ปัญหานึงที่ลูกเพจหลังไมค์มาปรึกษาบ่อยๆในยุคนี้ ซึ่งอย่างที่รู้ๆ กันว่ายาเสพติดระบาดทุกหัวระแหง ลูกหลานหลายบ้านก็ไปหลงเสพยา จนมีอาการทางจิตเวช มีหวาดระแวง คลุ้มคลั่ง ทำร้ายคนในบ้าน ไม่รู้จะทำยังไง โทรแจ้งตำรวจเลยได้มั้ย จริงๆ แล้ว ตามกฎหมายเกี่ยวกับ พ.ร.บ. สุขภาพจิตฯ มีกำหนดหน้าที่และอำนาจของ จนท. ในกรณีนี้ไว้หมดแล้ว คือตำรวจสามารถควบคุมตัวคนที่มีอาการทางจิตเวช และมีพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นอันตรายกับคนรอบข้างเข้าบังคับรับการรักษาได้เลย โดยทาง ตร. จะเป็นคนใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. นี้ และประสานมาทางหมอพยาบาลเพื่อหาทางรักษาต่อไป แต่ที่ผ่านมา คนน่าจะยังไม่ค่อยรู้เรื่อง พ.ร.บ. ตัวนี้ แม้กระทั่ง จนท. บางคนก็เพิ่งรู้ว่ามี พ.ร.บ. อันนี้อยู่ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชนกับพ่อแม่พี่น้องทุกคน ใครสนใจรายละเอียด ว่างๆ ลองไปดูในคลิปนี้กันได้ https://bit.ly/3zL56oI
#กรมสุขภาพจิต
#พระราชบัญญัติสุขภาพจิต
#สุขภาพจิต
同時也有19部Youtube影片,追蹤數超過41萬的網紅Arifah Kh,也在其Youtube影片中提到,ถ้ามีข้อมูลตรงไหนไม่ตรงหรือตกหล่นตรงไหน ต้องขอโทษด้วยนะคะ ? ?For work:? LINE: easynamed MAIL: [email protected] ?FOLLOW ME HERE? IG: Arifa...
「สุขภาพจิต」的推薦目錄:
- 關於สุขภาพจิต 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
- 關於สุขภาพจิต 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
- 關於สุขภาพจิต 在 GamingDose Facebook 的最佳貼文
- 關於สุขภาพจิต 在 Arifah Kh Youtube 的最讚貼文
- 關於สุขภาพจิต 在 ICE SARUNYU OFFICIAL Youtube 的最讚貼文
- 關於สุขภาพจิต 在 นวล Youtube 的最佳解答
- 關於สุขภาพจิต 在 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | Nonthaburi - Facebook 的評價
- 關於สุขภาพจิต 在 เทคนิคดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงและการป้องกันโรคทางจิตเวช:Rama ... 的評價
สุขภาพจิต 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳解答
ตามดูรายงานข่าวต่างประเทศ โดยเฉพาะในทางยุโรป จะมีการออกมาเตือนกันเยอะ ถึงเรื่อง "ปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพกาย" ของเด็ก ที่ถูกผลกระทบจากการล็อคดาวน์-เรียนออนไลน์ เพราะโรคโควิด-19
เช่น ตัวอย่างจากรายงานข่าวของ DW News นี้ (https://youtu.be/zRyiBoDDhaQ) ซึ่งพูดถึงปัญหาที่พบว่า เด็กมีอาการเป็นโรคซึมเศร้า และมีอารมณ์รุนแรงเพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาโรคอ้วน และปัญหาสุขภาพกายอื่นๆ ... โดยสรุปในข่าวไว้ว่า หลังจากเปิดเรียนครั้งนี้ เราไม่ควรจะกลับไปปิดโรงเรียนอีกต่อไปแล้ว
แต่ไทยเรา ไม่ค่อยมีใครพูดถึงเลย ไม่เห็นมีองค์กรไหนๆ ของ ก.สาธารณสุข ออกมาให้เตือนเรื่องนี้ (ใครเจอ ก็บอกด้วยนะ)
เลยขอเอาข้อมูลจากประเทศฟิลิปปินส์ ที่น่าจะใกล้เคียงกับเรา มาให้อ่านกันนะครับ
-----
(รายงานข่าว)
"ฟิลิปปินส์เตือนนักเรียนเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิตหากยังยืดเยื้อไม่ยอมเปิดโรงเรียน"
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานทางด้านการศึกษาในฟิลิปปินส์ออกโรงเร่งให้รัฐบาลจัดสรรมาตรการและแนวทางเพื่อเปิดทางให้โรงเรียนสามารถกลับมาทำการเปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติอีกครั้ง พร้อมเตือนว่า หากยังยื้อเวลาเปิดโรงเรียน และปล่อยให้นักเรียนส่วนใหญ่เรียนออนไลน์หรือเรียนทางไกลต่อไป จะทำให้นักเรียนตกอยู่ในภาวะเครียดและกดดันจนมีปัญหาสุขภาพจิตตามมาภายหลัง
คำเตือนข้างต้นมีขึ้น หลังกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ออกมาระบุว่า สถานการณ์ของเด็กนักเรียนในฟิลิปปินส์กำลังสุ่มเสี่ยงเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น เพราะทั้งเด็กและผู้ปกครองต่างเหนื่อยล้ากับการเรียนออนไลน์ หลังต้องปิดโรงเรียนติดต่อกันนานร่วม 18 เดือนแล้ว และยังเป็น 1 ใน 5 ของประเทศทั้งหมดทั่วโลกที่ยังคงปิดโรงเรียนนับตั้งแต่พบการระบาดของไวรัสโควิด-19
แม้จะเข้าใจว่ามาตรการล็อกดาวน์และจำกัดการเดินทางอย่างเข้มงวดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตของคนในสังคม กระนั้น ในฐานะคุณแม่ที่ต้องดูแลลูก 6 คน ในหมู่บ้านชานกรุงมะนิลา โดรินา มอนซานโต (Dorina Monsanto) ยอมรับว่าการเรียนทางไกลไม่อาจแก้ปัญหาการศึกษาของเด็กๆ ที่ไม่อาจไปโรงเรียนได้
เหตุผลประการแรกสุดก็คือ มอนซานโตไม่มีอุปกรณ์อย่างสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ตให้ลูกๆ ทุกคน นั่นหมายความว่าเจ้าตัวต้องแบ่งปันสมาร์ตโฟนใช้กับลูกสาวคนโตวัย 15 ปี และลูกสาวคนรองวัย 12 ปี แต่ก็ยังเป็นปัญหาอยู่ดี เพราะบ่อยครั้งลูกสาวทั้งสองจำเป็นต้องใช้สมาร์ตโฟนในเวลาเดียวกัน โดยยังไม่นับเรื่องของสถานที่ที่ไม่เหมาะกับการเรียน เพราะบ้านที่อาศัยอยู่ไม่มีพื้นที่ส่วนตัว เนื่องจากเป็นบ้านที่แชร์กันอยู่กับเหล่าเครือญาติอีก 8 ชีวิต ซึ่งรวมถึงเด็กเล็กอายุเพียง 2 ขวบ ที่ชอบส่งเสียงดังตามประสาเด็ก
ยิ่งไปกว่านั้น สมาร์ตโฟนที่มีเพียงเครื่องเดียวในบ้านก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคุณแม่ในการทำงาน ดังนั้น เมื่อมอนซานโตออกไปทำงานเพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ก็หมายความว่าลูกๆ จะไม่สามารถเข้าเรียนออนไลน์ตามตารางที่กำหนดของโรงเรียนได้ และที่สำคัญ ต่อให้วันที่ลูกเรียนแล้วมอนซานโตสามารถทำงานจากบ้านได้ การเรียนของลูกๆ ก็ยังมีปัญหา เนื่องจากสัญญาณอินเทอร์เน็ตต่ำ เพราะต้องแบ่งปันสัญญาณกับเพื่อนบ้านซึ่งจำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตเช่นกัน
สิ่งที่คุณแม่อย่างมอนซานโตกังวลมากที่สุดก็คือ การที่ลูกสาวคนโตซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะได้เรียนหนังสือในระดับอุดมศึกษาจะหมดใจและหมดไฟกับการเรียน ทั้งนี้สิ่งที่ลูกๆ ต้องการในขณะนี้ก็คือ คุณครู และการเรียนหนังสือในชั้นเรียนซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาบทเรียนได้ดีขึ้น โดยมอนซานโตยอมรับว่า สิ่งที่ลูกๆ เรียนเป็นสิ่งที่ตนไม่เคยเรียน ดังนั้นจึงไม่สามารถช่วยลูกๆ เรียนหนังสือได้
ทั้งนี้ กว่า 1 ปีที่ต้องเรียนออนไลน์ ผลการเรียนของลูกสาวคนโตของเธอถดถอยอย่างเห็นได้ชัด ทั้งๆ ที่เจ้าตัวก็พยายามเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ และพยายามทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเท่าที่เวลาและความสามารถของเด็กคนหนึ่งจะเอื้ออำนวย
สถานการณ์ของลูกๆ ของมอนซานโตเป็นเพียงหนึ่งในตัวอย่างของสิ่งที่เด็กฟิลิปปินส์อีกหลายหมื่นหลายแสนคนกำลังประสบ โดยเฉพาะเด็กจากครอบครอบรายได้ปานกลางค่อนไปทางยากจน ที่กำลังเผชิญปัญหาและได้รับผลกระทบทางการศึกษาจากการระบาดของโควิด-19
ทั้งนี้ กลุ่มองค์การที่ทำงานเพื่อเด็กในฟิลิปปินส์เตือนว่า ยิ่งปิดโรงเรียนนานเท่าไร ผลเสียที่เกิดขึ้นจะไม่จำกัดอยู่แค่การศึกษาเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต และความมั่นคงปลอดภัยของตัวเด็กนักเรียนเองด้วย
การสำรวจเบื้องต้นพบว่า มีนักเรียนฟิลิปปินส์อย่างน้อย 1.1 ล้านคนที่ไม่ได้ลงทะเบียนในปีการศึกษาล่าสุดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่โรงเรียนทั่วประเทศต้องปิดให้บริการและใช้การเรียนออนไลน์หรือการเรียนทางไกลแทน โดยองค์กรการกุศลส่วนหนึ่งระบุว่า เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงก่อนตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรวมถึงการถูกบีบบังคับให้แต่งงาน
ข้อมูลจากกระทรวงยุติธรรมฟิลิปปินส์พบว่า ปีที่ผ่านมา แค่เพียงช่วง 2-3 เดือนแรกที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ก็มีรายงานการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กบนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 264%
โรเวนา เลกัสปี (Rowena Legaspi) ผู้อำนวยการบริหารศูนย์การพัฒนาและสิทธิทางกฎหมายเพื่อเด็ก (Children’s Legal Rights and Development Center) กล่าวว่า ถ้าไม่มีมาตรการเชิงรุกที่เข้ามาจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เกรงว่าเด็กหลายคนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะไม่สามารถกลับมาเรียนที่โรงเรียนได้อีกตลอดไป ซึ่งถือเป็นสูญเสียที่ไม่เพียงกระทบต่อชีวิตและครอบครัวของเด็กเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อความสูญเสียในระดับสังคมด้วย
นอกจากไม่สามารถไปโรงเรียนได้แล้ว เด็กวัยเรียนชาวฟิลิปปินส์ในบางพื้นที่ อย่าง กรุงมะนิลา ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับที่เข้มงวดอย่างหนัก ซึ่งหมายรวมถึงการห้ามออกนอกบ้านมาวิ่งเล่นที่สวนสาธารณะหรือสนามเด็กเล่น และการดำรงชีวิตของเด็กมีแนวโน้มเผชิญกับกฎที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะการระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้ามีแนวโน้มกลับมาทวีความรุนแรงอีกระลอก
บรรดานักเคลื่อนไหวเปิดเผยว่า กฎระเบียบดังกล่าวมีการบังคับใช้อย่างเข้มงวดจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและกลุ่ม barangay tanods ซึ่งเป็นหน่วยเฝ้าระวังหมู่บ้าน ทำให้ที่ผ่านมามีรายงานการจับกุมตัวเด็กที่อยู่นอกบ้าน หรือละเมิดกฎมากมาย และหลายครั้งการจับกุมดังกล่าวมีการสั่งลงโทษหรือทำให้เด็กอับอายเกินกว่าเหตุ และเด็กที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่คือเด็กไร้บ้านหรือเด็กด้อยโอกาสที่ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากออกมาเตร็ดเตร่นอกบ้านเพื่อหางานทำ
ขณะเดียวกัน เชียนา เบส (Shiena Base) จากเอดูโค ฟิลิปปินส์ (Educo Philippines) องค์กรเอ็นจีโอด้านสิทธิเด็กกล่าวว่า สถานการณ์ของเด็กที่มีบ้านอยู่อาศัยก็เลวร้ายไม่ต่างกัน เพราะการถูกจำกัดบริเวณเป็นเวลาติดต่อกันกว่า 18 เดือนทำให้เด็กตกอยู่ในสภาวะเครียดจัดได้ง่าย จนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพจิตตามมาในภายหลัง
ทั้งนี้ เบสแนะนำให้รัฐบาลผ่อนผันและทยอยเปิดโรงเรียนในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล ที่เด็กส่วนใหญ่ขาดแคลนอุปกรณ์และไม่สามารถเข้าถึงสัญญาณอินเทอร์เน็ตเพื่อเรียนหนังสือออนไลน์ได้สะดวก
ด้านรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้เริ่มตอบสนองต่อเรียกร้องที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นได้จากการจัดทำโครงการนำร่องเปิดโรงเรียน 120 แห่งในพื้นที่ซึ่งมีอัตราการระบาดของเชื้อโควิด-19 ต่ำ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่หลายฝ่ายกังวลมากที่สุดก็คือ แม้จะสามารถกลับมาเรียนหนังสือที่โรงเรียนได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักประกันใดๆ รับรองได้ว่า เด็กฟิลิปปินส์รุ่นนี้ทุกคนจะสามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามความตั้งใจของตนได้
จาก https://www.eef.or.th/news-childrens-mental-health-suffers-as-schools-remain-shut/
สุขภาพจิต 在 GamingDose Facebook 的最佳貼文
========
Psychonauts 2: เกมที่สอนการดูแลสุขภาพใจ โดยไม่ต้องชี้นิ้วสั่ง
========
.
คงไม่ต้องพูดให้มากความว่า วิกฤติโควิด-19 ไม่ได้เป็นเพียงวิกฤติสุขภาพกายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นวิกฤติเศรษฐกิจและวิกฤติสุขภาพจิตในเวลาเดียวกันด้วย เพราะมาตรการ “รักษาระยะห่างทางสังคม” ของภาครัฐที่ใช้รับมือกับโรคระบาดส่งผลให้คนตกงานและสูญเสียรายได้นับล้าน สุขภาพจิตใจย่ำแย่ลงทุกวัน คนจำนวนมากตัดสินใจจบชีวิตตัวเองเพราะมองไปทางไหนก็เห็นแต่หนี้และปัญหา มองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอุโมงค์จะสิ้นสุดลงตรงไหน
.
สุขภาพจิตของคนไทยมีแนวโน้มแย่ลงก่อนหน้าวิกฤติโควิด-19 อยู่แล้ว โดยสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติชี้ว่า สัดส่วนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าและจิตเภทปรับตัวสูงขึ้นจาก 27 คนต่อประชากรหมื่นคนในปี พ.ศ. 2552 เป็น 34 คนต่อประชากรหมื่นคนในปี 2562 – ตัวเลขนี้นับเฉพาะผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาแล้ว ไม่นับผู้ที่มีอาการแต่ไม่รู้ตัวว่าป่วยอีกมากมาย
.
ในยุคที่คนในสังคม โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ ตกอยู่ในสถานการณ์ที่คุกคามสุขภาพจิตอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งจากสังคมโซเชียลมีเดียที่ทุกคนสามารถอวดความสำเร็จแข่งกันอย่างง่ายดาย เกมเกี่ยวกับ “สุขภาพจิต” ที่สนุกติดหนึบ สื่อสารเรื่องอ่อนไหวในจิตใจมนุษย์อย่างมีชั้นเชิง แถมยังเป็นเกมครอบครัวที่พ่อแม่เล่นกับลูกได้สบายๆ นับว่าหายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร
.
Psychonauts 2 เกมหายากที่ทั้ง “สนุก” และ “สอน” วิธีดูแลสุขภาพใจโดยไม่ชี้นิ้วสั่งสอน เป็นผลงานชิ้นเอกจาก Double Fine Productions สตูดิโออิ้นดี้ของ Tim Schafer ดีไซเนอร์เบื้องหลังเกมผจญภัยระดับตำนานอย่าง Secret of Monkey Island, Day of the Tentacle และ Grim Fandango
.
Psychonauts ภาคแรกออกวางจำหน่ายในปี 2005 ขึ้นแท่นเป็นเกมในดวงใจของคอเกมจำนวนมากอย่างรวดเร็ว แต่แฟนเกมส่วนใหญ่ต้องรอคอยภาคต่อนานถึง 16 ปี ก่อนที่ภาคสองจะออกวางจำหน่าย (ที่จริง Double Fine ออกเกมชื่อ Psychonauts in the Rhombus of Ruin ออกปี 2017 ก่อนหน้านี้ แต่ออกเฉพาะเวอร์ชัน VR และมีขนาดค่อนข้างเล็ก หลายคนจึงไม่ได้มองว่าเป็น “ภาคต่อ” ที่แท้จริง)
.
เรื่องราวใน Psychonauts 2 เปิดฉากเพียง 3 วันในเวลาเกม นับตั้งแต่ฉากจบของภาคแรก เราเล่นเป็น ราซปูติน อะควาโต ชื่อเล่น “ราซ” เด็กวัยสิบขวบผู้เปี่ยมพลังจิต ราซอาศัยอยู่ในโลกที่พลังจิตนานาชนิดเป็นเรื่องปกติธรรมดา บรรดาผู้ใช้พลังจิตหลายคนเข้าสังกัด “ไซโคนอท” (Psychonauts) ฮีโร่สายลับที่คอยปกป้องโลกจากเหล่าวายร้ายที่ใช้พลังจิตในทางมิชอบ ในโลกของราซ สมองมนุษย์สามารถถูกขโมยและใส่สลับร่างเพื่อปลอมแปลงตัวตน ผู้มีพลังจิตสามารถกระโดดเข้าไปในจิตใจ (psyche) ของคนอื่น แต่หลักการข้อสำคัญของกลุ่มไซโคนอทก็คือ พวกเขาจะใช้พลังจิตในการค้นหาและพยายาม “เข้าอกเข้าใจ” (empathy) คนอื่นเท่านั้น ไม่ใช่ “เปลี่ยนใจ” เจ้าของจิตใจ ถึงแม้จะมีพลังทำอย่างนั้นได้ (ฉากหนึ่งในเกมเมื่อราซละเมิดหลักการข้อนี้ เขาก็ถูกดุโดยหัวหน้าทีมไซโคนอท)
.
ในแง่ระบบเกม Psychonauts ยังคงเป็นแนวแอ๊กชันผสมผจญภัย (action adventure) ไม่ต่างจากภาคแรก แต่เสริมด้วยพลังจิตใหม่ๆ และปรับปรุงระบบการต่อสู้ให้ลื่นไหลมากขึ้น เรื่องราวและปูมหลังของตัวละครล้วนแต่มีเอกลักษณ์และน่าติดตามสมชื่อชั้น Tim Schafer โลกในเกมมีทั้งโลกแห่งความจริง และ “โลกจิต” ภายในจิตใจของตัวละครที่ราซกับผองเพื่อนไซโคนอทกระโจนเข้าไปสำรวจ ทั้งโลกจริงและโลกจิตในเกมล้วนมีสีสันสนุกสนาน เต็มเปี่ยมด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด เราจะได้สำรวจโลกจิตที่ทั้งฉากออกแบบจากช่องปาก ฟัน และอุปกรณ์การทำฟัน เพราะเป็นจิตใจของทันตแพทย์ โลกจิตที่ทุกอย่างทำจากหนังสือและห้องสมุด โลกจิตที่ทุกอย่างเหมือนหลุดออกมาจากโลกของฮิปปี้เมาเห็ดในทศวรรษ 1960 โลกจิตที่ให้เรานั่งเรือในแดนเนรมิต ล่องผ่านโฆษณาชวนเชื่อหลอกตา ฯลฯ
.
ความสนุกอย่างหนึ่งของเกมนี้ก็คือการรอ “โลกจิต” ฉากต่อไปอย่างใจจดจ่อ เดาไม่ได้ว่ารอบนี้จะเจอกับอะไรบ้าง ยังไม่นับการวิ่งเก็บไอเท็มและทำภารกิจเสริมต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องทำให้สำเร็จ แต่ถ้าลองทำก็จะได้เข้าใจเรื่องราวใน Psychonauts มากขึ้น และได้โอกาสเพิ่มพลานุภาพของพลังจิตชนิดต่างๆ ที่ราซใช้เป็นอาวุธ
.
Psychonauts 2 พาเราไปสำรวจโรคจิต อาการทางจิต และจิตเภทต่างๆ อย่างเข้าอกเข้าใจ ไม่บั่นทอนหรือเหยียดหยามผู้ป่วย ไม่ฉวยโอกาสใช้อาการทางจิตเป็นอุบายในทางที่ทำให้คนเล่นรู้สึกขยะแขยง (ผู้เขียนไม่ชอบเกม Twelve Minutes เพราะเหตุนี้) “ศัตรู” ที่เราต้องต่อสู้ใน Psychonauts 2 ครอบคลุมทุกมิติของสุขภาพจิต เช่น ตัว “เซ็นเซอร์” ใส่แว่นถือตราเซ็นเซอร์ เป็นตัวแทนของนักวิพากษ์ในใจเราที่ทำให้เรารู้สึกว่าตัวเองไม่ดีพอ ตัว “ความกังขา” ออกมารบกวนจิตใจ พ่นเมือกที่ทำให้เราเดินช้าลง ส่วนตัว “แพนิก” หรือโรคตื่นตระหนก ปรากฏตัวในรูปสัตว์ประหลาดหน้ามังกรหลากสีที่เคลื่อนไหวเร็วกว่าปกติ เรารับมือกับมันด้วยการใช้พลังจิต “ชะลอเวลา” ให้มันเคลื่อนไหวช้าลง จะได้โจมตีมันได้ – ไม่ต่างจากในโลกแห่งความจริงที่เรารับมือกับโรคแพนิกด้วยการพยายามหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
.
อุปไมยแบบนี้มีอยู่เต็ม Psychonauts 2 และกระตุ้นให้เราฉุกคิดถึงคำถามสำคัญๆ มากมายเกี่ยวกับสุขภาพจิต การพยายาม “เปลี่ยนใจ” ใครสักคนเพราะเราเชื่อว่า “สิ่งนั้นดีกับเขา(หรือเธอ)ที่สุด” นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่าดีที่สุดสำหรับเขาหรือเธอจริงไหม เจ้าตัวควรมีสิทธิตัดสินใจเองหรือเปล่า การพยายาม “พัฒนาตัวเอง” มีประโยชน์อะไรถ้าหากว่าทำเพราะถูกคนอื่นบังคับ
.
ฉากโปรดของผู้เขียนฉากหนึ่งใน Psychonauts 2 เกิดขึ้นเมื่อโรคจิตของตัวละครส่งผลให้ความจำของเขาสับสน ไม่ตรงกับเหตุการณ์ในอดีต เขารู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยวเดียวดาย ไม่มีใครต้องการ แต่ความจริงไม่ใช่เลย เขาคิดอย่างนั้นเพียงเพราะกำลังป่วย ราซหรือตัวเราในเกมไม่เคยตัดสินหรืออยากสั่งสอนใคร เราเพียงแต่อยากช่วย
.
แน่นอน ราซไม่สมบูรณ์แบบ และบางครั้งก็ตัดสินใจผิดพลาด แต่บทเรียนที่ Psychonauts 2 ให้กับเราอย่างนุ่มนวลก็คือ ไม่มีใครหรอกในโลกนี้ที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีใครที่ไม่เคยทำพลาด แต่ความผิดพลาดเหล่านั้นไม่ได้ทำให้เราหมดความสำคัญ และถึงที่สุดแล้วก็ไม่มีใครควรอยู่อย่างเดียวดาย
.
Psychonauts 2 เป็นเกมแรกที่รับมือกับประเด็น “สุขภาพจิต” อย่างรอบด้าน เต็มเปี่ยมด้วยความเข้าอกเข้าใจ และแม้แต่อารมณ์ขันที่ลงตัว
.
เกมนี้เกมเดียวทำให้เราเข้าใจอย่างถ่องแท้ในวาทะอมตะของ จอห์น วัตสัน นักบวชชาวสก็อตช่วงต้นศตวรรษที่ 20 –
.
“จงใจดี เพราะทุกคนที่เธอพบเจอล้วนกำลังต่อสู้อย่างยากเย็น”
.
บทความโดย สฤณี อาชวานันทกุล
.
#GamingDose #Psychonauts2 #Underdogscorner
สุขภาพจิต 在 Arifah Kh Youtube 的最讚貼文
ถ้ามีข้อมูลตรงไหนไม่ตรงหรือตกหล่นตรงไหน ต้องขอโทษด้วยนะคะ ?
?For work:?
LINE: easynamed
MAIL: arifadenbezta@hotmail.com
?FOLLOW ME HERE?
IG: Arifah.KH
FB: Arifah KH
TIKTOK: ArifahKH
สุขภาพจิต 在 ICE SARUNYU OFFICIAL Youtube 的最讚貼文
Binge Eating Disorder “โรคกินไม่หยุด”
เป็นโรคที่มีการรับประทานอาหารเป็นปริมาณมากๆผิดปกติ ซ้ําๆหลายครั้งโดยควบคุมไม่ได้
หลังจากทานไปแล้ว จะจิตตก รู้สึกกังวล รู้สึกผิด โทษตัวเองว่าไม่ควรกิน แต่ไม่สามารถ ห้ามมือห้ามใจ ให้หยิบอาหารเข้าปากได้ อ่อนไหวง่ายมาก เวลาใครทักเรื่อง รูปร่างและน้ำหนัก
ฟังดูเหมือนเป็นเรื่องปกติ เป็น ไม่ปกตินะครับ เป็นอาการป่วยชนิดหนึ่ง ผู้ป่วย จะ มี อาการ Guilty pleasure นำไปสู่ปัญหา สุขภาพจิต ใช่คับ ทางเราเผชิญกับโรคนี้มาหลายปี อันเป็นเหตุให้เกิดภาวะ ไขมันเกาะตับ และค่า LDL สูงเกินค่าปกติ
หนทางการรักษา คือการพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทาน โดยมีนักจิตวิทยาและนักโภชนาการควบคู่กันให้คำปรึกษา ทั้งการทานและสุขภาพจิตครับ
ที่ ไอซ์ บ่นอ้วนๆๆๆ ตลอดเวลา เพราะปัญหาเรื่องนี้ด้วย และจิตใจอ่อนไหวง่ายมากเวลา โดนทักเรื่องรูปร่างและ น้ำหนักครับ แต่ก็รู้ตัวเองนะว่าอ้วนขึ้นมากจริงๆ พยายามอยู่นะคับ ทั้งร่างกาย และ จิตใจ
0:00 | พูดถึงโรค Binge Eating Disorder - โรคกินไม่หยุด
0:30 | อาการของโรค Binge Eating Disorder
3:15 | ออกกำลังกายทุกวันแต่ LDL สูงและมีไขมันพอกตับ
4:00 | คำถาม - เคยเป็นเหมือนกันทำ IF หมดปัญหา?
4:15 | ขั้นตอนการรักษา - ปรึกษาคุณหมอและนักโภชนาการ
4:58 | พยายามเบียงเบนความสนใจ
5:30 | การรักษาสภาพจิตใจ
ุ6:08 | อย่าคิดว่าเป็นโรคนี้เองถ้าสงสัยให้ปรึกษาแพทย์
6:33 | สาเหตุที่ไอซ์เป็นโรคนี้
8:28 | คนส่วนใหญ่ชอบทักทายแค่รูปร่างภายนอก
8:39 | คำถาม - ตอนเพลงคนใจง่าย MV ผอมมาก
9:30 | อยากให้ทุกคนเข้าใจไอซ์ที่เป็นโรคนี้
9:48 | ใช้วิธีช่วยให้ความอยากอาหารลดลง
10:07 | อยากเล่าอยากแชร์ให้ทุกคน
10:15 | สังเกตุอาการตัวเองว่าเป็นโรคนี้หรือยัง
10:42 | โรค Binge Eating Disorder ต่างกับโรคบูลิเมีย และอะนาร็อคเซีย
11:02 | พูดปิดท้าย
#ไอซ์ศรัณยู #BingeEatingDisorder #โรคกินไม่หยุด
---------------------------------------------------------------------------------
ติดต่อโฆษณา
sarun_ice@hotmail.com
---------------------------------------------------------------------------------
ช่องทางการติดตาม ไอซ์ ศรัณยู :
Facebook Fanpage : ICE Sarunyu https://www.facebook.com/icesarunyu/
Instagram : icasarunyu https://www.instagram.com/icesarunyu
Twitter : icesarunyu https://twitter.com/icesarunyu
Youtube : ICE SARUNYU OFFICIAL https://www.youtube.com/channel/UCRGNzSsmn1rdw8mRfPB8AAA
สุขภาพจิต 在 นวล Youtube 的最佳解答
" ไบโพลาร์ " ไม่ได้เป็นบ้านะ
สุขภาพจิต 在 เทคนิคดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงและการป้องกันโรคทางจิตเวช:Rama ... 的推薦與評價
Daily expertเทคนิคการดูแล สุขภาพจิต ให้แข็งแรงและการป้องกันโรคทางจิตเวชศ. นพ. ... <看更多>
สุขภาพจิต 在 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข | Nonthaburi - Facebook 的推薦與評價
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี. ถูกใจ 137679 คน · 1440 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้ · 23000 คนเคยมาที่นี่. เป็นองค์กรหลักด้านสุขภาพจิต... ... <看更多>