สรุปประเด็นจากกองทุนบัวหลวง
เปิดสูตรเฟ้นหา หุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
BBLAM x ลงทุนแมน
อังคารที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ลงทุนแมนได้ชวนผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง
มาพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นการเฟ้นหาหุ้นอนาคตในอเมริกาเข้าพอร์ตระยะยาว
โดยเริ่มตั้งแต่อัปเดตสถานการณ์ล่าสุดในสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มเปิดเผยตัวเลขทางเศรษฐกิจในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ไปจนถึงผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ ในไตรมาสที่ 2
ตัวเลขเหล่านี้กำลังส่งสัญญาณอะไร ?
เราจะมีวิธีการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะสรุปให้ฟัง..
มาเริ่มต้นกันที่ สรุปภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐอเมริกา เกิดอะไรบ้างในช่วงที่ผ่านมา ?
ที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกา มีการทำ QE หรือ การซื้อสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ เพื่อให้ระบบมีเงินหมุนเวียนมากขึ้น ทำให้ภาพรวมตลาดหุ้นสามารถดำเนินต่อไปได้
โดยประเด็นหลักที่ตลาดยังคงจับตามองในปีนี้คือ การลดขนาดการเข้าซื้อสินทรัพย์ หรือที่เรียกว่า QE Tapering ซึ่งประธาน FED ออกมาพูดว่า การทำ Tapering จะเริ่มขึ้นในปีนี้ และเป็นการตัดสินใจแยกกันกับ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
หมายความว่า หากเริ่มทำ Tapering ดอกเบี้ยก็ไม่จำเป็นจะต้องปรับขึ้นในทันที
นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาจะยังใช้นโยบายการเงินที่ค่อนข้างผ่อนคลายต่อไป ทำให้ตลาดสหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นขาขึ้น และเงินก็จะวิ่งเข้าหาสินทรัพย์เสี่ยงอีกครั้ง
ซึ่งทางกองทุนบัวหลวงคาดว่า FED จะค่อย ๆ ลดการทำ QE ลงโดยจะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน และ FED มีแนวโน้มจะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในปี 2024 แต่ก็ยังเป็นอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ดังนั้น นโยบายโดยรวม จึงยังเอื้ออำนวยให้การลงทุนในตลาดหุ้นยังให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าสินทรัพย์อื่น ๆ ไปอีกสักระยะ
แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำให้ FED ชะลอการทำ QE Tapering ได้ เช่น ตัวเลขการจ้างงาน ที่ต่ำกว่าตลาดคาดการณ์ไปมาก
อีกหนึ่งประเด็นที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง คือ เงินเฟ้อ ที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 5.4%
ถึงแม้ว่า ราคา สินค้าโภคภัณฑ์บางตัว ลดลงมาแล้ว เช่น ราคาไม้ ทองแดง แต่ราคาบ้านและค่าเช่าบ้านในสหรัฐอเมริกาที่ยังไม่ลดลงมา ก็อาจทำให้เงินเฟ้อยังคงสูงได้
แล้วโหมดการลงทุนช่วงนี้ต้องปรับ หรือจับสัญญาณต่ออย่างไรดี ?
กองทุนบัวหลวงก็เชื่อว่าในระยะสั้น เงินจะยังไหลเข้าสู่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และเงินยังอยู่ในหุ้นสหรัฐอเมริกา
โดยในเดือนที่ผ่านมา ผู้จัดการกองทุนหลายรายในสหรัฐอเมริกาเข้าลงทุนกลุ่ม Healthcare มากที่สุด
จากความต้องการหาการลงทุนในเชิงคุณภาพ และหุ้นใหญ่ที่ปลอดภัย และที่ผ่านมากลุ่ม Healthcare ยังถือเป็นกลุ่มที่ Laggard หรือเติบโตได้ช้า เมื่อเทียบกับกลุ่มอื่น
แต่ถ้าหากดูกลุ่มที่ผู้จัดการกองทุนมีการถือครองมากที่สุด ก็ยังคงเป็นกลุ่มเทคโนโลยี
ถ้าเทียบระหว่างเทคโนโลยีที่เป็น Hypergrowth อย่างเช่น หุ้น Tesla, Roku, Shopify กับ ดัชนี Nasdaq ที่ เป็นหุ้นเทคโนโลยีใหญ่ ๆ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon ก็จะเห็นว่าในภาพรวม เงินไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth มาเข้าฝั่ง Nasdaq
ซึ่งปริมาณเงินส่วนที่ไหลเข้ามาในตลาด Nasdaq ยังอยู่ที่ประมาณค่าเฉลี่ย ซึ่งหมายความว่า ไม่น่าเกิดฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี อย่างที่หลายคนกังวล
โดย Nasdaq ให้ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีเพิ่มมา 18% ประกอบกับหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ยังมีผลกำไรที่ยังเติบโตต่อเนื่อง
กองทุนบัวหลวงมองว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีได้ต่อไป แต่อาจต้องใช้วิธี Active Management หรือการบริหารพอร์ตเชิงรุก เพื่อหาบริษัทที่มูลค่ายังไม่สูงเกินไป
นอกจากนั้น กองทุนบัวหลวงยังมองว่าในสามเดือนสุดท้ายของปีนี้ เงินจะยังอยู่ในฝั่งตลาดพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น เนื่องจากมีความสามารถในการบริหารจัดการโควิด 19 ได้ดี และมีอัตราการฉีดวัคซีนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เศรษฐกิจกลับคืนสู่ภาวะปกติได้เร็ว
สำหรับรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนสหรัฐอเมริกา ในไตรมาสที่ผ่านมา ถือว่าเติบโตได้ดีมาก
ผลกำไรภาพรวมของตลาด ออกมาสูงกว่าตลาดคาดการณ์ไว้
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีความเสี่ยงและความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ จากห่วงโซ่การผลิตที่มีปัญหาและค่าจ้างที่สูงขึ้น ซึ่งกองทุนบัวหลวงมองว่า เป็นเพียงระยะสั้น และจะคลี่คลายในระยะปานกลางจนกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
คำถามต่อมาคือ S&P 500 จะสามารถไปได้ต่ออีกหรือไม่ และแพงไปแล้วหรือยัง ?
ดัชนี S&P 500 ปรับตัวขึ้นมา ตามกำไรของบริษัทที่ปรับตัวดีขึ้นมาต่อเนื่อง และนักวิเคราะห์มีการปรับประมาณการเป้าหมาย S&P 500 เป็น 4,600 (ตอนนี้อยู่ที่ราว ๆ 4,500) หมายความว่า ดัชนี S&P 500 จะยังคงไปต่อได้
อีกทั้งสหรัฐอเมริกายังเป็นตลาดการเงินที่สภาพคล่องสูงที่สุดในโลก รวมไปถึงมีบริษัทที่มีคุณภาพดีมากที่สุดในโลก ทำให้ P/E ที่ 20 เท่า ก็ยังสามารถลงทุนได้
แล้วควรลงทุนเมื่อไร ดอกเบี้ยขึ้น จับจังหวะอย่างไร ?
ถ้าเราลองย้อนไปดูสถิติ 12 เดือนก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ย จะเห็นว่าตลาดสามารถปรับตัวขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวขึ้นได้อีกหลังจากที่อัตราดอกเบี้ยปรับตัวขึ้นครั้งแรก
โดยกองทุนบัวหลวง แนะนำหนึ่งเทคนิคที่น่าสนใจ คือให้เข้าสะสมแบบมีวินัย ลงทุนแบบสม่ำเสมอ หรือ DCA เนื่องจากการจับจังหวะตลาดสหรัฐอเมริกา หรือไม่ว่าตลาดไหน ๆ เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก
ทีนี้หลายคนคงกังวลว่า เงินทุนเริ่มไหลออกจากกลุ่ม Hypergrowth แล้วเงินส่วนนี้ย้ายไปอยู่ที่ไหน ?
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือปัจจุบัน เงินทุนไหลออกจากหุ้นในกลุ่ม Hypergrowth แต่ปรากฏว่าดัชนี Nasdaq นั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น ที่เป็นแบบนี้เพราะเงินกำลังไหลไปยังบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ นั่นเอง
หลายคนอาจมองว่า บริษัทเหล่านี้น่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด 19 แต่กลับกลายเป็นว่า จากวิกฤตินี้ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
โดยสังเกตได้จากรายได้ของบริษัทเทครายใหญ่ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเรื่องของแผนในอนาคตที่น่าจับตามอง ทำให้นักลงทุนยังคงให้ความสนใจ
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Facebook และ Microsoft
Facebook เป็นบริษัทเจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, WhatsApp ที่มีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณาออนไลน์
โดยจุดเด่นของ Facebook คือ ความสามารถในการยิงโฆษณาที่ตรงกลุ่มเป้าหมายมากกว่าคู่แข่งรายอื่น ๆ พร้อมทั้งยังมีโอกาสเติบโตไปกับอุตสาหกรรมสื่อออนไลน์อีกมาก เนื่องจากโควิด 19 ก็เป็นตัวเร่งที่ทำให้คนหันมาพึ่งเทคโนโลยีกันมากขึ้น
สำหรับแผนในอนาคตของ Facebook นั้นยังคงเป็นเรื่องของแผนการปรับตัวให้บริษัทเป็น บริษัท “Metaverse” หรือโลกแห่งการผสมผสาน ระหว่างโลกจริงและโลกเสมือน อย่างเต็มตัว
โดย มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก CEO ของ Facebook มองว่า โลกของ Metaverse จะกลายเป็นอนาคตของโลกอินเทอร์เน็ต โดยล่าสุดก็ได้มีการเปิดตัว Horizon Workrooms ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปประชุมได้แบบเสมือนจริง ผ่านตัวละคร Avatar
มาต่อกันที่บริษัทซอฟต์แวร์ที่เราคุ้นเคยกัน อย่าง “Microsoft” ซึ่งในปีที่ผ่านมายังคงได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยมูลค่าบริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ก็เนื่องมาจาก ผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมา ที่ยังคงเติบโต 17% จากบริการ Intelligence Cloud ที่เติบโตได้ดี
แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องของแผนในอนาคต อย่างการทำโลกเสมือน หรือที่ทาง Microsoft เรียกว่า Digital Twin ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการทำ Metaverse ของ Facebook แต่จะเป็นการก๊อบปี้ของจริงมาไว้บนโลกออนไลน์แทน เช่น จำลองสถานที่ จำลองตึก เพื่อนำมาใช้ทดสอบการบินของโดรนก่อนเอาออกไปใช้งานจริง
ทั้งนี้ในส่วนของ Theme โลกเสมือนนั้น อาจมีความเสี่ยง เรื่องที่จะต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย กว่าที่เราจะได้สัมผัสแบบเต็ม ๆ
แต่นี่เป็นเหมือนการส่งสัญญาณว่าบริษัทเทคโนโลยีหลายรายกำลังตื่นตัวกับการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และมีการเตรียมพร้อม มองหาช่องทางการเติบโตใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า New S-Curve อยู่ตลอดเวลา
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า แล้วกระแสเงินลงทุนที่ดูมีการเปลี่ยนทิศเปลี่ยนทางเช่นนี้ จะมีผลกระทบกับกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE แค่ไหน ?
สำหรับกองทุน B-USALPHA นั้น หลายคนอาจจะคิดว่ากองนี้มีแต่ หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอย่างเดียว
แต่ถ้ามาดูสัดส่วนของหุ้นในพอร์ตการลงทุนนั้นจะพบว่า กองทุนพยายามให้ความสมดุลระหว่างหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี กับกลุ่มวัฏจักรในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนนี้มีแบ่งส่วนการลงทุนด้วยกันหลัก ๆ 3 อย่าง คือ
1. กลุ่ม Digital Advertising เช่น Facebook, Pinterest, Snap
2. กลุ่ม สถาบันการเงิน เช่น Morgan Stanley, PayPal, Square
3. กลุ่ม Technology Enabled หรือก็คือ ธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม เช่น Deere & Company, Freeport-McMoRan, Zillow Group
ทั้งกลุ่ม Digital Advertising และ Technology Enabled นั้นยังมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกับการเปิดเมือง
ส่วนการลงทุนในกลุ่มสถาบันการเงิน จะช่วยสร้างสมดุล และลดความเสี่ยงของพอร์ตในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อที่อาจปรับตัวสูงขึ้น ที่ทำให้กลุ่มของธุรกิจสถาบันการเงินนั้นได้รับประโยชน์ไปด้วย จากอัตราดอกเบี้ยที่จะปรับสูงขึ้น
ส่วนกองทุน B-FUTURE นั้น มีการกระจายลงทุนในธุรกิจ 3 กลุ่มคือ เทคโนโลยี Hypergrowth, อุตสาหกรรม และกลุ่มธุรกิจ Theme เปิดเมือง
โดยในส่วนของกลุ่ม Hypergrowth นั้น ทางผู้จัดการของกองทุน ก็ได้เน้นอย่างมาก กับการลงทุนในหุ้นที่ยังมี Valuation ไม่สูงจนเกินไป
นอกจากนี้ ทางกองทุนยังเน้นการลงทุนใน Theme อนาคต ไม่ได้เจาะจงในประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยมีผู้จัดการกองทุนที่คอยปรับพอร์ตตามสถานการณ์การลงทุนต่าง ๆ
ด้วยนโยบายการบริหารแบบ Active Management ทำให้ B-FUTURE สามารถปรับเปลี่ยนพอร์ตให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตลอดเวลา
เช่น หากมองว่าในระยะยาว หุ้นกลุ่มเอเชียหรือจีน ยังมีโอกาสเติบโตมาก ความกดดันของรัฐบาลจีนคลี่คลายลง แล้วยังมี Valuation ที่ไม่สูงเกินไป ทางกองทุนก็สามารถปรับน้ำหนักพอร์ตมาลงในหุ้นเอเชียหรือจีนเพิ่มขึ้นได้
ทำให้เห็นว่า B-FUTURE นั้นเป็นกองทุนที่สามารถทยอยสะสมเข้าได้เรื่อย ๆ และเหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลามาก แต่อยากลงทุนในหุ้นแห่งอนาคต
สำหรับใครที่กำลังมองหาโอกาสในการลงทุน จากหุ้นในสหรัฐอเมริกา หรือหุ้นใน Theme อนาคต
ทั้งกองทุน B-USALPHA และ B-FUTURE ก็ยังเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทน ได้โดยมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล พร้อมคอยปรับพอร์ตการลงทุนให้ในระยะยาว ซึ่งการใช้กลยุทธ์ DCA ทยอยลงทุนทุกเดือนก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ
คำเตือน
การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด ทั้งนี้อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้นผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
nasdaq roku 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Roku จากอดีตพนักงาน Netflix ต่อยอดไปทำธุรกิจใหม่ มูลค่าล้านล้าน /โดย ลงทุนแมน
ทุกวันนี้ แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ตามพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาดูวิดีโอออนไลน์แบบ On Demand กันมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็น Netflix, Disney+, Amazon Prime, YouTube หรือผู้ให้บริการรายอื่น
แต่รู้ไหมว่า มีบริษัทชื่อว่า “Roku”
ที่ก็ได้ประโยชน์จากเทรนด์นี้ จนกลายเป็นบริษัทมูลค่าล้านล้าน
ด้วยการ “รวบรวม” บริการวิดีโอสตรีมมิงยอดฮิตต่าง ๆ มาไว้บนแพลตฟอร์มของตัวเอง
เรื่องราวของ Roku น่าสนใจอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Roku เป็นบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์ และให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิง จากประเทศสหรัฐอเมริกา
ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดยคุณ Anthony Wood
ที่ชื่อว่า Roku ก็เพราะว่า คำว่า Roku นั้นมาจากภาษาญี่ปุ่น ที่แปลว่า “เลขหก”
เพราะ Roku เป็นบริษัทแห่งที่หก ที่คุณ Wood ก่อตั้งขึ้นมานั่นเอง
โดยก่อนหน้าที่จะมาก่อตั้ง Roku เขาเคยทำธุรกิจเครื่องบันทึกวิดีโอแบบดิจิทัล ชื่อว่า ReplayTV
เนื่องจากมีประสบการณ์พลาดชมซีรีส์โปรดเรื่อง Star Trek อยู่หลายตอน
แต่ทว่าบริษัทไม่สามารถสู้กับผู้เล่นรายใหญ่ ที่ตั้งราคาขายถูกกว่าได้ จึงต้องขายกิจการทิ้งไป
อย่างไรก็ตาม คุณ Wood ยังคงเชื่อว่าในอนาคต เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ น่าจะทำให้ผู้บริโภคเลือกรับชมรายการที่สนใจ ในเวลาไหนก็ได้
ซึ่งต่อมาเขามีโอกาสพูดคุยกับ คุณ Reed Hastings ผู้ร่วมก่อตั้ง Netflix ที่กำลังวางแผนเปิดให้บริการแพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงอยู่พอดี
คุณ Wood จึงได้เข้าไปเป็นผู้บริหารของ Netflix
โดยรับผิดชอบงานพัฒนากล่องอุปกรณ์เชื่อมต่อกับทีวีและอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ดู Netflix
แต่สุดท้าย Netflix ตัดสินใจมุ่งเน้นด้านแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลัก
ทำให้คุณ Wood นำโปรเจกต์ธุรกิจฮาร์ดแวร์สำหรับดูวิดีโอออนไลน์ ออกมาพัฒนาต่อเป็นบริษัท Roku แทน โดยมี Netflix ร่วมลงทุนด้วย
หลังจากนั้น Roku ก็ได้เริ่มวางขาย กล่องอุปกรณ์ดูวิดีโอสตรีมมิง ในปี 2008
โดยช่วงแรก กล่อง Roku ดูได้เพียงแค่ Netflix
แต่ผ่านมาถึงปัจจุบัน บริษัทได้มีการเพิ่มบริการวิดีโอสตรีมมิงรายอื่น ๆ เข้ามาอีกมากมาย
ซึ่งมีทั้งแบบที่ดูฟรี และต้องจ่ายค่าสมาชิกรายเดือนตามแต่ละแพลตฟอร์ม
ยกตัวอย่างเช่น Disney+, Amazon Prime, YouTube, HBO Max, Hulu, Apple TV
นอกจากนั้น Roku ยังมีการสร้างบริการวิดีโอสตรีมมิงของตัวเอง ชื่อว่า Roku Channel
โดยซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จากค่ายดัง เช่น Lionsgate, MGM, Paramount, Sony Pictures, Warner Bros. Pictures
รวมทั้งเมื่อเดือนเมษายน 2021 ได้ทุ่มเงิน 3,100 ล้านบาท ซื้อลิขสิทธิ์ภาพยนตร์จาก Quibi แพลตฟอร์มวิดีโอสั้น ที่เพิ่งปิดตัวลงไป เพื่อนำคอนเทนต์มาพัฒนาต่อยอด
แต่ถึงตรงนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามในใจว่า
ในวันข้างหน้า ถ้าหากผู้บริโภคหันมาใช้ “สมาร์ตทีวี” กันมากขึ้น
ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และมีบริการวิดีโอสตรีมมิงอยู่ในตัวเครื่อง
แล้วอย่างนี้ กล่อง Roku จะยังขายได้หรือ ?
ความเสี่ยงดังกล่าว คงจะหลีกเลี่ยงได้ยาก
แต่ประเด็นสำคัญ คือ Roku ก็มีการปรับตัวรับมือกับเรื่องนี้
Roku ได้ขยายธุรกิจไปสู่การผลิต Roku TV ซึ่งเป็นสมาร์ตทีวีที่ใช้งานแพลตฟอร์ม Roku ได้ทันที ไม่ต้องซื้อกล่องอุปกรณ์เพิ่ม
รวมทั้งขายลิขสิทธิ์ระบบปฏิบัติการที่แพลตฟอร์ม Roku ใช้ ซึ่งเรียกว่า Roku OS
ให้กับผู้ผลิตสมาร์ตทีวีรายอื่น เช่น Hisense, Sharp, Hitachi
ทำให้แพลตฟอร์ม Roku ถูกใช้งานต่อไป แม้คนไม่ได้ซื้อสินค้าของบริษัท
ที่น่าสนใจคือ ปัจจุบัน Roku OS มีส่วนแบ่งในตลาดสมาร์ตทีวีของสหรัฐอเมริกา อยู่ที่ราว 38%
แล้วผลการดำเนินงานของ Roku เป็นอย่างไร ?
จากกระแสความนิยมในวิดีโอสตรีมมิง ประกอบกับคอนเทนต์ที่หลากหลาย
ส่งผลให้ Roku มีฐานผู้ใช้งานล่าสุดถึง 53 ล้านราย ซึ่งเรื่องนี้ก็สะท้อนไปที่การเติบโตของรายได้
ปี 2018 รายได้ 23,200 ล้านบาท ขาดทุน 280 ล้านบาท
ปี 2019 รายได้ 35,300 ล้านบาท ขาดทุน 1,900 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 55,700 ล้านบาท ขาดทุน 550 ล้านบาท
โดยรายได้ของบริษัท มาจาก 2 ธุรกิจหลัก คือ
- ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์เพื่อเข้าถึงแพลตฟอร์ม 27%
- ธุรกิจแพลตฟอร์ม 73%
สำหรับธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ Roku ตั้งราคาสินค้าเอาไว้ค่อนข้างถูก
โดยกล่อง Roku มีราคาอยู่ที่ 1,000-4,000 บาท ตามระดับคุณภาพ
ขณะที่ผู้เล่นรายอื่น เช่น กล่อง Apple TV มีราคาเริ่มต้น 5,600 บาท
สาเหตุเนื่องจาก บริษัทต้องการขยายฐานลูกค้าให้ได้มากที่สุด
แล้วค่อยไปหาวิธีทำกำไรจากธุรกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit) สูงถึง 67%
โดยรายได้ธุรกิจแพลตฟอร์ม จะมาจาก ค่าโฆษณา, ค่าสมาชิกบัญชีพรีเมียม รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ Roku OS
ซึ่งโมเดลธุรกิจลักษณะนี้ คล้ายกับ Xiaomi บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จากประเทศจีน ที่เน้นขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในราคาถูก เพื่อให้คนเข้าถึงสินค้าของตัวเองได้ง่าย แล้วค่อยไปทำเงินกับบริการออนไลน์ในอุปกรณ์เครื่องนั้นแทน
ทั้งนี้ Roku จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ เมื่อปี 2017
ปัจจุบันมีมูลค่าบริษัทอยู่ที่ประมาณ 1.45 ล้านล้านบาท
ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นกว่า 35 เท่า เทียบกับมูลค่าตอน IPO
โดยมีนักลงทุนสถาบันชื่อดังหลายรายเข้ามาถือหุ้น
เช่น Vanguard Group, BlackRock และ ARK Invest
เราคงได้เห็นแล้วว่า
การเป็นแพลตฟอร์ม “ตัวกลาง” รวบรวมคอนเทนต์ มาไว้ในที่เดียว
ก็สามารถเติบโตไปพร้อมกับอุตสาหกรรมโดยรวมได้ เหมือนกับ Roku
แต่อย่างไรก็ตาม Roku ไม่ได้หลงไปกับความสำเร็จในอดีต และปรับตัวอยู่ตลอด
ไม่ว่าจะเป็น การมีส่วนร่วมในธุรกิจต้นน้ำ อย่างการผลิตวิดีโอคอนเทนต์
และในธุรกิจปลายน้ำ อย่างการผลิตและขายระบบปฏิบัติการสมาร์ตทีวี
เพราะพวกเขารู้ตัวดีว่า ในวันหนึ่ง เทคโนโลยีอาจเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ
จนทำให้คนตรงกลาง ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://productmint.com/roku-business-model-how-does-roku-make-money/
-https://www.investopedia.com/how-roku-makes-money-5119488
-https://en.wikipedia.org/wiki/Roku,_Inc
-https://www.roku.com/en-gb/products/players
-https://www.roku.com/en-gb/whats-on
-https://ir.roku.com/static-files/8233f1fa-0263-4bb5-adb4-f0545a06a246
-https://finance.yahoo.com/quote/ROKU/financials?p=ROKU
nasdaq roku 在 謝金河 投資理財 Facebook 的最讚貼文
思考疫後新投資:女股神勇者不懼!
3月以來,科技股及新經濟股殺聲震天,去年搖身變成女股神的ARK INNOVATION的負責人Cathie Wood,這幾天成了CNBC的受訪常客,面對這一波科技股大跌,她仍然信心十足,認為破壞性的創新(Disruption Inovation)仍是驅動未來世界的主要力量,她認為經過這一波回檔,美國科技股的牛市會更加強勁。
去年一年,女股神旗下的ARKK ETF,因為重押Tesla及缐上串流的Roku,市值快速膨脹,股價從33美元大漲到159.7美元,她旗下6檔ETF都成了美國投資人追逐的焦點。最近的科技股回檔,ARK災情也十分慘重,股價從159.7跌到106.25美元,跌幅33.46%。她操作的Tesla從900.4跌到558.79美元,市值從8534億美元跌至5336億美元,市值少掉逾3000億美元,Tesla在很短時間股價重挫37.93%,女股神旗下基金淨值也跟著大縮水。
這一波新經濟股拉回修正跌幅都很重,像Zoom 、Peloton股價都拉回,香港上巿的騰訊、阿里、美團、比亞迪、,甚至剛剛掛牌的快手都跌很重,在中國A股市場過去一年來表現最搶眼的貴州茅台,這幾天從2627.88快速下滑到1900.18人民幣,股價一下子跌掉27.69%。這一輪,美國科技股Nasdaq及費城半導體指數成為殺盤的重心,台積電Adr從142.19殺到113.7美元,股價跌到季缐與半年缐之間,股價下修20%,看起來抵抗力上升,聯電、日月光、奇景光電的adr都有止跌反彈機會。
在跌勢中,我看到女股神Cathie Wood面對鏡頭,非常有自信,坎坎而談,似乎有新一代投資家的臉譜
nasdaq roku 在 Roku Inc, Rings the Nasdaq Closing Bell - Facebook 的推薦與評價
... <看更多>