรือว่า Passive Income ดี หรือผสมกันเท่าไหร่ยังไง
หรืออย่างการวางแผนภาษี มันก็คือการประเมินรายได้ล่วงหน้าทั้งปี โดยการประมาณการ แล้วก็มาคิดคำนวณดูว่า ถ้าได้รายได้ตามที่คาด ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าอยากลดหรือเบาภาระภาษีลง ก็ต้องคิดเรื่องค่าลดหย่อนต่างๆ ซึ่งก็ต้องประเมินให้ดี เพราะ “ค่าลดหย่อนมีต้นทุนที่ต้องจ่ายแลกมา” ด้วยเหมือนกัน
กลับมาที่คนสตางค์น้อย เงินไม่ค่อยพอใช้ การวางแผนการเงินที่จำเป็นสำหรับคนกลุ่มนี้มาก ก็คือ การวางแผนสภาพคล่อง หรือจะเรียกอีกอย่างว่า การวางแผนใช้จ่ายก็ได้
เงินน้อย เงินขาด เงินไม่พอใช้ อันดับแรกเราต้องไม่ยอมรับมันครับ ชีวิตการเงินแบบนี้ขวางความก้าวหน้าของชีวิตอย่างมาก ดังนั้นเราจึงต้อง “วางแผน”
สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ รู้ให้ได้ว่า “เงินพอใช้หรือเปล่า” หรือ “ขาดเท่าไหร่” อันนี้สำคัญมาก หลายคนรู้อย่างเดียวเงินไม่พอใช้ พอถามว่า เดือนหน้าขาดเงินเท่าไหร่ ตอบ “ไม่รู้” แล้วก็จัดการเงินมั่วไปหมด
พอขาดก็หาหยิบยืมไปทั่ว กลายเป็นภาระเพิ่มขึ้นอยู่ตลอด อารมณ์เหมือนคนที่ตกลงไปในหลุม แต่ไม่ได้หาทางตะกายขึ้นอย่างจริงจัง หนำซ้ำในมือยังถือพลั่วขุดหลุมให้ลึกลงกว่าเดิมเสียอีก (บ้าไปแล้ว)
คนที่รู้ทั้งรู้ว่ามีปัญหา แล้วไม่ได้เตรียมการรับมือ อาศัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นคนวิสัยทัศน์การเงินสั้น เพราะคิดเรื่องเงินได้ไกลไม่เกิน 30 วัน (รอบการทวงหนี้ครั้งถัดไป) แบบนี้โดยส่วนตัวผมมองว่า เป็นการขาดความรับผิดชอบทางการเงินอย่างหนึ่ง และประสบความสำเร็จได้ยากมากกกกกก
ถ้าวันนี้คุณเงินไม่ค่อยพอใช้ หรือเก็บออมไม่ค่อยได้ ถึงเวลาต้องจริงจังกับตัวเองแล้วครับ มาเริ่มวางแผนการเงินกัน โดยเริ่มจากวางแผนสภาพคล่องก่อนเป็นอันดับแรก
หยิบกระดาษ A4 มาตีตาราง หรือจะใช้ Excel ก็ได้ แล้วลงข้อมูลรายการรับจ่ายล่วงหน้า 6 เดือน ถัดจากเดือนนี้ไปโดยละเอียด ไล่เรียงตั้งแต่ รายรับ เงินออมที่หักก่อนใช้จ่าย และรายจ่าย ทีละรายการ
สุดท้ายหักลบกันให้เห็น “เงินคงเหลือ” (บรรทัดสุดท้าย) ในแต่ละเดือน ไอ้เจ้าเงินคงเหลือนี่แหละ คือ สภาพคล่อง มันตอบเราได้ว่าเงินพอใช้มั้ย ขาดเหลือเดือนละเท่าไหร่ (ติดลบเท่าไหร่ก็ขาดเท่านั้น)
คำถามถัดมาคือ เห็นบรรทัดสุดท้ายของงบการเงิน “ติดลบ” แล้วคุณรู้สึกอย่างไรบ้าง ถ้าเฉยๆ ก็แยกย้าย อย่าเสียเวลาคุยกันต่อ หรือถ้าเห็นแล้วดรามา อันนี้ก็เสียเวลาเหมือนกัน
แต่ถ้าติดลบแล้วไม่ยอม เฮ้ย! ชีวิตแบบนี้ไม่เอาแล้วโว้ย ก็ให้กลับมาไล่เรียงค่าใช้จ่ายแต่ละตัว วางแผนว่าจะลดการใช้มันได้อย่างไรบ้าง ภาระหนี้แต่ละรายการ ผ่อนหนักไปมั้ย ถ้าหนักไปให้ลองเจรจากับเจ้าหนี้
วางแผนโดยละเอียดกับรายจ่ายทุกตัวก่อน แล้วตอบให้ได้ในทุกรายการว่าจะจัดการกับมันอย่างไร??? ค่ากินจะลดอย่างไร ค่าเดินทางจะเบายังไง หนี้บัตรเครดิตหลายใบรวมเป็นรายการเดียวได้มั้ย สินเชื่อบ้านเริ่มผ่อนไม่ไหว ขอลดค่างวดได้หรือเปล่า ต้องคุยกับใคร
การจัดการกับรายจ่ายที่เกินกำลัง เหมือนกับการห้ามเลือด เลือดไหลต้องห้ามเลือดก่อน พอเลือดหยุดไหลค่อยคิดต่อว่า จะหาทางเพิ่มเลือด (รายได้) ให้กับตัวเองยังไง “เราพอทำอะไรได้บ้าง” ให้มีเงินไหลเข้ากระเป๋าเพิ่ม
ในบรรดาการวางแผนการเงินทั้งหมด การวางแผนสภาพคล่องเป็นเรื่องเบสิคที่สุด เป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องทำให้ได้ ถ้าวันนี้คุณรู้สึกว่าตัวเองจน การเงินกระเบียดเกษียร แสดงว่าคุณยังไม่ได้จริงจังกับเรื่องนี้ และผมอยากแนะนำให้คุณเริ่มต้นวางแผนมันอย่างจริงจังเป็นอันดับแรก
คนเราเวลาตกอยู่ในหลุม ผมรู้ว่ามันทุกข์มันท้อ แต่ไม่ว่าอย่างไรเราต้องมีสติ และสู้กลับอย่างมีแบบแผน
วันนี้ถ้าคุณกำลังติดลบอยู่ หรือเงินกินใช้เดือนชนเดือน อย่าไปท้อครับ ค่อยๆ วางแผนการเงินจัดการสภาพคล่องซะ อาจใช้เวลาสักพักในการตะกายขึ้นจากหลุมที่เราขุดล่อตัวเอง แต่พอมือเราแตะขอบหลุม และเริ่มดันตัวขึ้นโผล่พ้นจากหลุมทีละน้อย คุณจะเริ่มมีกำลังใจ
หนี้ยังไม่หมด แต่เงินเริ่มไม่ติดลบ หนี้ยังต้องจ่าย แต่เริ่มมีเงินออม เมื่อนั่นคุณก็สามารถคิดต่อไปยังการวางแผนการเงินเรื่องต่อๆไปได้ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนจัดการความเสี่ยง (เช่น การวางแผนซื้อประกัน) การวางแผนการลงทุน หรือการวางแผนเกษียณ ทั้งหมดเร่ิมจากการวางแผนสภาพคล่องเป็นอันดับแรก
วันนี้ผมอยากชวนทุกคนที่เงินไม่ค่อยพอใช้ เงินเก็บเงินออมไม่ค่อยมี มาวางแผนการเงินกันทุกคนนะครับ อ่านจบบทความวันนี้แล้ว เอื้อมไปหยิบกระดาษ A4 มาเขียนรายการรับจ่ายได้เลยครับ
เงินน้อยยิ่งต้องวางแผนการเงิน และต้องวางแผนให้ละเอียดด้วย จำคำนี้ไว้ให้ดีนะครับ
ขอส่งกำลังใจให้กับทุกคนครับ
#โค้ชหนุ่ม
#MoneyCoachDiary #Day36 #ยิ่งเงินน้อยยิ่งต้องวางแผนการเงิน
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「moneycoachdiary」的推薦目錄:
- 關於moneycoachdiary 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於moneycoachdiary 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
- 關於moneycoachdiary 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
- 關於moneycoachdiary 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
- 關於moneycoachdiary 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於moneycoachdiary 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於moneycoachdiary 在 moneycoachdiary - Explore 的評價
- 關於moneycoachdiary 在 2022The Millionaire Fastlane-遊戲熱門攻略下載,精選在PTT/巴哈姆 ... 的評價
- 關於moneycoachdiary 在 การเดินทาง คำคม的推薦與評價,FACEBOOK ... - 歌曲歌詞歡唱分享站 的評價
moneycoachdiary 在 Money Coach Facebook 的最佳解答
DAY 35: การจัดการเงิน เมื่อมีรายได้เสริม
“ยุคนี้งานเดียวไม่พอ” เป็นคำพูดที่ใครหลายคนบอกกัน แม้แต่ผมเองก็พยายามบอกคนใกล้ตัวอยู่เสมอ ว่าคนเราควรคิดและมองหา งานที่ 2 อาชีพที่ 3 และธุรกิจที่ 4 อยู่เสมอ
ไม่ใช่แค่เพื่อให้มั่งคั่งเร็ว เพราะนั่นอีกนานกว่าจะเห็นผล แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีสูญเสียรายได้หลักไป อันนี้สิเกิดเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีใครรู้ ถ้ารายได้หลักหายไป แต่ยังมีรายได้เสริมประคองรายจ่ายเอาไว้ ชีวิตก็ยังเดินต่อไปได้ การเงินไม่สะดุด
อย่างไรก็ดี แม้ยุคนี้จะเป็นยุคแห่งการสร้างอาชีพเสริม แต่หลายคนพอมีอาชีพเสริมเข้าจริง กลับไม่ได้มั่งคั่งหรือมั่นคงอย่างที่คิดเอาไว้ แย่หนักกว่านั้นคือ หลายคนยิ่งทำหลายอย่าง “ยิ่งจนลง” ไม่ได้รวยขึ้น ทั้งที่ก็ขายดี มีรายได้เข้ามาเรื่อยๆ
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น?
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเดาคำตอบได้
ใช่ครับ! เพราะบริหารเงินรายได้ไม่เป็นนั่นเอง
จะว่าไปแล้วในบรรดารายได้ทั้งหลาย “เงินเดือน” เป็นรายได้ที่จัดการได้ง่ายที่สุด เพราะเป็นเงินสุทธิให้เรานำไปกินได้เลย แค่กินใช้ให้มีเก็บมีออมทุกเดือน แบบนี้ก็ถือว่าบริหารเงินเดือนได้ยอดเยี่ยมแล้ว
แต่กับรายได้เสริมไม่เหมือนกันครับ รายได้หรือยอดขายของเรา ไม่สามารถนำมากินใช้ส่วนตัวได้ทันที เพราะในยอดขายนั้นมี “ต้นทุน” ของสินค้าและบริการของเรารวมอยู่ด้วย ที่ถูกจึงต้องบันทึกต้นทุนและค่าใช้จ่าย หักจากยอดขาย เหลือเป็นกำไรเท่าไหร่ถึงจะนำมากินใช้ได้
ทั้งนี้เราสามารถวัดกันได้ง่ายๆ เลยว่า ใครทำอาชีพเสริมแล้วการเงินก้าวหน้าหรือทำมานานแล้วชีวิตไม่ไปไหน ด้วยคำถามง่ายๆ ไม่กี่คำถาม ดังนี้
1. รู้หรือเปล่าว่า ต้นทุนของเราจริงๆ เท่าไหร่ (ตอบข้อนี้ไม่ได้ แยกย้ายได้เลยครับ)
2. กำไรต่อวัน หรือต่อเดือน ของเราเป็นเท่าไหร่
3. มีการหักต้นทุนแยกไว้หมุนเวียนกิจการต่อหรือเปล่า
4. กำไรที่ได้ เราจัดสรรปันส่วน หรือบริหารมันอย่างไร
ข้อแรกสำคัญที่สุด ไม่รู้ต้นทุน ไม่มีทางรู้กำไร แล้วก็บริหารต่อไม่ได้เลย ดังนั้นต้นทุนและค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องถูกบันทึกไว้ทั้งหมด
ใครที่ไม่ได้ทำงานประจำ ค้าขายหรือทำอาชีพอิสระ ต้องตั้งเงินเดือนตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนด้วย และห้าม (ย้ำ! ห้าม) กินใช้เกินเงินเดือนที่ตั้งไว้เด็ดขาด เพราะถ้ากินใช้เกินเงินเดือนที่ตั้งไว้ ก็มีโอกาสที่จะกินต้นทุนไปด้วย
แล้วก็จะเกิดปรากฎการณ์ “ขายดี แต่ไม่มีเงินทำทุนต่อ” (บ้าไปแล้ว)
เมื่อรู้ต้นทุน ขายได้เท่าไหร่ ก็ให้หักต้นทุนเก็บไว้หมุนเวียน เช่น ถ้ายอดขาย 100 บาท ต้นทุน 60 บาท ก็ให้หัก 60 บาทจากยอดขาย ใส่เก๊ะใส่กระปุกเอาไว้ซื้อของมาขายต่อในครั้งหน้า ห้ามแกล้งลืมแกล้งทำมึนไม่หักเก็บ แล้วก็ห้ามให้ใครยืมเงินหมุนเวียนก้อนนี้เด็ดขาด เพราะถ้าหมดไม่มีติดตัว เดี๋ยวก็ได้หยิบได้ยืมเขาอีก ยิ่งขายยิ่งเป็นหนี้ ยิ่งจนลง
หักต้นทุนแล้ว เหลือกำไร สิ่งที่ต้องทำต่อก็คือ จัดสรรกำไรเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนแรก: โปะหนี้จากจ่ายขั้นต่ำ (ถ้ามีหนี้)
ส่วนที่สอง: เติมความสุข ใช้ชีวิตให้กินอร่อยเที่ยวสนุกได้อีกสักนิด
ส่วนที่สาม: ออมและลงทุนเพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง
เรื่องสัดส่วนไม่มีหลักการตายตัว ถ้าคิดไม่ออกก็อย่างละ 30% แต่จะเพิ่มลดตรงไหนมากน้อย ก็ไม่มีผิดกติกา ถ้าไม่มีหนี้ ก็จัดสรรให้กับการเติมเต็มความสุขและลงทุนเพิ่มเติมได้เลย
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ อย่าใช้เงินมั่ว คิดว่ายังไงก็เงินเราเหมือนกัน แล้วก็โยกใช้จ่ายปะปนกันไปหมด วิธีคิดนี้ผิดมากๆ
ถ้ามีงานประจำและมีอาชีพเสริม ดีที่สุดคือกินใช้ในชีวิตประจำวันไม่ให้เกินเงินเดือน ส่วนกำไรจากอาชีพเสริม ก็จัดสรร 3 ส่วนอย่างที่บอกไป
แต่ถ้าเงินเดือนจากงานประจำใช้ไม่พอ จะดึงจากธุรกิจไปเติมได้ เฉพาะส่วนที่เป็นกำไรเท่านั้น ห้ามดึงทุนไปเด็ดขาด จำไว้ว่าดึงทุนไปใช้เมื่อไหร่ ที่ทำมาทั้งหมดได้เหนื่อยฟรีแน่นอน
สุดท้ายแล้วคนที่พยายามหารายได้เพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นงานที่ 2 อาชีพที่ 3 หรือธุรกิจที่ 4 ล้วนแล้วแต่น่าชื่นชมในความพยายามทั้งสิ้น และมันจะยอดเยี่ยมมาก ถ้าความพยายามของเรา สุดท้ายได้รับการตอบแทนเป็นความมั่งคั่งและมั่นคงทางการเงินที่เพิ่มขึ้น หรืออย่างน้อยช่วยพาชีวิตการเงินของเราให้พ้นจากปัญหาหนี้ได้
ตักน้ำเติมใส่ตุ่มใบใหญ่ๆ สักใบ มันจะเร็วขึ้น ถ้าเรามีถังน้ำหลายใบ ช่วยกันตักช่วยกันเติมน้ำใส่ตุ่ม แต่ถ้าถังทุกใบที่เรามี ต่างก็มีรูรั่วใหญ่บ้างเล็กบ้าง การมีถังหลายใบนอกจากจะไม่ช่วยให้น้ำเต็มตุ่มแล้ว ยังทำให้เราออกแรงเหนื่อยเปล่าอีกด้วย
จัดการเงินกันให้ดีนะครับ
ยิ่งมีรายได้หลายทางยิ่งต้องใส่ใจและละเอียดเรื่องเงินครับ
#โค้ชหนุ่ม
#MoneyCoachDiary #Day35 #จัดการเงินเมื่อมีรายได้เสริม #TheMoneyCoachTH
moneycoachdiary 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
DAY 31: “อยากรวย” ต้องทำยังไง?
ครั้งล่าสุดที่จัดรายการ มันนีโค้ชพบประชาชน มีคำถามหนึ่งส่งเข้ามาขณะไลฟ์ ถามผมว่า “อยากรวย ต้องทำยังไง” ตอบตรงๆ ว่า คำถามนี้ตอบยาก เพราะผมก็ไม่รู้ว่าเจ้าของคำถามนิยามคำว่า “รวย” ยังไง
“รวย” สอนกันยาก เพราะตั้งโจทย์ไม่ตรงกัน แต่ถ้าเป็นเรื่องการสร้างความมั่นคงทางการเงิน มีชีวิตสุขสบาย เบาความกังวล ผมพอจะแนะนำจากประสบการณ์ของตัวเองได้ ดังนี้
1. ลงมือทำอะไรสักอย่าง
หลายครั้งผมเจอคนอยากรวย ที่ก็เอาแต่นั่งคิดว่า “ทำอะไรถึงจะรวย” แล้วก็ไม่ได้ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเสียที เอาเข้าจริง ทำอะไรแม่งก็รวยได้ทั้งนั้นแหละ (จริงๆนะ) แต่อันดับแรกต้องเริ่มจาก “ลอง” ทำ ไม่ใช่เอาแต่ “เล็ง"
จะฝันใหญ่อยากมีเงินร้อยล้าน หรือฝันเล็กๆ แค่มีบ้านสักหลัง รถสักคัน กินใช้ไม่ลำบาก ทั้งหมดเริ่มต้นด้วยการ “ลงมือทำอะไรสักอย่าง” ครับ
คิดไตร่ตรองแล้วเห็นว่าอะไรถนัด สนุก หรือน่าสนใจ ลงมือทำเลย
2. ตั้งใจทำจริงจัง ทำทุกอย่างแบบมืออาชีพ
คำว่า “มืออาชีพ” สำหรับผม ไม่ได้หมายถึง การจะต้องทำอะไรบ้าง 1-2-3-4 แบบนั้นแบบนี้ ถึงจะเรียกว่าเป็นมืออาชีพ แต่ผมว่ามันคือ “วิธีคิด” นะ มันคือการคิดออก คิดได้เอง ว่าจะทำงานอย่างไรให้ออกมาดี ออกมาเนี๊ยบ สร้างประโยชน์ ตรงใจคนจ่ายเงินให้ และอาจเลยเถิดไปถึง “ดีเกินคาด” เลยด้วยซ้ำ
อาจอธิบายออกมาไม่ได้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่ลึกๆ มันคือ ความพยายามที่จะทำให้งานที่เราทำอยู่ ดีขึ้นเรื่อยๆ ดีขึ้นได้อีก ไม่มีดีที่สุด เพราะยังดีขึ้นได้อีก (เหมือนหลักคิด KAIZEN ของชาวญี่ปุ่น) ทุกวันนี้คุณหยุดพัฒนาสิ่งที่ทำให้ดีขึ้นหรือเปล่า นั่นอาจเป็นตัววัดว่า คุณยังอยู่บนเส้นทางของมืออาชีพหรือไม่ก็ได้
3. ทำให้มีคนได้รับประโยชน์จากสิ่งที่คุณทำเยอะๆ
ผมชอบคำของ MJ Demarco คนเขียนหนังสือ “เปลี่ยนเลนเป็นเศรษฐี” (The Millionaire Fastlane) ที่ว่า “ถ้าคุณต้องการสร้างเงินล้าน คุณต้องทำในสิ่งที่มีผลกระทบต่อคนนับล้าน”
ลองคิดตามง่ายๆ ว่า ถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 1 บาท ให้กับคนล้านคน ภายใน 1 ปี เราก็มีเงินล้านได้ ใช่มั้ยครับ
แต่ถ้าเราขายของที่ได้กำไรชิ้นละ 100 บาทหละ ภายใน 1 ปี เราขายของให้คน 10,000 คน เราก็ได้เงินล้านเหมือนกันนะ
แล้วถ้าเราขายของกำไรชิ้นละ 100 บาท ที่คนต้องใช้ซ้ำทุกเดือน ภายใน 1 ปี มีลูกค้าประจำซื้อของเรา 800 กว่าคน ก็มีเงินล้านได้เหมือนกัน
จะเห็นว่าสูตรเงินล้านมีเยอะมาก แต่หัวใจสำคัญของมันไม่ได้อยู่ที่ “การขาย” เพียงอย่างเดียว เพราะโดยพื้นฐานแล้วสินค้าและบริการของเราต้องตอบโจทย์ ต้องช่วยลูกค้าแก้ปัญหาให้ได้ก่อน ยิ่งแก้ปัญหาให้คนจำนวนมากได้ เดี๋ยวเงินล้านมาก็มา
ร้านก๋วยเตี๋ยวเจ้าอร่อยที่ตั้งร้านอยู่หน้าหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เดิมเคยขายได้แต่คนในละแวกนั้น ก็ช่วยคนแก้หิวให้อิ่มท้องได้จำนวนหนึ่ง แต่ถ้าอร่อยแล้วขายแบบ Delivery หรือเปิดสาขา 2 หรือขายเป็นแฟรนไชส์ออกไป ก็ช่วยแก้หิวให้คนได้มากขึ้น โอกาสจะสร้างรายได้ที่มากขึ้น ก็จะตามไปด้วย
[ความมั่งคั่ง = คุณค่า x พลังทวี ; เอาไว้วันหลังจะเล่าสมการนี้ให้ฟังครับ]
4. อดทนทำต่อเนื่อง
คิดทำอะไร ลงมือทำแล้วประสบความสำเร็จเลย เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย งานบางอย่างต้องใช้เวลา เรื่องแบบนี้ไม่ต้องเปรียบเทียบความเร็วความช้ากัน
หลักคิดสำคัญคือ การตั้งโจทย์ว่าจะอดทนทำต่อเนื่อง จนกว่าจะเห็นผล ตัวผมเองเวลาลองทำอะไร จะตั้งเวลาไว้เลยว่า จะทำเต็มที่ 3 ปี ถ้าไม่ได้ไม่ไหว ก็จะถอย แต่จะลองสู้ให้สุดก่อน พยายามให้เต็มกำลังเต็มความสามารถเสียก่อน ไม่งั้นจะไม่ยอมเลิก
การคิดแบบนี้ช่วยบริหารความล้มเหลวได้ดี เพราะเมื่อตั้งใจเอาไว้แล้วว่าจะทำ 3 ปี การสะดุดล้มระยะสั้น ๆ จะไม่ได้ส่งผลทางความรู้สึกถึงขั้นคิดจะล้มเลิก
อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นคีย์สำคัญ ก็คือ พยายามพาตัวเองไปเจอผู้คนใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับงานที่เราทำอยู่ตลอด เพราะโอกาสมากับผู้คน และธุรกิจต้องอาศัยความเชื่อมโยง อย่าอดทนแต่มัวทำแบบเดิมๆ เจอคนใหม่ ๆ หาโอกาสใหม่ๆ ลองทำสิ่งใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอด้วย
5. บริหารเงินให้เป็น
เมื่อได้เงินมา ต้องบริหารเงินให้เป็น ยิ่งเงินเริ่มเยอะ ยิ่งต้องระวังการใช้จ่ายให้ดี จำไว้จุดเริ่มต้นของความมั่งคั่ง คือ การใช้จ่าย หาได้เยอะแล้วใช้หมด ก็เหมือนตักน้ำด้วยถังใบใหญ่แต่มีรูรั่ว แบบนี้ยิ่งตักยิ่งเหนื่อย
6. สร้างก๊อกเงินที่ 2, 3 และ 4 ควบคู่ไปด้วย
ทำงานหาเงินสร้างรายได้ เมื่อมีเงินเก็บเงินออม ก็ให้เอาไปต่อยอด เพิ่มรายได้ช่องทางอื่นๆ นอกจากค่าจ้าง ค่าแรง เปลี่ยนมันให้เป็น ดอกเบี้ย เป็นค่าเช่า เป็นเงินปันผล เป็นค่าลิขสิทธิ์ หรือค่าโฆษณาบ้าง ก็จะช่วยผ่อนแรงทางการเงินได้เป็นอย่างดี
คนที่รวยไม่มีใครมีรายได้รูปแบบเดียว เขามีหลายช่องทางสร้างรายได้ (Multi-Income Stream) ด้วยกันทั้งนั้น
ทั้งหมดเป็นแนวทางส่วนตัวที่ผมทำแล้วได้ผลดี ก็ไม่ได้รับประกันว่าหากทุกท่านทำตามแล้วจะประสบผลสำเร็จทั้งหมด แต่เชื่อว่าน่าจะเป็นวิธีคิดเริ่มต้นที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านครับ
There’re Million Ways to Be Rich.
โลกนี้มีเป็นล้านวิธีที่จะรวย
สิ่งสำคัญ คือ คุณตั้งใจจะไขว่คว้ามันจริงหรือเปล่า
#โค้ชหนุ่ม
#MoneyCoachDiary #TheMoneyCoachTH #ทำยังไงถึงจะรวย
moneycoachdiary 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳解答
moneycoachdiary 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
moneycoachdiary 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
moneycoachdiary 在 2022The Millionaire Fastlane-遊戲熱門攻略下載,精選在PTT/巴哈姆 ... 的推薦與評價
โลกนี้มีเป็นล้านวิธีที่จะรวย สิ่งสำคัญ คือ คุณตั้งใจจะไขว่คว้ามันจริงหรือเปล่า #โค้ชหนุ่ม #MoneyCoachDiary #TheMoneyCoachTH #ทำยังไงถึงจะรวย. ... <看更多>
moneycoachdiary 在 moneycoachdiary - Explore 的推薦與評價
วันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ผมอ่านทวิตเตอร์ เจอทวีตข้อความจากน้องคนหนึ่ง อายุ 27 ปี มีอาชีพเป็นนักกายภาพ น้องเล่าว่าเก็บเงินล้านแรกได้ ภายใน 5 ปี ... ... <看更多>